เซมินารี
1 ยอห์น 2–4


1 ยอห์น 2–4

“ท่านที่รักทั้งหลาย ขอให้เรารักกันและกัน”

ภาพ
A painting of a mass of people from different ethnic backgrounds. Submission for the 11th Annual Art Competition.

เหตุใดบางครั้งจึงยากที่จะแสดงความรักต่อผู้อื่น? ความรักในพระผู้เป็นเจ้าของเราเชื่อมโยงกับการรักคนอื่นอย่างไร? อัครสาวกยอห์นสอนวิสุทธิชนว่าความรักของพระผู้เป็นเจ้าที่มีต่อวิสุทธิชนเหล่านั้นจะดลใจให้พวกเขารักพระผู้เป็นเจ้าและผู้อื่นได้อย่างไร (ดู 1 ยอห์น 4:11, 19) บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจและประยุกต์ใช้พระบัญญัติในการรักผู้อื่นขณะที่ท่านรักพระผู้เป็นเจ้า

การช่วยให้นักเรียนกระทำสิ่งชอบธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะนักเรียนกระทำด้วยศรัทธาในการประยุกต์ใช้พระกิตติคุณและหลักธรรม พระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงเป็นพยานต่อพวกเขาถึงความจริงเหล่านั้น (ดู ยอห์น 7:17) สร้างโอกาสให้นักเรียนกระทำตามหลักธรรมในชั้นเรียนเพื่อที่พระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงนำความจริงไปสู่ใจพวกเขาได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

การเตรียมของนักเรียน: เชิญนักเรียนให้เตรียมแบ่งปันประสบการณ์ที่พวกเขาแสดงความรักต่อผู้อื่น หรือผู้อื่นแสดงความรักที่มีต่อพวกเขาและผลที่เกิดขึ้น

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

การรักผู้อื่น

ลองคิดหาวิธีที่ท่านจะสามารถเติมประโยคต่อไปนี้ให้สมบูรณ์:

เป็นเรื่องง่ายที่จะรักผู้อื่นเมื่อ …

เป็นเรื่องยากกว่าที่จะรักผู้อื่นเมื่อ …

ลองเขียนวลีด้านบนบนกระดานแล้วชวนนักเรียนหลายคนเขียนว่าพวกเขาจะเติมประโยคหนึ่งให้สมบุรณ์อย่างไร

ไตร่ตรองคำถามต่อไปนี้:

  • อะไรที่เป็นแรงจูงใจให้ท่านหรือทำให้ท่านแสดงความรักต่อผู้อื่นได้ยาก?

คำสอนของยอห์นเกี่ยวกับความรัก

อัครสาวกยอห์นสอนอย่างกล้าหาญเกี่ยวกับความจำเป็นที่จะต้องรักผู้อื่น

อ่าน 1 ยอห์น 3:16–17 ; 4:7–11, 19–21 และทำเครื่องหมายความจริงที่ท่านคิดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านเมื่อพิจารณาถึงความท้าทายในการรักผู้อื่น &#160

  • ท่านพบว่าอะไรน่าสนใจหรือมีความหมายจากคำสอนของยอห์น? เพราะเหตุใด?

ตั้งใจฟังคำตอบของนักเรียน มุ่งมั่นที่จะสร้างบรรยากาศที่นักเรียนรู้สึกสบายใจที่จะแบ่งปันความคิดของตน ท่านอาจถามว่าสิ่งที่นักเรียนพบสามารถช่วยให้พวกเขารักผู้อื่นได้อย่างไร

หนึ่งในความจริงที่ยอห์นสอนในข้อพระคัมภีร์เหล่านี้คือ ถ้าเรารักพระผู้เป็นเจ้า เราจะรักผู้อื่นด้วย ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายที่ความจริงข้อนี้ใน 1 ยอห์น 4:21

พิจารณาวิธีที่จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจความจริงข้อนี้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถทำได้โดยการพูดคุยถึงคำถามต่อไปนี้บางข้อหรือทุกข้อ: ทำไมท่านจึงคิดว่าความรักที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้าเชื่อมโยงกับความรักที่มีต่อผู้อื่นด้วย? การนึกถึงความรักของพระผู้เป็นเจ้าที่มีต่อท่านและผู้อื่นส่งผลต่อการกระทำของท่านที่มีต่อผู้อื่นอย่างไร? ชีวิตของเราและชีวิตของผู้คนรอบข้างอาจแตกต่างและดีขึ้นอย่างไรหากเราเข้าใจและประยุกต์ใช้ความจริงข้อนี้?

นอกจากนี้นักเรียนยังอาจได้รับประโยชน์จากการทำกิจกรรมการเรียนรู้ดังต่อไปนี้:

เพื่อช่วยให้ท่านไตร่ตรองพรจากการรักผู้อื่น ให้เลือกหนึ่งในตัวอย่างด้านล่างและตอบคำถามที่ตามมา:

แสดงตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับนักเรียนและเตือนนักเรียนถึงการเตรียมตัวสำหรับชั้นเรียน ให้นักเรียนเลือกหนึ่งหรือสองตัวอย่างเป็นชั้นเรียนหรือรายบุคคล

  • ก. ตัวอย่างหนึ่งจากพระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอดเมื่อทรงแสดงความรักต่อผู้อื่น 

  • ข. ใครสักคนที่ท่านรู้จักซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีเสมอในการรักผู้อื่น 

  • ค. ประสบการณ์ของท่านเองที่มุ่งมั่นในการรักผู้อื่น หรือประสบการณ์ที่ผู้อื่นแสดงความรักต่อท่าน 

  • ง. ตัวอย่างของการแสดงความรักต่อผู้อื่นจากคำปราศรัยในการประชุมใหญ่สามัญ หรือวีดิทัศน์ของศาสนจักร เช่น “การรับพระนามของพระเยซูคริสต์” ตั้งแต่รหัสเวลา 4:43 ถึง 6:15 (มีให้รับชมที่ ChurchofJesusChrist.org)

  • บุคคลนี้/ท่านทำสิ่งใดเพื่อแสดงความรัก?

  • การกระทำของบุคคลนี้/ของท่านแสดงถึงความรักต่อพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร?

  • อะไรคือผลลัพธ์ของการที่บุคคลนี้/ท่านแสดงความรัก?

  • ท่านเรียนรู้อะไรจากตัวอย่างนี้?

หากนักเรียนทำกิจกรรมนี้เป็นรายบุคคล เชิญให้นักเรียนแบ่งปันคำตอบของนักเรียนเป็นกลุ่มขนาดเล็กหรือกับชั้นเรียน

การได้รับพรจากการรักผู้อื่น

อ่าน 1 ยอห์น 3:17–18 เพื่อดูว่ายอห์นชักชวนให้เรารักผู้อื่นอย่างไร

  • ท่านคิดว่าการรักผู้อื่น “ด้วยการกระทำและด้วยความจริง” อาจหมายความว่าอย่างไร? ( 1 ยอห์น 3:18)

ทั้งนี้อาจมีความหมายที่จะอ่านคำสอนบางประการของพระผู้ช่วยให้รอดเกี่ยวกับการรักกันและกันที่บันทึกไว้ใน มัทธิว 5:43–44 ; 22:37–40 และ ยอห์น 13:34 เพื่อมองหาวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนให้เรารักผู้อื่น (ดู ยอห์น 15:12, 17 ด้วย)

สร้างรายการวิธีที่ท่านสามารถแสดงความรักต่อผู้อื่น “ด้วยการกระทำและด้วยความจริง” หรือดังที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงรักเรา อาจเป็นประโยชน์ที่จะพิจารณาวิธีแสดงความรักต่อผู้คนที่แตกต่างกัน เช่น สมาชิกในครอบครัว เพื่อน หรือเพื่อนร่วมชั้นเรียน

หากเป็นประโยชน์ที่จะดูตัวอย่างบางประการเกี่ยวกับการรักผู้อื่น “ด้วยการกระทำและด้วยความจริง” &#160

  • แนวคิดในการแสดงความรักข้อใดโดดเด่นสำหรับท่านมากที่สุด? เพราะเหตุใด?

  • เพราะเหตุใดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่การกระทำของเราต้องมีความจริงใจ?

  • การกระทำอย่างจริงใจเหล่านี้จะช่วยให้เราเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์มากขึ้นอย่างสม่ำเสมอได้อย่างไร?

การประยุกต์ใช้

ลองนึกถึงใครสักคนที่ท่านรู้จักที่พระเจ้าอาจทรงประสงค์ให้ท่านแสดงความรักต่อบุคคลนั้นมากขึ้น ลองนึกถึงความรักที่พระบิดาสวรรค์และพระผู้ช่วยให้รอดทรงมีต่อบุคคลนั้น พิจารณาการสวดอ้อนวอนพระบิดาบนสวรรค์ ฟังและรู้สึกถึงการดลใจในสิ่งที่พระองค์อาจประสงค์ให้ท่านทำเพื่อแสดงความรักต่อบุคคลนี้ ท่านอาจต้องการสวดอ้อนวอนเพื่อทูลขอความช่วยเหลือในความพยายามของท่าน นอกจากนี้ยังอาจเป็นประโยชน์ที่จะแบ่งปันสิ่งที่ท่านวางแผนที่จะทำกับผู้ใหญ่หรือเพื่อนที่วางใจได้ และขอให้บุคคลเหล่านั้นช่วยเหลือท่าน

ลองถามว่ามีนักเรียนคนใดไหมที่ต้องการแสดงประจักษ์พยานถึงความสำคัญของการรักผู้อื่น และวิธีที่สิ่งนั้นแสดงให้เห็นถึงความรักต่อพระผู้เป็นเจ้าของเรา ท่านอาจแบ่งปันประจักษ์พยานของท่านเองเช่นกัน

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

1 ยอห์น 3:18. การรัก “ด้วยการกระทำและด้วยความจริง” หมายความว่าอย่างไร?

เอ็ลเดอร์โจเซฟ บี. เวิร์ธลิน (1917–2008) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายดังนี้:

ภาพ
Last official portrait of Elder Joseph B. Wirthlin of the Quorum of the Twelve Apostles, 2004. Died December 1, 2008.

บ่อยครั้ง ปรากฏการณ์ครั้งใหญ่ที่สุดของความรักคือการกระทำเรียบง่ายอันเกิดจากความเมตตาและความห่วงใยที่เราพบตามเส้นทางแห่งชีวิต

(โจเซฟ บี. เวิร์ธลิน, “พระบัญญัติข้อใหญ่,” เลียโฮนา, พ.ย. 2007, 29)

พรของการรักผู้อื่นมีอะไรบ้าง?

ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟเป็นพยานเมื่อครั้งอยู่ในฝ่ายประธานสูงสุดถึงพรที่สามารถมาจากการรักผู้อื่น

ภาพ
Official portrait of Elder Dieter F. Uchtdorf of the Quorum of the Twelve Apostles, 2006. Called as Second Counselor in the First Presidency, 3 February 2008. Made official portrait in 2008 replacing portrait taken in 2004.

เพราะความรักเป็นพระบัญญัติข้อใหญ่ ความรักจึงควรเป็นศูนย์รวมของทั้งหมดและทุกสิ่งที่เราทำในครอบครัว ในการเรียกที่โบสถ์ และในวิธีดำเนินชีวิตของเรา ความรักเป็นยาสมานรอยร้าวในความสัมพันธ์ส่วนตัวและกับครอบครัว เป็นสายใยที่ถักทอครอบครัว ชุมชน และประเทศเข้าด้วยกัน ความรักเป็นพลังทำให้เกิดมิตรภาพ ความอดทนอดกลั้น ความสุภาพและความเคารพ เป็นแหล่งเอาชนะความแตกแยกและความเกลียดชัง ความรักเป็นไฟที่ทำให้ชีวิตเราอบอุ่นด้วยปีติอันหาใดเทียบได้และความหวังจากสวรรค์ ความรักควรเป็นวิถีชีวิตของเรา

เมื่อเราเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่ารักดังที่พระเยซูคริสต์ทรงรักเราหมายถึงอะไร ความสับสนจะหมดไปและเรื่องสำคัญที่สุดจะมาก่อน การเป็นสานุศิษย์ของพระคริสต์จะมีปีติมากขึ้น ชีวิตเราจะมีความหมายใหม่ ความสัมพันธ์ของเรากับพระบิดาบนสวรรค์ของเราจะลึกซึ้งขึ้น

(ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “ความรักของพระผู้เป็นเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ย. 2009, 25)

1 ยอห์น 3:18 เราจะแสดงความรัก “ด้วยการกระทำและด้วยความจริง” ในความสัมพันธ์กับครอบครัวของเราได้อย่างไร?

รับชม “พรนิรันดร์ของการแต่งงาน” จากรหัสเวลา 6:23 ถึง 8:41 เพื่อดูเอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์ (1928–2015) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายการกระทำที่ดีที่ท่านและภรรยาของท่านมอบให้กันและกัน

//media.ldscdn.org/webvtt/general-conference/april-2011-general-conference/2011-04-5010-elder-richard-g-scott-en.vtt

1 ยอห์น 4:12 ยอห์นหมายความว่าอย่างไรเมื่อเขาพูดว่า “ไม่มีมนุษย์คนใดเคยเห็นพระเจ้า”?

“งานแปลของโจเซฟ สมิธข้อนี้อธิบายความเข้าใจผิดที่ว่ามนุษย์ไม่สามารถมองเห็นพระผู้เป็นเจ้า: ‘ไม่มีมนุษย์คนใดเคยเห็นพระเจ้า เว้นแต่คนเหล่านั้นที่เชื่อ’ (ใน 1 ยอห์น 4:12 , เปรียบเทียบ 1 ยอห์น 4:12) ยอห์นกล่าวต่อไปด้วยการสอนว่า: ‘ถ้าเรารักกันและกัน พระ‍เจ้าก็สถิตอยู่ในเรา และความรักของพระ‍องค์ก็สม‌บูรณ์อยู่ในเรา’ ( 1 ยอห์น 4:12) ยอห์นเองได้เห็นพระผู้เป็นเจ้าพระบิดา (ดู วิวรณ์ 5:1 ; คพ. 67:11) เพื่ออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับมนุษย์ที่สามารถมองเห็นพระผู้เป็นเจ้า ดู ยอห์น 14:23 ; กิจการ 7:56 ; คพ. 93:1 ; โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:16–17 ” (พันธสัญญาใหม่ คู่มือนักเรียน [2014], 517)

1 ยอห์น 4:20–21 “พี่น้อง” ของเราคือใคร?

ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันอธิบายว่า:

ภาพ
Official portrait of President Russell M. Nelson taken January 2018

สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตของเราคือการรักพระผู้เป็นเจ้าและรักเพื่อนบ้านของเรา ซึ่งหมายรวมโดยกว้างๆ ถึงเพื่อนบ้านในครอบครัวของเราเอง ชุมชนของเรา ประเทศของเรา และโลกของเรา

(รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “Teach Us Tolerance and Love,” Ensign หรือ Liahona, May 1994, 69)

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

1 ยอห์น 3:1–3 ; 4:12 เราสามารถเป็นเหมือนพระบิดาบนสวรรค์ผ่านความบริสุทธิ์

หากนักเรียนจะได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่จะสามารถเป็นเหมือนพระบิดาบนสวรรค์มากขึ้น เชื้อเชิญให้นักเรียนศึกษา 1 ยอห์น 3:1–3 และแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากพระคัมภีร์ข้อนี้ ดู โมไซยาห์ 5:7 ด้วย

เชิญนักเรียนมาแบ่งปันสิ่งที่ตนทราบเกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์ “อย่างที่พระองค์ทรงเป็น” ( 1 ยอห์น 3:2) ขอให้นักเรียนแบ่งปันแนวคิดเกี่ยวกับวิธีที่เราสามารถ “ชำระตนให้บริสุทธิ์” ( 1 ยอห์น 3:3) เพื่อให้เรากลายเป็นเหมือนพระผู้เป็นเจ้ามากขึ้น ความเป็นไปได้ประการหนึ่งคือการมุ่งมั่นที่จะรักอย่างที่พระผู้เป็นเจ้าทรงรัก (ดู 1 ยอห์น 4:12)

เตือนนักเรียนว่าเราไม่สามารถชำระตนให้บริสุทธิ์ได้หากไม่มีพระผู้ช่วยให้รอด เชื้อเชิญให้นักเรียนศึกษาคู่มือพระคัมภีร์ในหัวข้อ “ ทำ (ชำระ) ให้บริสุทธิ์ (การ) ” (scriptures.ChurchofJesusChrist.org) และมองหาแนวคิดเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีที่เราจะสามารถชำระตนให้บริสุทธิ์มากขึ้นด้วยความช่วยเหลือจากพระคริสต์ เชิญชวนให้นักเรียนวางแผนที่จะทำเช่นนั้น