เซมินารี
ฮีบรู 7–13


ฮีบรู 7–13

ภาพรวม

ในครึ่งหลังของจดหมายของเปาโลที่ส่งไปยังชาวฮีบรู เปาโลได้เน้นถึงความสำคัญของศรัทธาในพระเยซูคริสต์ เขาอ้างถึงตัวอย่างจากพระคัมภีร์จำนวนมากของบุคคลที่กระทำด้วยศรัทธาในพระเยซูคริสต์และได้รับพร และเปาโลยังสอนเกี่ยวกับพระอุปนิสัยของพระผู้เป็นเจ้าโดยอ้างถึงพระผู้เป็นเจ้าในฐานะ “ผู้ประทานบำเหน็จแก่คนเหล่านั้นที่แสวงหาพระองค์” (ฮีบรู 11:6) และในฐานะ “พระบิดาแห่งจิตวิญญาณ” (ฮีบรู 12:9) เขากระตุ้นให้เรา “อย่าละเลย … การตีสอนขององค์พระผู้เป็นเจ้า … เพราะองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงตีสอนผู้ที่พระองค์ทรงรัก” (ฮีบรู 12:5–6)

เตรียมสอน

ข้อมูลต่อไปนี้ให้แนวคิดแก่ครูว่าอาจต้องเตรียมอะไรล่วงหน้าสำหรับแต่ละบทเรียน:

ฮีบรู 11 ภาค 1

จุดประสงค์ของบทเรียน: บทเรียนนี้จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าศรัทธาในพระเยซูคริสต์คืออะไรและเหตุใดจึงสำคัญในชีวิตส่วนตัวของนักเรียน

  • การเตรียมของนักเรียน: เชิญนักเรียนมาเติมคำกล่าวให้ครบถ้วน “ศรัทธาคือ ________” และเตรียมพร้อมที่จะแบ่งปันคำตอบของตนในชั้นเรียน 

  • เนื้อหาที่จะแสดง: เตรียมแสดงแหล่งช่วยและคำถามสำหรับกิจกรรมการศึกษาของนักเรียนเมื่อจบบทเรียน

  • คำแนะนำการสอนในการประชุมผ่านวิดีโอ: ใช้ฟังก์ชันไวท์บอร์ดของซอฟต์แวร์การประชุมผ่านวิดีโอเพื่อให้นักเรียนสามารถเขียนคำจำกัดความของศรัทธากับชั้นเรียนเพื่อดู หรือเขียนคำจำกัดความเดียวเป็นชั้นเรียนได้ อาจสนับสนุนให้นักเรียนปรับเปลี่ยนคำจำกัดความหรือนิยามที่นักเรียนเขียนร่วมกันได้ตลอดทั้งบทเรียน

ฮีบรู 11 ภาค 2

จุดประสงค์ของบทเรียน: บทเรียนนี้จะช่วยให้นักเรียนเพิ่มความปรารถนาที่จะการดำเนินชีวิตด้วยศรัทธาในพระเยซูคริสต์และตระหนักถึงพรที่พระผู้เป็นเจ้าประทานให้นักเรียนเพราะศรัทธาของนักเรียน

  • การเตรียมของนักเรียน: เชิญนักเรียนให้มาคิดว่านักเรียนหรือใครบางคนที่นักเรียนรู้จักนั้นได้รับพรจากพระผู้เป็นเจ้าเพราะได้ใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์อย่างไร กระตุ้นให้นักเรียนเตรียมตัวเพื่อแบ่งปันประสบการณ์กับชั้นเรียน

  • ภาพ: เตรียมแสดงภาพของปัจเจกบุคคลในพระคัมภีร์หรือจากประวัติศาสนจักรผู้ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศรัทธาในพระเยซูคริสต์

  • วีดิทัศน์:ศรัทธาที่เรียบง่ายและบริสุทธิ์” (5:21)

  • คำแนะนำการสอนในการประชุมผ่านวิดีโอ: ลองพิจารณามอบหมายให้นักเรียนเรียนรู้ข้อพระคัมภีร์ที่แตกต่างกันจาก ฮีบรู 11 เกี่ยวกับตัวอย่างของศรัทธา จากนั้นอาจจัดให้นักเรียนอยู่ในห้องประชุมย่อยกับนักเรียนคนอื่นๆ ที่ศึกษาข้อที่ต่างกัน และนักเรียนทุกคนก็สามารถแบ่งปันสิ่งที่ตนได้เรียนรู้จากข้อที่ตนศึกษา

ฮีบรู 12

จุดประสงค์ของบทเรียน: บทเรียนนี้จะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ว่าการยอมจำนนอย่างอ่อนน้อมต่อการแก้ไขจากพระบิดาบนสวรรค์สามารถช่วยให้นักเรียนมีสันติสุขและเป็นเหมือนพระองค์มากขึ้นได้อย่างไร

  • การเตรียมของนักเรียน: เชิญนักเรียนให้นึกถึงช่วงเวลาที่นักเรียนรู้สึกสำนึกคุณในการแก้ไขไม่ว่าจะมาจากพระผู้เป็นเจ้าหรือใครก็ตาม

  • ภาพ: เตรียมพร้อมที่จะแสดงภาพของนักวิ่งที่ดูเหนื่อยล้าและสนามแข่ง

  • &#160

  • คำแนะนำการสอนในการประชุมผ่านวิดีโอ: เพื่อเริ่มชั้นเรียน ให้พิจารณาสร้างโพลออนไลน์และเชิญชวนให้นักเรียนแบ่งปันโดยไม่บอกชื่อถึงวิธีที่ชีวิตของตนในปัจจุบันรู้สึกเหมือนเป็นสนามแข่งวิ่งทางไกล

ฮีบรู 12:9

จุดประสงค์ของบทเรียน: บทเรียนนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักพระบิดาบนสวรรค์ได้ดียิ่งขึ้นและเข้าใจว่าความรู้และความสัมพันธ์ของนักเรียนกับพระองค์สามารถสร้างผลกระทบทางบวกให้กับชีวิตของนักเรียนได้อย่างไร

  • การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่านเนื้อเพลงของ “ฉันลูกพระผู้เป็นเจ้า” (เพลงสวด, บทเพลงที่ 149) และคิดว่าความรู้นี้เกี่ยวกับอัตลักษณ์ของนักเรียนมีอิทธิพลต่อชีวิตของพวกเขาอย่างไร

  • คำแนะนำการสอนในการประชุมผ่านวิดีโอ: พิจารณาแบ่งปันความประทับใจส่วนตัวและข้อคิดคิดใดๆ ที่ท่านมีเกี่ยวกับการอุปมาที่ซิสเตอร์เคลย์ตันแบ่งปันซึ่งรวมไว้ในตอนต้นของบทเรียนนี้ แสดงประจักษ์พยานว่าการได้รู้จักพระผู้เป็นเจ้าและมีความสัมพันธ์อันศักดิ์สิทธิ์กับพระองค์จะส่งผลกระทบต่อทัศนคติและพฤติกรรมของเราได้อย่างไร

ผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน: ฮีบรู 12:9

จุดประสงค์ของบทเรียน: บทเรียนนี้สามารถช่วยนักเรียนท่องจำข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนและวลีสำคัญจากพระคัมภีร์สำหรับ ฮีบรู 12:9 อธิบายหลักคำสอน และประยุกต์ใช้หลักธรรมของการได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณในสถานการณ์ชีวิตจริง

  • การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญนักเรียนมาคิดถึงสถานการณ์ที่วัยรุ่นต้องเผชิญซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนในการทำความเข้าใจหรือจำได้ว่าตนเป็นบุตรธิดาของพระบิดาบนสวรรค์

  • คำแนะนำการสอนในการประชุมผ่านวิดีโอ: พิจารณาจัดให้นักเรียนอยู่ในห้องประชุมย่อยที่นักเรียนสามารถทำงานเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ เพื่อระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับวิธีที่ตนสามารถเติมในช่องว่างสำหรับกิจกรรมการประยุกต์ใช้ในสถานการณ์สมมติ อนุญาตให้นักเรียนแบ่งปันสถานการณ์สมมติที่ตนคิดออกกับชั้นเรียนได้