เซมินารี
โจเซฟ สมิธ—มัทธิว 1:21–37; ลูกา 21:25–36


โจเซฟ สมิธ—มัทธิว 1:21–37; ลูกา 21:25–36

อย่ากังวลใจเลย

ภาพ
Profile of a Young Woman in bright sunlight.

พระเยซูคริสต์ทรงบัญชาสานุศิษย์ของพระองค์ว่า “อย่ากังวลใจเลย” (โจเซฟ สมิธ—มัทธิว 1:23) แม้ว่าจะมีภัยพิบัติ ความทุกข์ยาก และความพินาศที่จะเกิดขึ้นก่อนการเสด็จมาครั้งที่สอง บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านหลีกเลี่ยงการหลอกลวงและเอาชนะความกลัวเกี่ยวกับเหตุการณ์ในวันเวลาสุดท้าย

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนประเมินว่าเป้าหมายในการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขาช่วยพวกเขาได้อย่างไร นอกจากนี้นักเรียนอาจประเมินว่าพวกเขามีปัญหาในการทำตามเป้าหมายของตนเองหรือไม่และต้องการปรับปรุงอย่างไร

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

เอาชนะการหลอกลวง

  • แนวคิดที่เป็นเท็จสองหรือสามอย่างที่พบได้ทั่วไปในโลกปัจจุบันคืออะไร?

ขณะตรัสกับสานุศิษย์ของพระองค์ พระผู้ช่วยให้รอดทรงพยากรณ์ว่าจะมีผู้แพร่แนวคิดที่เป็นเท็จก่อนการเสด็จมาครั้งที่สองของพระองค์ อ่าน โจเซฟ สมิธ— มัทธิว 1:22 เพื่อมองหาสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงพยากรณ์ไว้

  • เหตุใดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะรู้ว่าแม้แต่ผู้ที่ทรงเลือกไว้” ยังถูกหลอกลวงได้?

ประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสัน (1899–1994) สอนว่าพระคริสต์ปลอมและศาสดาพยากรณ์ปลอมทั้งหลายไม่ได้จำกัดอยู่เพียงผู้คนเท่านั้น แต่ยังสามารถมาในรูปแบบของแนวคิดและคำสอนที่เป็นเท็จ (ดู คำสอนของประธานศาสนจักร: เอสรา แทฟท์ เบ็นสัน [2014], 132) ขณะท่านศึกษาบทเรียนนี้ ให้แสวงหาการนำทางจากพระวิญญาณขณะท่านมองหาวิธีที่ท่านจะสามารถวางใจในพระเจ้าและเอาชนะแนวคิดที่เป็นเท็จหรือการหลอกลวง

หลังจากสอนเกี่ยวกับการหลอกลวงอื่นๆ และเกี่ยวกับเครื่องหมายการเสด็จมาของพระองค์ (ดู โจเซฟ สมิธ—มัทธิว 1:23–36) พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนวิธีเอาชนะการหลอกลวง อ่าน โจเซฟ สมิธ—มัทธิว 1:37

ขอให้นักเรียนเล่าถึงสิ่งที่พวกเขาพบใน ข้อ 37 ท่านอาจเขียนหลักธรรมต่อไปนี้บนกระดาน: หากเราสั่งสมพระคำของพระเจ้า เราจะไม่ถูกหลอกลวง

พยายามช่วยให้นักเรียนเข้าใจความหมายของการสั่งสมพระคำของพระเจ้า เราสามารถสั่งสมพระคำของพระเจ้าขณะเราศึกษาพระคัมภีร์ ศึกษาถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์และผู้นำท่านอื่นๆ ที่ได้รับการดลใจ รวมทั้งได้รับและลงมือทำตามการเปิดเผยส่วนตัว

เราทำอะไรได้บ้างเพื่อสั่งสมพระคำของพระเจ้า?

ภาพ
A drawing of a treasure chest.

.

เชื้อเชิญนักเรียนให้แบ่งปันความคิดของพวกเขาเกี่ยวกับการสั่งสมพระคำของพระเจ้า ท่านอาจวาดหีบสมบัติบนกระดานและให้นักเรียนเขียนความคิดของพวกเขารอบหีบสมบัติ

ประธานเอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด รักษาการประธานโควรัมอัครสาวกสิบสองเล่าเรื่องราวการประชุมกับอดีตผู้สอนศาสนาที่อ่านข้อมูลวิพากษ์วิจารณ์ศาสนจักร ชายหนุ่มมีคำถามมากมายที่หาคำตอบไม่ได้และรู้สึกสูญเสียประจักษ์พยานของตน ประธานบัลลาร์ดตกลงที่จะเตรียมคำตอบให้แก่คำถามของชายหนุ่มแต่เชิญชายหนุ่มให้มุ่งมั่นอ่านพระคัมภีร์มอรมอนเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงทุกวันเป็นเวลา 10 วันด้วย ประธานบัลลาร์ดเล่าว่า

ภาพ
Official portrait of President M. Russell Ballard of the Quorum of the Twelve Apostles, 2004.

สิบวันต่อมาเขากลับมาที่ห้องทำงานของข้าพเจ้า และข้าพเจ้าพร้อมแล้ว ข้าพเจ้าดึงกระดาษออกมาเพื่อเริ่มตอบคำถามของเขา แต่เขายั้งข้าพเจ้าไว้

“ประธานครับ” เขาพูด “นั่นไม่จำเป็นครับ” จากนั้นเขาอธิบายว่า “ผมรู้ว่าพระคัมภีร์มอรมอนเป็นความจริง ผมรู้ว่าโจเซฟ สมิธเป็นศาสดาพยากรณ์ของพระผู้เป็นเจ้า”

(M. Russell Ballard, “When Shall These Things Be?,” Ensign, Dec. 1996, 60)

  • ทำไมท่านจึงคิดว่าการศึกษาพระคัมภีร์มอรมอนทุกวันช่วยแก้ไขข้อกังวลที่มากมายของชายหนุ่มคนนี้ได้?

  • เหตุใดพระวจนะของพระผู้ช่วยให้รอดที่มีต่อเราในพระคัมภีร์จึงมีพลังอำนาจในชีวิตเรา?

ใช้เวลาสักครู่ไตร่ตรองว่าพระวจนะของพระผู้ช่วยให้รอดเป็นพรต่อท่านโดยส่วนตัวอย่างไร พระวจนะของพระองค์มีอิทธิพลในความรู้สึกของท่านที่มีต่อพระองค์อย่างไร? การสั่งสมพระวจนะของพระผู้ช่วยให้รอดช่วยให้ท่านหลีกเลี่ยงการถูกหลอกลวงได้อย่างไร?

โดยทำตามการกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณ ให้เชิญนักเรียนหลายคนมาแบ่งปัน

หากนักเรียนจะได้รับประโยชน์จากการศึกษาหัวข้อนี้เป็นเวลานานขึ้นท่านอาจใช้กิจกรรมจากหมวด “กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม” ที่นี่

ประธานบัลลาร์ดยังให้คำปแนะนำดังนี้ด้วย

ภาพ
Official portrait of President M. Russell Ballard of the Quorum of the Twelve Apostles, 2004.

กำหนดเวลาและสถานที่เพื่อศึกษาพระคัมภีร์เป็นประจำทุกวัน แม้ว่าจะเป็นเวลาเพียงสองสามนาทีในแต่ละครั้ง … เมื่อเปรียบเทียบกับการทำสิ่งอื่นๆ แล้ว สิ่งเหล่านี้ใช้เวลาน้อยมาก แต่ผลประโยชน์ในระยะยาวต่อเราและครอบครัวเราไม่มีที่สิ้นสุดและเป็นนิรันดร์ อีกทั้งยังช่วยเราได้มากในการเตรียมความพร้อม … สำหรับความท้าทายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต

(M. Russell Ballard, “When Shall These Things Be?,” Ensign, Dec. 1996, 60–61)

ประเมินความพยายามของท่านในการศึกษาและสั่งสมพระวจนะของพระเยซูคริสต์ ท่านรู้สึกว่าท่านทำได้ดีเพียงใด? นอกจากนี้ให้พิจารณาถึงอุปสรรคในชีวิตที่ท่านเผชิญและการสั่งสมพระวจนะของพระคริสต์จะช่วยท่านเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้นได้อย่างไร

เชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันความคิด พยายามสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยสำหรับการเปิดใจและการพูดอย่างตรงไปตรงมา

ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน ถัดจากรูปหีบสมบัติ ท่านอาจเขียนเป้าหมายว่าท่านต้องการสั่งสมพระวจนะของพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไร

การเอาชนะสิ่งรบกวนและความกลัว

ท่านอาจเขียนข้อความต่อไปนี้บนกระดานและเชิญนักเรียนเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มเล็กให้จับคู่ข้ออ้างอิงพระคัมภีร์กับข้อความ

ลูกาบันทึกคำแนะนำและคำเตือนเพิ่มเติมที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงแบ่งปันเกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สองของพระองค์ อ่านข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้และจับคู่ให้ตรงกับข้อสรุปที่ถูกต้อง

  1. ลูกา 21:25–26

  2. ลูกา 21:34–35

  3. ลูกา 21:36

ก. บาปและความกังวลของชีวิตนี้สามารถทำให้เราเขวจากความพร้อมรับการเสด็จกลับมาของพระผู้ช่วยให้รอดข. ในวันเวลาสุดท้าย ผู้คนจำนวนมากจะรู้สึกท่วมท้นด้วยความกลัวค. ขณะที่เราเฝ้าสังเกตเครื่องหมายการเสด็จมาครั้งที่สองของพระผู้ช่วยให้รอดอย่างขยันหมั่นเพียร ให้สวดอ้อนวอนและพยายามประพฤติตนให้มีค่าควร เราจะพร้อมรับการเสด็จกลับมาของพระเจ้าได้

(หมายเหตุ: งานแปลของโจเซฟ สมิธสำหรับ ลูกา 21:36 เพิ่มวลี “และรักษาบัญญัติของเรา”)

  • อะไรโดดเด่นสำหรับท่านขณะที่อ่านข้อพระคัมภีร์เหล่านี้เกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สอง?

ตั้งใจฟังสิ่งที่นักเรียนแบ่งปัน ท่านอาจเพิ่มหรือเน้นสิ่งที่พวกเขาแบ่งปันโดยถามคำถามบางข้อต่อไปนี้

  • มีเหตุผลอะไรบ้างที่ใจผู้คนจะท้อแท้เนื่องจากความกลัวในวันนี้?

  • บาปและความกังวลของชีวิตนี้อาจทำให้เราเขวจากการเตรียมรับการเสด็จมาของพระเจ้าอย่างไร? เหตุใดการถูกทำให้เขวเช่นนี้จึงเป็นอันตราย?

  • การสวดอ้อนวอนและความพยายามประพฤติตนให้มีค่าควรช่วยเราเตรียมพบพระเจ้าอย่างไร?

.

  • ในวันเวลาสุดท้าย การหันไปหาพระเจ้าช่วยให้เราเอาชนะความสงสัยและความกลัวของเราได้อย่างไร?

ประยุกต์ใช้สิ่งที่ท่านเรียนรู้

จินตนาการว่าหลังจากบทเรียนเกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สอง เพื่อนสองคนกล่าวว่า:

เพื่อน #1: “ฉันไม่คิดว่าการเสด็จมาครั้งที่สองเป็นเรื่องใหญ่เลยนะ อันที่จริง พ่อของฉันไม่คิดด้วยซ้ำว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้น ฉันไม่อยากกังวลเกี่ยวกับเรื่องแบบนี้”

เพื่อน #2: “ฉันไม่ชอบคิดเกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สอง ฉันกลัวและเครียดกับเรื่องในชีวิตประจำวันเช่น โรงเรียนและปัญหากับเพื่อน แต่การเสด็จมาครั้งที่สองเป็นเรื่องใหญ่กว่ามาก เครื่องหมายทั้งหมดเกี่ยวกับสงครามและแผ่นดินไหวและการหลอกลวง—ฟังดูเลวร้าย”

เลือกสถานการณ์สมมุติก่อนหน้านี้หนึ่งเรื่อง โดยใช้สิ่งที่ท่านเรียนรู้ในบทเรียนนี้ แสวงหาการนำทางจากพระวิญญาณขณะท่านเขียนสิ่งที่ท่านอาจจะพูดหรือทำเพื่อช่วยเพื่อนของท่าน มองหาวิธีกระตุ้นให้พวกเขาสั่งสมพระวจนะของพระเจ้าและวางใจพระองค์

ท่านอาจเชื้อเชิญนักเรียนหลายคนให้แบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเขียน ขอบคุณพวกเขาที่แบ่งปันและชี้ให้เห็นหลักธรรมที่แท้จริงในสิ่งที่พวกเขาแบ่งปัน ปิดท้ายโดยแสดงประจักษ์พยานถึงหลักธรรมในบทเรียนนี้

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

มัทธิว 24:24 ตัวอย่างของความเท็จและการหลอกลวงในวันเวลาสุดท้ายมีอะไรบ้าง?

เอ็ลเดอร์แกรีย์ อี. สตีเวนสันอธิบายถึงวิธีบางอย่างที่ซาตานหมายมั่นจะหลอกลวงโลกในปัจจุบัน

ภาพ
Official portrait of Elder Gary E. Stevenson of the Quorum of the Twelve Apostles, 2015.

เช่น เขากลบเกลื่อนผลร้ายแรงของยาเสพติดผิดกฎหมายหรือการดื่มสุรา และบอกว่ามันจะทำให้รื่นเริงใจ เขาทำให้เราหมกมุ่นกับสิ่งลบๆ ที่อาจอยู่ในโซเชียลมีเดีย รวมทั้งการเปรียบเทียบที่ทำให้ถดถอยและความจริงสมมติในอุดมคติ นอกจากนี้ เขายังอำพรางเนื้อหาอื่นๆ ทางออนไลน์ที่ชั่วร้ายอันตราย เช่น สื่อลามก การโจมตีผู้อื่นอย่างโจ่งแจ้งผ่านการระรานทางไซเบอร์ และการหว่านเมล็ดข้อมูลผิดๆ เพื่อให้เกิดความสงสัยและความกลัวในใจและความคิดเรา

(แกรีย์ อี. สตีเวนสัน, “อย่าหลอกข้าพเจ้าเลย,” เลียโฮนา, พ.ย. 2019, 95)

ลูกา 21:26 ฉันจะต้านทานความหวาดกลัวและน้อมรับอนาคตด้วยศรัทธาแทนได้อย่างไร?

ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันสอนเกี่ยวกับความสำคัญของการเชื่อมสัมพันธ์กับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ในช่วงเวลาที่มีความไม่แน่นอนดังนี้

ภาพ
Official portrait of Elder Gary E. Stevenson of the Quorum of the Twelve Apostles, 2015.

แน่นอนว่าความปลอดภัยสูงสุดของเราเกิดขึ้นเมื่อเราเทียมแอกกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ ชีวิตที่ ไม่มี พระผู้เป็นเจ้าคือชีวิตที่เต็มไปด้วยความกลัว ชีวิตที่ มี พระผู้เป็นเจ้าคือชีวิตที่เต็มไปด้วยสันติสุข

(รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “น้อมรับอนาคตด้วยศรัทธา,” เลียโฮนา พ.ย. 2020, 75)

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

การเริ่มต้นในทางเลือกใหม่: การสั่งสมพระคำเพื่อหลีกเลี่ยงการหลอกลวง

อ่านรายการแนวคิดที่เป็นเท็จต่อไปนี้ อธิบายว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเท็จ

  • พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์คือสิ่งที่ดีแต่มีสิ่งต่างๆ มากมายในชีวิตที่สำคัญกว่า

  • ฉันต้องการทำสิ่งที่ดีในโลก แต่ฉันแค่ไม่มีอะไรจะให้ได้มากนัก

  • พระเยซูคริสต์น่าสนใจ แต่ฉันไม่คิดว่าพระองค์ใส่พระทัยฉันเป็นการส่วนตัว

  • การเสด็จมาครั้งที่สองยังอีกยาวไกล ฉันไม่จำเป็นต้องคิดเรื่องนี้เลย

เชิญนักเรียนทำรายการแนวคิดที่เป็นเท็จอื่นๆ ซึ่งพบได้ทั่วไปในโลกทุกวันนี้จากนั้นเชิญชวนพวกเขาค้นหาพระคัมภีร์หรือข้อความโดยศาสดาพยากรณ์และอัครสาวกที่จะช่วยพวกเขาหลีกเลี่ยงการถูกหลอกลวงด้วยแนวคิดเหล่านี้