เซมินารี
มัทธิว 21:1–11; ยอห์น 12:27–36


มัทธิว 21:1–11; ยอห์น 12:27–36

การเสด็จเข้ากรุงอย่างผู้พิชิตของพระผู้ช่วยให้รอด

ภาพ
Jesus Christ’s triumphal entry into Jerusalem. altered version

พระผู้ช่วยให้รอดเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มอย่างผู้พิชิต มีผู้คนสรรเสริญและนมัสการพระองค์ด้วยการโห่ร้อง “โฮซันนา” (ดู มัทธิว 21:9) จากนั้นพระเยซูทรงสอนผู้คนเกี่ยวกับพระพันธกิจของพระองค์เพื่อช่วยให้พวกเขารอด บทเรียนนี้ประกอบด้วยบทสรุปสัปดาห์สุดท้ายของพระเยซูคริสต์ในพระชนม์ชีพมรรตัยบนแผ่นดินโลก ซึ่งจะช่วยให้ท่านรู้สึกถึงความเคารพและความคารวะได้มากขึ้นต่อพระเยซูคริสต์และพระพันธกิจของพระองค์เพื่อช่วยให้เรารอด

การใช้ จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว นักเรียนอาจมีโอกาสศึกษาและสนทนาข้อพระคัมภีร์ที่ได้รับมอบหมายของบทเรียนและแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องของ จงตามเรามา ที่บ้านก่อนสนทนาข้อพระคัมภีร์ในเซมินารี ปรับเปลี่ยนบทเรียนตามประสบการณ์ที่นักเรียนอาจเคยมีกับเนื้อหา มองหาโอกาสที่จะดึงจากประสบการณ์ที่นักเรียนได้รับที่บ้านซึ่งสามารถเป็นพรให้แก่ชั้นเรียนเซมินารี

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนเตรียมมาพูดถึงเวลาที่พวกเขาต้องการความช่วยเหลือจากใครบางคนเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก เพื่อดูตัวอย่างของสถานการณ์ประเภทนี้พวกเขาอาจจะดู “ซึ่งความเที่ยงธรรมความรักเมตตาประสาน” ตั้งแต่ช่วงเวลา 0:00 ถึง 5:01 วีดิทัศน์นี้แสดงคำปราศรัยในการประชุมใหญ่สามัญ เมษายน 2015 โดยเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง และมีอยู่ที่ ChurchofJesusChrist.org

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

ความจำเป็นในการช่วยให้รอด

เชิญชวนให้นักเรียนใคร่ครวญถึงการเตรียมของพวกเขาสำหรับชั้นเรียน พวกเขาอาจแบ่งปันเรื่องราวส่วนตัวเกี่ยวกับช่วงเวลาที่ต้องการความช่วยเหลือจากคนอื่น หรืออาจแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับคนที่พวกเขารู้จัก

นึกถึงช่วงเวลาที่ท่านอยู่ในสถานการณ์ยากลำบากและต้องการให้ใครบางคนช่วยเหลือหรือช่วยท่านให้รอด

  • เหตุใดท่านจึงต้องการความช่วยเหลือหรือการช่วยให้รอด?

  • อาจจะเกิดอะไรขึ้นหากท่านไม่ได้รับความช่วยเหลือ?

  • ประสบการณ์นี้มีอิทธิพลอย่างไรต่อความรู้สึกของท่านต่อบุคคลที่ช่วยเหลือหรือช่วยให้ท่านรอด?

เราทุกคนต้องการพลังอำนาจแห่งการช่วยให้รอดของพระเยซูคริสต์ เราทุกคนทำสิ่งผิดพลาดที่เราไม่สามารถแก้ไขได้ ประสบกับความสูญเสียที่เราไม่สามารถนำกลับคืนได้ และเผชิญความเจ็บปวด การข่มเหง โศกนาฏกรรม ภาระหนัก และความผิดหวังที่เราไม่สามารถจัดการได้โดยลำพังตรึกตรองความจำเป็นของท่านที่ต้องมีพระเยซูคริสต์ ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่านให้เขียนว่าท่านต้องการพลังอำนาจแห่งการช่วยให้รอดของพระเยซูคริสต์เพื่อช่วยท่านในเรื่องใด

ในบทเรียนนี้ให้แสวงหาการดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมว่าเหตุใดพระผู้ช่วยให้รอด พระเยซูคริสต์จะทรงช่วยเราให้รอดได้จากความผิดพลาด ความสูญเสีย ความเจ็บปวด และสถานการณ์ทั้งหมดที่เราไม่สามารถแก้ไขได้

การเสด็จเข้ากรุงอย่างผู้พิชิตของพระเยซูคริสต์

ท่านอาจให้ดูภาพการเสด็จเข้ากรุงอย่างผู้พิชิตของพระผู้ช่วยให้รอด

ก่อนเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มเป็นครั้งสุดท้าย พระเยซูทรงขอให้สานุศิษย์พาลูกลามาให้พระองค์ สานุศิษย์ทั้งหลายคลุมลาและลูกลาด้วยเสื้อผ้าของพวกเขาและให้พระผู้ช่วยให้รอดประทับบนลูกลา (ดู มัทธิว 21:1–7; ยอห์น 12:14–15)

อ่าน มัทธิว 21:8–11 และ ยอห์น 12:12–13, โดยค้นหาว่าผู้คนตอบสนองอย่างไรต่อพระเยซูคริสต์ขณะพระองค์เสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็ม ขณะท่านอ่าน จินตนาการว่าตนเองอยู่ที่นั่น

ผู้คนมากมายโห่ร้อง “โฮซันนา” ซึ่งเป็นคำฮีบรู “หมายความว่า ‘โปรดช่วยเราให้รอดเถิด’ ใช้ในการสรรเสริญและการวิงวอน” (คู่มือพระคัมภีร์, “โฮซันนา,” scriptures.ChurchofJesusChrist.org)

เอ็ลเดอร์บรูซ อาร์. แมกคองกี (1915–1985) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายความหมายของปฏิกิริยาที่ผู้คนมีต่อการเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มว่า

ภาพ
Head and shoulders portrait of Elder Bruce R. McConkie.

มีแต่กษัตริย์และผู้พิชิตเท่านั้นที่จะได้รับเครื่องหมายแห่งความเคารพเช่นนี้ … ท่ามกลางเสียงโห่ร้องสรรเสริญและคำวอนขอความรอดและการปลดปล่อย เราเห็นสานุศิษย์แผ่ทางพระราชดำเนินของพระเจ้าด้วยกิ่งใบปาล์มในเครื่องหมายของชัยชนะและการพิชิต ฉากอันสมจริงทั้งหมดนี้แสดงล่วงหน้าว่าการรวมในอนาคตเมื่อ “มหาชน” ที่ไม่มีใครนับจำนวนได้ … จะยืน “อยู่หน้าพระที่นั่งและเฉพาะพระพักตร์พระเมษโปดก พวกเขาสวมผ้าสีขาว และถือใบตาลอยู่ในมือ” ร้องเสียงดังว่า “ความรอดขึ้นอยู่กับพระเจ้าของเราผู้ประทับบนพระที่นั่ง และขึ้นอยู่กับพระเมษโปดก” ( วิวรณ์ 7:9–10)

(คู่มือเซมินารี พันธสัญญาใหม่ [2015], บทที่ 23: มัทธิว 21:1–16)

  • ท่านอาจจะพูดอะไร ทำอะไร และรู้สึกอย่างไรหากท่านอยู่ที่นั่นระหว่างการเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มอย่างผู้พิชิตของพระผู้ช่วยให้รอด? เพราะเหตุใด?

  • เมื่อใดที่ท่านรู้สึกอยากจะโห่ร้อง “โฮซันนา” (ถวายการสรรเสริญและความสำนึกคุณอย่างจริงใจ) แด่พระเยซูคริสต์?

  • เหตุใดท่านอาจจะโห่ร้อง “โฮซันนา” แด่พระผู้ช่วยให้รอดในเวลานี้? ในอนาคต?

หากเหมาะสม ให้สนทนากับนักเรียนว่าเมื่อใดที่พวกเขาอาจมีส่วนร่วมในการโห่ร้องโฮซันนา ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจเคยมีส่วนร่วมครั้งหนึ่งในส่วนของการอุทิศพระวิหาร

เมื่อพระเยซูทรงลูกลาเข้าไปในกรุงเยรูซาเล็ม ผู้คนจำนวนมากรับรู้ว่านี่เป็นการประกาศต่อสาธารณชนว่าพระองค์ไม่ได้เป็นเพียงพระเมสสิยาห์ที่สัญญาไว้เท่านั้น แต่ยังเป็นกษัตริย์แห่งอิสราเอลที่สัญญาไว้อีกด้วย คนจำนวนมากมองว่าเป็นการสัมฤทธิผลของคำพยากรณ์ในพระคัมภีร์เช่นคำพยากรณ์ที่บันทึกไว้ใน เศคาริยาห์ 9:9

หลายคนคิดว่าพระเมสสิยาห์จะเป็นผู้นำทางทหารที่ยิ่งใหญ่ซึ่งจะช่วยให้พวกเขารอดจากการกดขี่ของชาวโรมัน พวกเขาเข้าใจพระพันธกิจช่วยให้รอดของพระผู้ช่วยให้รอดผิดไป

  • พระบิดาบนสวรรค์ทรงส่งพระเยซูคริสต์มาช่วยให้เรารอดจากอะไร?

จุดประสงค์และพระพันธกิจของพระผู้ช่วยให้รอด

หลังจากการเสด็จเข้ากรุงอย่างผู้พิชิตของพระผู้ช่วยให้รอด “พวกกรีก” ซึ่งมาเยรูซาเล็มเพื่อถือปฏิบัติเทศกาลปัสการ้องขอที่จะพบพระองค์ (ดู ยอห์น 12:20–21) เมื่อพระเยซูทรงทราบเกี่ยวกับคำขอของพวกเขา พระองค์ทรงสอนเกี่ยวกับการทนทุกข์ การสิ้นพระชนม์ และการฟื้นคืนพระชนม์ของพระองค์ที่กำลังจะมาถึง พระองค์ทรงอธิบายว่าเหตุการณ์สุดท้ายเหล่านี้ในเยรูซาเล็ม รวมทั้งการตรึงการเขนพระองค์ที่จะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้ คือจุดประสงค์ทั้งหมดสำหรับการเสด็จมายังแผ่นดินโลกของพระองค์ (ดู ยอห์น 12:23–33)

อ่าน ยอห์น 12:27–28, 32–33 และค้นหาสิ่งที่พระเยซูตรัสว่าจุดประสงค์และพระพันธกิจของพระองค์คืออะไร (สังเกตว่าเสียงที่พูดจากสวรรค์คือพระสุรเสียงของพระบิดาบนสวรรค์ที่ทรงแสดงความมั่นพระทัยว่าพระเยซูคริสต์จะทำการชดใช้ของพระองค์ให้เสร็จสมบูรณ์)

  • พระเยซูทรงสอนอะไรเกี่ยวกับจุดประสงค์และพระพันธกิจของพระองค์?

  • ความมั่นพระทัยของพระบิดาบนสวรรค์ในพระเยซูคริสต์จะเพิ่มความมั่นใจของท่านในพระปรีชาสามารถและความเต็มพระทัยของพระผู้ช่วยให้รอดที่จะช่วยให้ท่านรอดได้อย่างไร?

วิธีหนึ่งที่จะสรุปสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนใน ยอห์น 12:27–28, 32–33 คือ พระเยซูคริสต์ทรงดำเนินการชดใช้ของพระองค์เพื่อพระองค์จะทรงสามารถดึงเราทุกคนเข้าไปหาพระองค์

พระผู้ช่วยให้รอดทรงเป็นพยานถึงความจริงเดียวกันนี้ใน 3 นีไฟ 27:13–15 อ่านข้อความนี้และค้นหาว่าข้อพระคัมภีร์เหล่านี้เพิ่มความเข้าใจของท่านถึงความจริงนี้อย่างไร ท่านอาจต้องการอ้างโยงหรือเชื่อมโยงข้อความนี้ไปที่ ยอห์น 12:32

ภาพรวมของเหตุการณ์ในสัปดาห์สุดท้ายของพระผู้ช่วยให้รอด

หลายเหตุการณ์ในสัปดาห์สุดท้ายของพระชนม์ชีพบนแผ่นดินโลกของพระผู้ช่วยให้รอดมีความสำคัญต่อพระพันธกิจและจุดประสงค์ของพระองค์ที่จะช่วยให้เรารอดโดยการดึงเรามาหาพระองค์

ภาพประกอบต่อไปนี้สามารถช่วยให้ท่านเข้าใจเหตุการณ์เหล่านี้ได้ดีขึ้น

ภาพ
New Testament Seminary Teacher Manaul - 2023

ให้ภาพประกอบแก่นักเรียนหรือให้ดูตอนนี้ โดยขึ้นอยู่กับความต้องการของนักเรียน อาจเป็นประโยชน์ที่จะใช้แนวคิดบางอย่างที่อยู่ในหมวด “กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม” ของบทเรียนนี้นอกเหนือจากหรือแทนที่ภาพประกอบ

ดูภาพประกอบ อ่านข้อความบางส่วนจากพระคัมภีร์เพื่อทำความเข้าใจเหตุการณ์ที่อธิบายไว้ให้มากขึ้น ใคร่ครวญว่าเหตุการณ์เหล่านี้ช่วยให้พระเยซูคริสต์ทรงทำพระพันธกิจช่วยให้รอดได้อย่างไร และไตร่ตรองว่าพระองค์จะทรงช่วยและช่วยให้ท่านรอดได้อย่างไรเนื่องจากสิ่งที่ทรงสอนและทำในระหว่างสัปดาห์นี้

ในบันทึกการศึกษาของท่านเขียนคำถามที่ท่านมีเกี่ยวกับเหตุการณ์เหล่านี้และจดไว้ว่าเหตุการณ์ใดที่ท่านต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมและเพราะเหตุใด

  • ท่านมีคำถามอะไรเกี่ยวกับเหตุการณ์เหล่านี้?

  • ท่านต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องใด? เพราะเหตุใด?

  • ท่านคิดว่าการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุการณ์เหล่านี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจได้ดีขึ้นถึงพระปรีชาสามารถและความปรารถนาของพระเยซูคริสต์ในการช่วยให้เรารอดอย่างไร?

เชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันคำตอบของพวกเขาต่อคำถามต่างๆ ก่อนหน้านี้ เขียนความคิดเห็นที่พวกเขาแบ่งปันและค้นหาวิธีใช้ความคิดเห็นเหล่านี้เพื่อเป็นแนวทางแก่ชั้นเรียนในบทเรียนต่อๆ ไป

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

การเสด็จเข้ากรุงอย่างผู้พิชิตมีความหมายอย่างไรต่อชาวยิวและจะมีความหมายต่อเราได้อย่างไร?

การเสด็จเข้ากรุงอย่างผู้พิชิตของพระผู้ช่วยให้รอดระหว่างการถือปฏิบัติเทศกาลปัสกา ทำให้คำพยากรณ์ที่บันทึกไว้ใน เศคาริยาห์ 9:9–10 เกิดสัมฤทธิผลโดยตรงและประกาศต่อสาธารณชนว่าพระเยซูทรงเป็นพระเมสสิยาห์และกษัตริย์แห่งอิสราเอลที่สัญญาไว้ ในสมัยโบราณ ลาเป็นสัญลักษณ์ของราชตระกูลยิว ในช่วงเวลาของราชาธิปไตยในอิสราเอลสมัยโบราณ หลังจากกษัตริย์ซาอูลขึ้นครองราชย์ ชาวยิวจัดพิธีกรรมขึ้นครองราชย์ประจำปีซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญที่กษัตริย์ทรงลาเข้าไปในเยรูซาเล็ม ผู้ทรงลาจะเข้าเยรูซาเล็มจากทิศตะวันออกของเมืองและมาที่พระวิหาร พิธีกรรมเหล่านี้เป็นสัญญาณบอกเหตุในอนาคตถึงเวลาที่พระเมสสิยาห์จะเสด็จมายังผู้คนของพระองค์ในลักษณะเดียวกัน ดังนั้นในเวลาที่เยรูซาเล็มเต็มไปด้วยชาวยิวเฉลิมฉลองเทศกาลปัสกา พระเยซูเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มในลักษณะที่แสดงว่าพระองค์ทรงเป็นพระเมสสิยาห์ กษัตริย์แห่งอิสราเอล การทรงลาแสดงให้เห็นด้วยว่าพระเยซูเสด็จมาในฐานะพระผู้ช่วยให้รอดที่ “ต่ำต้อย” และมาอย่างสันติ ไม่ใช่อย่างผู้พิชิตบนม้ารบ (ดู เศคาริยาห์ 9:9–10)

ในการเสด็จมาครั้งที่สอง พระเยซูจะเสด็จกลับมายังแผ่นดินโลกด้วยเดชานุภาพและรัศมีภาพยิ่งใหญ่ ในสัญลักษณ์แห่งรัศมีภาพของพระองค์ พระองค์จะทรง “ม้าสีขาว” แทนการทรงลาเข้าเยรูซาเล็ม (ดู วิวรณ์ 19:11–16) พระองค์จะทรงปกครองในฐานะ “กษัตริย์เหนือกษัตริย์ทั้งหลายและเจ้านายเหนือเจ้านายทั้งหลาย” ( วิวรณ์ 17:14 ; ดู วิวรณ์ 19:16 ด้วย)

เราเรียนรู้อะไรได้บ้างจากการใช้ใบปาล์มในการเสด็จเข้ากรุงอย่างผู้พิชิต?

เอ็ลเดอร์เกอร์ริท ดับเบิลยู. กอง แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนดังนี้

ภาพ
Official Portrait of Gerrit W. Gong. Photographed in 2018.

ตามประเพณีแล้ว ใบปาล์มเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์เพื่อแสดงถึงความปีติยินดีในพระเจ้า ดังเช่นใน การเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มอย่างผู้พิชิตของพระคริสต์ ที่นั่น “มหาชน … ถือทางอินทผาลัมพากันออกไปต้อนรับพระองค์” [ ยอห์น 12:12–13 ; ดู มัทธิว 21:8–9 ; มาระโก 11:8–10 ด้วย]. … ในหนังสือวิวรณ์ คนที่สรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าและพระเมษโปดก “สวมเสื้อผ้าสีขาว และถือใบตาลอยู่ในมือ” [ วิวรณ์ 7:9 ] ใบปาล์มรวมอยู่ในคำสวดอ้อนวอนอุทิศพระวิหารเคิร์ทแลนด์พร้อมกับ “เสื้อคลุมแห่งความชอบธรรม” และ “มงกุฎแห่งรัศมีภาพ” [ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 109:76 ]. …

(เกอร์ริท ดับเบิลยู. กอง, “โฮซันนาและฮาเลลูยา— พระเยซูคริสต์ผู้ทรงพระชนม์: หัวใจสำคัญของการฟื้นฟูและอีสเตอร์,” เลียโฮนา, พ.ค. 2020, 53)

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

เยี่ยมชมเยรูซาเล็มแบบเสมือนจริง

มหาวิทยาลัยบริคัม ยังก์สร้างแอปพลิเคชันที่ให้ผู้คนเยี่ยมชมกรุงเยรูซาเล็มแบบเสมือนจริงและดูสถานที่ต่างๆ ตามที่อาจมีอยู่ในสมัยของพระผู้ช่วยให้รอด ท่านอาจให้นักเรียนดาวน์โหลดแอปดังกล่าวและใช้แทนภาพประกอบในบทเรียนนี้ แอปนี้อาจใช้ในบทเรียนอื่นๆ เพื่อช่วยให้นักเรียนมองเห็นภาพเหตุการณ์ในเยรูซาเล็มสมัยโบราณและพัฒนาความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับเหตุการณ์เหล่านั้น คำแนะนำสำหรับการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันสามารถดูได้ที่ https://virtualscriptures.org/virtual-new-testament/

กิจกรรมรูปภาพ

แสดงรูปภาพต่อไปนี้ตามลำดับเวลาและเชื้อเชิญให้นักเรียนใช้พระคัมภีร์และภาพประกอบเพื่อช่วยเรียงลำดับรูปภาพตามลำดับเวลา จากนั้นเชื้อเชิญให้นักเรียนตอบคำถามสามข้อสุดท้ายในบทเรียน

ภาพ
Jesus is riding a colt into Jerusalem through a great multitude of people holding tree branches. Outtakes include Jesus barely seen in a throng of people, images of the crowd, some small children, and Jesus walking through the crowd.
ภาพ
Jesus turning over a table of a money changer in the temple. Outtakes include images of Christ alone and with the crowd of merchants and buyers fleeing, people buying goods, and people looking.
ภาพ
Jesus giving the sop to Judas Iscariot. Outtakes include just Jesus, all the disciples seated, Jesus passing the cup of wine, Jesus holding the bread, a servant woman bring a jar, Judas Iscariot eating the sop, Jesus taking a piece of bread wrapped in cloth, and Jesus raising a glass of wine.
ภาพ
Christ kneeling in Gethsemane. Outtakes include the back of the savior shown kneeling in the tall grass, close-up of his face looking afraid, in a distance with blood on his face and hands near a river, an angel comforting him, profile portrait, and a glowing angel coming toward Christ who is huddled on the ground.
ภาพ
Jesus is on the cross between two malefactors, there is a crowd below that are watching. Outtakes include a sponge on a stick lifted up to Jesus by a Roman soldier, different views of the three me on the crosses, soldiers gambling and parting his clothes, Jesus walking wearing crown of thorns and covered in blood, and Caiaphas.
ภาพ
Mary Magdalene encountering the resurrected Christ.