เซมินารี
ยากอบ 3


ยากอบ 3

คำพูดที่เราเอ่ย

ภาพ
Three teenage young women smiling and laughing together.

คำพูดที่เราเอ่ยมีพลัง ท่านสามารถนึกถึงประสบการณ์ในชีวิตของท่านในจุดที่ท่านรู้สึกได้ถึงพลังของคำพูดทั้งในแง่ดีหรือไม่ดีได้หรือไม่? ในสาส์นของยากอบ เขาได้สอนถึงความสำคัญของการควบคุมคำพูดของเรา บทเรียนนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ท่านประเมินคำพูดที่ท่านพูดและวิธีการที่คำพูดของท่านจะส่งผลกระทบต่อความพยายามของท่านในการเป็นเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้น

พัฒนาความสามารถในการสนทนากับผู้อื่นเรื่องความเชื่อพระกิตติคุณ ให้โอกาสนักเรียนอธิบายพระกิตติคุณด้วยคำพูดของพวกเขาเอง แบ่งปันและเป็นพยานถึงสิ่งที่พวกเขารู้และรู้สึก ซึ่งจะช่วยให้พระกิตติคุณหยั่งรากลึกเข้าไปในหัวใจของพวกเขา

การเตรียมของนักเรียน: เชิญนักเรียนเพื่อสังเกตว่าภาษาที่เราใช้ส่งผลต่อเราและผู้อื่นอย่างไร เชื้อเชิญให้นักเรียนเตรียมมาแบ่งปันสิ่งที่ค้นพบ

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

พลังของคำพูด

ดูที่รูปภาพด้านล่างและจินตนาการถึงการสนทนาที่บุคคลนั้นๆ อาจกำลังสนทนาอยู่ พิจารณาถึงผลกระทบจากคำพูดที่เราได้ยินและใช้

พิจารณาแสดงรูปภาพสองรูปที่แสดงการสนทนาที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น ภาพหนึ่งอาจเป็นภาพของคนสองคนที่โต้เถียงกัน และอีกภาพหนึ่งเป็นสองคนที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กันด้วยคำพูดของตน ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้:

ภาพ
A mother argues with her teenage son while they stand in their kitchen.
ภาพ
A young woman and her mother using a tablet and scriptures probably study and having a conversation.
  • สิ่งใดคือสิ่งล่าสุดที่ท่านจำได้ว่ามีคนพูดกับท่านซึ่งช่วยเหลือหรือทำร้ายท่าน?

  • สิ่งใดคือสิ่งล่าสุดที่ท่านกล่าวกับผู้อื่นที่เสริมสร้างความเข้มแข็งหรือให้กำลังใจพวกเขา?

พิจารณาเชิญให้นักเรียนแบ่งปันคำตอบ หากนักเรียนรู้สึกสบายใจและเหมาะสำหรับสถานการณ์ในชั้นเรียน

พิจารณาว่าท่านได้พูดอะไรหรือไม่เมื่อเร็วๆ นี้ซึ่งอาจส่งผลกระทบด้านลบต่อบางคน ขณะที่ท่านศึกษาคำสอนของยากอบ ให้มองหาความจริงที่จะช่วยให้ท่านเข้าใจพลังของคำพูดได้ดีขึ้น ใส่ใจต่อความรู้สึก ความคิด และความประทับใจที่กระตุ้นให้ท่านพูดเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้น

ลิ้นเป็นเสมือนดั่ง …

ยากอบได้เน้นย้ำถึงพลังของคำพูดที่เราได้ยินและพูดและเปรียบเทียบลิ้นกับสิ่งต่างๆ มากมาย อ่าน ยากอบ 3:2–12 แล้วค้นหาว่ายากอบเปรียบเทียบลิ้นกับสิ่งใดบ้าง วาดรูปภาพการเปรียบเทียบของยากอบหนึ่งหรือสองประการด้วยรูปแบบที่เรียบง่ายในสมดุบันทึกการศึกษาของท่าน แล้วไตร่ตรองว่าคำพูดของเราเหมือนกับสิ่งที่ท่านกำลังวาดอยู่ได้อย่างไร

ท่านอาจให้นักเรียนทำงานเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็กขณะศึกษาการเปรียบเทียบของยากอบ อีกทางเลือกหนึ่งคือ ให้รายการการเปรียบเทียบต่อไปนี้กับนักเรียนและเชิญให้นักเรียนศึกษาการเปรียบเทียบสองสามข้อ จากนั้นไตร่ตรองว่าคำพูดของเราจะเหมือนกับสิ่งที่อยู่ในรายการอย่างไร

อ่านรายการต่อไปนี้เพื่อดูว่าท่านได้ระบุการเปรียบเทียบเดียวกันหรือไม่

  • บัง‌เหียนใส่ปากม้า ยากอบ 3:2–3, 5 บัง‌เหียนใส่ปากม้า (ดูข้อ 3) เป็นเหล็กชิ้นเล็กใส่ไว้ในปากม้าเชื่อมกับบังเหียน ทำให้คนขี่ม้าบังคับทิศทางม้าได้

  • หางเสือ ยากอบ 3:4–5 หางเสือ (ดูข้อ 4) ควบคุมทิศทางของท้ายเรือ ซึ่งจะทำหน้าที่แล่นหรือเลี้ยวเรือ

  • ไฟ ยากอบ 3:5–6 &#160

  • สัตว์ที่ไม่เชื่อง ยากอบ 3:7–8

  • พิษร้าย ยากอบ 3:8

  • บ่อน้ำพุและต้นมะเดื่อ ยากอบ 3:10–12

  • การเปรียบเทียบเหล่านี้จะช่วยให้เราเข้าใจพลังของคำพูดที่เราได้ยินและพูดได้ดียิ่งขึ้นอย่างไร?

  • มีการเปรียบเทียบอื่นๆ ที่ท่านอาจเพิ่มเพื่ออธิบายผลกระทบของคำพูดที่เราพูดไหม?

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองได้แบ่งปันเรื่องราวต่อไปนี้เกี่ยวกับคำสอนอันทรงพลังของยากอบ:

ภาพ
Official Portrait of Elder Jeffrey R. Holland. Photographed January 2018.

เห็นได้ชัดว่ายากอบไม่ได้หมายความว่าลิ้นของเราจะบาปหนา ตลอดเวลา หรือว่า ทุกอย่าง ที่เราพูดจะ “เต็มไปด้วยพิษร้ายถึงตาย” แต่ความหมายที่ชัดเจนคืออย่างน้อยก็มีบางอย่างที่เราพูดซึ่งอาจบ่อนทำลาย หรือถึงขนาดมีพิษร้ายแรงมาก—และนั่นเป็นข้อกล่าวหาที่น่าหวาดกลัวสำหรับวิสุทธิชนยุคสุดท้าย! เสียงที่แสดงประจักษ์พยานอย่างจริงใจ กล่าวคำสวดอ้อนวอนอย่างแรงกล้า และร้องเพลงสวดแห่งไซอัน อาจเป็น เสียงเดียวกับที่ดุด่าว่ากล่าวและวิพากษ์วิจารณ์ ก่อความอึดอัดดูหมิ่น ทำให้เจ็บปวดและทำลายวิญญาณของตนเองและผู้อื่นในการกระทำเช่นนั้น …

… ขอให้เราพยายามเป็นบุรุษและสตรีที่ “ดีพร้อม“ อย่างน้อยที่สุดในหนทางหนึ่งตั้งแต่บัดนี้—โดยไม่ทำให้ขุ่นเคืองในคำพูด หรือถ้าจะกล่าวอย่างสร้างสรรค์ โดยการพูดด้วยลิ้นใหม่ ลิ้นของเทพ คำพูดของเราเหมือนกับการกระทำของเรา ควรเปี่ยมด้วยศรัทธา ความหวัง และจิตกุศล … อันจำเป็นอย่างยิ่งในโลกปัจจุบันนี้ ด้วยคำพูดที่กล่าวภายใต้อิทธิพลของพระวิญญาณน้ำตาสามารถเหือดแห้งไป ใจหายเจ็บ ชีวิตยกขึ้นสู่ความสูงส่ง ความหวังกลับคืนมา ความมั่นใจยังคงอยู่

(เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์, “ลิ้นของเทพ,” เลียโฮนา, พ.ค. 2007, 16, 20)

  • ท่านได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเปรียบเทียบของยากอบและคำกล่าวของเอ็ลเดอร์ฮอลแลนด์?

ความจริงข้อหนึ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้ก็คือ ผู้ติดตามของพระผู้เป็นเจ้ามุ่งมั่นที่จะใช้ภาษาของตนเพื่อจุดประสงค์ที่ชอบธรรม ไม่ใช่เพื่อเผยแพร่ความชั่วร้าย

พิจารณาชั่วครู่ว่าท่านเคยเห็นภาษาที่ใช้เพื่อความดีและความชั่วในสถานการณ์ต่อไปนี้อย่างไร:

  • ในการส่งข้อความหรือโซเชียลมีเดีย

  • ที่โบสถ์ในวันอาทิตย์

  • ที่โรงเรียนกับเพื่อนๆ ของท่าน

  • ในทีมหรือในสโมสร

  • ที่บ้านกับครอบครัวของท่าน

  • ประสบการณ์ใดที่ท่านเคยได้รับซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลอันทรงพลังของคำพูดที่อาจมีต่อผู้คน ทั้งในแง่ดีหรือชั่ว?

พระเยซูคริสต์ทรงเป็น “คนดีพร้อม” ( ยากอบ 3:2) และตัวอย่างของเราในทุกสิ่ง รวมถึงถ้อยพระคำที่พระองค์ตรัสด้วย นึกถึงสิ่งที่ท่านรู้เกี่ยวกับพระองค์ ลองจินตนาการดูว่าพระผู้ช่วยให้รอดจะทรงใช้ถ้อยคำของพระองค์อย่างไรหากพระองค์อยู่ในสถานการณ์ที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้

  • ความแตกต่างใดที่ท่านอาจสังเกตเห็นระหว่างจินตนาการของท่านถึงวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดจะทรงใช้ถ้อยคำ และสิ่งที่ท่านเห็นและได้ยินโดยทั่วไปในสถานการณ์เหล่านี้ในยุคปัจจุบัน?

ภาษาที่เราได้ยินและใช้

พระเจ้าทรงสอนเราถึงสิ่งที่เราควรและไม่ควรพูดผ่านศาสดาพยากรณ์ของพระองค์

หากนักเรียนจะได้รับประโยชน์จากการประเมินตนเองต่อไปนี้ ให้แจกเอกสารต่อไปนี้ให้นักเรียน นักเรียนสามารถประเมินภาษาของตนเองได้โดยทั่วไปหรือสำหรับด้านใดด้านหนึ่งในชีวิต เช่น ที่บ้าน โบสถ์และอื่นๆ

ไตร่ตรองการสื่อสารของท่าน (ไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตาม: การส่งข้อความ สื่อสังคมออนไลน์ การพูดกับผู้อื่น และอื่นๆ) ขณะที่ท่านอ่านข้อความ 10 ข้อต่อไปนี้ที่ปรับมาจาก เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน ([จุลสาร, 2011], 20–21) ประเมินภาษาของท่านโดยใช้ระดับคะแนนตั้งแต่ 1 ถึง 5 โดย 1 หมายถึง “ฉันต้องการความช่วยเหลืออย่างมาก” และ 5 หมายถึง “ฉันทำได้ดีมาก”

1. ฉันพยายามใช้ภาษาที่สะอาดและชาญฉลาด

2. ฉันใช้ภาษาที่ให้กำลังใจ สนับสนุน และชื่นชม

3. ฉันพูดถึงผู้อื่นในแง่ดีและมีเมตตา

4. ฉันไม่ดูถูกผู้อื่นหรือทำให้ผู้อื่นรู้สึกแย่ แม้แต่จะเป็นมุกตลกก็ตาม

5. ฉันพยายามหลีกเลี่ยงการนินทาทุกรูปแบบและหลีกเลี่ยงการพูดขณะโกรธ

6. เมื่อถูกล่อล่วงให้พูดสิ่งที่รุนแรงหรือเจ็บใจ ฉันก็ไม่พูดมันออกมา

7. ฉันออกพระนามพระผู้เป็นเจ้าและพระเยซูคริสต์ด้วยความคารวะและความเคารพเสมอ

8. ฉันกล่าวถึงพระบิดาบนสวรรค์ด้วยภาษาที่มีความคารวะและความเคารพ

9.ฉันไม่ใช้ภาษาหรือท่าทางที่ลบหลู่ ต่ำช้าหรือหยาบคาย

10.ฉันไม่เล่าเรื่องตลกหรือเรื่องราวเกี่ยวกับการกระทำที่ผิดศีลธรรม

ภาพ
New Testament Seminary Teacher Manaul - 2023

คิดถึงภาษาที่ท่านเลือกใช้และไตร่ตรองว่าท่านสามารถทำสิ่งใดได้ดีขึ้น

  • อะไรคือหนึ่งหรือสองสิ่งที่จะช่วยให้ท่านเลือกใช้คำที่ท่านพูดและได้ยินอย่างระมัดระวังมากขึ้น?

  • ท่านอาจต้องการปรับปรุงในสถานการณ์ใดบ้าง?

  • กลยุทธ์ใดที่อาจช่วยได้?

  • ความพยายามของท่านจะช่วยให้ท่านเป็นเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้นอย่างไร?

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

คำพูดของเราสะท้อนให้เห็นว่าเราเป็นใครในฐานะปัจเจกบุคคลอย่างไร?

เอ็ลเดอร์โรเบิร์ต เอส. วูดแห่งสาวกเจ็ดสิบสอนเรื่องต่อไปนี้:

ภาพ
Final official portrait of Elder Robert S. Wood of the Second Quorum of the Seventy, 1999. Called as president of the Boston Massachusetts Temple, 2009. Released from Second Quorum of the Seventy October 3, 2009 at general conference.

คำพูดและการกระทำภายนอกของเราใช่ว่าจะไม่ส่งผลอะไรเลย เพราะทั้งสองสิ่งจะสะท้อนว่าเราเป็นใครและเราจะเป็นอะไร …

ถ้อยคำและอากัปกิริยาของเรา ไม่เพียงเผยให้เห็นธาตุแท้ในตัวเราเท่านั้น แต่จะหล่อหลอมความเป็นตัวเรา หล่อหลอมคนที่อยู่รอบข้างเรา และในที่สุดสังคมทั้งหมดของเรา ทุกวันเราแต่ละคนเข้าไปมีส่วนในการบดบังความสว่างหรือขับไล่ความมืดออกไป เราได้รับเรียกให้เชื้อเชิญความสว่างและเป็นความสว่างเพื่อชำระตัวเราให้บริสุทธิ์และสร้างสรรค์ผู้อื่น …

เมื่อเราพูดและทำ เราควรถามว่าคำพูดและการกระทำของเรามีแนวโน้มที่จะอัญเชิญอำนาจของสวรรค์มาสู่ชีวิตของเราและเชื้อเชิญทุกคนให้มาสู่พระคริสต์หรือไม่ เราต้องปฏิบัติกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยความคารวะ เราจำเป็นต้องกำจัดความหยาบโลนและการลามก ความรุนแรงและการข่มขู่ ความเสื่อมทรามและความโป้ปดมดเท็จให้หมดไปจากการสนทนาของเรา อัครสาวกเปโตรเขียนไว้ “แต่พระองค์ผู้ทรงเรียกพวกท่านนั้นบริสุทธิ์อย่างไร พวกท่านเองก็จงเป็นคนบริสุทธิ์ในชีวิตทุกด้านอย่างนั้น” [ 1 เปโตร 1:15 ] คำว่าชีวิตทุกด้านในข้อนี้ไม่ได้หมายถึงคำพูดเท่านั้น แต่หมายถึงการกระทำทั้งสิ้นของเราด้วย

(โรเบิร์ต เอส. วูด, “ลิ้นของเทพ,” เลียโฮนา, ม.ค. 2000, 102–104)

เราจะสามารถเปลี่ยนภาษาที่เราใช้และฟังในเชิงบวกได้อย่างไร?

&#160

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

ทางเลือกสำหรับบทนำของบทเรียน

พิจารณาแบ่งปันตัวอย่างกับนักเรียนเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดที่ตรัสกับผู้อื่นในสถานการณ์ต่างๆ ดังเช่นใน ยอห์น 8:1–11 ; มาระโก 9:14–27 และ ลูกา 23:32–34 . โปรดทราบว่างานแปลของโจเซฟ สมิธ ของ ลูกา 23:34 (ในคู่มือพระคัมภีร์ ลูกา 23:35) ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าพระเยซูคริสต์ทรงทูลขอให้พระบิดายกโทษให้กับผู้ที่ตรึงกางเขนพระองค์ ซึ่งหมายถึงทหารโรมัน เชิญให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่โดดเด่นเกี่ยวกับสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดตรัสหรือไม่ได้ตรัสในสถานการณ์เหล่านี้ จากนั้นเชิญนักเรียนให้พิจารณาภาษาที่ตนใช้และฟังจากผู้อื่นและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาษานั้น

คำเชิญที่เป็นไปได้

ท่านอาจช่วยให้นักเรียนนำหลักธรรมของบทเรียนนี้ไปใช้โดยการท้าทายให้นักเรียนใช้เวลา 24 ชั่วโมงโดยไม่พูดอะไรในแง่ลบเลย กระตุ้นให้นักเรียนบันทึกผลที่เกิดขึ้นกับตนและบุคคลที่นักเรียนโต้ตอบด้วยไว้ในสมุดบันทึกการศึกษาของตน

คำสอนเพิ่มเติมจากยากอบ

เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถศึกษาคำสอนของยากอบได้มากขึ้น ให้พิจารณาแสดงข้ออ้างอิงพระคัมภีร์ต่อไปนี้ (โดยไม่ต้องใส่คำอธิบายในวงเล็บ) เชิญนักเรียนมาค้นหาข้อเหล่านี้บางข้อและเตรียมแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้และวิธีการนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน จากนั้นนักเรียนจะสามารถเลือกข้ออ้างอิงพระคัมภีร์หนึ่งข้อเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและจัดเตรียมบทเรียนหรือการพูดคุยสามถึงห้านาทีเกี่ยวกับหัวข้อนั้น หากมีเวลาเหลือ ท่านสามารถเชิญนักเรียนหนึ่งหรือสองคนมาร่วมแบ่งปันกับสิ่งที่ตนเตรียมไว้กับชั้นเรียนได้

ยากอบ 1:12–16 (คนที่สู้ทนต่อการทดลองใจก็เป็นสุข)

ยากอบ 1:27 (ธรรมะที่บริสุทธิ์ไร้มลทินเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าพระบิดานั้นคือการช่วยเหลือ)

ยากอบ 2:8–9 (จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง)

ยากอบ 4:6–10 (จงนอบน้อมต่อพระเจ้า จงต่อสู้กับมาร จงเข้าใกล้พระเจ้า)

ยากอบ 4:17 (ถ้าเรารู้ว่าอะไรเป็นความดีที่ต้องทำ แต่เลือกที่จะไม่ทำ เราย่อมทำบาป)

ยากอบ 5:14–15 (ผู้ป่วยจะหายโรคได้ผ่านการสวดอ้อนวอนและการชโลมด้วยน้ำมันในพระนามของพระคริสต์)