พันธสัญญาเดิม 2022
11 ธันวาคม ฉันให้เรื่องของพระผู้เป็นเจ้ามาก่อนในชีวิตฉันหรือไม่? ฮักกัย; เศคาริยาห์ 1–3; 7–14


“11 ธันวาคม ฉันให้เรื่องของพระผู้เป็นเจ้ามาก่อนในชีวิตฉันหรือไม่? ฮักกัย; เศคาริยาห์ 1–3; 7–14,” จงตามเรามา—สำหรับโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนและชั้นเรียนเยาวชนหญิง: หัวข้อหลักคำสอนปี 2022 (2021)

“11 ธันวาคม ฉันให้เรื่องของพระผู้เป็นเจ้ามาก่อนในชีวิตฉันหรือไม่?” จงตามเรามา—สำหรับโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนและชั้นเรียนเยาวชนหญิง: หัวข้อหลักคำสอนปี 2022

ภาพ
ครอบครัวอยู่นอกพระวิหาร

11 ธันวาคม

ฉันให้เรื่องของพระผู้เป็นเจ้ามาก่อนในชีวิตฉันหรือไม่?

ฮักกัย; เศคาริยาห์ 1–3; 7–14

ภาพ
ไอคอนหารือกัน

หารือกัน

นำโดยสมาชิกคนหนึ่งในฝ่ายประธานโควรัมหรือฝ่ายประธานชั้นเรียน ประมาณ 10–20 นาที

ในช่วงต้นของการประชุม ให้ท่อง สาระสำคัญโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน หรือ สาระสำคัญเยาวชนหญิง พร้อมกัน จากนั้นนำการสนทนาเกี่ยวกับงานแห่งความรอดและความสูงส่งโดยใช้คำถามด้านล่างหนึ่งข้อหรือมากกว่าหรือคำถามของตนเอง (ดู คู่มือทั่วไป, 10.2, 11.2, ChurchofJesusChrist.org) วางแผนหาวิธีปฏิบัติตามสิ่งที่สนทนา

  • ดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ ฝ่ายอธิการสนทนาเรื่องใดในการประชุมสภาเยาวชนวอร์ดของเรา? เราต้องดำเนินการเรื่องใดตามการสนทนานั้น?

  • ดูแลคนขัดสน เราจะเอื้อมออกไปหาผู้คนในวิธีเหมือนพระคริสต์ได้อย่างไรเมื่อเราเห็นคนขัดสนและไม่รู้ว่าจะพูดอะไร?

  • เชื้อเชิญให้ทุกคนรับพระกิตติคุณ เราพบอะไรในพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ที่ทำให้เรามีปีติ? เราจะแบ่งปันปีตินั้นกับคนอื่นๆ ได้อย่างไร?

  • ทำให้ครอบครัวเป็นหนึ่งเดียวกันชั่วนิรันดร์ เรากำลังทำอะไรเพื่อค้นหาชื่อบรรพชนของเราผู้ต้องการศาสนพิธีพระวิหาร? เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยคนอื่นๆ ค้นหาชื่อบรรพชนของพวกเขา?

ตอนจบบทเรียนให้ทำดังต่อไปนี้เมื่อเห็นเหมาะสม:

  • เป็นพยานถึงหลักธรรมที่สอน

  • เตือนความจำสมาชิกโควรัมหรือสมาชิกชั้นเรียนเกี่ยวกับแผนและคำเชื้อเชิญที่ทำไว้ระหว่างการประชุม

ภาพ
teach the doctrine icon

สอนหลักคำสอน

นำโดยผู้นำที่เป็นผู้ใหญ่หรือเยาวชน ประมาณ 25–35 นาที

เตรียมตัวท่านทางวิญญาณ

ชีวิตเต็มไปด้วยสิ่งสำคัญให้ทำ ถ้าเราไม่ระวัง ความวุ่นวายของชีวิตอาจเป็นเหตุให้เราลืมจุดประสงค์ของชีวิตได้ เรารู้ว่าพระผู้ช่วยให้รอดและพระกิตติคุณของพระองค์ควรอยู่ในลำดับความสำคัญสูงสุดของเรา แต่เรื่องอื่นๆ อาจทำให้เราเขวได้โดยง่าย บางทีนั่นอาจเป็นเหตุให้พระคัมภีร์แนะนำเราว่า “จงทำหนทางแห่งเท้าของเจ้าให้ราบ” (สุภาษิต 4:26), “จงพิจารณาความเป็นอยู่ของพวกเจ้า” (ฮักกัย 1:5), และ “จงพิจารณาตัวเองดูว่าท่านทั้งหลายดำรงอยู่ในความเชื่อหรือไม่” (2 โครินธ์ 13:5)

ชาวอิสราเอลที่มีชีวิตอยู่ในสมัยของศาสดาพยากรณ์ฮักกัยจำเป็นต้องได้รับคำเชื้อเชิญลักษณะนี้ ในความพยายามอันมีค่าของพวกเขาที่จะสร้างเยรูซาเล็มขึ้นใหม่ พวกเขาละเลยการบูรณะพระนิเวศน์ของพระเจ้า ให้พิจารณาว่าพระดำรัสเตือนของพระเจ้าใน ฮักกัย 1 อาจประยุกต์ใช้กับเราในยุคนี้ได้ ท่านจะเป็นแรงบันดาลใจให้คนที่ท่านสอนประเมินคำมั่นสัญญาของพวกเขาที่จะให้เรื่องของพระผู้เป็นเจ้ามาก่อนในชีวิตของตนได้อย่างไร? ท่านอาจทบทวนข่าวสารของเอ็ลเดอร์เดล จี. เรนลันด์ “การปวารณาตนแน่วแน่ต่อพระเยซูคริสต์” (เลียโฮนา, พ.ย. 2019, 22–25) หรือ คำสอนของประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสันใน “พระบัญญัติข้อสำคัญ—รักพระเจ้า” (ในคำสอนของประธานศาสนจักร: เอสรา แทฟท์ เบ็นสัน [2014], 37–45)

ภาพ
ชั้นเรียนเยาวชนหญิง

เราทำให้เรื่องของพระผู้เป็นเจ้าเป็นลำดับความสำคัญสูงสุดของเราได้

เรียนรู้ด้วยกัน

ท่านอาจเริ่มการสนทนาโดยเขียนวลีจาก ฮักกัย 1:6 บนกระดาน จากแนวคิดเหล่านี้—การหว่านเมล็ดแต่ไม่เคยเก็บเกี่ยว การรับประทานแต่ไม่รู้สึกอิ่ม หรือการได้ค่าจ้างมาใส่ถุงที่มีรูรั่ว—เราสามารถเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการใช้เวลากับเรื่องที่พระเจ้าไม่ทรงต้องการให้เราทำ? แม้พระเจ้าไม่ทรงขอให้เราจดจ่อกับการสร้างพระวิหาร แต่ทรงขอให้เรา จดจ่อกับอะไร? เราจะทำให้เรื่องเหล่านี้เป็นลำดับความสำคัญสูงสุดในชีวิตเราได้อย่างไร? กิจกรรมต่อไปนี้สามารถช่วยให้เยาวชนประเมินคำมั่นสัญญาของพวกเขาที่จะให้เรื่องของพระผู้เป็นเจ้ามาก่อนในชีวิตของตน

  • การรับส่วนศีลระลึกเป็นโอกาสพิเศษสุดในแต่ละสัปดาห์ที่จะประเมินคำมั่นสัญญาที่เรามีต่อพระเยซูคริสต์ เราจะใช้ศีลระลึกพิจารณาได้อย่างไรว่าเราเป็นเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้นหรือไม่? บางทีเยาวชนอาจแบ่งปันวิธีที่พวกเขาทำสิ่งนี้ นอกจากนี้พวกเขาอาจทำรายการคำถามที่พวกเขาอาจถามตนเองในช่วงศีลระลึกเป็นข้อๆ เชื้อเชิญให้พวกเขาไตร่ตรองพระคัมภีร์ ข่าวสาร หรือแหล่งช่วยอื่นๆ หนึ่งข้อหรือมากกว่าใน “แหล่งข้อมูลสนับสนุน” ขณะทำรายการนั้น

  • ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ แบ่งปันคำแนะนำในข่าวสารของท่าน “เกี่ยวกับสิ่งสำคัญที่สุด” (เลียโฮนา, พ.ย. 2010, 19–22), ที่สามารถช่วยให้เยาวชน “พิจารณาความเป็นอยู่ [ของพวกเขา]” (ฮักกัย 1:5) ท่านอาจเชิญแต่ละคนหรือกลุ่มเล็กๆ ให้อ่านสามหัวข้อสุดท้ายของคำปราศรัย (เริ่มด้วยหัวข้อ “พลังของพื้นฐาน”) มองหาความหมายของการมุ่งเน้นชีวิตของเราที่พระผู้ช่วยให้รอด พวกเขาอาจแบ่งปันสิ่งที่พวกเขารู้สึกถึงแรงบันดาลใจให้ทำเพื่อเสริมสร้างคำมั่นสัญญาที่มีต่อพระเยซูคริสต์

  • เราหลายคนวุ่นอยู่กับการทำสิ่งดี แต่สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดเสมอไป ท่านอาจแบ่งปันข้อความจากหัวข้อแรกของข่าวสารจากประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์ “ดี ดีกว่า ดีที่สุด” (เลียโฮนา, พ.ย. 2007, 104–108) ที่สามารถช่วยให้เยาวชนเข้าใจหลักธรรมนี้ ท่านอาจเชื้อเชิญให้พวกเขาแต่ละคนทำรายการกิจกรรมประจำวันของพวกเขาเป็นข้อๆ ด้วย ขอให้พวกเขาประเมินตนเองว่าแต่ละกิจกรรมเป็นสิ่งที่ “ดี” “ดีกว่า” หรือ “ดีที่สุด” อะไรทำให้กิจกรรม “ดีที่สุด”? กระตุ้นให้เยาวชนแบ่งปันกันในสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากการประเมินตนเอง

กระทำด้วยศรัทธา

กระตุ้นให้สมาชิกโควรัมหรือสมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองและบันทึกสิ่งที่พวกเขาจะทำเพื่อลงมือทำตามการกระตุ้นเตือนที่ได้รับวันนี้ พวกเขาอาจแบ่งปันแนวคิดของตน ถ้าต้องการ เชื้อเชิญให้พวกเขานึกถึงวิธีที่การลงมือทำตามการกระตุ้นเตือนจะเสริมสร้างความสัมพันธ์ของพวกเขากับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์

แหล่งข้อมูลสนับสนุน

การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด

“ไม่จำเป็นต้องครอบคลุมให้ครบทุกเรื่องในชั้นเรียนเดียวเพื่อจะสัมผัสใจของคนบางคน—บ่อยครั้งแค่ประเด็นหลักหนึ่งหรือสองประเด็นก็เพียงพอแล้ว” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 7)