เซมินารี
ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน 9


ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน 9

1 โครินธ์ 8–16 และ 2 โครินธ์

ภาพ
Young man studying scriptures

บทเรียนนี้มีเจตนาจะช่วยให้ท่านประเมินเป้าหมายที่ท่านตั้งไว้ รวมถึงประสบการณ์ในการเติบโตส่วนตัวระหว่างศึกษาพันธสัญญาใหม่

ช่วยนักเรียนประเมินการเรียนรู้ของตน เปิดโอกาสให้นักเรียนประเมินการเรียนรู้ของตน วิธีหนึ่งคือเชื้อเชิญให้นักเรียนใคร่ครวญเป้าหมายที่ตั้งไว้เพื่อดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ ขณะนักเรียนใคร่ครวญ พวกเขาจะรับรู้ว่าตนต้องปรับปรุงจุดใดและได้ปรับปรุงสิ่งใดมาแล้วบ้าง กระตุ้นให้นักเรียนเชื้อเชิญความช่วยเหลือจากพระวิญญาณเพื่อนักเรียนจะรู้สึกมีความหวังและรู้ว่าตนจะเรียนรู้ต่อไปได้อย่างไร

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนทบทวนวิธีที่ตนพยายามประยุกต์ใช้หลักธรรมที่เรียนรู้จาก 1 โครินธ์ 8–16 และ 2 โครินธ์

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

บทเรียนนี้มีเจตนาจะช่วยให้นักเรียนประเมินเป้าหมายที่พวกเขาตั้งไว้ ประเมินความสามารถในการอธิบายคำสอนในพันธสัญญาใหม่ หรือเจตคติ ความปรารถนา และความสามารถในการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร การศึกษา 1 โครินธ์ 8–16 และ 2 โครินธ์ ของชั้นเรียนอาจเน้นความจริงนอกเหนือจากความจริงในกิจกรรมต่อไปนี้ หากเป็นเช่นนั้น อาจปรับกิจกรรมให้มีความจริงเหล่านั้นด้วย

ในบทเรียนนี้ท่านจะมีโอกาสประเมินการเรียนรู้ของท่านและวิธีที่ท่านประยุกต์ใช้หลักธรรมที่สอนใน 1 โครินธ์ 8–16 และ 2 โครินธ์ การประเมินการเรียนรู้ของท่านจะช่วยท่านวิเคราะห์ว่าการศึกษาพระคัมภีร์กำลังช่วยให้ท่านเป็นเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้นอย่างไร

ประเมินเป้าหมายของท่าน

ท่านอาจเริ่มชั้นเรียนโดยท้าทายให้นักเรียนทายว่าพระคัมภีร์ที่พิมพ์ไว้ในพระคัมภีร์ไบเบิล พระคัมภีร์มอรมอน หลักคำสอนและพันธสัญญา และไข่มุกอันล้ำค่ามีรวมกันกี่หน้า หลังจากนักเรียนทายแล้ว เชื้อเชิญให้นักเรียนนับจำนวนหน้าจริงเพื่อดูว่าใครทายได้ใกล้เคียงที่สุด

ทายว่าพระคัมภีร์ที่พิมพ์ไว้ในพระคัมภีร์ไบเบิล พระคัมภีร์มอรมอน หลักคำสอนและพันธสัญญา และไข่มุกอันล้ำค่ามีรวมกันกี่หน้า

  • ท่านคิดว่าเหตุใดพระเจ้าจึงประทานพระคัมภีร์มากมายหลายหน้าแก่เรา?

  • ท่านจะแสดงความสำนึกคุณที่ท่านมีต่อพระวจนะของพระองค์ได้อย่างไร?

เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายสาเหตุที่พระเจ้าประทานพระคำของพระองค์มากมายในพระคัมภีร์ อ่านข้อความต่อไปนี้หรือชม “พรจากพระคัมภีร์” (3:03) มีให้รับชมได้ที่ ChurchofJesusChrist.org

ภาพ
Portrait of Elder D. Todd Christofferson. Photographed in March 2020.

ลองนึกถึงความสำคัญของพรที่เรามี … งานเขียนศักดิ์สิทธิ์มากมายเช่นนี้ ไม่เพียงเท่านั้น ชาย หญิง และเด็กทุกคนยังสามารถครอบครองและศึกษาหนังสือศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ในภาษาของตนเองเกือบทุกภาษา … แน่นอนว่าการได้รับพรดังกล่าว พระเจ้าทรงกำลังบอกว่าเราจำเป็นต้องใช้พระคัมภีร์ตลอดเวลามากกว่าช่วงใดที่ผ่านมา ขอให้เราดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์อยู่เสมอ พระวจนะนั้นจะบอกทุกสิ่งที่เราควรทำ (ดู 2 นีไฟ 32:3)

(ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน, “พรจากพระคัมภีร์,” เลียโฮนา, พ.ค. 2010, 43)

  • ทำไมท่านจึงคิดว่าความจำเป็นของเราที่ต้องหันไปหา “พระคัมภีร์ [ในปัจจุบัน] มากกว่าช่วงใดที่ผ่านมา”?

  • พระคัมภีร์ตอบสนองความต้องการส่วนตัวอะไรบ้างในชีวิตท่าน หรือจะสามารถตอบสนองความต้องการอะไรบ้าง?

ใช้เวลาหนึ่งนาทีใคร่ครวญการศึกษาพระคัมภีร์ส่วนตัวของท่าน ทูลขอคำปรึกษาจากพระบิดาบนสวรรค์ว่าการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านตอบสนองความต้องการของท่านอย่างไรและท่านจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนหรือไม่ บางทีท่านอาจต้องมีความสม่ำเสมอมากขึ้นในการศึกษาพระคัมภีร์ประจำวันของท่านหรือเพิ่มความลึกซึ้งในความเข้าใจที่ได้รับจากการศึกษาของท่าน จดการปรับเปลี่ยนใดๆ ที่ท่านรู้สึกว่าควรทำ ท่านอาจขอให้ครอบครัวของท่าน ครูเซมินารีของท่าน หรือผู้นำศาสนจักรช่วยท่านเรื่องเป้าหมายการศึกษาพระคัมภีร์

พึ่งพาพระผู้ช่วยให้รอดและแสวงหาความช่วยเหลือจากพระองค์

ภาพ
Jesus forgiving and healing a man.

เมื่อเปาโลเขียนถึงวิสุทธิชนในโครินธ์ เขาจดจ่อกับวิธีที่พระเยซูคริสต์ประทานพรและทรงช่วยเหลือเรา ตัวอย่างบางเรื่องได้แก่ การช่วยให้เราหนีพ้นการล่อลวง (ดู 1 โครินธ์ 10:13) การช่วยเราพัฒนาจิตกุศล (ดู 1 โครินธ์ 13) การทำให้เราฟื้นจากความตายผ่านการฟื้นคืนชีวิต (ดู 1 โครินธ์ 15) การเชื้อเชิญให้เราคืนดีกับพระองค์ (ดู 2 โครินธ์ 5:16–21 ; 7:1–10) และการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เราอดทนต่อความท้าทายอย่างซื่อสัตย์ (ดู 2 โครินธ์ 1112)

ใช้เวลาสักครู่ทบทวนข้อพระคัมภีร์ที่ท่านทำเครื่องหมายหรือหมายเหตุที่ท่านทำไว้ใน 1 โครินธ์ 8–16 และ 2 โครินธ์ ที่ช่วยให้ท่านเรียนรู้หรือพึ่งพาพระผู้ช่วยให้รอด

เตรียมข้อความที่มีความยาว 3 ถึง 5 นาทีเกี่ยวกับวิธีที่พระเยซูคริสต์ทรงช่วยเหลือท่าน ซึ่งรวมถึงสิ่งต่อไปนี้:

  • พระคัมภีร์อย่างน้อยหนึ่งข้อจาก 1 โครินธ์ 8–16 หรือ 2 โครินธ์ ที่มีความหมายต่อท่าน

  • คำอธิบายว่าข้อเหล่านั้นสอนอะไรเกี่ยวกับวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงช่วยเหลือและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ท่าน

  • ประสบการณ์จากชีวิตท่านหรือแบบอย่างในพระคัมภีร์ของพระเยซูคริสต์ที่ช่วยในวิธีที่สอนในข้อเหล่านั้น

  • วิธีที่ท่านอาจเชื้อเชิญให้ผู้อื่นรับความช่วยเหลือและความเข้มแข็งของพระผู้ช่วยให้รอด

ท่านอาจเชื้อเชิญอาสาสมัครสองสามคนแบ่งปันข้อความของพวกเขากับชั้นเรียน หรือนักเรียนอาจแบ่งปันกับคู่ก็ได้ กระตุ้นให้นักเรียนแบ่งปันข้อความของตนที่บ้านหรือในโบสถ์

งานพระวิหารและประวัติครอบครัวและการฟื้นคืนชีวิต

ภาพ
Temple Family History

กิจกรรม ก: พรของการมีส่วนร่วมในงานพระวิหารและประวัติครอบครัว

หากไม่ได้สอน บทเรียนใน 1 โครินธ์ 15:29 หรือหากนักเรียนไม่ได้รับเชิญให้สร้างแผนเพื่อมีส่วนร่วมในงานพระวิหารและประวัติครอบครัวมากขึ้น ท่านอาจข้ามกิจกรรม ก ได้

หากดูเหมือนว่านักเรียนไม่รู้วิธีใช้ FamilySearch.org หรือแอปพลิเคชัน FamilySearch ท่านอาจให้เวลานักเรียนสำรวจสักครู่ นักเรียนอาจค้นหาบรรพชนผู้ล่วงลับที่ตนรู้จักเป็นส่วนตัวหรือคนที่ตนจะพูดคุยได้ ช่วยให้นักเรียนใคร่ครวญว่าการฟื้นคืนพระชนม์ของพระผู้ช่วยให้รอดมีความหมายต่อบรรพชนที่ตนพบอย่างไร

ก่อนหน้านี้ท่านอาจเคยศึกษา 1 โครินธ์ 15:29 แล้ว ให้นึกว่าการฟื้นคืนพระชนม์ของพระผู้ช่วยให้รอดส่งผลต่อบรรพชนของท่านอย่างไร ดูวีดิทัศน์นี้ขณะท่านใคร่ครวญ

ภาพ
Temple Family History

ขณะที่ท่านศึกษา 1 โครินธ์ 15:29 ท่านอาจสร้างแผนเพื่อมีส่วนร่วมในงานพระวิหารและประวัติครอบครัว หากท่านทำเช่นนั้น ให้ใช้เวลาสักครู่ทบทวนแผนของท่านและใคร่ครวญการกระทำที่ท่านทำเพื่อนำแผนนั้นไปใช้ หากท่านไม่ทำ ท่านอาจคิดแผนขึ้นมาตอนนี้เลยว่าท่านจะช่วยให้บรรพชนของท่านได้รับพรทั้งปวงจากพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ได้อย่างไร

ท่านอาจแสดงคำแนะนำต่อไปนี้เพื่อให้นักเรียนเห็นขณะที่ไตร่ตรองและเขียน หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว เชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันคำตอบของตน

รายงานแผนของท่าน

หากท่านวางแผน ให้แบ่งปันสิ่งที่ดำเนินไปด้วยดีและอุปสรรคที่ท่านเผชิญมีอะไรบ้าง มีการปรับเปลี่ยนอะไรบ้างที่ท่านรู้สึกว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงต้องการให้ท่านทำ? การปรับเปลี่ยนเหล่านั้นจะช่วยท่านอย่างไร?

ถ้าท่านไม่ได้วางแผน ให้แบ่งปันสิ่งที่ท่านอยากทำและเหตุผล ท่านคิดว่าแผนของท่านจะส่งผลต่อท่านและคนอื่นๆ อย่างไรเมื่อท่านนำแผนนั้นไปใช้?

ตอบคำถามต่อไปนี้หนึ่งข้อ:

  • การมีส่วนร่วมในงานพระวิหารและประวัติครอบครัวแสดงให้เห็นถึงความหวังของท่านสำหรับการฟื้นคืนชีวิตอย่างไร?

  • การมีส่วนร่วมในงานพระวิหารและประวัติครอบครัวช่วยให้ท่านรู้สึกใกล้ชิดพระบิดาบนสวรรค์มากขึ้นและเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์มากขึ้นอย่างไร?

กิจกรรม ข: อธิบายหลักคำสอนเรื่องการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอด

ช่วยนักเรียนประเมินความสามารถของตนในการอธิบายหลักคำสอนเรื่องการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดโดยสนทนาเกี่ยวกับคำถามบางข้อต่อไปนี้ อัญเชิญพระวิญญาณบริสุทธิ์ให้นำการสนทนานี้

  • เหตุใดการฟื้นคืนพระชนม์ของพระผู้ช่วยให้รอดจึงเป็นส่วนจำเป็นของการชดใช้ของพระองค์?

  • ท่านเคยศึกษาอะไรใน 1 โครินธ์ 8–16 หรือ 2 โครินธ์ เกี่ยวกับการฟื้นคืนชีวิตที่เคยช่วยท่าน?

  • ท่านคิดว่าการเลือกใดจะต่างจากนี้ในชีวิตเราถ้าเราไม่เชื่อในการฟื้นคืนชีวิตอย่างแท้จริง?

  • เหตุใดท่านจึงสำนึกคุณที่พระเยซูคริสต์ทรงมอบอำนาจเหนือความตายให้เรา? ท่านจะแสดงความสำนึกคุณของท่านได้อย่างไร?