2021
เอมิลี่ ริชาร์ด มี “บางสิ่งจะพูด” อย่างไร
มิถุนายน 2021


จงตามเรามา

เอมิลี่ ริชาร์ด มี “บางสิ่งจะพูด” อย่างไร

หลักคำสอนและพันธสัญญา 60–62

31 พฤษภาคม–6 มิถุนายน

ภาพ
article on Emily Richards

เอมิลี่ ริชาร์ดก้าวขึ้นสู่แท่นพูดแคบๆ ในการประชุม National Woman Suffrage Association (สมาคมเพื่อสิทธิในการลงคะแนนของสตรีแห่งชาติ) ในวอชิงตัน ดี.ซี. เมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา เธอรู้ว่านี่เป็นประสบการณ์หนึ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเธอ ปีนี้คือปี 1889 และหัวข้อสิทธิในการออกเสียงของผู้หญิงในยูทาห์และการสมรสซ้อนกำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างดุเดือด แม้ว่าเอมิลี่จะรู้สึกกังวล แต่เธอก็พร้อมที่จะพูดในนามของบ้านเกิด เพศ และศาสนาของเธอ

แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าวว่า “มีความกลัวว่าสตรีจากยูทาห์จะไม่สามารถส่งเสียงให้ได้ยินไปทั่วห้องโถงได้—ซึ่งผู้พูดคนอื่นๆ ก็ล้มเหลวในเรื่องนี้—แต่ผู้ร่วมงานรู้สึกประหลาดใจและยินดีที่สามารถได้ยินเสียงของเธอได้ชัดเจน เสียงที่ก้องกังวานของเธอดังทะลุไปถึงช่องที่ไกลที่สุดของอาคารและสุนทรพจน์ของเธอเป็นชัยชนะที่แท้จริง”1

แม้จะไม่มีบันทึกว่าเอมิลี่พูดอะไรในวันนั้น แต่นักข่าวคนหนึ่งรายงานว่าเธอพูดอยู่ประมาณครึ่งชั่วโมง เธอให้ “การนำเสนอทางวิชาการที่เป็นระเบียบ” ซึ่งนำเสนอข้อเท็จจริงและความคิดที่ “ลดอคติลง” นักข่าวกล่าวต่อไปว่าคำพูดของเอมิลีมี “จิตวิญญาณที่อ่อนโยน” ซึ่งทำให้หัวใจหลายคนอ่อนลงในวันนั้นต่อดินแดนยูทาห์2

อย่างไรก็ตามเอมิลี่ไม่ใช่นักพูดที่มีทักษะความสามารถ เธอจำได้ว่าเอไลซา อาร์. สโนว์ ประธานสมาคมสงเคราะห์สามัญในช่วงเวลานั้นเคยให้คำแนะนำกับเธออย่างไร: “ครั้งแรกที่ [ซิสเตอร์สโนว์] ขอให้ฉันพูดในที่ประชุม ดิฉันทำไม่ได้ และเธอก็พูดว่า ‘ไม่เป็นไร แต่เมื่อขอให้คุณพูดอีกครั้ง ลองพยายามมีอะไรจะพูดสักอย่าง’”3

เอมิลี่นำเอาคำแนะนำนี้มาปฏิบัติและแน่ใจว่าเธอพร้อมที่จะพูดในยามจำเป็น เราต้องพร้อมตลอดเวลาที่จะ “อ้าปาก [ของเรา]” และประกาศพระวจนะของพระเจ้าดังเช่นเอมิลี่ ริชาร์ด (หลักคำสอนและพันธสัญญา 60:2)

อ้างอิง

  1. Orson F. Whitney, History of Utah, (1904), 4:605.

  2. ใน Orson F. Whitney,History of Utah,4:605.

  3. ใน At the Pulpit: 185 Years of Discourses by Latter-day Saint Women, ed. Jennifer Reeder and Kate Holbrook (2017), xxii–xxiii.