เซมินารี
1 เปโตร 1–5


1 เปโตร 1–5

“ล้ำค่ายิ่งกว่าทองคำ”

ภาพ
After being beaten, Peter and John continue to preach in Christ’s name to the people.

ท่านอาจจำได้ว่าเคยเรียนรู้เกี่ยวกับศรัทธาและความขยันหมั่นเพียรของอัครสาวกเปโตรขณะที่ท่านศึกษาครึ่งแรกของพันธสัญญาใหม่ สาส์นฉบับแรกของเปโตรเขียนในวาระสุดท้ายของชีวิตเปโตร เป็นเวลาหลายปีหลังจากที่เขาได้เดินและพูดคุยกับพระเยซูคริสต์ในระหว่างการปฏิบัติศาสนกิจขณะทรงเป็นมรรตัยของพระผู้ช่วยให้รอด ในสาส์นฉบับแรก เปโตรซึ่งเป็นหัวหน้าอัครสาวกมุ่งเน้นไปที่วิธีที่จะเสริมความเข้มแข็งให้แก่วิสุทธิชนผ่านการทดสอบอันยิ่งใหญ่ที่พวกเขาได้ประสบจากเงื้อมมือของชาวโรมัน บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจถึงจุดประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าที่ทรงยอมให้ท่านประสบกับการทดลองและสามารถเสริมความเข้มแข็งให้ท่านอดทนต่อการทดลองอย่างซื่อสัตย์

ตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ที่เฉพาะเจาะจงของนักเรียน พิจารณาถึงความต้องการในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของนักเรียน ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้ที่แนะนำในบทเรียนนี้เป็นแนวทาง ไม่ใช่บทพูด และปรับกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือนักเรียน การปรับอาจรวมถึงการใช้วิธีการที่แตกต่างกันในการอ่านข้อพระคัมภีร์ หรือทำกิจกรรมที่แตกต่างกันเพื่อทำความเข้าใจหลักธรรมหรือหลักคำสอน อย่ากลัวที่จะใช้ความคิดสร้างสรรค์และลองวิธีการใหม่ๆ

การเตรียมของนักเรียน: เชิญนักเรียนมาพิจารณาว่าตนจะตอบคำถามต่อไปนี้ได้อย่างไร: เพราะเหตุใดเราจึงต้องประสบกับการทดลอง ความยากลำบากและความอยุติธรรมในชีวิต?

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

เพราะเหตุใดเราจึงประสบกับความยากลำบากในชีวิต?

เอ็ลเดอร์เดล จี. เรนลันด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายวิธีที่เราทุกคนจะได้รับประสบการณ์ที่ดูเหมือนว่าไม่ยุติธรรม ดูวีดิทัศน์ “ความอยุติธรรมอันน่าเดือดดาล” ซึ่งรับชมได้ที่ ChurchofJesusChrist.org ตั้งแต่รหัสเวลา 3:19 ถึง 4:12 หรืออ่านข้อความต่อไปนี้

ภาพ
Official portrait of Elder Dale G. Renlund of the Quorum of the Twelve Apostles, January 2016.

ความอยุติธรรมบางอย่างไม่อาจอธิบายได้ ความอยุติธรรมที่อธิบายไม่ได้สร้างความเดือดดาล ความอยุติธรรมมาจากการมีชีวิตที่ร่างกายไม่สมบูรณ์ บาดเจ็บ หรือเป็นโรค ชีวิตมรรตัยอยุติธรรมโดยธรรมชาติอยู่แล้ว บางคนเกิดมาร่ำรวย บางคนไม่ใช่ บางคนมีพ่อแม่ให้ความรัก บางคนไม่มี บางคนมีชีวิตนานหลายปี บางคนไม่กี่ปี และอีกหลายๆ ตัวอย่าง บางคนพลาดพลั้งสร้างความเสียหายทั้งที่กำลังพยายามทำความดี บางคนเลือกไม่บรรเทาความอยุติธรรมทั้งๆ ที่ทำได้ น่าเวทนาที่บางคนใช้สิทธิ์เสรีที่พระผู้เป็นเจ้าประทานให้มาทำร้ายผู้อื่นทั้งที่ไม่ควรทำ

(เดล จี. เรนลันด์, “ความอยุติธรรมอันน่าเดือดดาล,” เลียโฮนา, พ.ค. 2021, 42)

  • ทำไมท่านจึงคิดว่าเอ็ลเดอร์เรนลันด์ใช้คำว่า “น่าเดือดดาล” เพื่ออธิบายถึงบางสิ่งที่ไม่เป็นธรรมที่เราประสบในชีวิต?

  • ใครบ้างที่ท่านทราบว่ากำลังประสบหรือเคยประสบกับทดลองที่รู้สึกไม่เป็นธรรมอย่างน่าเดือดดาล? ทำไมท่านถึงคิดว่าพระเจ้าทรงยอมให้สิ่งนี้เกิดขึ้นได้?

ในค.ศ. 64 กรุงโรมส่วนใหญ่ถูกเผาทำลายด้วยไฟ ชาวโรมันผู้สูงศักดิ์กล่าวหาสมาชิกศาสนจักรว่าเป็นผู้จุดไฟ ซึ่งนำไปสู่การกดขี่ข่มเหงชาวคริสต์ทั่วทั้งจักรวรรดิโรมันอย่างหนักหน่วง มีแนวโน้มว่าเปโตรจะเขียนสาส์นฉบับแรกของเขาหลังจากเหตุการณ์นี้ เพื่อเสริมสร้างศรัทธาของวิสุทธิชนและเพื่อย้ำเตือนวิสุทธิชนถึงรางวัลนิรันดร์ของพวกเขาสำหรับการอดทนต่อการทดลองด้วยความซื่อสัตย์ ในระหว่างที่ท่านศึกษา ให้สนใจกับการกระตุ้นเตือนจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ซึ่งสามารถช่วยให้ท่านเข้าใจเหตุผลบางประการในการทดลองของท่านเอง และวิธีที่ท่านสามารถพึ่งพาพระเยซูคริสต์เพื่อช่วยให้ท่านอดทนต่อการทดลองด้วยความซื่อสัตย์

และไฟของคนถลุงแร่

อ่าน 1 เปโตร 1:3–9 เพื่อค้นหาสิ่งที่อัครสาวกเปโตรสอนเกี่ยวกับพรที่รอผู้ที่อดทนด้วยความซื่อสัตย์ต่อการทดลองของตน คำว่า การทดลอง ในข้อ 6 หมายรวมถึงความทุกข์

  • คำหรือวลีใดจากข้อเหล่านี้ที่ท่านคิดว่าอาจเป็นประโยชน์ที่จะจดจำเมื่อท่านหรือผู้อื่นประสบกับการทดลอง? เพราะเหตุใด?

  • เหตุใดท่านจึงคิดว่าเปโตรเปรียบเทียบการทดลองศรัทธาของวิสุทธิชนกับทองคำที่หลอมด้วยไฟ?

ให้พิจารณาแสดงภาพหรือภาพวาดเบ้าหลอมให้นักเรียนดู คล้ายๆ กับภาพต่อไปนี้

ต่อไปนี้เป็นภาพของเบ้าหลอม เบ้าหลอมเป็นภาชนะที่โลหะอย่างทองคำได้รับการหลอม เมื่อโลหะได้รับการหลอม โลหะเหล่านั้นจะได้รับความร้อนและละลายเพื่อขจัดสิ่งสกปรกและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย

ภาพ
Illustration of a crucible with molten metal pouring into a mold
  • วิธีใดที่การถูกทดลอง หรือถูกทดสอบศรัทธานั้นอาจ “ล้ำค่ายิ่งกว่าทองคำ”? ( 1 เปโตร 1:7)

ความจริงข้อหนึ่งที่สามารถระบุได้จากข้อที่ท่านเพิ่งศึกษาคือ เมื่อเราอดทนต่อการทดลองอย่างซื่อสัตย์ ศรัทธาของเราในพระเยซูคริสต์จะได้รับการหลอมและเข้มแข็งขึ้น ท่านอาจบันทึกความจริงนี้ในพระคัมภีร์ของท่านหรือสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน

  • สิ่งใดจากการประสบการทดลองที่ยากลำบากที่สามารถเสริมสร้างศรัทธาของเราในพระเยซูคริสต์?

พิจารณานอ่าน แอลมา 62:41 เป็นชั้นเรียนก่อนที่จะแบ่งปันคำอธิบายและคำถามต่อไปนี้

แม้การประสบกับปฏิปักษ์อาจเป็นการหลอมทางวิญญาณสำหรับคนจำนวนมาก แต่ก็มีบางคนที่ขมขื่นหรือเปลี่ยนใจให้แข็งกระด้างภายหลังจากการทดลองที่ยากลำบาก (ดู แอลมา 62:41)

  • ท่านคิดว่าอะไรที่จะช่วยให้เราเปลี่ยนการทดลองของเราให้กลายเป็นพรแทนที่จะเป็นประสบการณ์ที่ลดทอนศรัทธาของเรา?

  • ประสบการณ์ใดที่ท่านเคยได้รับหรือประสบการณ์ใดที่ท่านทราบ เมื่อศรัทธาของท่านหรือศรัทธาของผู้อื่นได้รับการเสริมสร้างความเข้มแข็งจากการอดทนต่อทดลองที่ยากลำบากด้วยความซื่อสัตย์?

  • ประสบการณ์เหล่านี้สอนอะไรท่านเกี่ยวกับพระเจ้า?

&#160

เปโตรให้คำแนะนำแก่วิสุทธิชน

หัวข้อหลักที่พบทั่วทั้งสาส์นฉบับแรกของเปโตรคือ วิธีการที่สานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์สามารถอดทนต่อความทุกข์ทรมานและการกดขี่ข่มเหงด้วยความซื่อสัตย์ คำแนะนำของเปโตรสามารถมอบความหวัง กำลังใจ และความเข้มแข็งกับทุกคนที่ประสบกับการทดลองแห่งความเป็นมรรตัย

วาดภาพเบ้าหลอมแบบง่ายๆ ดังเช่นภาพที่ท่านเห็นก่อนหน้านี้ในบทเรียนนี้ ภายในเบ้าหลอมนี้ ให้จดการทดลองและความทุกข์บางส่วนที่ท่านเคยประสบมาหรือกำลังประสบอยู่

ขณะที่ท่านศึกษาถ้อยคำของเปโตรเพิ่มเติม ให้มองหาคำสอนที่สามารถช่วยท่านได้ในการทดลองที่ท่านจดไว้ในภาพของท่าน บันทึกคำสอนเหล่านี้ไว้ที่ด้านนอกของรูปภาพเบ้าหลอมของท่าน

พิจารณาจดข้ออ้างอิงพระคัมภีร์และสรุปของข้อเหล่านั้นบนกระดาน พิจารณาวิธีที่ดีที่สุดสำหรับนักเรียนในการศึกษาข้อเหล่านี้ ทางเลือกหนึ่งคือ แบ่งชั้นเรียนออกเป็นกลุ่มๆ โดยแต่ละกลุ่มจะได้รับมอบหมายชุดข้อพระคัมภีร์หนึ่งชุดสำหรับการศึกษา หลังจากให้เวลาอย่างเพียงพอแล้ว นักเรียนสามารถรายงานสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้จากการศึกษาของตนให้กับชั้นเรียนได้ จากนั้นนักเรียนจะได้รับเชิญให้เพิ่มข้อคิดลงในรูปวาดของนักเรียนโดยอิงจากสิ่งที่เพื่อนร่วมชั้นของนักเรียนนำเสนอ

อีกทางเลือกหนึ่งที่อาจทำได้คือให้เชื้อเชิญนักเรียนศึกษาชุดข้อพระคัมภีร์แต่ละชุดกับคู่ หลังจากที่นักเรียนศึกษาเสร็จสิ้นและพูดคุยเรื่องข้อพระคัมภีร์กับคู่ของตนแล้ว นักเรียนจะได้รับมอบหมายให้หมุนเวียนกันเพื่อที่นักเรียนแต่ละคนจะได้มีคู่คนใหม่ สามารถทำซ้ำกระบวนการนี้ได้เพื่อที่นักเรียนแต่ละคนจะได้ศึกษาชุดพระคัมภีร์สามชุดร่วมกับคู่คนอื่น

1 เปโตร 2:20–25 —ตัวอย่างของพระเยซูคริสต์ในการอดทอนต่อการทดลอง

1 เปโตร 4:12–19 —เหตุผลที่เราชื่น‍ชมยินดีในการทดลองของเรา

1 เปโตร 5:6–11 —การได้รับความเข้มแข็งจากพระเจ้าเพื่ออดทนต่อการทดลองของเรา

หลังจากนักเรียนมีเวลาศึกษาเพียงพอแล้ว ให้เชิญอาสาสมัครให้แบ่งปันข้อคิด พิจารณาเชิญให้นักเรียนร่วมแบ่งปันบางข้อที่นักเรียนคิดว่ามีความหมายมากที่สุดสำหรับตนและอธิบายเหตุผล กระตุ้นให้นักเรียนคิดว่าสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ในวันนี้จะช่วยนักเรียนในสถานการณ์ปัจจุบันอย่างไรและบันทึกข้อคิดและความประทับใจของนักเรียนลงในสมุดบันทึกการศึกษาของตน

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

1 เปโตร 2:20 . เหตุใดเปโตรจึงสอนว่าเราควรรับการทดลองอย่างอดทน?

เอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์ (1926–2004) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนดังต่อไปนี้

ภาพ
Last official portrait of Elder Neal A. Maxwell, 1992.

ความอดทนนั้นผูกติดอยู่กับศรัทธาในพระบิดาบนสวรรค์ของเราอย่างใกล้ชิด จริงๆ แล้วเมื่อเราหมดความอดทนเกินควร เรากำลังปฏิบัติประหนึ่งว่าเรารู้ดีว่าอะไรดีที่สุด—รู้ดีกว่าพระผู้เป็นเจ้า หรืออย่างน้อยเราก็ยืนยันว่าจังหวะเวลาของเราดีกว่าของพระองค์ … ดังนั้นตามที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า ความอดทนคือคุณธรรมที่สำคัญของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับศรัทธาของเรา สิทธิ์เสรีของเรา ทัศนคติของเราต่อชีวิต ความนอบน้อมของเรา และความทุกข์ทรมานของเรา … ไม่มีวิธีอื่นใดที่จะทำให้เกิดการเติบโตอย่างแท้จริง

(นีล เอ. แม็กซ์เวลล์, “Patience” [Brigham Young University devotional, Nov. 27, 1979], 1, 4, speeches.byu.edu)

ฉันจะเอาชนะความท้าทายที่กำลังเผชิญอยู่ได้อย่างไร?

เอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็นแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนดังต่อไปนี้:

ภาพ
Official portrait of Elder Neil L. Andersen of the Quorum of the Twelve Apostles, 2010, August.

ในความทรหดของการทดลองทางโลก จงอดทนมุ่งหน้าต่อไป และเดชานุภาพแห่งการเยียวยาของพระผู้ช่วยให้รอดจะนำความสว่าง ความเข้าใจ สันติสุข และความหวังมาสู่ท่าน จงสวดอ้อนวอนด้วยสุดใจท่าน เสริมสร้างศรัทธาของท่านในพระเยซูคริสต์ ในความเป็นจริงของพระองค์ ในพระคุณของพระองค์ … มองไปข้างหน้า ปัญหาและความโศกเศร้าของท่านเป็นเรื่องจริง แต่จะไม่ดำรงอยู่ตลอดไป คืนแห่งความมืดของท่านจะผ่านพ้นไป เพราะพระบุตร … [ทรงลุกขึ้น] ด้วยปีกของพระองค์ที่รักษาหาย

(นีล แอล. แอนเดอร์เซ็น, “บาดเจ็บ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2018, 85)

ฉันจะพบความสุขขณะอดทนต่อการทดลองได้อย่างไร?

เอ็ลเดอร์โจเซฟ บี. เวิร์ธลิน (1917–2008) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองพูดถึงเรื่องการค้นหาความสุขในระหว่างความทุกข์ยากและจดจำคำแนะนำของมารดาของท่านที่พูดว่า “ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ขอให้ชื่นชมยินดี”

ภาพ
Last official portrait of Elder Joseph B. Wirthlin of the Quorum of the Twelve Apostles, 2004. Died December 1, 2008.

เราจะชื่นชมยินดีกับวันที่เต็มไปด้วยความโศกเศร้าได้อย่างไร? เราทำไม่ได้—อย่างน้อยก็ในขณะนั้น ข้าพเจ้าไม่คิดว่าคุณแม่กำลังบอกให้เราสะกดกลั้นความท้อแท้หรือปฏิเสธว่าเราเจ็บปวดจริง ข้าพเจ้าไม่คิดว่าท่านกำลังบอกให้เราซ่อนความจริงที่อันไม่น่าพึงใจไว้ใต้เสื้อคลุมของความสุขที่เสแสร้ง แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่าวิธีที่เราตอบสนองความยากลำบากจะเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสุขและความสำเร็จที่เราจะมีได้ในชีวิต ถ้าเรารับมือกับความยากลำบากอย่างฉลาด ช่วงเวลายากลำบากที่สุดจะช่วงเวลาที่เราเติบโตมากที่สุดซึ่งสามารถนำไปสู่ช่วงเวลาของความสุขอย่างมากได้ …

เมื่อเรามองหาอารมณ์ขัน ให้แสวงหามุมมองนิรันดร์ เข้าใจหลักธรรมเรื่องการชดเชย และเข้าใกล้พระบิดาบนสวรรค์ของเรา เราจดอดทนต่อความยากลำบากและการทดลองได้ เราพูดได้ เช่นเดียวกับมารดาข้าพเจ้าว่า “ไม่ว่าอะไรจะเกิด ขอให้ชื่นชมยินดี”

(โจเซฟ บี. เวิร์ธลิน, “ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ขอให้ชื่นชมยินดี,” เลียโฮนา, พ.ย. 2008, 32–35)

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

1 เปโตร 5:1–5 “เลี้ยงฝูงแกะของพระเจ้า”

พิจารณาอ่าน 1 เปโตร 5:1–5 กับนักเรียนและชี้ให้เห็นว่าในข้อเหล่านี้ เปโตรได้สอนพวกเอ็ลเดอร์ขอศาสนจักรเกี่ยวกับความรับผิดชอบของพวกเขาในฐานะผู้นำในอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า ช่วยนักเรียนระบุความจริงต่อไปนี้: ผู้นำศาสนจักรมีความรับผิดชอบในการปกป้องและดูแลฝูงแกะของพระผู้เป็นเจ้าด้วยความรักและโดยแบบอย่าง นักเรียนสามารถได้รับเชิญให้พูดคุยถึงตัวอย่างว่าผู้นำของนักเรียนได้ปฏิบัติศาสนกิจต่อนักเรียนและครอบครัวด้วยความรักอย่างไร นอกจากนี้ให้พิจารณาช่วยเหลือนักเรียนให้เข้าใจว่า นักเรียนสามารถเป็นตัวอย่างให้กับโควรัมของตนและสมาชิกในชั้นเรียนของนักเรียนได้โดยการทำตามตัวอย่างของ “พระ‍ผู้‍เลี้ยงผู้‍ยิ่ง‍ใหญ่” ( 1 เปโตร 5:4)