เซมินารี
2 โครินธ์ 13


2 โครินธ์ 13

“จงพิจารณาตัวเองดูว่าท่านทั้งหลายดำรงอยู่ในความเชื่อหรือไม่”

ภาพ
A woman is standing looking at her refection in the widow of a building. You can see a city street in the background.

ผู้นำในอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้ามักตกเป็นเป้าของการวิพากษ์วิจารณ์ ในสมัยพันธสัญญาใหม่ สมาชิกศาสนจักรบางคนในกรุงโครินธ์วิพากษ์วิจารณ์เปาโล เขาตอบโดยเชื้อเชิญให้สมาชิกเหล่านั้นสำรวจการเชื่อมต่อของตนกับพระคริสต์ บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านเอาชนะการล่อลวงให้วิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น รวมทั้งผู้นำศาสนจักร โดยพินิจความซื่อสัตย์ของท่านต่อพระเจ้า

กระตุ้นให้ศึกษาพระคัมภีร์ทุกวัน กระตุ้นให้ศึกษาพระคัมภีร์ทุกวันโดยเปิดโอกาสเป็นประจำให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่ตนเรียนรู้และรู้สึกระหว่างศึกษาพระคัมภีร์เป็นการส่วนตัว

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนนิยามความแตกต่างระหว่างการมีคำถามหรือข้อกังวลที่จริงใจเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้นำศาสนจักรสอนหรือพูดกับการวิพากษ์วิจารณ์บุคคลนั้น

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

คำถามที่จริงใจหรือการวิพากษ์วิจารณ์?

สนทนาคำถามต่อไปนี้กับชั้นเรียน หากใช้การเตรียมของนักเรียนแล้ว ท่านอาจขอให้นักเรียนแบ่งปันความคิดของตน

  • มีตัวอย่างอะไรบ้างของวิธีที่ผู้คนในปัจจุบันอาจวิพากษ์วิจารณ์ผู้นำศาสนจักร?

  • อะไรคือความแตกต่างระหว่างการมีคำถามหรือข้อกังวลที่จริงใจเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้นำศาสนจักรสอนหรือพูดกับการวิพากษ์วิจารณ์บุคคลนั้น?

ช่วยให้นักเรียนเข้าใจความแตกต่างนี้ คำถามต่อไปนี้อาจช่วยได้

โดยทั่วไป การวิพากษ์วิจารณ์บางคนหมายถึงการตัดสินบุคคลนั้นในทางลบ โดยชี้ให้เห็นข้อบกพร่องหรือความผิดพลาดของบุคคลนั้น ในพระคัมภีร์ การวิพากษ์วิจารณ์อาจได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นการทุ่มเถียงหรือพร่ำบ่นบางคน

การรับรู้ข้อบกพร่องหรือความอ่อนแอในผู้อื่นโดยไม่วิพากษ์วิจารณ์นั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เรากำลังวิพากษ์วิจารณ์เมื่อเราพูดหรือเขียนเกี่ยวกับผู้อื่นในวิธีที่ตัดสินหรือวิธีเชิงลบ

  • เหตุใดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเอาชนะการล่อลวงให้วิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น รวมทั้งผู้นำศาสนจักร?

ขณะที่ท่านศึกษา 2 โครินธ์ 13 ให้มองหาว่าเราจะหลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่พระเจ้าทรงเรียกให้นำในศาสนจักรของพระองค์

การวิพากษ์วิจารณ์ การทุ่มเถียง และการพร่ำบ่น

ดูเหมือนว่าวิสุทธิชนบางคนในเมืองโครินธ์วิพากษ์วิจารณ์เปาโลอย่างเปิดเผย (ดู 2 โครินธ์ 10:10 ; 12:10–15) ใน 2 โครินธ์ 13:1–2 เปาโลเรียกวิสุทธิชนเหล่านั้นให้กลับใจด้วยภาษาที่รุนแรง

อ่าน 2 โครินธ์ 13:3 โดยมองหาสิ่งที่สมาชิกศาสนจักรบางคนในเมืองโครินธ์กำลังแสวงหาข้อพิสูจน์จากเปาโล ข้อเรียกร้องของคนเหล่านี้ที่ต้องการหลักฐานว่าเปาโลกำลังพูดแทนพระคริสต์จริงๆ อาจเป็นหลักฐานเพิ่มเติมว่าผู้คนวิพากษ์วิจารณ์เขาอย่างเปิดเผย อ่านคำกล่าวต่อไปนี้จากประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์แห่งฝ่ายประธานสูงสุด โดยมองหาว่าการวิพากษ์วิจารณ์ผู้นำของเราจะส่งผลต่อเราอย่างไร

ภาพ
Official Portrait of President Henry B. Eyring taken March 2018.

ประธานจอร์จ คิว. แคนนอนให้คำเตือนที่ข้าพเจ้าขอนำมาเตือนท่าน ข้าพเจ้าเชื่อว่าท่านพูดความจริง: “… ไม่มีมนุษย์คนใด … จะกล่าวร้ายผู้ได้รับการเจิมจากพระเจ้าได้และจะจับผิดเรื่องสิทธิอำนาจของพระผู้เป็นเจ้าบนแผ่นดินโลกได้โดยไม่ก่อให้เกิดความขุ่นเคืองพระทัย พระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์จะถอนพระองค์จากคนเช่นนั้นและเขาจะไปสู่ความมืด นี่เป็นเรื่องสำคัญ ท่านเห็นหรือไม่ว่าเป็นสิ่งสำคัญเพียงใดที่เราควรระมัดระวัง”

ดู เฮนรีย์ บี. อายริงก์, “พลังแห่งศรัทธาที่สนับสนุน,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 59)

พิจารณาเรื่องราวพระคัมภีร์ต่อไปนี้และความแตกต่างที่เรื่องราวเหล่านั้นแสดงให้เห็นระหว่างการใช้ศรัทธากับการวิพากษ์วิจารณ์:

ยอห์น 6:60, 66–69 เปรียบเทียบการตอบสนองของเปโตรกับคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอดกับปฏิกิริยาของสานุศิษย์คนอื่นๆ หลายคน

กันดารวิถี 14:2, 6–9, 35–38 เปรียบเทียบคำพูดกับการกระทำของโยชูวาและคาเลบกับคำพูดและการกระทำของผู้ที่ทำให้ชาวอิสราเอลพร่ำบ่นโมเสสและพระเจ้า

1 นีไฟ 2:12–13, 16, 19–21 เปรียบเทียบการกระทำของนีไฟกับการกระทำของเลมันและเลมิวเอล

นอกจากสิ่งที่นักเรียนศึกษาใน 2 โครินธ์แล้ว นักเรียนอาจศึกษาเรื่องราวเหล่านี้หนึ่งเรื่องหรือมากกว่านั้นด้วย จากนั้นนักเรียนจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับผลของการวิพากษ์วิจารณ์พระเจ้าหรือผู้รับใช้ของพระองค์ ในการเตรียมสอนบทเรียนนี้ ให้ใช้เวลาศึกษาบริบทของเรื่องราวเหล่านี้เพื่อพร้อมตอบคำถามที่นักเรียนอาจมี

นักเรียนอาจสนทนาเกี่ยวกับคำถามต่อไปนี้เป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็ก

  • เรื่องนี้สอนอะไรเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการวิพากษ์วิจารณ์กับการใช้ศรัทธา รวมทั้งผลที่ตามมาของแต่ละอย่าง?

  • ท่านคิดว่าเหตุใดพระวิญญาณจึงถอนตัวเมื่อผู้คน “พูดให้ร้าย” หรือ “จับผิด” คนที่พระเจ้าทรงเรียกให้นำศาสนจักรของพระองค์?

  • มีวิธีใดบ้างที่เราสามารถกระทำด้วยศรัทธาหากเรามีคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้นำศาสนจักรสอนหรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ผู้นำศาสนจักรสอน?

การหลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์

อ่าน 2 โครินธ์ 13:5–6 แล้วมองหาคำแนะนำที่เปาโลให้แก่วิสุทธิชนชาวโครินธ์ผู้สงสัยว่าพระเจ้าตรัสผ่านเขาหรือไม่ อาจเป็นประโยชน์ที่จะรู้ว่า พวกที่ไม่สามารถผ่านการพิสูจน์ คือคนไม่มีค่าควรหรือไม่ผ่านการทดสอบ

ตามที่เปาโลสอน ให้เติมข้อความต่อไปนี้ให้ครบถ้วน: แทนที่จะวิพากษ์วิจารณ์ผู้นำศาสนจักร เราควร …

ให้นักเรียนใช้คำพูดของตนเองเพื่อค้นหาความจริงที่คล้ายคลึงกับหลักธรรมต่อไปนี้:

แทนที่จะวิพากษ์วิจารณ์ผู้นำศาสนจักร เราควรตรวจสอบความซื่อสัตย์ของเราต่อพระเจ้า

ประธานอายริงก์เคยกล่าวดังนี้เกี่ยวกับเจตคติของเราต่อคนที่พระเจ้าทรงเรียกให้รับใช้ มองหาว่าถ้อยคำของท่านเสริมสิ่งที่เปาโลสอนใน 2 โครินธ์ 13:3, 5 อย่างไร:

ภาพ
Official Portrait of President Henry B. Eyring taken March 2018.

ต้องใช้ศรัทธาเพื่อจะเชื่อว่า [พระเยซูคริสต์] ทรงรู้จักคนที่พระองค์ทรงเรียกเป็นอย่างดี ทั้งความสามารถและศักยภาพของพวกเขา และไม่ทรงผิดพลาดในการเรียกของพระองค์

นั่นอาจทำให้บางคนในที่ประชุมนี้ยิ้มหรือส่ายหน้า—ทั้งคนที่คิดว่าการเรียกพวกตนให้รับใช้อาจเป็นความผิดพลาดและคนที่นึกภาพคนรู้จักซึ่งดูไม่เหมาะสมเลยกับตำแหน่งของพวกเขาในอาณาจักรของพระเจ้า คำแนะนำของข้าพเจ้าต่อคนทั้งสองกลุ่มคืออย่าเพิ่งตัดสินเช่นนั้นจนกว่าท่านจะเห็นสิ่งที่พระเจ้าทรงเห็นได้ดีขึ้น แต่การตัดสินที่ท่านต้องทำคือ ท่าน สามารถรับการเปิดเผยและทำตามนั้นได้โดยไม่หวาดหวั่น

(เฮนรีย์ บี. อายริงก์, “พระเจ้าทรงนำศาสนจักรของพระองค์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2017, 82)

  • คำแนะนำของประธานอายริงก์จะช่วยเราได้อย่างไรหากเราถูกล่อลวงให้ตัดสินหรือวิพากษ์วิจารณ์ผู้นำที่พระเจ้าทรงเลือก?

  • การพินิจความซื่อสัตย์ของเราต่อพระเยซูคริสต์ช่วยให้เราไม่พูดให้ร้ายหรือตัดสินผู้อื่นอย่างไร?

สำรวจตนเอง

เมื่อเรารับการสัมภาษณ์ใบรับรองพระวิหาร เราจะได้รับคำถามว่าเราสนับสนุนผู้นำศาสนจักรหรือไม่ ประธานอายริงก์เสนอคำถามบางข้อที่จะช่วยเราเตรียมตอบคำถามนี้ แสวงหาการดลใจจากพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ขณะท่านไตร่ตรองถึงคำถามต่อไปนี้

ท่านอาจแสดงข้อความต่อไปนี้และเชื้อเชิญให้นักเรียนไตร่ตรองคำตอบหรือเขียนลงในสมุดบันทึกการศึกษาของตน

ภาพ
Official Portrait of President Henry B. Eyring taken March 2018.

อาจมีผู้ถามท่านหรือคนจะถามท่านว่าท่านสนับสนุนอธิการ ประธานสเตคของท่าน เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ และเจ้าหน้าที่สามัญของศาสนจักรหรือไม่ …

… ท่านอาจเตรียมพร้อมโดยถามตนเองด้วยคำถามทำนองนี้:

1. ฉันเคยคิดหรือพูดเรื่องความอ่อนแอของมนุษย์ในผู้ที่ฉันแสดงตนว่าสนับสนุนหรือไม่?

2. ฉันเคยมองหาหลักฐานว่าพระเจ้าทรงนำผู้คนเหล่านั้นหรือไม่?

3. ฉันทำตามการเป็นผู้นำของคนเหล่านั้นด้วยมโนธรรมและความภักดีหรือไม่?

4. ฉันเคยพูดถึงหลักฐานที่ฉันเห็นได้ว่าคนเหล่านั้นเป็นผู้รับใช้ของพระผู้เป็นเจ้าหรือไม่?

5. ฉันสวดอ้อนวอนให้คนเหล่านั้นเป็นประจำโดยเอ่ยชื่อด้วยความรักหรือไม่?

สำหรับพวกเราส่วนใหญ่ คำถามเหล่านี้มักจะทำให้อึดอัดและต้องการกลับใจ

(เฮนรีย์ บี. อายริงก์, “พลังแห่งศรัทธาที่สนับสนุน,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 59)

หากคำถามเหล่านี้ “มักจะทำให้อึดอัด” ให้สวดอ้อนวอนและเขียนเกี่ยวกับสิ่งที่ท่านทำได้เพื่อกลับใจและเปลี่ยนแปลง

เป็นพยานถึงพระผู้ช่วยให้รอด ผู้นำที่พระองค์ทรงเลือก และความปลอดภัยทางวิญญาณที่มาจากการพินิจตนเองแทนที่จะวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

อะไรคืออันตรายของการวิพากษ์วิจารณ์ผู้ที่พระเจ้าทรงเรียก?

ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธ (1805–1844) สอนดังนี้:

ภาพ
Half-length frontal portrait of the Prophet Joseph Smith, Jr. Joseph’s head is turned to the side in a three-quarter view, right hand on hip and his left hand holds sheets of papers. He is depicted wearing a dark brown suit and a white shirt and tie.

[หากคนหนึ่ง] ลุกขึ้น กล่าวโทษผู้อื่น จับผิดศาสนจักร และพูดว่าคนเหล่านั้นออกนอกลู่นอกทาง ส่วนตัวเขาเป็นคนชอบธรรม เมื่อนั้นจะรู้แน่นอนว่าคนๆ นั้นอยู่ในทางหลวงที่นำไปสู่การละทิ้งความเชื่อ และหากเขาไม่กลับใจ พระผู้เป็นเจ้าทรงพระชนม์อยู่ฉันใด เขาจะละทิ้งความเชื่อแน่นอนฉันนั้น

(คำสอนของประธานศาสนาจักร: โจเซฟ สมิธ [2007], 343)

การมีคำถามเป็นสิ่งที่ทำได้ไหม?

ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟแห่งฝ่ายประธานสูงสุดในขณะนั้นสอนดังนี้:

ภาพ
Official portrait of Elder Dieter F. Uchtdorf of the Quorum of the Twelve Apostles, 2006. Called as Second Counselor in the First Presidency, 3 February 2008. Made official portrait in 2008 replacing portrait taken in 2004.

เราสงสัยเกี่ยวกับศาสนจักรหรือหลักคำสอนได้หรือไม่? เพื่อนหนุ่มสาวที่รักของข้าพเจ้า เราเป็นผู้คนที่ชอบถามคำถาม … เพราะเรารู้ว่าการถามนำไปสู่ความจริง …

… บางคนอาจรู้สึกเขินอายหรือไม่มีค่าควรเพราะพวกเขามีคำถามใคร่รู้เกี่ยวกับพระกิตติคุณ แต่พวกเขาไม่จำเป็นต้องรู้สึกแบบนั้น การถามคำถามไม่ใช่เครื่องหมายของความอ่อนแอ แต่เป็นต้นเค้าของการเติบโต …

อย่ากลัว จงถามคำถาม จงสนใจใคร่รู้ แต่อย่าคลางแคลงใจ! จงยึดมั่นอยู่เสมอในศรัทธาและความสว่างที่ท่านได้รับมา เพราะเราเห็นความไม่ดีพร้อมในความเป็นมรรตัย ไม่ใช่ทุกอย่างที่จะสมเหตุสมผลตอนนี้

(ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “เงาสะท้อนในน้ำ” [การให้ข้อคิดทางวิญญาณระบบการศึกษาของศาสนจักรสำหรับคนหนุ่มสาว 1 พ.ย. 2009], broadcasts.ChurchofJesusChrist.org)

ศาสดาพยากรณ์ไม่สามารถตกได้ใช่ไหม?

เชอรี ดิว อดีตที่ปรึกษาในฝ่ายประธานสมาคมสงเคราะห์สามัญกล่าวว่า:

ภาพ
Portrait of Sheri L. Dew, 2001.

บางคนวนเวียนอยู่ในคำถาม: แต่ศาสดาพยากรณ์ ผู้หยั่งรู้ และผู้เปิดเผยไม่มีทางผิดพลาดใช่ไหม? นั่นเป็นคำถามที่ผิด คำถามที่ดีกว่านั้นคือศาสดาพยากรณ์ เป็นใครกันแน่? ศาสดาพยากรณ์เป็นผู้ถือกุญแจฐานะปุโรหิตที่ได้รับแต่งตั้งซึ่งมอบอำนาจของพระเจ้าให้กระจายไปทั่วโลก พวกเขาอาจไม่ดีพร้อม แต่พวกเขาเป็นผู้นำที่ได้รับการดลใจมากที่สุดบนแผ่นดินโลก และแรงจูงใจเดียวของพวกเขาบริสุทธิ์อย่างสมบูรณ์—เพื่อช่วยให้เราพบทางกลับบ้านโดยชี้ทางให้เราไปหาพระเยซูคริสต์

(เชอรี ดิว, “Prophets” [BYU–Pathway Worldwide devotional, 13 กรกฎาคม 2021], 2, byupathway.org/speeches)

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

2 โครินธ์ 13:5 “จงพิจารณาตัวเองดูว่าท่านทั้งหลายดำรงอยู่ในความเชื่อหรือไม่”

ท่านอาจจะใช้สิ่งนี้ภายใต้หัวข้อ “หลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์” ในบทเรียน

ทั้งเอซรา บูธ และเอดเวิร์ด พาร์ทริจอยู่ในบรรดาเอ็ลเดอร์ที่เดินทางไปมิสซูรีกับศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธในฤดูร้อนปี 1831 เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน “Facing Disappointment—We Always Have a Choice” โดย แมทธิว ซี. กอดฟรีย์ ใน ChurchofJesusChrist.org ขอให้นักเรียนเปรียบเทียบปฏิกิริยาของเอซรากับเอดเวิร์ดเมื่อทั้งคู่เผชิญกับความผิดหวัง

ช่วยนักเรียนระบุว่าเอดเวิร์ดสำรวจตนเอง พบที่ว่างเพื่อปรับปรุง และกลับใจอย่างไร ขณะที่เอซรายังคงวิพากษ์วิจารณ์ศาสดาพยากรณ์และสูญเสียศรัทธาของตน