คำสอนของประธานศาสนจักร
บทที่ 2: พระผู้เป็นเจ้าพระบิดานิรันดร์


บทที่ 2

พระผู้เป็นเจ้าพระบิดานิรันดร์

“จุดมุ่งหมายของพระผู้เป็นเจ้าของเรายิ่งใหญ่ความรักของพระองค์สุดจะหยั่งถึง พระปรีชาญาฌของพระองค์หาที่สุดมิได้ และพระเดชานุภาพของพระองค์ ไร้ขีดจำกัด ด้วยเหตุนี้ สิทธิชนจึงปีเหตุให้ปลาบปลื้มและยินดี”

จากชีวิตฃองโจเซฟ ลมิธ

มีบรรพชนหลายคนของโจเซฟ สมิธแสวงหาเพื่อให้รู้จักพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง ในสมัยของพวกเขา บิดามารดาของโจเซฟผูกพันลึกซึ้งกับเรื่องทางวิญญาณ และแท้จะไบ่พบความจริงอันสมบูรณ์เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาจักรต่างๆ รอบตัว แต่พวกเขาก็ถือว่าพระ คัมภีร์ไบเบิลเป็นพระคำของพระผู้เป็นเจ้าและ ทำให้การสวดอ้อนวอนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน วิลเลียมท้องชายของ ศาสดาจำได้ว่า “อุปนิสัยทางศาสนาของคุณพ่อคือเคร่งศาสนาและมีศีลธรรม… ข้าพเจ้าถูกเรียกให้มาฟ้งคำสวดอ้อนวอนทั้งตอนเช้าและตอนกลางคืน…บิดามารดาของข้าพเจ้า คุณพ่อคุณแม่ ระบายความในใจต่อพระผู้เป็นเจ้าผู้ประทานพรทุกอย่าง เพื่อขอให้ทรงดูแลและคุ้มครองลูกๆ ของพวกท่านให้รอดพัน จากบาปและงานชั่วร้ายทั้งปวง นั่นคือความเลื่อมใสศรัทธาของบิดามารดาข้าพเจ้า”1 วิลเลียมกล่าวด้วยว่า “เราสวดอ้อนวอนเป็นครอบครัวมาดลอดตั้งแต่ ข้าพเจ้าจำความได้ ข้าพเจ้าจำได้ดีว่าคุณพ่อจะพกแว่นตาไว้ในกระเป๋าเสื้อกั๊กของ ท่านเสมอ … และเมื่อพวกเราเห็นท่านเอามือจับแว่นตา เรารู้เลยว่านั่นคือสัญญาณบ่งบอกว่าได้เวลาสวดอ้อนวอนแล้ว และล้าเราไม่ทันสังเกต คุณแม่จะ บอกว่า ‘วิลเลียม’ หรือใครก็ตามที่ไบ่เอาใจใส่ว่า ‘สวดอ้อนวอนได้แล้ว’ หลัง จากสวดอ้อนวอนเราจะร้องเพลงๆ หนึ่ง ข้าพเจ้ายังจำเนื้อร้องช่วงหนึ่งของ เพลงนั้นได้ ‘อีกวันผ่านไปไบ่หวนคืน เราผลัดเปลี่ยนอาภรณ์ประจำกาย’”2

การอบรมทางวิญญาณแต่เยาว์วัยฝังลึกในจิตวิญญาณของเด็กหนุ่มโจเซฟ สบิธ เมื่อท่านเป็นห่วงความผาสุกนิรันดร์ของตนเองและพยายามจะรู้ให้ได้ว่าจะ เข้าร่วมศาสนาจักรใด ท่านรู้ว่าท่านทันไปทูลขอคำตอบจากพระผู้เป็นเจ้าได้

“ข้าพเจ้าเรียนรู้ในพระคัมภีร์ว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นเหมือนเดิม เมื่อวานนี้ วันนี้ และตลอดกาล พระองค้ใม่ทรงเป็นผู้นับถือตัวบุคคลเพราะพระองค์ทรง เป็นพระผู้เป็นเจ้า เพราะข้าพเจ้ามองเห็นดวงอาทิตย์ ดวงความสว่างอันโชติช่วง ของแผ่นดินโลก เห็นดวงจันทร์ลอยเลื่อนไปด้วยความสง่างาม [ของมัน] บน ท้องฟ้าและดวงดาวดารดาษสาดแสงอยู่ในวงโคจรของมัน เห็นแผ่นดินโลกซึ่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่นี้ด้วย สัตว์ในท้องทุ่ง นกในอากาศ และปลาในผืนน้ำ เห็นมนุษย์ เดินไปมาบนพื้นพิภพที่กว้างใหญ่และในพลังแห่งความงาม [ด้วย] อำนาจและ ภูมิปัญญาในการปกครองสิ่งต่างๆ ซึ่งยิ่งใหญ่และน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง แท้ในความ เป็นเหมือนพระองค์ผู้ทรงสร้างพวกเขา

“และเมื่อข้าพเจ้าพิจารณาสิ่งเหล่านี้ใจข้าพเจ้าร้องว่า คนฉลาดกล่าวว่าคนโง่ จะรำพึงในใจตนว่าไบ่มืพระผู้เป็นเจ้า [ดู สดุดี 53:1] ใจข้าพเจ้าร้องว่า ทั้งหมด นี้เป็นประจักษ์พยานและแสดงใท้เห็นถึงพระพลานุภาพอันไพศาลและมือยู่ทุก ที่ในเวลาเดียวกัน พระองค์ผู้ทรงรังสรรค์กฎ ทรงประกาศิต และทรงผูกทุกสิ่ง ไว้ในขอบเขตของมัน ผู้ทรงเดิมเต็มนิรันดร ผู้ทรงดำรงมาแล้ว ดำรงอยู่ขณะนี้ และจะดำรงอยู่จากนิรันดรถึงนิรันดร เมื่อข้าพเจ้าพิจารณาสิ่งทั้งหมดนี้และพระองค์ผู้ทรงพยายามใท้คนเหล่านั้นนมัสการพระองค์ในวิญญาณและในความจริง [ดุ ยอห์น 4:23] ข้าพเจ้าจึงร้องขอพระเมตตาจากพระเจ้า เพราะไม่มืใครลื่นอีก แล้วที่ข้าพเจ้าจะไปขอความเมตตาจากเขาได้”3

การสวดอ้อนวอนที่เมื่ยมด้วยศรัทธาของโจเซฟเพื่อทูลขอพระเมตตาและ ปัญญาได้รับอำตอบด้วยภาพปรากฎครั้งแรก ภาพปรากฎนั้นใท้ความรู้เกี่ยวอับ พระผู้เป็นเจ้าแก่ศาสดาหนุ่มมากกว่าศาสนาจักรใดๆ ในสมัยของท่าน ความรู้ ที่สูญหายไปจากโลกนานหลายศตวรรษ ในภาพปรากฎครั้งแรกนั้น โจเซฟเรียน รู้ด้วยตนเองว่าพระบิดาและพระบุตรทรงเป็นคนละองค์ พระเดชานุภาพของ พระองค์ยิ่งใหญ่กว่าพลังอำนาจของความชั่วร้าย และแท้จริงแล้วมนุษย์ได้รับ การวางรูปแบบตามรูปลักษณ์ของพระผู้เป็นเจ้า นี่คือความจริงที่จำเป็นยิ่งต่อการ เข้าใจความสัมพันธ์ที่แท้จริงของเราอับพระบิดาในสวรรค์

การเปีดเผยอื่นๆ เกี่ยวอับพระลักษณะของพระผู้เป็นเจ้ามีมาหลังจากนั้น รวม ทั้งการเมิดเผยมากมายที่เวลานี้อยู่ในพระคัมภีร์ยุคสูดท้ายของเรา ในฐานะเครื่อง มือที่ได้รับเลือกจากพระผู้เป็นเจ้าใท้พื้นฟูความจริงของพระกิตติคุณสู่แผ่นดิน โลก ศาสดาจึงเป็นพยานถึงพระผู้เป็นเจ้าตลอดการปฎิมัดิศาสนกิจของท่าน “ข้าพเจ้าจะถามถึงพระผู้เป็นเจ้า” ท่านประกาศ “เพราะข้าพเจ้าต้องการให้ทุก ท่านรู้จักพระองค์และคุ้นเคยกับพระองค์…แล้วท่านจะรู้ว่าข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ ของพระองค์ เพราะข้าพเจ้าพูดประหนึ่งผู้มีสิทธิอำนาจ”4

คำลอนฃองโจเซฟ ลมิธ

พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นพระบิดาผู้ทรงรักมวลมนุษย์และ ทรงเป็นแหล่งกำเนิดสรรพสิ่งที่ดีงาม

“ขณะที่มนุษยชาติส่วนหนึ่งกำลังตัดสินและประณามผู้อื่นอย่างไร้เมตตา พระบิดาผู้ยิ่งใหญ่ของจักรวาลกลับทอดพระเนตรครอบครัวมนุษย์ทั้งปวงต้วย ความห่วงใยและความเอาใจใส่ดุจบิดา พระองค์ทรงมองว่าพวกเขาคือกุลบุตร กุลธิดาของพระองค์โดยปราศจากอคติต่อลูกหลานมนุษย์ ทรงให้ ‘ดวงอาทิตย์ ของพระองค์ขึ้นส่องสว่างแก่คนดีและคนชั่วเสมอลัน และให้ฝนตกแกคนชอบ ธรรมและคนอธรรม’ [มัทธิว 5:45]”5

“เรายอมรับว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นแหล่งกำเนิดและต้นกำเนิดใหญ่ยิ่งซึ่ง ความดีทั้งมวลมาจากพระองค์ พระองค์ทรงเป็นดวงความรู้แจ้งที่สมบูรณ์ พระ ปรีชาญาณของพระองค์แต่องค์เดียวก็มากพอจะปกครองและควบกุมงานสร้าง อันยิ่งใหญ่และโลกมากมายซึ่งส่องแสงเจิดจ้าต้วยความงามวิจิตรและความแจ่ม จรัสเหนือศีรษะเราประหนึ่งรับสัมผัสต้วยนิ้วพระหัตถ์ของพระองค์และเคลื่อน ไหวตามพระดำรัสอันทรงฤทธิ์ของพระองค์…ฟ้าสวรรค์ประกาศพระสิริของ พระผู้เป็นเจ้าและภาคพื้นฟ้าสำแดงพระหัตถกิจของพระองค์ [ดู สดุดี 19:1] และการใคร่ครวญเพียงครู่เดียวก็นานพอจะสอนมนุษย์ทุกผู้ทุกนามผู้นืปัญญา ตามปรกติธรรมดาว่าทั้งหมดนิ้บิใช่ผลพวงของ ความบังเอิญ ทั้งไบ่อาจคํ้าจุนไว้ ไต้ต้วยอำนาจที่ไบ่เทียบเทียมพระหัตถ์อันทรงฤทธิ์”6

“พระผู้เป็นเจ้าทอดพระเนตรเห็นเจตนาในเบื้องลึกแห่งการกระทำของมนุษย์ และทรงทราบจิตใจของสรรพชีวิต”7

“จุดบุ่งหมายของพระผู้เป็นเจ้าของเรายิ่งใหญ่ ความรักของพระองค์สุดจะ หยั่งถึง พระปรีชาญาณของพระองค์หาที่สุดบิไต้ และพระเดชานุภาพของ พระองค์ไร้ขีดจำกัด ต้วยเหตุนี้ สิทธิชนจึงนืเหตุให้ปลาบปลื้มและยินดี โดยรู้ว่า ‘นี่คือพระเจ้าทรงเป็นพระเจ้าของเราเป็นนิจกาล และพระองค์จะทรงเป็นผู้นำ ของเราเป็นนิจ’ [สดุดี 48:14]”8

เมื่อเราเข้าใจพระอุปนิสัยของพระผู้เป็นเจ้า เราเข้าใจตนเองและรู้วิธีใกล้ชิดพระองค์

“มีเพียงไบ่กี่คนในโลกที่เข้าใจพระอุปนิสัยของพระผู้เป็นเจ้าอย่างถูกต้อง มนุษยชาติส่วนใหญ่ไบ่เข้าใจอะไรเลยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพวกเขากับ พระผู้เปีนเจ้า ทั้งสิ่งซึ่งเป็นมาแล้ว หรือสิ่งซึ่งจะมาถึง พวกเขาไม่ทราบ ทั้งไบ่เข้าใจลักษณะของความสัมพันธ์นั้น และต้วยเหตุนี้พวกเขาจึงรู้มากกว่าสัตว์ป่า เพียงเล็กน้อย หรือมากกว่าการกิน ดื่ม และนอนหลับ นี่คือทั้งหมดที่มนุษย์รู้ เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าหรือการดำรงอยู่ของพระองค์ เว้นแต่จะประทานให้เขาด้วย การดลใจของพระผู้ทรงมหิทธิฤทธี้

“หากมนุษย์ไบ่เรียนรู้มากไปกว่าการกิน ดื่ม และนอนหลับ และไบ่เข้าใจ แผนงานใดๆ ของพระผู้เป็นเจ้า สัตว์ก็เข้าใจอย่างเดียวกัน มันกิน ดื่ม นอน หลับ และไบ่รู้อะไรเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้ามากกว่านั้น แต่มันรู้เท่ากับเรา เว้น แต่เราจะสามารถเข้าใจไต้ด้วยการดลใจของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงมหิทธิฤทธี้ หาก มนุษย์ไบ่เข้าใจพระอุปนิสัยของพระผู้เปีนเจ้า พวกเขาย่อมไบ่เข้าใจตนเอง ข้าพเจ้าต้องการกลับไปที่จุดเริ่มต้น และยกความคิดท่านให้สูงขึ้นและให้มีความ เข้าใจสูงส่งกว่าสิ่งที่ความคิดมนุษย์โดยทั่วไปแสวงหา

“… พระคัมภีร์บอกเราว่า ‘นี่แหละคือชีวิตนิรันดร์คือที่เขารู้จักพระองค์ ผู้ทรงเป็นพระเจ้าเที่ยงแทัองค์เดียว และรู้จักพระเยซูคริสต์ที่พระองค์ทรงใข้มา’ [ยอห์น 17:3]

“หากมนุษย์ไบ่รู้จักพระผู้เป็นเจ้าและไบ่ค์นหาว่าพระลักษณะของพระองค์ เป็นเช่นไร—หากเขาจะสำรวจใจตนเองให้ล้วนกี่—หากคำประกาศของพระเยซู และอัครสาวกเป็นจริง เขาย่อมตระหนักว่าเขาไบ่มีชีวิตนิรันดร์ เพราะจะมีชีวิต นิรันดร์บนหลักธรรมอื่นไบ่ไต้

“วัตถุประสงค์ประการแรกของข้าพเจ้าคือสอบถามก้นคว้าจนรู้พระอุปนิสัย ของพระผู้เป็นเจ้าที่แห้จริงและทรงพระปรีชาญาณเพียงพระองค์เดียว และรู้ว่า พระองค์ทรงมีพระลักษณะอย่างไร…

“พระผู้เป็นเจ้าทรงเคยเป็นอย่างที่เราเป็นอยู่เวลานี้ ทรงเป็นมนุษย์ผู้สูงส่ง ประทับทั่งบัลลังก์ในสวรรค์กันไกลโพ้น นั่นคือความลับสูดยอด หากเผยม่าน วันนี้ และพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงถูทธิ้ผู้ทรงจัดโลกให้อยู่ในวงโคจรของมัน ผู้ทรง คํ้าจุนโลกทั้งหลายและสรรพสิ่งด้วยพระเดชานุภาพของพระองค์ ด้องทรงทำให้ มองเห็นพระองค์ได้—ข้าพเจ้ากล่าว หากท่านด้องมองเห็นพระองค์วันนี้ ท่านจะมองเห็นพระองค์ในร่างของมนุษย์คนหนึ่ง—เหมือนตัวท่านทั้งร่างกาย รูป ลักษณ์ และร่างที่เป็นมนุษย์ เพราะแอดัมถูกสร้างตามแบบพระฉายาและความ เป็นเหมือนพระผู้เป็นเจ้า ได้รับคำแนะนำสั่งสอนจากพระองค์ เดิน พูด และ สนทนากับพระองค์ เฉกเช่นมนุษย์คนหนึ่งพูดและสื่อสารกับอีกคนหนึ่ง…

“…เมื่อเรามืความรู้เรื่องพระผู้เป็นเจ้า เราเริ่มรู้วิธีใกล้ชิดพระองค์ และวิธี ทูลขอเพื่อให้ได้รับคำตอบ เมื่อเราเข้าใจพระอุปนิสัยของพระผู้เป็นเจ้า และรู้ วิธีมาหาพระองค์ พระองค์จะทรงเริ่มกางท้องฟ้าให้เรา และบอกให้เรารู้ทั้งหมด เกี่ยวกับเรื่องนั้น เมื่อเราพร้อมจะมาหาพระองค์ พระองค์ย่อมทรงพร้อมจะมา หาเรา”9

พระผู้เป็นเจ้าสามพระองค์ทรงมีพระลักษณะที่แยกลัน อย่างชัดเจน—ทั้งสามพระองค์

หลักแห่งความเชื่อข้อ 1: เราเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าพระบิดาผู้สถิตนิรันดร์และในพระบุตรของพระองค์ พระเยซูคริสต์ และในพระวิญญาณบริสุทธี้”10

โจเซฟ สมิธสอนไว้เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1843 ซึ่งต่อมาบันทึกอยู่ในพระคัมภีร์คำสอนและพันธสัญญา 130:22 ต้งนี้ “พระบิดาทรงมีพระวรกายเป็นเนื้อ หนังและกระดูก สัมผัสได้ดังของมนุษย์ พระบุตรด้วย แต่พรวิญญาณบริสุทธี้ ไม่ทรงมีพระวรกายเป็นเนื้อหนังและกระดูก แต่เป็นบุคคลที่เป็นวิญญาณ หาก ไบ่เป็นเช่นนั้นพระวิญญาณบริสุทธี์จะสถิตในพวกเราไม่ได้”11

“ข้าพเจ้าประกาศเสมอว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นองค์หนึ่งต่างหาก พระเยซู ทรงเป็นอีกองค์หนึ่งแยกต่างหากจากพระผู้เป็นเจ้าพระบิดา และพระวิญญาณ บริสุทธี์ทรงเป็นอีกองค์หนึ่งและเป็นพระวิญญาณ ทั้งสามพระองค์ประกอบเป็น สามพระบุคคลแยกจากกันและเป็นพระผู้เป็นเจ้าสามพระองค์”12

“สิ่งซึ่งปราศจากร่างกายหรืออวัยวะต่างๆ ย่อมไบ่เป็นอะไรเลย ไบ่มีพระผู้เป็นเจ้าอื่นใดในสวรรค์นอกจากพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงมีเนื้อหนังและกระดูก”13

พระผู้เป็นเนเจ้าสามพระองค์ทรงเป็นหนึ่งเสียวกันอย่างสมบูรณ์ และพระผู้เป็นเจ้าพระบิดาทรงเป็นประธาน

“มีกล่าวไว้มากมายเกี่ยวคับพระผู้เป็นเจ้าและพระผู้เป็นเจ้าสามพระองค์…ผู้สอนในยุคนั้นกล่าวว่าพระบิดาคือพระผู้เป็นเจ้า พระบุตรคือพระผู้เป็นเจ้า และพระวิญญาณบริสุทธี์คือพระผู้เป็นเจ้า ทุกพระองค์อยู่ในพระวรกายเดียวคันและเป็นพระผู้เป็นเจ้าเดียว พระเยซูทรงสวดอ้อนวอนเพื่อคนทั้งหลาย ที่พระบิดาประทานให้พระองค์ ทรงขอให้คนเหล่านั้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวคันกับ พระองค์และพระบิดา ดังที่พระบิดาและพระองค์ทรงเป็นอันหนึ่งอันเดียวคัน [ดู ยอห์น 17:11–23]…

“เปโตรคับสเทเฟนเป็นพยานว่าพวกท่านเห็นบุตรมนุษย์ประทับยืนเบื้องขวา พระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้า บุคคลใดก็ตามที่เคยเห็นท้องฟ้าเปีดจะรู้ว่ามีสามพระองค์ในสวรรค์ผู้ทรงถือกุญแจแห่งอำนาจ และองค์หนึ่งทรงควบกุมทั้งหมด”14

“มีการทำพันธสัญญาอันเป็นนิจระหว่างสามพระองค์ก่อนการวางระเบียบ โลกนี้และเกี่ยวข้องคับการจัดสรรสิ่งต่างๆ ให้มนุษย์บนแผ่นดินโลก ทั้งสามพระองค์…ทรงมีพระนามว่าพระผู้เป็นเจ้าองค์แรก พระผู้สร้าง พระผู้เป็นเจ้า องค์ที่สอง พระผู้ไก่ และพระผู้เป็นเจ้าองค์ที่สาม พระผู้ทรงเป็นพยานหรือพระผู้ตรัสคำพยาน”15

“[นั่นคือ] สิทธิโดยชอบของพระบิดาที่จะทรงควบคุมในฐานะหัวหน้าหรือ ประธาน พระเยซูทรงเป็นพระผู้ไกล่เกลี่ย และพระวิญญาณบริสุทธี้ทรงเป็น พยานหรือตรัสคำพยาน พระบุตรทรง [มี] พระวรกายและพระบิดาทรง [มี] เช่นกัน แต่พระวิญญาณบริสุทธี์ทรงเปีนบุคคลที่เปีนวิญญาณไบ่มีร่างกาย”16

“พระคัมภีร์กล่าวว่า ‘เรากับพระบิดาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน’ [ยอห์น 10:30] อีกประการหนึ่ง พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธี์ทรงเป็นอัน หนึ่งอันเดียวกัน และทั้งสามพระองค์ทรงเห็นพ้องในเรื่องเดียวกัน [ดู 1 ยอห์น 5:7–8] พระผู้ช่วยให้รอดจึงทรงสวดอ้อนวอนพระบิดาดังนี้ ‘ข้าพระองค์บิได้ อธิษฐานเพื่อโลก แต่เพื่อคนเหล่าทั้นที่พระองค์ได้ประทานแก่ข้าพระองค์ เพื่อ เขาจะได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน’ หรืออีกนัยหนึ่งคือ มีความคิดเดียวในความ เปีนอันหนึ่งอันเดียวกันของศรัทธา [ดู ยอห์น 17:9, 11] แต่ทุกคนแตกต่างกัน หรือเปีนคนละคนกัน เฉกเช่นพระผู้เป็นเจ้า พระเยซูคริสต์ และพระวิญญาณ บริสุทธี์ทรงเปีนคนละองค์กัน แต่ทั้งสามพระองค์ทรงเห็นพ้องในเรื่องเดียวกัน หรืออย่าเดียวกัน”17

ข้อเลนอแนะสำหรับศึกษาและลอน

พิจารณาแนวคิดต่อไปนี้ขณะศึกษาบทเรียนหรือขณะเตรียมสอน ดูกวามช่วย เหลือเพิ่มเติมได้ที่หน้า ⅶ–ⅹⅱ

  • อ่านทวนหน้า 37–40 สังเกตว่าเด็กหนุ่มโจเซฟ สบิธเห็นหลักฐานของ “พระพลานุภาพอันไพศาลและมีอยู่ทุกที่ในเวลาเดียวกัน” ในโลกรอบตัวเขา อย่างไร ขณะสังเกตโลกรอบตัวท่าน ท่านเห็นอะไรที่เป็นประจักษ์พยานถึง พระผู้เป็นเจ้า

  • อ่านทวนส่วนแรกของบทนี้ หน้า 40 มองหาคำสอนที่เปีดเผยถึงพระอุปนิสัยของพระผู้เป็นเจ้า คำสอนเหล่านี้ช่วยใหัเรามีความ “รื่นเริงยินดี” ได้อย่างไร

  • โจเซฟ สบิธสอนว่า “พระบิดาผู้ยิ่งใหญ่ของจักรวาลกลับทอดพระเนตร ครอบครัวมนุษย์ทั้งปวงด้วยความห่วงใยและความเอาใจใส่ดุจบิดา” (หน้า 40) ท่านมีความกิดและความรู้สึกอย่างไรน้างขณะไตร่ตรองข้อความนี้

  • อ่านย่อหน้าที่หนึ่งและสองของหน้า 41 เหตุใดเราจะไบ่สามารถเข้าใจตนเองได้เลย อ้าเราไม่เข้าใจพระอุปนิสัยของพระผู้เป็นเจ้า

  • ศาสดาโจเซฟ สมิธเป็นพยานว่าพระผู้เป็นเจ้าพระบิดา พระเยซูคริสต์ และพระวิญญาณบริสุทธี์ทรงเป็น “สามพระบุคคลแยกจากกัน” ท่านสอนต์วยว่าทั้งสามพระองค์ทรงเป็นหนึ่งเดียวกัน (หน้า 43–44) สมาชิกในพระผู้เป็นเจ้า สามพระองค์ทรงเป็นหนึ่งเดียวกันในด้านใดบ้าง (ดูตัวอย่างหน้า 43–44)

  • บิดามารดาจะปลูกฝังลูกๆ ใบ้มีความรักต่อพระบิดาบนสวรรค์ของพวกเขาได้ อย่างไร (ดูตัวอย่างหน้า 37)

ข้อพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง: ยอห์น 8:17–19: ฮีบรู 1:1–3; 12:9: โมเสส 1:3–6, 39

อ้างอิง

  1. William Smith, Notes on Chambers’ life of Joseph Smith, ca. 1875 หอจดหมายเหตุของศาสนาจักร ศาสนาจักรของพระเยซูคริสต์แห่งสิทธิ ชนยุคสุดท้าย ซอลท้เลคซิตี้ ยูทาห์

  2. บิลเลียม สบิธ สัมภาษณ์โดย อี. ซี. บริกก์ส และเจ. ดับเบิลยู. ปีเตอร์สัน ต.ค. หรือ พ.ย. 1893 เดิมทีจัดพิมพ็ไน Zion’s Ensign (วารสารที่จัดพิมพ์โดย Reorganized Church of Jesus Christ of Latter Day Saints ปัจจุบันเรียกว่า Community of Christ); พิมพ์อีกครั้งใน Deseret Evening News, Jan. 20, 1894, p. 2; ปรับเปลี่ยนเครื่องหมายวรรคตอนให้ทันสมัย

  3. Joseph Smith, History 1832, pp. 2–3; Letter Book 1, 1829–35, Joseph Smith, Collection หอ จดหมายเหตุของศาสนาจักร

  4. History of the Church, 6:305; จาก คำปราศรัยของโจเซฟ สมิธเมื่อจันที่ 7 เม.ย. 1844 ในนอวู อิลลินอยส์; รายงานโดยวิลพ์อร์ด วูดรัพ์ฟ้ วิลลาร์ด ริชาร์ดส์ โธบัส บัลล็อค และวิลเลียม เคลย์ตัน

  5. History of the Church, 4:595; จาก “Baptism for the Dead” บทความ ที่จัดพิมพ์ใน Times and Seasons, Apr. 15, 1842, p. 759; โจเซฟ สมิธเป็นบรรณาธิการวารสาร

  6. History of the Church, 2:12, 14; ปรับเปลี่ยนการแบ่งย่อหน้า; จาก “The Elders of the Church in Kirtland, to Their Brethren Abroad,” Jan. 22, 1834 จัดพิมพ์ไน Evening and Morning Star, Feb. 1834, p. 136; Mar. 1834, p. 142.

  7. History of the Church, 1:317; จาก จดหมายที่โจเซฟ สบิธเขียนถึงวิลเลียม ดับเบิลยู. เพ์ลพ์ส 11 ม.ค. 1833 เคิร์ทแลนด์ โอไฮโอ; จดหมายฉบับนี้ลงจันที่ ใน History of the Church ว่า 14 ม.ค. 1833 ซึ่งไบ่ถูกต้อง

  8. History of the Church, 4:185; จาก จดหมายที่โจเซฟ สมิธและที่ปรึกษา ของท่านในฝ่ายประธานสูงสุดเขียนถึง สิทธิชน ก.ย. 1840 นอวู อิลลินอยส์จัดพิมพ์ใน Times and Seasons, Oct. 1840, p. 178.

  9. History of the Church, 6:303–5, 308; ปรับเปลี่ยนการแบ่งย่อหน้า; จาก คำปราศรัยของโจเซฟ สมิธเมื่อจันที่ 7 เม.ย. 1844 ในนอวู อิลลินอยส์; รายงานโดย วิลฟอร์ด วูดรัฟฟ์ วิลลาร์ด ริ,ชาร์ดส์ โธมัส บัลล็อค และวิลเลียม เคลย์ตัน; ดูภาคผนวก หน้า 604 ข้อ 3 ด้วย

  10. หลักแห่งความเชื่อข้อ 1:

  11. คำสอนและพันธสัญญา 130:22; คำแนะนำของโจเซฟ สมิธเมื่อจันที่ 2 เม.ย. 1843 ในเรบัส อิลลินอยส์

  12. History of the Church, 6:474; จาก คำปราศรัยของโจเซฟ สมิธเมื่อจันที่ 16 มิถุนายน 1844 ในนอวู อิลลินอยส์; รายงานโดย โธบัส บัลล็อค

  13. อ้างโดย วิลเลียม เคลย์ตัน ระหว่าง รายงานคำปราศรัยของโจเซฟ สมิธิใน นอวู อิลลินอยส์ ซึ่งไบ่ได้ลงจันที่ไว้; ใน แอล. จอห์น นัททอลส์ “Extracts from William Clayton’s Private Book,” หน้า 7, บันทึกส่วนตัวของ แอล. จอห์น นัททอลส์ 1857–1904, งานสะสมพิเศษของแอล. ทอม เพอร์รีย์ มหาวิทยาลัยบริคัม ย่งก์ โพรโว ยูทาห์; สำเนาในหอจดหมายเหตุของ ศาสนาจักร

  14. History of the Church, 5:426; จาก คำปราศรัยของใจเซฟ สมิธเมื่อจันที่ 11 มิถุนายน 1843 ในนอวู อิลลินอยส์; รายงานโดย วิลฟอร์ด วูดรัฟฟ้และ วิลลารด ริชารดสิ

  15. อ้างโดย วิลเลียม เคลย์ตัน ระหว่าง รายงานคำปราศรัยของโจเซฟ สมิธใน นอวู อิลลินอยส์ ซึ่งไบ่ได้ลงจันที่ไว้; ใน แอล. จอห์น นัททอลส์ “Extracts from William Clayton’s Private Book,” หน้า 10–11; บันทึกส่วนตัว ของแอล. จอห์น นัททอลส์ 1857–1904, งานสะสมพิเศษของแอล. ทอม เพอรัรีย์ มหาวิทยาลัยบริคัม ยังก์ โพรโว ยูทาห์; สำเนาในหอจดหมายเหตุของ ศาสนาจักร

  16. อ้างโดย วิลเลียม พี. แม็คอินไทร์ ระหว่างรายงานคำปราศรัยของใจเซฟ สมิธเมื่อด้นปี 1841 ในนอวู อิลลินอยส์; William Peterson Mclntire, Notebook 1840–45 หอจดหมายเหตุ ของศาสนาจักร วิลเลียม แม็คอินไทร์ทำรายงานฉบับย่อสำหรับคำปราศรัย หลายครั้งของโจเซฟ สมิธในนอวูเมื่อ ด้นปี 1841 หนังสิอเล่มนี้อ้างจากรายงานลี่ฉบับ ซึ่งไบ่มีฉบับใดลงวันที่ไว้

  17. อ้างโดย จอร์จ ลาอับ ในการรวบรวม บทอัดลอกจากคำปราศรัยของโจเซฟ สมีธ ประมาณปี 1845; George Laub, Reminiscences and Journal, Jan. 1845–Apr. 1857, pp. 29–30 หอ จดหมายเหตุของศาสนาจักร

ภาพ
First Vision

ในภพปรากฎครั้งแรกนั้น โจเซฟ สมิธเรียนรู้ด้วยตนเองว่าพระบุตรทรงเป็นคนละ องค์และมนุษย์ได้รับการวางรูปแบบตามรูปลักษฌ์ของพระผู้เป็นเจ้า นี่คือความจริงที่จำเป็นยิ่ง ต่อการเข้าใจความสัมพันธ์ที่แท้จริงของเรากับพระบิดาในสวรรค์

ภาพ
woman praying

“เมื่อเรามีควานรู้เรื่องพระผู้เป็นเจ้า เราเริ่มรู้วิธีใกล้ชิดพระองค์ และวิธีทูลขอเพื่อโห้ไล้รับคำตอบ”