เซมินารี
1 เปโตร 2–3


1 เปโตร 2–3

“พวกท่านเป็นพงศ์พันธุ์ที่ทรงเลือกสรร ”

ภาพ
A group of young woman sit outside and socialize.

มีใครเคยถามท่านหรือไม่ว่าทำไมท่านจึงเชื่อในความจริงพระกิตติคุณบางอย่าง? อัครสาวกเปโตรสนับสนุนให้วิสุทธิชนพร้อมที่จะเป็นพยานต่อความจริงเสมอ และย้ำเตือนพวกเขาถึงมรดกอันศักดิ์สิทธิ์ของตน (ดู 1 เปโตร 2:9 ; 3:15) บทเรียนนี้สามารถช่วยให้ท่านเข้าใจความสำคัญของการเป็นแบบอย่างที่ซื่อสัตย์ถึงพระเยซูคริสต์และให้โอกาสในการฝึกการตอบผู้อื่นเกี่ยวกับศรัทธาของท่าน

การช่วยเหลือนักเรียนในการอธิบายความจริงพระกิตติคุณ วิสุทธิชนในยุคสุดท้ายได้รับคำขอให้อธิบายความเชื่อของตนตลอดช่วงชีวิตของตน วางแผนโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกฝนการอธิบายความจริงพระกิตติคุณต่อกันและกันในชั้นเรียน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้ฝึกการพูดคุยเกี่ยวกับพระกิตติคุณในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญนักเรียนให้พูดคุยกับครอบครัวของตนเกี่ยวกับช่วงเวลาเมื่อมีคนขอให้นักเรียนหรือใครบางคนที่รู้จักอธิบายถึงความเชื่อและศรัทธาของตนในพระเยซูคริสต์ เชิญชวนให้นักเรียนพิจารณาว่าจะตอบคำถามอย่างแตกต่างกันออกไปหรือไม่ และเตรียมตัวมาแบ่งปันความคิด

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

ถ้อยคำที่อธิบายถึงผู้ติดตามของพระเยซูคริสต์

พิจารณาเริ่มต้นด้วยการพูดคุยเกี่ยวกับคำถามต่อไปนี้บางข้อกับนักเรียน เชิญให้นักเรียนมาพิจารณาว่าเหตุใดพระเจ้าจึงทรงคาดหวังให้วิสุทธิชนของพระองค์แตกต่างจากคนอื่นๆ

  • มีใครเคยสังเกตเห็นไหมว่าท่านทำสิ่งต่างๆ แตกต่างไปเพราะท่านเป็นสมาชิกศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย?

  • ประสบการณ์ของท่านกับสิ่งนี้คืออะไร?

  • ท่านรู้สึกอย่างไรที่ท่านแตกต่างจากผู้อื่นมากมายในโลก?

ขณะที่ท่านได้ศึกษาในวันนี้ ให้ไตร่ตรองว่าพระเจ้าทรงประสงค์ให้ผู้ติดตามพระองค์โดดเด่นและแตกต่างออกไปเพราะเหตุใดและอย่างไร?

ประ‌ชา‍กรอันเป็นกรรม‍สิทธิ์

อ่าน 1 เปโตร 2:9 แล้วมองหาว่าเปโตรอธิบายวิสุทธิชนในยุคสมัยของเขาไว้อย่างไร

  • อะไรสะดุดใจท่าน?

  • ถ้อยคำเหล่านี้ระบุอะไรบ้างเกี่ยวกับความรู้สึกที่พระบิดาบนสวรรค์ทรงมีต่อท่าน?

&#160 &#160

ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันสอนว่า

ภาพ
Official portrait of President Russell M. Nelson taken January 2018

ในพันธสัญญาเดิม คำภาษาฮีบรูที่ซึ่งคำว่า เป็นกรรมสิทธิ์ ได้รับการแปลมาคือ segullah ซึ่งแปลว่า “ทรัพย์สินล้ำค่า” หรือ “สมบัติ” ในพันธสัญญาใหม่ คำภาษากรีกที่ซึ่งคำว่า เป็นกรรมสิทธิ์ ได้รับการแปลมาคือ peripoiesis ซึ่งแปลว่า “สิ่งที่ครอบครอง” หรือ “การได้มา”

ดังนั้นเราจะเห็นว่าคำที่ใช้ในพระคัมภีร์ว่า เป็นกรรมสิทธิ์ แทนคำว่า “สมบัติมีค่า” “สร้างขึ้น” หรือ “ถูกเลือกโดยพระผู้เป็นเจ้า” สำหรับเราที่ผู้รับใช้ของพระเจ้าจะระบุว่าเป็นประชากรอัน เป็นกรรมสิทธิ์ ของพระองค์เป็นคำชมที่ยอดเยี่ยมที่สุด

(รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “Children of the Covenant,” Ensign, May 1995, 34)

  • ท่านรู้สึกอย่างไรเมื่อทราบว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเห็นว่าท่านเป็นสมบัติที่โดดเด่นและมีค่า?

อ่าน 1 เปโตร 2:9–12 เพื่อค้นหาข้อคิดเกี่ยวกับวิธีที่ท่านสามารถแตกต่างจากโลกได้

  • ท่านค้นพบอะไรบ้าง?

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 12 เราสามารถมีอิทธิพลต่อผู้อื่นอย่างไร?

ความจริงข้อหนึ่งที่เราสามารถระบุได้จากข้อเหล่านี้ก็คือ พระผู้เป็นเจ้าทรงเรียกวิสุทธิชนของพระองค์ให้แตกต่างจากโลก เพื่อที่ผู้อื่นจะสามารถเห็นแบบอย่างของพวกเขาและสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า

ไตร่ตรองอย่างเงียบๆ เกี่ยวกับข้อความต่อไปนี้และให้คะแนนตัวท่านเองตั้งแต่ 1 ถึง 5 โดยที่ 5 หมายถึงท่านเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง

1. ผู้อื่นจดจำฉันได้ง่ายว่าฉันเป็นผู้ติดตามพระเยซูคริสต์

2. ในฐานะผู้ติดตามของพระผู้ช่วยให้รอด ฉันยอมรับได้ที่จะแตกต่างจากคนอื่นๆ ในโลก

คำถามเหล่านี้สามารถนำไปสนทนาในชั้นเรียนหรือท่ามกลางนักเรียนกลุ่มเล็กๆ ก็ได้

  • เพราะเหตุใดบางครั้งจึงเป็นเรื่องยากที่จะแตกต่างจากคนรอบข้าง?

  • อะไรคือสิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อช่วยให้เรารู้สึกสบายใจในการเป็นคนอันเป็นกรรมสิทธิ์และแตกต่างจากโลก?

  • ตัวอย่างใดจากชีวิตของท่านหรือพระคัมภีร์ที่แสดงให้เห็นว่าการแตกต่างจากโลกช่วยให้ผู้อื่นเข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้ามากขึ้นได้อย่างไร?

&#160

จงเตรียมพร้อมเสมอ

เปโตรเขียนสาส์นในระหว่างเวลาที่มีการกดขี่ข่มเหงและการละทิ้งความเชื่ออย่างรุนแรง ในตอนนั้นเป็นเรื่องยากที่จะเป็นชาวคริสต์ เช่นเดียวกับที่เป็นเรื่องยากที่จะเป็นผู้ติดตามพระเยซูคริสต์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เราสามารถช่วยให้ผู้อื่นรู้สึกถึงปีติในการใช้ชีวิตพระกิตติคุณเมื่อเราเต็มใจที่จะแบ่งปันสิ่งที่เรารู้และรู้สึก ใช้สองข้อความต่อไปนี้ในการประเมินการเตรียมตัวของท่านเพื่อแบ่งปันศรัทธาของท่านกับผู้อื่น ใช้ระดับการให้คะแนนเดิมตั้งแต่ 1 ถึง 5

1. ฉันต้องการแบ่งปันศรัทธาของฉันในพระเยซูคริสต์และประจักษ์พยานกับผู้อื่น

2. ฉันเชื่อมั่นในความสามารถของฉันในการอธิบายศรัทธาและตอบคำถามเกี่ยวกับพระกิตติคุณของพระผู้ช่วยให้รอด

อ่าน 1 เปโตร 3:14–15 เพื่อมองหาคำแนะนำของเปโตรเกี่ยวกับการแบ่งปันความเชื่อของเรากับคนอื่น

แทนที่จะถามคำถามถัดไป ให้พิจารณาเชิญนักเรียนให้ลองจินตนาการถึงข้อความสั้นๆ ที่นักเรียนจะใช้ถ้าตนจะสร้างมีมหรือเสื้อยืดเกี่ยวกับข้อความใน 1 เปโตร 3:14–15

  • ท่านจะสรุปคำสอนของเปาโลด้วยคำพูดของท่านเองว่าอย่างไร?

  • พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณของพระองค์ให้ความหวังแก่ท่านอย่างไร?

พิจารณาเชิญให้นักเรียนแบ่งปันประสบการณ์จากกิจกรรมการเตรียมของนักเรียน

  • การมีความพร้อมและเต็มใจที่จะพูดถึงพระผู้ช่วยให้รอดและพระกิตติคุณของพระองค์เป็นพรแก่ผู้อื่นได้อย่างไร?

วิธีที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งในการ “เตรียมพร้อมเสมอ” ( 1 เปโตร 3:15) คือการฝึกฝนวิธีที่ท่านอาจตอบคำถามและการสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรม ความเชื่อ หรือศาสนจักรของท่าน

สำหรับกิจกรรมต่อไปนี้ ให้พิจารณาระบุคำถามต่อไปนี้หลายข้อบนกระดาน หรือกระตุ้นให้นักเรียนนึกถึงคำถามอื่นๆ ที่นักเรียนอาจถูกถาม นักเรียนสามารถแบ่งออกเป็นคู่และเชิญให้ผลัดกันตอบกันและกัน

ลองแบ่งปันคำแนะนำห้าประการของประธานรัสเซลล์ เอ็ม เนลสันในการตอบคำถามประเภทนี้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอยู่ในส่วน “บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง” ก่อนที่จะขอให้นักเรียนแสดงบทบาทสมมติ

ขั้นตอนที่ 1: เลือกคำถามต่อไปนี้อย่างน้อยสองข้อที่ท่านสนใจหรือเขียนคำถามที่เคยมีคนถามท่านเกี่ยวกับศรัทธาของท่านเมื่อเร็วๆ นี้

  • ฉันได้ยินคนพูดว่า “พระเยซูทรงช่วยให้รอด” หมายความว่าอย่างไร?

  • เหตุใดศาสนจักรของคุณจึงต่อต้านการดื่มกาแฟและชา?

  • ทำไมคุณจึงตื่นเช้าเพื่อเข้าเรียนเซมินารี?

  • เหตุใดพระเยซูคริสต์จึงทรงใส่ใจเกี่ยวกับภาษาที่เราใช้? สิ่งนี้สร้างความแตกต่างอย่างไร?

  • เหตุใดเราจึงควรรักษาวันสะบาโตให้ศักดิ์สิทธิ์? วันอาทิตย์เป็นวันธรรมดาอีกวันไม่ใช่หรือ?

ขั้นตอนที่ 2: พิจารณาว่าท่านจะตอบคำถามที่ท่านเลือกอย่างไร แล้วจึงสร้างคำตอบสำหรับคำถามแต่ละข้อ ให้รวมความคิดว่าศรัทธาและความหวังของท่านในพระเยซูคริสต์มีอิทธิพลต่อคำตอบของท่านอย่างไรเข้าไปด้วย

ขั้นตอนที่ 3: เขียนเหตุผลที่ท่านรู้สึกว่าการโดดเด่นและพูดคุยกับผู้อื่นเกี่ยวกับศรัทธาของท่านในพระเยซูคริสต์เป็นสิ่งสำคัญ หากท่านรู้สึกไม่แน่ใจ ให้สวดอ้อนวอนและพิจารณาว่าท่านจะเตรียมตัวอย่างไรให้พร้อมทำเช่นนั้น

หลังจากนักเรียนตอบเสร็จแล้ว ให้เชื้อเชิญนักเรียนสองสามคนแบ่งปันความคิดที่นักเรียนมีในระหว่างทำกิจกรรม นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ที่จะเชิญนักเรียนบางคนที่เต็มใจให้มาร่วมแบ่งปันประจักษ์พยานของตนใน “ความหวังของพวกท่าน [ในพระองค์]” ( 1 เปโตร 3:15) เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณ สรุปบทเรียนโดยเป็นพยานถึงความจริงที่ท่านสนทนาไปแล้ว

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

1 เปโตร 2:9 คำสอนของเปโตรเกี่ยวข้องกับสมาชิกของศาสนจักรในสมัยการประทานของเราอย่างไร?

&#160 &#160

ซิสเตอร์เบคกี้ เครเวนแห่งฝ่ายประธานเยาวชนหญิงสามัญสอนว่า

ภาพ
Sister Rebecca L. Craven, second counselor, Young Women general presidency. Official Portrait as of October 2018.

เราไม่ลดมาตรฐานของเราเพื่อให้คนอื่นยอมรับหรือรู้สึกสบายใจ เราเป็นสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์ เพราะเหตุนี้เราจึงยกผู้อื่นให้สูงขึ้น ศักดิ์สิทธิ์ขึ้นเพื่อพวกเขาจะได้เก็บเกี่ยวพรมากขึ้นด้วย …

วิธีที่เราดำเนินชีวิตอย่างรอบคอบทำให้คนอื่นเห็นรูปลักษณ์ของพระองค์ในสีหน้าของเราและรู้ได้หรือไม่ว่าเราเป็นใคร

เราเป็นผู้คนแห่งพันธสัญญา เราต้องไม่กลมกลืนกับโลกที่เหลือ เราได้ชื่อว่าเป็น “กรรมสิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า” ( 1 เปโตร 2:9)—นี่เป็นคำชม! เมื่ออิทธิพลของโลกน้อมรับความชั่วร้ายมากขึ้น เราต้องพยายามด้วยความขยันหมั่นเพียรเพื่อยืนหยัดอยู่บนเส้นทางที่นำไปหาพระผู้ช่วยให้รอดของเราอย่างปลอดภัย โดยทำให้ระยะห่างระหว่างการดำเนินชีวิตตามพันธสัญญากับอิทธิพลทางโลกกว้างขึ้น

(เบคกี้ เครเวน, “รอบคอบตรงข้ามกับหละหลวม,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 10)

ฉันจะเตรียมตัวและตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไรเมื่อมีใครถามถึงความเชื่อของฉัน?

ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันสอนว่า

ภาพ
Official portrait of President Russell M. Nelson taken January 2018

ในฐานะผู้ติดตามพระเยซูคริสต์ ทุกท่านดำเนินชีวิตตามคำสอนของพระองค์ได้ ท่านสามารถมี “ใจบริสุทธิ์และมือสะอาด” ได้ ท่านสามารถมี “มีรูปลักษณ์ของพระผู้เป็นเจ้าจารึกอยู่บน [สีหน้า] ของท่าน” งานดีของท่านจะประจักษ์ต่อผู้อื่น แสงแห่งพระเจ้าจะส่องจากนัยน์ตาท่าน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงพร้อมตอบคำถามมากขึ้น อัครสาวกเปโตรแนะนำว่า “จงเตรียม‍พร้อมเสมอ ที่จะอธิบายกับทุก‍คนที่ขอทราบเหตุ‍ผลเกี่ยว‍กับความหวังของพวก‍ท่าน” ( 1 เปโตร 3:15).

ขอให้คำตอบของท่านอบอุ่นและเปี่ยมปีติ ให้คำตอบของท่านเหมาะกับแต่ละคน จำไว้ว่าคนเหล่านั้นเป็นลูกของพระผู้เป็นเจ้าเช่นกัน พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงต้องการให้บุคคลนั้นคู่ควรรับชีวิตนิรันดร์และกลับไปหาพระองค์ในวันข้างหน้า ท่านอาจเป็นคนเปิดประตูสู่ความรอด และความเข้าใจในหลักคำสอนของพระคริสต์ให้เขาก็ได้

(รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน,“เจ้าจงเป็นแบบอย่างแก่คนที่เชื่อทั้งปวง,” เลียโฮนา, พ.ย. 2010, 60)

&#160

&#160

//media.ldscdn.org/webvtt/youth/mormon-messages-for-youth-2012/2012-05-005-dare-to-stand-alone-en.vtt

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

1 เปโตร 2:5–8 “ศิลาที่มีชีวิต”

พิจารณาแสดงหินก้อนเล็กๆ ให้นักเรียนดู ถามนักเรียนว่าก้อนหินเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เปโตรสอนใน 1 เปโตร 2:5–8 อย่างไร เชิญนักเรียนมาระบุว่าตนคิดว่า “ศิลาหัวมุม” คือใคร (ดู เอเฟซัส 2:19–20) และวิธีอื่นๆ ที่นักเรียนสามารถเป็นตัวแทนของพระองค์ในโลกในฐานะ “ศิลาที่มีชีวิต” ( 1 เปโตร 2:5) &#160 นอกจากนี้ยังสามารถขอให้นักเรียนสนทนาถึงเหตุผลที่เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องสร้างชีวิตของนักเรียนบนพระผู้ช่วยให้รอด ขณะที่นักเรียนแสวงหาที่จะ “เตรียมพร้อมเสมอ” ( 1 เปโตร 3:15) ที่จะแบ่งปันพระกิตติคุณกับผู้อื่น