เซมินารี
มัทธิว 4:1–11 ภาค 2


มัทธิว 4:1–11 ภาค 2

ปฏิบัติตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดในการต้านทานการล่อลวง

ภาพ
Jesus is tempted by the devil to change rocks into bread - ch.11-2

ในบทเรียนนี้ท่านสามารถศึกษาต่อเนื่องถึงวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงต้านทานการล่อลวง บทเรียนนี้สามารถช่วยให้ท่านทำตามแบบอย่างของพระองค์และระลึกถึงความจริงจากพระคัมภีร์เพื่อช่วยท่านต้านทานการล่อลวงในชีวิต

การใช้แอปคลังค้นคว้าพระกิตติคุณ ทำความคุ้นเคยกับฟีเจอร์ในแอปคลังค้นคว้าพระกิตติคุณเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาพระคัมภีร์ เช่น การไฮไลต์ เชื่อมโยง แท็ก แบ่งปัน ค้นหา และใช้สมุดบันทึก การทำสิ่งนี้สามารถช่วยท่านเตรียมบทเรียนและเรียนรู้วิธีช่วยให้นักเรียนใช้แอป

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนเตรียมมาแบ่งปันข้อพระคัมภีร์หนึ่งถึงสองข้อที่คิดว่าอาจใช้เพื่อช่วยต้านทานการล่อลวง หากไม่พบข้อใดเลย กระตุ้นให้พวกเขาถามบิดามารดา สมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัว หรือผู้นำศาสนจักร

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

การต้านทานการล่อลวง

ถ้าไม่ได้สอน บทเรียนแรกสำหรับมัทธิว 4:1–11 ก่อนบทเรียนนี้ ท่านอาจทบทวนบทเรียนแรกและปรับบทเรียนนี้ตามความจำเป็น

กิจกรรมทางเลือกสำหรับการเริ่มชั้นเรียนอยู่ในหมวด “กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม” ของบทเรียนนี้

เมื่อสนทนาเกี่ยวกับสถานการณ์สมมุติต่อไปนี้ กระตุ้นให้นักเรียนไม่แบ่งปันรายละเอียดเกี่ยวกับการล่อลวงเฉพาะเจาะจงที่พวกเขาเผชิญ

จินตนาการว่าเจคอบเพื่อนของท่านปรึกษากับท่านว่าเขากำลังเผชิญการล่อลวงซึ่งยากจะต้านทาน เขาอธิบายว่าเขาต้องการต้านทานจริงๆ แต่ยากที่จะรู้ว่าต้องทำอย่างไรเมื่อการล่อลวงเกิดขึ้น

  • ท่านจะแบ่งปันอะไรกับเขาและเพราะเหตุใด?

ให้นึกถึงประสบการณ์ของพระผู้ช่วยให้รอดดังที่บันทึกไว้ใน มัทธิว 4:1–11 เมื่อพระผู้ช่วยให้รอดทรงเผชิญและต้านทานการล่อลวงของซาตาน หนึ่งในวิธีที่พระองค์ทรงกระทำคือการเป็นแบบอย่างถึงหลักธรรมนี้: การระลึกถึงและประยุกต์ใช้ความจริงจากพระคัมภีร์สามารถช่วยให้เราดึงพลังอำนาจจากพระเจ้าเพื่อต้านทานการล่อลวงศึกษา มัทธิว 4:1–11 มุ่งเน้นที่ข้อ 4, 7 และ 10 ดูวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงนำหลักธรรมนี้มาประยุกต์ใช้ สังเกตว่าเมื่อพระเยซูตรัสว่า “มีพระคัมภีร์เขียนไว้” พระองค์ทรงอ้างถึงถ้อยคำที่เขียนในพระคัมภีร์

  • ข้อความพระคัมภีร์ที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงอ้างอิงเกี่ยวข้องกับการล่อลวงที่พระองค์ทรงเอาชนะอย่างไร?

ใช้เวลาสองสามนาทีเขียนความคิดของท่านว่าเหตุใดท่านจึงต้องการความช่วยเหลือเพื่อต้านทานการล่อลวง จากนั้นตอบคำถามต่อไปนี้

นักเรียนอาจได้รับประโยชน์จากการตอบคำถามต่อไปนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาของตนก่อนแบ่งปันกับชั้นเรียน

  • ท่านหันไปพึ่งพาพระเจ้าผ่านทางพระคัมภีร์บ่อยเพียงใดเพื่อช่วยต้านทานการล่อลวง? เพราะเหตุใด?

  • ท่านเคยมีประสบการณ์อะไรบ้างในการหันไปพึ่งพาพระเจ้าผ่านทางพระคัมภีร์เพื่อช่วยต้านทานการล่อลวง?

ท่านอาจทำแบบฝึกหัดต่อไปนี้เป็นชั้นเรียน เป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มเล็ก และเขียนคำตอบของนักเรียนบนกระดาน ถ้าสอน ภาค 1 ของบทเรียนมัทธิว 4:1–11 ไปแล้ว ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนใช้สมุดบันทึกการศึกษาของพวกเขาเพื่อนึกถึงการล่อลวงที่พวกเขาระบุไว้ระหว่างบทเรียนนั้นเชื้อเชิญให้นักเรียนใคร่ครวญและอ้างอิงข้อความพระคัมภีร์ที่พบจากการเตรียมเข้าชั้นเรียน

  1. ระบุและทำรายการสิ่งล่อลวงที่เยาวชนรุ่นเดียวกับท่านเผชิญบ่อยๆ

  2. ระบุและทำรายการข้อความพระคัมภีร์ที่สามารถช่วยต้านทานการล่อลวงแต่ละอย่าง พร้อมด้วยคำอธิบายสั้นๆ ว่าข้อความแต่ละข้ออาจช่วยได้อย่างไร

ตัวอย่างเช่น ท่านอาจพบว่าพระวจนะของพระผู้ช่วยให้รอดใน 3 นีไฟ 18:15 สามารถช่วยให้ท่านเห็นว่าท่านต้องตระหนักรู้ตลอดเวลาและสวดอ้อนวอนอย่างขยันหมั่นเพียรขณะพยายามต้านทานการล่อลวงหากท่านรู้สึกยากในการค้นหาพระคัมภีร์ที่จะช่วยได้ ท่านสามารถค้นหาข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน หรือค้นหาข้ออ้างอิงในคู่มือพระคัมภีร์ใต้หัวข้อ “ ล่อลวง (การ) ,” อดทน (ความ) ,” หรือหัวข้ออื่นที่เกี่ยวข้องกับการล่อลวงหรือการล่อลวงเฉพาะเจาะจง

หากนักเรียนใช้พระคัมภีร์อิเล็กทรอนิกส์ ให้ใช้สิ่งต่อไปนี้เพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าใจวิธีสร้างแท็ก

ท่านอาจทำเครื่องหมายข้อความพระคัมภีร์เหล่านี้อย่างชัดเจนและทำรายการไว้ในพระคัมภีร์ของท่านหรือในสมุดบันทึกการศึกษาซึ่งท่านสามารถค้นหาได้ง่าย หากท่านใช้พระคัมภีร์อิเล็กทรอนิกส์ ท่านอาจสร้างแท็กและเพิ่มข้อความไปที่แท็ก หากท่านต้องการเรียนรู้วิธีทำสิ่งนี้ ให้ไปที่ User Guide ในคลังค้นคว้าพระกิตติคุณ (Android) หรือ User Guide ในคลังค้นคว้าพระกิตติคุณ (iOS) ใน ChurchofJesusChrist.org เลือก Marking content ใต้หัวข้อ “Learning More”

แสดงกิจกรรมและคำแนะนำต่อไปนี้เพื่อให้นักเรียนสามารถกำหนดตัวเลือกที่ตรงกับความต้องการมากที่สุดได้

มีหลากหลายวิธีที่ท่านสามารถปฏิบัติตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดและได้รับความเข้มแข็งจากพระคัมภีร์เลือกทำกิจกรรม ก หรือ ข เพื่อช่วยให้ท่านปฏิบัติตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดในการต้านทานการล่อลวง แสวงหาการดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ขณะตัดสินใจว่ากิจกรรมใดจะเป็นประโยชน์ต่อท่านมากที่สุด

กิจกรรม ก: ท่องจำ

เลือกข้ออ้างอิงพระคัมภีร์จากข้อที่ท่านระบุไว้และท่องจำวลีสำคัญหรือข้อความทั้งหมด ต่อไปนี้คือวิธีการบางอย่างที่อาจช่วยได้:

  • อ่านให้ตนเองฟังหลายๆ ครั้งโดยมองดูพระคัมภีร์ให้น้อยลงในแต่ละครั้ง

  • เขียนข้อความหรือวลีนั้น ลบหรือขีดฆ่าคำออกขณะท่องจำ ท่องซ้ำจนกว่าจะลบหรือขีดฆ่าคำทั้งหมดออกและท่านสามารถท่องทั้งหมดได้

กิจกรรม ข: ไตร่ตรองและเขียน

ไตร่ตรองว่าการศึกษาพระคัมภีร์เป็นประจำจะช่วยให้ท่านต้านทานการล่อลวงในชีวิตได้อย่างไร หรือท่านอาจเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเพื่อเพิ่มพรที่มีให้ท่านผ่านความพยายามมากขึ้นในการศึกษาพระคัมภีร์เป็นประจำเขียนโพสต์ในสื่อสังคมหรือในบล็อกที่อาจช่วยผู้อื่นเพิ่มความต้องการศึกษาพระคัมภีร์ เขียนวิธีที่อาจช่วยให้พวกเขาแสวงหาพลังอำนาจของพระเจ้าเพื่อช่วยพวกเขาต้านทานการล่อลวง รวมถึงข้ออ้างอิงพระคัมภีร์อย่างน้อยหนึ่งข้อที่ท่านระบุไว้ในวันนี้ นอกจากนี้ท่านอาจแบ่งปันประสบการณ์ที่เคยมีกับพระคัมภีร์ที่เพิ่มความสามารถในการต้านทานการล่อลวงโดยไม่เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการล่อลวงนั้น

หลังจากให้เวลาเพียงพอแล้ว ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันผลจากกิจกรรมของพวกเขา จากนั้นเชื้อเชิญให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาของพวกเขา

การใคร่ครวญส่วนตัว

เพื่อสรุป ให้ใคร่ครวญสิ่งที่ท่านเรียนรู้วันนี้และไตร่ตรองคำตอบของท่านสำหรับคำถามต่อไปนี้

  • การต่อยอดสิ่งที่ท่านทำวันนี้ (ศึกษา ท่องจำ และระลึกถึงพระคัมภีร์) อาจช่วยให้ท่านเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์มากขึ้นอย่างไร?

  • ท่านรู้สึกว่ามีสิ่งใดที่ต้องเริ่มทำ หยุดทำ หรือทำต่อไป?

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

การศึกษาพระคัมภีร์จะช่วยฉันได้อย่างไร?

ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันอธิบายว่าการศึกษาพระคัมภีร์มอรมอนสม่ำเสมอสามารถช่วยให้เรามีพลังต้านทานการล่อลวงอย่างไร:

ภาพ
Official portrait of President Russell M. Nelson taken January 2018

พี่น้องที่รักทั้งหลาย ข้าพเจ้าสัญญาว่าเมื่อท่านศึกษาพระคัมภีร์มอรมอนร่วมกับการสวดอ้อนวอน ทุกวัน ท่านจะตัดสินใจได้ดีขึ้น—ทุกวัน ข้าพเจ้าสัญญาว่าเมื่อท่านไตร่ตรองสิ่งที่ศึกษา หน้าต่างฟ้าสวรรค์จะเปิด และท่านจะได้รับคำตอบให้คำถามของท่านและการนำทางในชีวิตท่าน ข้าพเจ้าสัญญาว่าเมื่อท่านใฝ่ใจศึกษาพระคัมภีร์มอรมอน ท่านจะมีภูมิคุ้มกันความชั่วของยุคสมัย แม้แต่โรคระบาดของสื่อลามกและการเสพติดอื่นๆ ที่ทำให้ความคิดด้านชา

(รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “พระคัมภีร์มอรมอน: ชีวิตท่านจะเป็นอย่างไรหากปราศจากพระคัมภีร์เล่มนี้,” เลียโฮนา, พ.ย. 2017, 62–63)

การท่องจำพระคัมภีร์จะช่วยฉันได้อย่างไร?

เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์ (1928–2015) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า

ภาพ
Final official portrait of Elder Richard G. Scott of the Quorum of the Twelve Apostles, 2004. Passed away 22 September 2015.

จงฉลาดในการรับเทคโนโลยีมาใช้ ทำเครื่องหมายข้อพระคัมภีร์สำคัญในอุปกรณ์ของท่านและกลับมาอ่านบ่อยๆ หากเยาวชน คนหนุ่มสาวจะทบทวนข้อพระคัมภีร์สักข้อให้บ่อยเท่ากับที่บางคนส่งข้อความ ไม่นานท่านจะท่องจำข้อพระคัมภีร์ได้หลายร้อยข้อทีเดียว ข้อความเหล่านั้นจะกลายเป็นแหล่งการดลใจและการนำทางอันทรงพลังจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ในยามจำเป็น

(ริชาร์ด จี. สก็อตต์, “เพื่อให้มีสันติสุขในบ้าน,” เลียโฮนา, พ.ค. 2013, 30)

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

พระคัมภีร์สามารถเป็นเหมือนเพื่อนสนิท

เพื่อเป็นทางเลือกในการเริ่มต้นบทเรียน ท่านอาจใช้ข้อความนี้เพื่อช่วยให้นักเรียนเห็นว่าการท่องจำและระลึกถึงพระคัมภีร์คล้ายการมีเพื่อนสนิทอย่างไรเอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์ (1928–2015) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองกล่าวว่า

ภาพ
Final official portrait of Elder Richard G. Scott of the Quorum of the Twelve Apostles, 2004. Passed away 22 September 2015.

“[พระคัมภีร์] สามารถเป็นเพื่อนผู้ซื่อสัตย์ที่ไม่มีข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์หรือปฏิทินเวลา พระคัมภีร์ว่างเสมอเมื่อเราต้องการ … การเรียนรู้ ไตร่ตรอง ค้นคว้า และท่องจำพระคัมภีร์เป็นเหมือนการเก็บมิตรสหาย คุณค่า และความจริงเข้าตู้เอกสารซึ่งจะเรียกใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาบนโลกนี้”

(ริชาร์ด จี. สก็อตต์, “พลังแห่งพระคัมภีร์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 6–7)

การอดอาหารช่วยให้เราต้านทานการล่อลวงได้

ถ้าจะช่วยนักเรียนได้ บทเรียนทางเลือกอาจมุ่งเน้นที่พลังของการอดอาหารเพื่อช่วยให้เราต้านทานการล่อลวง อาจใช้แหล่งช่วยต่อไปนี้

  • อิสยาห์ 58:6–7

  • คาร์ล บี. แพรทท์, “พรของการอดอาหารอย่างถูกต้อง,” เลียโฮนา, พ.ย. 2004, 59–61

  • โจเซฟ บี. เวิร์ธลิน, “กฎการอดอาหาร,” เลียโฮนา, ก.ค. 2001, 105–108

“ไตร่ตรองขึ้นใจ”

เชื้อเชิญให้นักเรียนชม “ใจข้าพเจ้าไตร่ตรองอยู่ตลอดเวลา” ตั้งแต่ช่วงเวลา 1:18 ถึง 2:54 วีดิทัศน์นี้มีอยู่ที่ ChurchofJesusChrist.org ใช้แนวคิดที่บราเดอร์เดอร์แรนท์แนะนำเพื่อช่วยให้นักเรียนประยุกต์ใช้ความจริงที่ว่า การระลึกถึงและประยุกต์ใช้ความจริงจากพระคัมภีร์สามารถช่วยให้เราดึงพลังอำนาจจากพระเจ้าเพื่อต้านทานการล่อลวงหากจะช่วยนักเรียนได้ ให้ยกตัวอย่างที่บราเดอร์เดอร์แรนท์ให้ไว้ในช่วงหลังของคำปราศรัย