เซมินารี
1 โครินธ์ 15:29


1 โครินธ์ 15:29

“ทำไมจึงมีการให้รับบัพ‌ติศ‌มาเพื่อคน‍ตาย?”

ภาพ
Baptismal font in the Ogden Utah Temple.

วิสุทธิชนมากมายในกรุงโครินธ์เข้าร่วมพิธีบัพติศมาแทนบรรพชนผู้ล่วงลับ แต่บางคนยังไม่เชื่อเรื่องการฟื้นคืนชีวิตจากบรรดาคนตาย เปาโลช่วยให้พวกเขาเข้าใจว่าเราทำศาสนพิธีแทนคนตายด้วยศรัทธาว่าพระคริสต์จะทรงยกเราทุกคนให้มีชีวิตอีกครั้งในการฟื้นคืนชีวิต บทเรียนนี้มีเจตนาจะช่วยให้ท่านมีความปรารถนาและวางแผนจะมีส่วนร่วมในงานพระวิหารและประวัติครอบครัวอย่างมีความหมายมากขึ้น

เปิดโอกาสสำหรับการประยุกต์ใช้ จุดประสงค์ของการสอนพระกิตติคุณคือการช่วยให้นักเรียนคิดและรู้สึกถึงความปรารถนาที่จะดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ แล้วลงมือกระทำตามความปรารถนาของตน ให้โอกาสนักเรียนในชั้นเรียนวางแผนที่จะนำความจริงที่ตนเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิต เมื่อนักเรียนวางแผนที่จะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ พวกเขาจะเพิ่มความสามารถในการดำเนินชีวิตตามความจริงที่สอนไว้ในบทเรียน

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนเตรียมมาร่วมแบ่งปันสาแหรกครอบครัว หรือเล่าเรื่องราวบรรพชนซึ่งไม่มีพระกิตติคุณหรือการเข้าถึงศาสนพิธีแห่งความรอดและความสูงส่ง

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

ความสำคัญของพยาน

กิจกรรมต่อไปนี้มีเจตนาให้เป็นวิธีที่สนุกและเบิกบานใจเพื่อช่วยให้นักเรียนคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการฟื้นคืนชีวิตและงานที่ประกอบในพระวิหารแทนผู้ล่วงลับ หากจำเป็น ปรับภาพคู่สองชุดแรกเพื่อให้มีความสอดคล้องทางวัฒนธรรมและให้นักเรียนเป็นส่วนหนึ่ง

ตรวจดูภาพคู่ทั้งสามชุดดังต่อไปนี้ พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างภาพทั้งสองในแต่ละชุด

ชุดที่หนึ่ง

ภาพ
The Orchestra at Temple Square, May 2007. They are participating in the performance of the oratorio “Elijah” that took place in the Tabernacle on Temple Square.

คณะนักร้องประสานเสียงแทเบอร์นาเคิล คอนเสิร์ต “เอลียาห์” พฤษภาคม 2007

ภาพ
Portland, OR Six Stakes Dance Festival

ชุดที่สอง

ภาพ
Vegetables, tomatoes, broccoli an carrots
ภาพ
Young men running.

ชุดที่สาม

ภาพ
Jesus Christ’s empty tomb - set at Goshen, Utah
ภาพ
Daytime photo of the Guadalajara Mexico Temple.
  • ท่านจะอธิบายให้ผู้อื่นทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างอุโมงค์ฝังศพที่ว่างเปล่าของพระผู้ช่วยให้รอดกับพระวิหารสมัยใหม่อย่างไร?

เมื่ออัครสาวกเปาโลเรียนรู้ว่าบางคนในเมืองโครินธ์กำลังสอนว่าไม่มีการฟื้นคืนชีวิต เขาจึงชี้ให้เห็นว่าวิสุทธิชนทำสิ่งที่เป็นพยานถึงความเป็นจริงของการฟื้นคืนชีวิต แล้ว

อ่าน 1 โครินธ์ 15:29 และมองหาการปฏิบัติที่เปาโลกล่าวถึง

  • ท่านจะเรียบเรียงเป็นคำพูดของท่านเองอย่างไรเกี่ยวกับสิ่งที่เปาโลกำลังสอนใน ข้อ 29 ?

  • บัพติศมาแทนคนตายเป็นประจักษ์พยานถึงพระผู้ช่วยให้รอด การชดใช้ และการฟื้นคืนชีวิตอย่างไร?

หากนักเรียนต้องการความช่วยเหลือในการตอบคำถามก่อนหน้านี้ ท่านอาจให้ข้อมูลจากหมวด “บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง” ท้ายบทเรียนนี้

บัพติศมาแทนคนตาย

ความจริงประการหนึ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้จาก 1 โครินธ์ 15:29 คือ บุคคลที่สิ้นชีวิตโดยไม่ได้รับบัพติศมาอาจยังได้รับศาสนพิธีที่สำคัญนี้ผ่านงานที่ทำในพระวิหาร

ท่านอาจเชิญนักเรียนที่ทำกิจกรรมการเตรียมของนักเรียนมาแบ่งปันเกี่ยวกับผู้เป็นที่รักซึ่งตายโดยไม่ได้รับบัพติศมา ท่านอาจขอให้นักเรียนคิดว่าบุคคลเหล่านี้เคยได้รับหรืออาจได้รับผลจากบัพติศมาแทนคนตายอย่างไร

ประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์ (1910–2008) สอนว่าการมีส่วนร่วมในงานพระวิหารทำให้เราเชื่อมต่อกับพระเยซูคริสต์ได้อย่างไร:

ภาพ
Frontal half-length portrait of President Gordon B. Hinckley. President Hinckley’s hands are resting on the back of a chair. The image is the official Church portrait of President Hinckley as of 1995. This was President Hinckley’s last official portrait. President Hinckley died 27 January 2008.

ข้าพเจ้าคิดว่างานทำแทนคนตายเป็นสิ่งที่เกือบจะใกล้เคียงกับการเสียสละของพระผู้ช่วยให้รอดที่ทรงทำแทนด้วยพระองค์เองมากกว่างานอื่นๆ ที่ข้าพเจ้ารู้ มันเป็นการกระทำด้วยความรัก ไม่คาดหวังผลตอบแทน หรือการจ่ายคืนในรูปแบบใดๆ ทั้งสิ้น นับเป็นหลักธรรมที่รุ่งโรจน์ที่สุด [ไฟร์ไซด์ที่เบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ, 29 ส.ค. 1995]

(กอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์, “Excerpts from Recent Addresses of President Gordon B. Hinckley,” Ensign, Jan. 1998, 73)

  • การมีส่วนร่วมในบัพติศมาและงานพระวิหารอื่นๆ แทนคนตายช่วยให้เราเป็นเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้นอย่างไร?

เพิ่มความเข้าใจของท่านให้ลึกซึ้งขึ้น

ลองนึกภาพว่าวันหนึ่งที่โรงเรียน ท่านกับเพื่อนๆ พูดคุยกันถึงแผนสำหรับวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ มีเพื่อนคนหนึ่งบอกว่าเขารู้สึกตื่นเต้นที่จะไปพระวิหารเพื่อประกอบพิธีบัพติศมาแทนคนตายกับเยาวชนคนอื่นๆ ในวอร์ดของเขา เพื่อนอีกคนหนึ่ง คาย่ามีสีหน้าสับสนแล้วถามว่า “บัพติศมาแทนคนตายเหรอ? มันคืออะไร?”

  • ท่านจะมั่นใจเพียงใดในการตอบคำถามนี้ในลักษณะที่คาย่าจะเข้าใจได้?

ใช้เวลาในการทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับศาสนพิธีบัพติศมาแทนคนตายโดยการเลือกแหล่งช่วยต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งรายการเพื่อศึกษาหรือค้นหาแหล่งข้อมูลของท่านเอง ขณะศึกษา ให้มองหาบางสิ่งที่ท่านอาจแบ่งปันกับใครสักคนอย่างคาย่าซึ่งเป็นผู้ที่ต้องการเข้าใจเรื่องการปฏิบัตินี้มากขึ้น

ระบุความต้องการของนักเรียน แทนที่จะให้แหล่งข้อมูลต่อไปนี้แก่นักเรียนในการศึกษา อาจเป็นประโยชน์ที่จะปล่อยให้พวกเขาค้นหาและค้นพบแหล่งข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาได้ฝึกฝนการหาแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

นอกจากนี้นักเรียนยังจะได้รับประโยชน์จากการศึกษาแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมในหมวด “บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง” ท้ายบทเรียนนี้ด้วย

นอกเหนือจากการขอให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่ตนเรียนรู้จากการศึกษาแล้ว ท่านอาจให้โอกาสนักเรียนฝึกฝนการอธิบายหลักคำสอนเกี่ยวกับบัพติศมาแทนคนตายให้ใครสักคนอย่างคาย่าผู้ไม่คุ้นเคยกับศาสนพิธีนี้ ซึ่งสามารถทำได้โดยแสดงบทบาทสมมติ หรือให้นักเรียนเขียนคำอธิบายและแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเขียน ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนทำงานเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็กเพื่อให้หลายคนมีโอกาสอธิบาย แบ่งปัน และเป็นพยาน นักเรียนอาจนำประเด็นต่อไปนี้ไปใช้ในคำอธิบาย:

  • สิ่งที่ศาสนพิธีบัพติศมาแทนคนตายแสดงให้เห็นว่าพระบิดาบนสวรรค์และพระบุตรของพระองค์ พระเยซูคริสต์ ทรงรู้สึกเช่นไรกับเราแต่ละคน

  • ประสบการณ์ของท่านที่มีส่วนร่วมในศาสนพิธีนี้

ลงมือทำตามสิ่งที่ท่านได้เรียนรู้

นึกถึงประสบการณ์ส่วนตัวของท่านกับประวัติครอบครัวและงานพระวิหาร พินิจพิเคราะห์สิ่งที่ทำให้ประสบการณ์เหล่านี้มีความหมายและอุปสรรคที่ท่านพบ จากนั้นสร้างแผนที่เรียบง่ายและปรับแต่งได้ตามความต้องการเกี่ยวกับวิธีที่ท่านจะนำสิ่งที่ท่านเรียนรู้และรู้สึกในวันนี้ไปประยุกต์ใช้ ตัวอย่างเช่น ท่านอาจวางแผนเกี่ยวกับการเข้าพระวิหาร การได้รับใบรับรองพระวิหาร การใช้ FamilySearch เพื่อค้นหาชื่อบรรพชนของท่านที่ต้องการรับศาสนพิธีบัพติศมา การทำบางสิ่งเพื่อทำให้ประสบการณ์พระวิหารของท่านมีความหมายมากขึ้น หรือนึกแนวคิดที่ได้รับการดลใจของตัวท่านเอง ทำตามการกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อสร้างแผนที่เหมาะสมกับท่าน บันทึกแผนลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

บัพติศมาแทนคนตายเกี่ยวข้องกับพระเยซูและการฟื้นคืนพระชนม์ของพระองค์อย่างไร?

เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนดังนี้

ภาพ
Portrait of Elder D. Todd Christofferson. Photographed in March 2020.

ความกังวลของเราเรื่องการไถ่คนตาย อีกทั้งเวลาและเงินที่ใช้ไปกับข้อผูกมัดนั้นล้วนเป็นเครื่องบ่งบอกถึงการเป็นพยานของเราในพระเยซูคริสต์ สิ่งนี้ประกอบกันเป็นถ้อยแถลงอันทรงพลังที่เราจะทำได้อันเกี่ยวกับพระพันธกิจและพระลักษณะอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ ประการแรก สิ่งนี้เป็นพยานให้แก่การฟื้นคืนพระชนม์ของพระคริสต์ [และ] ประการที่สอง เป็นพยานถึงขอบเขตอันไม่รู้จบของการชดใช้ของพระองค์ …

เรารับบัพติศมาแทนคนตายเพราะเรารู้ว่าเขาจะฟื้นขึ้นมา

(ดู ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน, “การไถ่คนตายและประจักษ์พยานของพระเยซูเลียโฮนา ม.ค. 2001, 12)

สมาชิกศาสนจักรของพระคริสต์ในยุคสมัยของพันธสัญญาใหม่รับบัพติศมาแทนคนตายหรือไม่?

มีการประกอบพิธีบัพติศมาแทนคนตายหลังจากพระเยซูทรงฟื้นคืนพระชนม์เท่านั้น ข้อพระคัมภีร์ไบเบิลข้อเดียวที่กล่าวถึงการรับบัพติศมาแทนคนตายคือ 1 โครินธ์ 15:29 แม้ว่าบันทึกโบราณฉบับอื่นจะแย้งว่าบัพติศมาแทนคนตายเป็นหลักปฏิบัติของชาวคริสต์ยุคต้น

“พระเยซูคริสต์ทรงสอนว่าบัพติศมาเป็นสิ่งจำเป็นต่อการได้รับชีวิตนิรันดร์ (ดู ยอห์น 3:5) เปาโลเองก็รับบัพติศมาและได้รับการสอนมาว่าเราจะ ‘ดำเนินตามชีวิตใหม่’ ได้ผ่านศาสนพิธีที่สำคัญนี้ ( โรม 6:4 ; ดู กิจการ 9:18) กระนั้นบุตรธิดานับล้านๆ คนของพระบิดาบนสวรรค์สิ้นชีวิตลงโดยไม่ได้รับความรู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ หรือได้รับศาสนพิธีสำคัญของบัพติศมา การกล่าวถึงบัพติศมาแทนคนตายของเปาโลบอกเป็นนัยว่าสมาชิกของศาสนจักรยุคต้นทราบถึงแผนของพระผู้เป็นเจ้าที่จะไถ่คนตาย (ดู ยอห์น 5:25, 28 ; 1 เปโตร 3:18–19 ; 4:6)” (New Testament Student Manual [2014], 385)

สมาชิกศาสนจักรของพระคริสต์ในยุคสุดท้ายเริ่มรับบัพติศมาแทนคนตายเมื่อใด?

.

ฉันจะเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับบัพติศมาแทนคนตายได้จากที่ใด?

.

.

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

การมีส่วนร่วมในงานพระวิหารและประวัติครอบครัว

เพื่อช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนมีส่วนร่วมในงานพระวิหารและประวัติครอบครัว ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนศึกษาคำปราศรัยเรื่อง “ใจของลูกหลานจะหันไป”( เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 29–33) โดยเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง เอ็ลเดอร์เบดนาร์เชื้อเชิญอะไรถึงเยาวชนบ้าง? เหตุใดท่านจึงให้คำเชื้อเชิญเหล่านั้น? พรใดที่เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมในงานพระวิหารและงานประวัติครอบครัว? .