เซมินารี
ยอห์น 1:35–51


ยอห์น 1:35–51

“มาดูเถิด”

ภาพ
Christ walking on seashore beckoning to Peter and Andrew to become his apostles--fishers of men. Figures are crude; nice glow about Christ.

พระเยซูทรงเชื้อเชิญสานุศิษย์รุ่นแรกๆ ของพระองค์มาดูด้วยตนเองว่าพระองค์ทรงเป็นใครและมาติดตามพระองค์ การศึกษาเรื่องราวเหล่านี้ในยอห์นจะช่วยให้ท่านเข้าใจว่าท่านจะตอบรับพระดำรัสเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดให้ “มาดู” ด้วยตนเองได้อย่างไร

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนใคร่ครวญประสบการณ์ที่ช่วยให้พวกเขาเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นว่าพระเยซูคริสต์คือใคร สิ่งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

“มาดูเถิด”

หากเป็นไปได้ให้แสดงภาพโควรัมอัครสาวกสิบสอง

ลองนึกภาพว่าท่านกับเพื่อนคนหนึ่งกำลังเดินจากโรงเรียนเพื่อกลับบ้านและท่านเอ่ยว่าท่านทราบมาว่าอัครสาวกท่านหนึ่งจะมาพูดที่การประชุมในเขตของท่านเร็วๆ นี้

  • เหตุใดท่านอาจบอกให้เพื่อนมากับท่านและครอบครัวท่านเพื่อดูและรับฟังอัครสาวกท่านนี้แทนที่จะเพียงอธิบายถึงการประชุมหลังจากจบแล้ว?

อัครสาวกยอห์นเขียนว่ายอห์นผู้ถวายบัพติศมาแนะนำผู้ติดตามบางคนของเขาต่อพระเยซูคริสต์อย่างไร ศึกษา ยอห์น 1:35–51 โดยมองหาสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ขณะที่เราแสวงหาการเรียนรู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และติดตามพระองค์ (ดู งานแปลของโจเซฟ สมิธ, ยอห์น 1:42 ในเชิงอรรถงานแปลของโจเซฟ สมิธ )

  • สานุศิษย์ของพระผู้ช่วยให้รอดยอมรับคำเชิญใดในข้อพระคัมภีร์เหล่านี้เพื่อช่วยให้พวกเขาติดตามพระองค์?

  • ท่านเรียนรู้อะไรจากประสบการณ์และการกระทำของอันดรูว์กับฟีลิปในข้อพระคัมภีร์เหล่านี้?

ช่วยให้นักเรียนแบ่งปันหลักธรรมที่พวกเขาเรียนรู้จากเรื่องราวนี้ อาจเป็นประโยชน์ที่จะให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่พบกับเพื่อนร่วมชั้นหรืออาจเชื้อเชิญให้นักเรียนบางคนมาร่วมแบ่งปันกับชั้นเรียน ตัวอย่างของหลักธรรมที่พวกเขาระบุอาจรวมถึง:

ขณะที่เรายอมรับคำเชื้อเชิญให้เรียนรู้และติดตามพระเยซูคริสต์ เราจะได้รับพยานของเราเองเกี่ยวกับพระองค์

เมื่อเราได้รับพยานถึงพระเยซูคริสต์ เราต้องการช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้รับพยานของพวกเขาเอง

ถามคำถามติดตามผลเพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจลึกซึ้งมากขึ้นในสิ่งที่พวกเขาค้นพบ คำแนะนำที่เหลือในบทเรียนนี้ตั้งใจช่วยให้นักเรียนเปรียบพระดำรัสเชิญของพระเจ้าให้ ‘มาดูเถิด’ กับตนเอง ยอมรับ และคิดหาวิธีที่พวกเขาจะสามารถประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่ประจักษ์พยานของพวกเขาในพระเยซูคริสต์

  • เรื่องราวนี้สอนอะไรท่านเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด?

ท่านสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อตอบรับพระดำรัสเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดให้ “มาดูเถิด”?

ใช้เวลา 30 วินาทีบันทึกความคิดที่เข้ามาเป็นอย่างแรกว่าบุคคลหนึ่งในวันนี้จะตอบรับพระดำรัสเชิญของพระเยซูคริสต์ให้ “มาดูเถิด” อย่างไร

ท่านอาจให้นักเรียนทำกิจกรรมเพื่อสำรวจวิธีต่างๆ ที่พวกเขาสามารถยอมรับพระดำรัสเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดให้ “มาดูเถิด” ตัวอย่างเช่น แจกปากกาไวท์บอร์ดหรือชอล์กให้นักเรียนสองสามคนและเชื้อเชิญให้พวกเขาเขียนหนึ่งวิธีที่เราสามารถตอบรับพระดำรัสเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดให้ “มาดูเถิด” บนกระดาน จากนั้นขอให้นักเรียนเหล่านั้นส่งชอล์กหรือปากกาไวท์บอร์ดให้นักเรียนคนอื่นที่ยังไม่ได้เขียนบนกระดานเพื่อพวกเขาจะได้เขียนคำตอบ ท่านอาจทำสิ่งนี้ซ้ำได้ตามต้องการ

เอ็ลเดอร์ยูลิซีส ซวาเรสแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองให้แนวคิดว่าเราจะตอบสนองต่อพระดำรัสเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดให้ “มาดูเถิด” อย่างไร ดูวีดิทัศน์ “ฉันจะเข้าใจได้อย่างไร” ตั้งแต่ช่วงเวลา 6:24 ถึง 7:04 หรืออ่านข้อความด้านล่างนี้ วีดิทัศน์เรื่องนี้มีอยู่ที่ ChurchofJesusChrist.org

ภาพ
Elder Ulisses Soares, Quorum of the Twelve Apostles official portrait.

ในทำนองเดียวกัน เมื่อเราตอบรับพระดำรัสเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดให้ “มาดูเถิด” เราต้องพักอยู่กับพระองค์ ใฝ่ใจศึกษาพระคัมภีร์ รื่นเริงยินดีในนั้น เรียนรู้หลักคำสอนของพระองค์ และพยายามดำเนินชีวิตตามแบบอย่างของพระองค์ เมื่อนั้นเราจึงจะรู้จักพระองค์ พระเยซูคริสต์ และจำพระสุรเสียงของพระองค์ โดยรู้ว่าเมื่อเรามาหาพระองค์และเชื่อในพระองค์ เราจะไม่หิวหรือกระหายอีกเลย เราจะสามารถแยกแยะความจริงได้ตลอดเวลา ตามที่เกิดขึ้นกับสานุศิษย์สองคนนั้นผู้พำนักอยู่กับพระเยซูวันนั้น

(ยูลิซีส ซวาเรส, “ฉันจะเข้าใจได้อย่างไร,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 7)

  • ท่านได้เรียนรู้อะไรบ้างจากข้อความนี้ว่าเราจะยอมรับพระดำรัสเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดให้ “มาดูเถิด” อย่างไร?

ท่านอาจเชื้อเชิญอาสาสมัครสองสามคนมาแบ่งปันสิ่งที่ช่วยให้พวกเขารู้จักพระผู้ช่วยให้รอดได้ดีขึ้นว่าทรงเป็นใครและทรงเป็นอย่างไร

ให้เวลานักเรียนเลือกหนึ่งในกิจกรรมต่อไปนี้และเริ่มทำตามแผนของพวกเขา แสดงตัวเลือกให้นักเรียนดูและจัดหาอุปกรณ์ที่นักเรียนอาจต้องนำกลับบ้านเพื่อให้พวกเขาสามารถทำงานตามแผน

เลือกหนึ่งในคำแนะนำต่อไปนี้จากข้อความของเอ็ลเดอร์ซวาเรสที่จะช่วยให้ท่านปฏิบัติตามพระดำรัสเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดให้ “มาดูเถิด” ถ้าท่านทำกิจกรรมหนึ่งอย่างไปแล้วเมื่อเร็วๆ นี้ ให้เลือกกิจกรรมที่ใหม่สำหรับท่าน

  • ใฝ่ใจศึกษาพระคัมภีร์ จัดทำแผนการศึกษาพระคัมภีร์ใหม่หรือที่ได้รับการปรับปรุง แผนของท่านอาจรวมถึงสิ่งต่างๆ เช่น กำหนดเวลาของวันและระยะเวลาในการศึกษา เริ่มศึกษาด้วยการสวดอ้อนวอน จัดเวลาเพื่อการไตร่ตรองและอ้างโยงและอื่นๆ ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์จากการศึกษาเป็นประจำ?

  • ชื่นชมยินดีในพระคัมภีร์ ชื่นชมยินดีในพระคัมภีร์โดยแบ่งปันสิ่งที่ท่านกำลังเรียนรู้กับผู้อื่น กำหนดว่าท่านอาจแบ่งปันอย่างไร บ่อยเพียงใด และกับใคร ขณะท่านแบ่งปัน ให้สนใจเป็นพิเศษว่าท่านรู้สึกอย่างไร ท่านสังเกตเห็นอะไรบ้าง?

  • เรียนรู้หลักคำสอนของพระองค์ เพิ่มพูนความเข้าใจของท่านเกี่ยวกับหลักคำสอนของพระเจ้าด้วยการเลือกหัวข้อหลักคำสอนที่ท่านต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม เขียนหัวข้อหลักคำสอนตรงด้านบนของแผ่นกระดาษที่สะอาดหรือเริ่มหมวดใหม่ “สมุดบันทึก” ในคลังค้นคว้าพระกิตติคุณ จากนั้นเริ่มศึกษาโดยใช้แหล่งข้อมูล เช่น หัวข้อพระกิตติคุณ คู่มือพระคัมภีร์ โปรดให้ความสนใจว่าการศึกษานี้ส่งผลต่อประจักษ์พยานของท่านในพระเยซูคริสต์อย่างไร

  • มุ่งมั่นดำเนินชีวิตในวิธีที่พระเยซูทรงดำเนิน ติดตามความก้าวหน้าของท่านโดยใช้ การพัฒนาตนเอง: หนังสือแนะแนวสำหรับเยาวชน การมุ่งเน้นสี่ด้าน (วิญญาณ สังคม ร่างกาย และสติปัญญา) จะช่วยให้ท่านมีความสมดุลในชีวิตและเข้าใกล้พระคริสต์มากขึ้น หากท่านยังไม่ได้ตั้งเป้าหมายเหล่านี้ท่านอาจทำเดี๋ยวนี้

  • สร้างกิจกรรมของท่านเอง มีวิธีอื่นหรือไม่ที่ท่านรู้สึกประทับใจที่จะตอบรับพระดำรัสเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดให้ “มาดูเถิด”? ท่านอาจสวดอ้อนวอนในใจเพื่อขอการนำทางจากพระบิดาบนสวรรค์ จากนั้นบันทึกความคิดของท่านว่าอาจทำตามความประทับใจเหล่านั้นอย่างไร

  • ท่านจะยอมรับพระดำรัสเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดให้ “มาดูเถิด” อย่างไร?

  • ท่านมีแผนอย่างไรในการนำสิ่งนี้ไปใช้ในชีวิตท่าน?

ท่านอาจเป็นพยานว่าพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์จะทรงช่วยให้นักเรียนรู้และวางใจพระผู้ช่วยให้รอดขณะพวกเขาตอบรับพระดำรัสเชิญของพระองค์ให้ “มาดูเถิด”

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

ยอห์น 1:38 . คำถามของพระผู้ช่วยให้รอดว่า “ท่านหาอะไร?” ประยุกต์ใช้กับท่านอย่างไร?

ก่อนที่พระเยซูจะทรงเชื้อเชิญสานุศิษย์ทั้งสองคนให้ “มาดูเถิด” พระองค์ตรัสถามว่า “ท่านหาอะไร?” ( ยอห์น 1:38)เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนเกี่ยวกับคุณค่าของการใคร่ครวญถึงสิ่งที่เราต้องการอย่างแท้จริงในชีวิตขณะที่เราพิจารณาถึงพระดำรัสเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดให้ติดตามพระองค์

He Hath Filled the Hungry with Good Things

ภาพ
Official Portrait of Elder Jeffrey R. Holland. Photographed January 2018.

ท่านคงระลึกได้ว่าเมื่ออันดรูว์และสานุศิษย์อีกคนหนึ่ง น่าจะเป็นยอห์น ได้ยินพระคริสต์ตรัสครั้งแรก พวกเขารู้สึกประทับใจและอยากเข้าใกล้พระเยซูจนพวกเขาติดตามพระองค์เมื่อพระองค์เสด็จออกจากฝูงชน ครั้นพระองค์ทรงรู้สึกว่าถูกติดตามจึงทรงเหลียวกลับมาและตรัสถามชายทั้งสอง “ท่านหาอะไร?” [ ยอห์น 1:38 ] คำแปลอื่นให้ถ้อยคำที่เรียบง่าย “ท่านต้องการอะไร?” พวกเขาทั้งสองร้องทูลว่า “ท่านอยู่ที่ไหน?” หรือ “ท่านพักอยู่ที่ใด?” พระคริสต์ตรัสตอบว่า “มาดูเถิด” [ ยอห์น 1:39 ] หลังจากนั้นไม่นานพระองค์ทรงเรียกเปโตรและอัครสาวกคนใหม่ด้วยวิญญาณแห่งการเชื้อเชิญเดียวกัน โดยตรัสบอกพวกเขาว่า “จงตามเรามา” [ มัทธิว 4:19 ]

ดูเหมือนว่าแก่นแท้ของชีวิตบนโลกนี้และคำตอบสำหรับคำถามที่สำคัญที่สุดถูกย่อลงเป็นข่าวสารสั้นๆ สองประการซึ่งพบได้ในการเริ่มต้นการปฏิบัติภารกิจบนแผ่นดินโลกของพระผู้ช่วยให้รอด ประการแรกเป็นคำถามสำหรับเราแต่ละคนบนโลกนี้: “ท่านหาอะไร? ท่านต้องการอะไร?” ประการที่สองเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงตอบคำถามของเรา ไม่ว่าคำตอบนั้นจะเป็นอะไร ไม่ว่าเราจะเป็นใครและเราจะตอบว่าอะไร คำตอบของพระองค์เหมือนกัน เสมอ นั่นคือ “มาเถิด” พระองค์ตรัสด้วยความรัก “จงตามเรามา”

(เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์, “พระองค์ทรงโปรดให้คนอดอยากอิ่มด้วยสิ่งดี,” เลียโฮนา, ม.ค. 1998, 77)

ยอห์น 1:43–46 . ฉันจะเชื้อเชิญให้ผู้อื่น “มาดูเถิด” ในวิธีที่เป็นธรรมชาติได้อย่างไร?

การเชื้อเชิญให้ผู้อื่นเข้าร่วมกิจกรรมในพระกิตติคุณอาจทำได้ยากและอึดอัดใจ วีดิทัศน์ “Inviting Others to ‘Come and See’” (1:17) ซึ่งดูได้ที่ ChurchofJesusChrist.org แสดงตัวอย่างวิธีต่างๆ ที่ท่านอาจเชื้อเชิญอย่างอบอุ่นและเป็นธรรมชาติ

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าผู้คนที่ฉันเชื้อเชิญให้ “มาดูเถิด” ปฏิเสธคำเชื้อเชิญของฉัน?

บางครั้งเรากังวลว่าบางคนอาจไม่ยอมรับคำเชื้อเชิญของเราที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับพระกิตติคุณหรือศาสนจักร เอ็ลเดอร์ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองแบ่งปันความเข้าใจลึกซึ้งดังต่อไปนี้

ภาพ
Official portrait of Elder Dieter F. Uchtdorf of the Quorum of the Twelve Apostles, 2006. Called as Second Counselor in the First Presidency, 3 February 2008. Made official portrait in 2008 replacing portrait taken in 2004.

บางคนมาดู อาจจะไม่เข้าร่วมกับศาสนจักร บางคนจะเข้าร่วมในภายหลัง นั่นคือการเลือกของพวกเขา แต่นั่นไม่เปลี่ยนแปลงความรักที่เรามีต่อพวกเขา และจะไม่เปลี่ยนความพยายามอย่างกระตือรือร้นของเราในการเชื้อเชิญผู้คนและครอบครัวให้ มาดู, มาช่วย, และ มาอยู่

… จงเข้าใจว่าไม่ใช่งานของท่านที่จะเปลี่ยนใจเลื่อมใสผู้คน นั่นคือบทบาทของพระวิญญาณบริสุทธิ์ บทบาทของท่านคือแบ่งปันสิ่งที่อยู่ในใจและดำเนินชีวิตอย่างสอดคล้องกับความเชื่อของท่าน

ดังนั้น อย่าท้อแท้ถ้ามีบางคนไม่ยอมรับข่าวสารพระกิตติคุณในทันที นั่นไม่ใช่ความล้มเหลวส่วนตัว

เป็นเรื่องระหว่างบุคคลนั้นกับพระบิดาบนสวรรค์

หน้าที่ของท่านคือรักพระผู้เป็นเจ้าและเพื่อนบ้านของท่าน ลูกของพระองค์

(ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “งานเผยแผ่ศาสนา: แบ่งปันสิ่งที่อยู่ในใจท่าน,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 17)

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

เชื้อเชิญให้ผู้อื่น “มาดู”

ประจักษ์พยานของเราถึงพระเยซูคริสต์สามารถสร้างแรงจูงใจให้เราช่วยผู้อื่นทำตามพระดำรัสเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดให้ “มาดูเถิด”ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนใคร่ครวญตัวอย่างของอันดรูว์และฟีลิปที่พบใน ยอห์น 1:41, 43–46 เพื่อเป็นหลักฐานของความจริงนี้อาจเป็นประโยชน์ที่จะฉายวีดิทัศน์ต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง ท่านเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับลูกชายคนโตของท่านว่าช่วยลูกชายคนเล็กเมื่อเขาได้รับบาดเจ็บอย่างไร เราจะเปรียบตัวอย่างนี้กับการแบ่งปันพระกิตติคุณกับคนอื่นได้อย่างไร?