เซมินารี
ลูกา 5:1–11


ลูกา 5:1–11

ติดตามพระเจ้าและบรรลุจุดประสงค์อันศักดิ์สิทธิ์ของเรา

ภาพ
Christ standing on a seashore. He is beckoning to two men who stand near Him. The two men are holding a fishing net over a small fire. Fishing boats and fishermen are visible in the background. The painting depicts Christ calling some of His Apostles or disciples.

เมื่อซีโมนเปโตร อันดรูว์ ยากอบ และยอห์นจับ “ปลาได้จำนวนมาก” อย่างน่าอัศจรรย์หลังจากพระผู้ช่วยให้รอดทรงเชื้อเชิญให้พวกเขา “หย่อนอวน [ของพวกเขา] ลงจับปลา” (ลูกา 5:4, 6) พวกเขาเห็นภาพสิ่งที่พวกเขาอาจทำสำเร็จได้ด้วยความช่วยเหลือของพระผู้ช่วยให้รอด จากนั้นชาวประมงเหล่านี้จึงเลือกทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อติดตามพระเยซูคริสต์ บทเรียนนี้มีเจตนาจะช่วยให้ท่านรู้สึกปรารถนาจะติดตามพระเยซูคริสต์เพื่อพระองค์จะทรงช่วยให้ท่านประสบความสำเร็จได้มากกว่าที่ท่านอาจทำได้โดยไม่มีพระองค์

สอนให้นักศึกษา “เปรียบ [พระคัมภีร์] กับตัว [พวกเขา] เอง” (1 นีไฟ 19:24) เปรียบพระคัมภีร์กับตัวเราเองหมายถึงเปรียบเทียบพระคัมภีร์กับชีวิตเราเอง กระตุ้นให้นักเรียนถามว่า “สถานการณ์ใดบ้างในชีวิตฉันเหมือนสถานการณ์ในข้อความพระคัมภีร์ข้อนี้?” หรือ “ฉันเหมือนบุคคลที่เราศึกษาในพระคัมภีร์อย่างไร?” เมื่อนักเรียนเห็นความคล้ายคลึงระหว่างประสบการณ์ของพวกเขากับเหตุการณ์ที่ศึกษาในพระคัมภีร์ พวกเขาจะสามารถระบุหลักคำสอนและหลักธรรมได้ดีขึ้นและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตพวกเขา

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญนักเรียนสวดอ้อนวอนเพื่อรู้จุดประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าสำหรับชีวิตพวกเขา นักเรียนที่มีปิตุพรอาจจะอ่านปิตุพรนั้นเพื่อค้นหาว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเปิดเผยอะไรเกี่ยวกับจุดประสงค์ของชีวิตพวกเขา คนอื่นอาจได้รับประโยชน์จากการพูดคุยกับบิดามารดาหรือค้นหาความเข้าใจลึกซึ้งจากพระคัมภีร์

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

หลักธรรมที่เป็นศูนย์กลางในบทเรียนนี้เหมือนกับหลักธรรมที่เน้นไว้ในโครงร่างสำหรับมัทธิว 4; ลูกา 4–5 ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาใหม่ 2023 ท่านอาจต่อยอดจากสิ่งที่นักเรียนอาจสนทนาที่บ้านแล้วและเชิญชวนให้นักเรียนแบ่งปันกับครอบครัวของตนในสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ในเซมินารีแนวคิดในบทเรียนทางเลือกรวมอยู่ในหมวด “กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม” ของบทเรียน

การบรรลุเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่า

ใช้เวลาสักครู่นึกถึงผู้คนที่ทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่สำเร็จเพราะพระผู้เป็นเจ้าทรงช่วยให้พวกเขาเข้าใจจุดประสงค์ของตน

ท่านอาจแสดงภาพบุคคลต่างๆ ที่นักเรียนกล่าวถึงจากประวัติศาสนจักรหรือจากพระคัมภีร์ นอกจากนี้อาจแสดงภาพหลายภาพเพื่อเตือนความจำนักเรียนเกี่ยวกับบุคคลเหล่านี้ นักเรียนอาจนึกถึงคนอย่างเรเบคาห์ (ดู ปฐมกาล 24:60) มารีย์ (ดู ลูกา 1:28–31) ซีโมนเปโตร (ดู มัทธิว 4:18–19 ; ลูกา 5:10) หรือโจเซฟ สมิธ (ดู โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:33)

  • เหตุใดอาจเป็นสิ่งสำคัญที่คนบางคนจะเข้าใจจุดประสงค์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของตน?

  • ท่านสังเกตความแตกต่างอะไรบ้างในชีวิตของผู้คนที่เข้าใจจุดประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าสำหรับพวกเขาและผู้คนที่ไม่เข้าใจ?

บทเรียนนี้จะมุ่งเน้นว่าพระเยซูคริสต์ทรงช่วยให้ซีโมนเปโตร (ซึ่งรู้จักกันในชื่อเปโตรด้วย) ค้นพบว่าพระองค์ทรงมีจุดประสงค์ที่ยิ่งใหญ่กว่าสำหรับเขาอย่างไร ขณะท่านศึกษา ให้มองหาหลักฐานที่บ่งบอกถึงหลักธรรมที่ว่า เมื่อเราเลือกติดตามพระเยซูคริสต์ พระองค์ทรงสามารถช่วยให้เราเข้าใจและบรรลุจุดประสงค์ที่ยิ่งใหญ่กว่าสำหรับชีวิตเรา

ท่านอาจเขียนหลักธรรมนี้บนกระดานเพื่อช่วยให้นักเรียนจดจำขณะพวกเขามองหาหลักฐานที่บ่งบอกถึงหลักธรรมนี้ตลอดบทเรียน

พระเยซูคริสต์ทรงเรียกซีโมนเปโตรให้ติดตามพระองค์

หลังจากพระผู้ช่วยให้รอดทรงทำปาฏิหาริย์หลายอย่างในยูดาห์ รวมถึงการรักษาแม่ยายของซีโมนเปโตร (ดู ลูกา 4:38–39) พระองค์เสด็จไปชายฝั่งทะเลสาบเยนเนซาเรท (อีกชื่อหนึ่งของทะเลแห่งกาลิลี) พระองค์ทรงลงเรือตกปลาของซีโมนเปโตรและประทับอยู่ในเรือเพื่อสอนคนกลุ่มใหญ่บนฝั่ง (ดู ลูกา 5:1–3) เมื่อพระเยซูทรงสอนเสร็จแล้ว พระองค์มีพระดำรัสเชิญซีโมนเปโตร

ถ้านักเรียนอ่านข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้ด้วยกันในชั้นเรียน ท่านอาจเชื้อเชิญให้พวกเขาหยุดหลังจากอ่านหนึ่งหรือสองข้อและช่วยให้พวกเขาจินตนาการว่าตนเองคือซีโมนเปโตร เชื้อเชิญให้พวกเขาพูดถึงสิ่งที่เรียนรู้

อ่าน ลูกา 5:4–11 ขณะท่านอ่าน ลองจินตนาการว่าท่านเป็นซีโมนเปโตร ชาวประมงที่มีประสบการณ์

  • รายละเอียดใดบ้างจากเรื่องราวนี้ที่ท่านรู้สึกว่าสำคัญ? เพราะเหตุใด?

  • ท่านคิดว่าเปโตรอาจคิดหรือรู้สึกอย่างไร?

ใช้เวลาสักครู่เพื่อมองหาหลักฐานในเรื่องราวนี้ที่พระเยซูคริสต์ทรงช่วยให้เปโตรเข้าใจว่าพระเจ้าทรงมีจุดประสงค์ที่ยิ่งใหญ่กว่าสำหรับเขา

  • เปโตรคงเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับตนเองจากประสบการณ์นี้กับพระผู้ช่วยให้รอด?

  • ทำไมท่านจึงคิดว่าพระเจ้าทรงต้องการขยายวิสัยทัศน์ของเราเกี่ยวกับตัวตนของเราและสิ่งที่เราสามารถทำได้?

เปรียบประสบการณ์ของซีโมนเปโตรกับประสบการณ์ของเรา

เราสามารถเรียนรู้อย่างลึกซึ้งจากเรื่องราวนี้ได้โดยเปรียบเทียบประสบการณ์ของซีโมนเปโตรกับประสบการณ์ที่เราอาจได้รับ ทักษะการศึกษาพระคัมภีร์นี้คือสิ่งที่นีไฟอ้างถึงในพระคัมภีร์มอรมอนเมื่อท่านกล่าวว่าท่าน “เปรียบพระคัมภีร์ทั้งหมดกับ [ตนเอง]” ( 1 นีไฟ 19:23) การเปรียบพระคัมภีร์กับสถานการณ์ส่วนตัวสามารถช่วยให้เรา “[ได้รับการ] ชักชวน … จนเต็มสติกำลังให้เชื่อพระเจ้าพระผู้ไถ่ [ของเรา]” และสามารถ “เป็นประโยชน์และเป็นการเรียนรู้ของเรา” ( 1 นีไฟ 19:23)ใช้เวลาสักครู่เพื่อเปรียบเทียบประสบการณ์ของท่านกับประสบการณ์ของเปโตรโดยทำดังนี้แบ่งหน้าในสมุดบันทึกการศึกษาของท่านออกเป็นสองส่วนเพื่อด้านหนึ่งท่านสามารถเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับประสบการณ์ของเปโตรและอีกด้านหนึ่งท่านสามารถมองดูสถานการณ์ของตนเอง หากจำเป็นให้เปิดพระคัมภีร์และเครื่องมือพระคัมภีร์ที่มี (ตัวอย่างเช่น ดู คู่มือพระคัมภีร์, “ เปโตร ,” scriptures.ChurchofJesusChrist.org) เพื่อช่วยท่านตอบคำถามต่อไปนี้

ให้ข้อมูลต่อไปนี้กับนักเรียนในเอกสารแจกหรือแสดงไว้หน้าชั้นเรียน ท่านอาจทำงานร่วมกันเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับเปโตร จากนั้นอาจขอให้นักเรียนใคร่ครวญเงียบๆ และเขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ส่วนตัวของพวกเขา

เปรียบประสบการณ์ของเปโตรกับชีวิตของเราเอง

เปโตรอาจบรรยายถึงตนเองอย่างไรก่อนพบพระเยซู?

ฉันจะบรรยายถึงตนเองอย่างไร?

เปโตรเต็มใจติดตามพระเยซูคริสต์และละทิ้งชีวิตชาวประมงของเขา (ดู ลูกา 5:11) ท่านจินตนาการว่าชีวิตของเปโตรจะต่างไปอย่างไรหากเขาไม่ได้เลือกติดตามพระผู้ช่วยให้รอด?

ฉันอาจถูกขอให้ละทิ้งสิ่งใดเพื่อติดตามพระเยซูคริสต์?

ชีวิตฉันอาจได้รับผลกระทบอย่างไรถ้าฉันไม่เลือกติดตามพระเยซูคริสต์?

เปโตรบรรลุเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าที่พระเจ้าทรงมีให้เขาในชีวิตอย่างไร?

นึกถึงพระคัมภีร์ แผนแห่งความรอด พรฐานะปุโรหิต และปิตุพรถ้ามี

ฉันรู้อะไรเกี่ยวกับจุดประสงค์ที่ยิ่งใหญ่กว่าของพระเจ้าสำหรับฉัน?

ฉันมีคำถามอะไรบ้างเกี่ยวกับจุดประสงค์ของฉัน?

ภาพ
Handout on Likening Peter’s Experience
  • การเปรียบพระคัมภีร์กับตัวท่านช่วยให้ท่านเรียนรู้หรือเชื่อในพระเยซูคริสต์มากขึ้นอย่างไร?

  • ท่านพบหลักฐานใดว่าเราสามารถบรรลุจุดประสงค์ที่ยิ่งใหญ่กว่าสำหรับชีวิตเราเมื่อเราเลือกติดตามพระเยซูคริสต์?

  • เมื่อใดที่ท่านเคยสังเกตเห็นใครบางคนได้รับอิทธิพลเชิงบวกจากการเข้าใจจุดประสงค์ของพวกเขา?

  • ท่านจะทำอะไรเพราะสิ่งที่ท่านรู้สึกหรือเรียนรู้วันนี้?

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

ลูกา 5:8 . เหตุใดเปโตรจึงเรียกตนเองว่า “คนบาป”?

เมื่อเปโตรพบพระผู้ช่วยให้รอดครั้งแรกและเป็นพยานถึงเดชานุภาพอันน่าอัศจรรย์ของพระองค์ เปโตรตระหนักว่าเขาเป็น “คนบาป” ที่ต้องการอำนาจการไถ่ของพระผู้ช่วยให้รอดอย่างมาก ( ลูกา 5:8) ถ้อยคำของเปโตรแสดงให้เห็นว่าขณะเราเข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้า เราตระหนักถึงบาปและความไม่คู่ควรของเราและปรารถนาความช่วยเหลือจากพระองค์ในการเป็นเหมือนพระองค์มากขึ้น

(New Testament Student Manual [2018], ChurchofJesusChrist.org)

พระเจ้าจะทรงทำอะไรให้เราได้บ้างเมื่อเราติดตามพระองค์?

ประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสัน (1899–1994) สอนว่า

ภาพ
Photograph of President Ezra Taft Benson. He is seated in a leather chair in front of a fireplace. His hands are clasped in front of him and he is wearing a large turquoise ring on one finger. Official portrait. 1986

[คนเหล่านั้น] ที่ถวายชีวิตแด่พระผู้เป็นเจ้าจะค้นพบว่าพระองค์ทรงสามารถรังสรรค์จากชีวิตพวกเขาได้มากกว่าที่พวกเขาจะทำได้ พระองค์จะทรงทำให้ปีติของพวกเขาลึกซึ้ง ขยายวิสัยทัศน์ของพวกเขา ทำให้ความคิดของพวกเขาฉับไว เสริมกำลังกล้ามเนื้อของพวกเขา ยกระดับวิญญาณของพวกเขา ทวีพรของพวกเขา เพิ่มโอกาสของพวกเขา ปลอบโยนจิตวิญญาณของพวกเขา เพิ่มมิตรสหาย และหลั่งเทสันติสุข บุคคลใดยอมสละชีวิตของเขาในการรับใช้พระผู้เป็นเจ้าจะพบชีวิตนิรันดร์

(เอสรา แทฟท์ เบ็นสัน, “Jesus Christ—Gifts and Expectations,” Ensign, Dec. 1988, 4)

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

เชื้อเชิญให้นักเรียนนึกถึงความสำคัญของการเข้าใจว่าพวกเขาเป็นใครและสามารถเป็นใครโดยการติดตามพระผู้ช่วยให้รอด พระเยซูคริสต์ นอกจากนี้นักเรียนยังอาจได้รับประโยชน์จากการนึกถึงอุปสรรคที่พวกเขาอาจเผชิญในการไปถึงขีดสุดของศักยภาพตนเอง ขอให้นักเรียนพิจารณาว่าพวกเขาจะทำอะไรบ้างเพื่อเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้และติดตามพระผู้ช่วยให้รอดด้วยศรัทธา

เปโตรละแหตกปลาของเขาเพื่อติดตามพระผู้ช่วยให้รอด

เชื้อเชิญให้นักเรียนสนทนาเกี่ยวกับทรัพย์สมบัติสำคัญในชีวิตพวกเขา จากนั้นช่วยนักเรียนสนทนาถึงความสำคัญของการเลือกติดตามพระเยซูคริสต์เหนือสิ่งอื่นใดอ่าน มัทธิว 4:18–22 และสนทนาว่ามีความหมายอย่างไรสำหรับเปโตรกับชาวประมงคนอื่นที่ “ละทิ้งแหทันที” ( ข้อ 20) เพื่อติดตามพระเยซูคริสต์ท่านอาจใช้ข้อความต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์โจเซฟ บี. เวิร์ธลิน (1917–2008) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองเพื่อช่วยให้นักเรียนมองเห็นสิ่งที่อาจกีดกันเราจากการยอมรับคำเชื้อเชิญให้ติดตามพระเยซูคริสต์:

ภาพ
Photograph of President Ezra Taft Benson. He is seated in a leather chair in front of a fireplace. His hands are clasped in front of him and he is wearing a large turquoise ring on one finger. Official portrait. 1986

เราอาจบอกได้ว่าแหเป็นสิ่งที่ล่อหลอกหรือกีดกันเราไม่ให้ทำตามการเรียกของพระเยซูคริสต์ พระบุตรของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงพระชนม์แหในบริบทนี้คืองานอาชีพ งานอดิเรก ความพอใจ และเหนือสิ่งอื่นใด การล่อลวงและบาปของเรา กล่าวโดยย่อ แหคือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ดึงเราออกไปจากการติดต่อกับพระบิดาบนสวรรค์หรือจากศาสนจักรที่ได้รับการฟื้นฟูของพระองค์ข้าพเจ้าจะยกตัวอย่างในยุคสมัยปัจจุบัน คอมพิวเตอร์สามารถเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์และขาดไม่ได้ แต่ถ้าเราปล่อยให้คอมพิวเตอร์ผลาญเวลาของเราไปกับการแสวงหาสิ่งไร้ประโยชน์ ไม่มีประสิทธิผล และบางครั้งทำลายล้าง เราจะติดพัวพันอยู่ในแห

(โจเซฟ บี. เวิร์ธลิน, “จงตามเรามา,” เลียโฮนา, ก.ค. 2002, 17–21)

ช่วยให้นักเรียนตระหนักถึงพรของการติดตามพระเยซูคริสต์โดยขอให้พวกเขาไตร่ตรองและสนทนาเกี่ยวกับคำถามต่อไปนี้

  • เราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดจากพระดำรัสเชิญให้ติดตามพระองค์?

  • ท่านได้รับพรอย่างไรจากการเลือกติดตามพระเยซูคริสต์?

เราได้รับพรเมื่อเราเชื่อฟังพระบัญชาพระเจ้า แม้ไม่เข้าใจเหตุผลทั้งหมดของพระองค์ก็ตาม

ให้นักเรียนสนทนาถึงความยากในการทำตามคำแนะนำโดยไม่เข้าใจเหตุผลทั้งหมด จากนั้นอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน ลูกา 5:1–11 และค้นหาว่าพระเจ้าทรงขอให้เปโตรทำอะไรและเขาตอบรับอย่างไรนักเรียนอาจระบุและสนทนาหลักธรรมต่อไปนี้: ถ้าเราทำสิ่งที่พระเจ้าทรงขอแม้เราจะไม่เข้าใจเหตุผลของพระบัญชา พระองค์จะประทานพรเราได้มากกว่าที่เราคาดคิดท่านอาจให้นักเรียนสนทนาถึงเวลาที่พวกเขาเคยเห็นหลักธรรมนี้ในชีวิตตนเองหรือในชีวิตผู้อื่นตัวอย่างอื่นของการเชื่อฟังพระเจ้าโดยไม่เข้าใจเหตุผลสำหรับพระบัญชาจะพบได้ในคำตอบของนีไฟต่อพระบัญชาให้ทำแผ่นจารึกสองชุด (ดู 1 นีไฟ 9:5–6) และการที่มอรมอนรวมแผ่นจารึกเหล่านี้ไว้ในพระคัมภีร์มอรมอน (ดู ถ้อยคำของมอรมอน 1:6–7)