เซมินารี
2 โครินธ์ 1; 4


2 โครินธ์ 1; 4

“การหนุน‍ใจซึ่งเราเองได้รับจากพระ‍เจ้า”

ภาพ
Two young women sit together on a bench. One of the young women appears to be distraught, sad, or concerned about something. The other young woman is showing concern and appears to be trying to comfort the other.

เราทุกคนล้วนประสบกับความปวดร้าวใจและเสียใจ ความล้มเหลวและอุปสรรค ความรู้สึกไม่สบายและความเจ็บป่วย เมื่อประชาชนกรุงโครินธ์เผชิญกับความยากลำบาก เปาโลเขียนถึงสมาชิกของศาสนจักรที่นั่นเพื่อเสนอที่จะให้การสนับสนุนและให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง เขาเป็นพยานว่าการปลอบโยนและสันตินั้นมีให้พวกเขาผ่านพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ (ดู 2 โครินธ์ 1:3–4) บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจวิธีการบางอย่างที่พระผู้เป็นเจ้าประทานการปลอบโยนให้แก่บุตรธิดาของพระองค์ และระบุวิธีที่ท่านจะแบ่งปันการปลอบโยนของพระองค์ให้กับผู้อื่นได้

การใช้อุปกรณ์และรูปภาพ แนวคิดพระกิตติคุณบางประการอาจเข้าใจได้ยาก การใช้สิ่งของและรูปภาพเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจหลักธรรมทางวิญญาณ

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนคิดหาวิธีที่แตกต่างกันที่ตนได้รับการปลอบโยนเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นในชีวิตของตน หากเป็นไปได้ กระตุ้นให้นักเรียนนำรูปภาพหรือวัตถุที่หมายถึงแหล่งของการปลอบโยนแก่แก่นักเรียน

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

สิ่งใดนำมาซึ่งการปลอบโยนแก่ท่าน?

ถ้าขอให้นักเรียนทำกิจกรรมการเตรียมของนักเรียนมา เชื้อเชิญให้นักเรียนมาแสดงวัตถุที่ตนนำมากับชั้นเรียนและอธิบายว่าสิ่งนั้นทำให้ตนรู้สึกได้รับการปลอบโยนได้อย่างไร

  • ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ท่านหันไปหาใครหรือสิ่งใดเพื่อการปลอบโยน?

  • อะไรหรือใครให้การปลอบโยนท่านมากที่สุด? เพราะเหตุใด?

จัดทำรายการสถานการณ์ในชีวิตปัจจุบันหรือในอนาคตที่ท่านอาจต้องการความช่วยเหลือและการปลอบโยนที่จะก้าวผ่าน

ไตร่ตรองคำถามต่อไปนี้:

  • เพราะเหตุใดท่านจึงวางใจได้ว่า พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์จะทรงปลอบโยนท่านผ่านของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ในช่วงเวลาเช่นนี้?

  • ท่านรู้สึกว่าท่านตระหนักและได้รับการปลอบโยนที่พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงมอบผ่านพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ดีเพียงใด?

  • ท่านจะสามารถแบ่งปันการปลอบโยนที่พระองค์ประทานกับผู้อื่นได้อย่างไร?

ค้นหาคำตอบของคำถามก่อนหน้าในขณะที่ท่านศึกษาบทเรียนนี้

เปาโลต้องการปลอบโยนวิสุทธิชนชาวโครินธ์ในการทดลองของพวกเขา

เปาโลได้รับข่าวจากสานุศิษย์ชื่อทิตัสว่า วิสุทธิชนในเมืองโครินธ์รับจดหมายฉบับก่อนๆ ของเขาไว้ด้วยดี (ดู 2 โครินธ์ 2:13 ; 7:5) เปาโลยังได้รู้ถึงความท้าทายที่ไม่หยุดหย่อนของวิสุทธิชนเหล่านี้และเขียนจดหมายอีกฉบับ (2 โครินธ์) เพื่อให้การปลอบโยนและตอบปัญหาของพวกเขา

  • ท่านจำอะไรได้บ้างเกี่ยวกับโครินธ์และความยากลำบากของวิสุทธิชนที่นั่น?

หากนักเรียนตอบได้ยาก เตือนนักเรียนว่าโครินธ์เป็นเมืองใหญ่ที่มั่งคั่งมีชื่อเสียงเรื่องรูปเคารพและความไม่มีศีลธรรม วิสุทธิชนที่นั่นประสบปัญหาเรื่องความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน การยอมรับปัญญาของพระผู้เป็นเจ้าให้อยู่เหนือคำสอนผิดๆ และการรักษากฎแห่งความบริสุทธิ์ทางเพศ

อ่าน 2 โครินธ์ 1:1–4 โดยให้ความสนใจวิธีที่เปาโลเปิดจดหมายฉบับที่สองของตนกับวิสุทธิชนชาวโครินธ์

ท่านอาจให้นักเรียนระบุชื่อที่เปาโลใช้เรียกพระบิดาบนสวรรค์แล้วเขียนชื่อเหล่านี้บนกระดาน

  • อะไรที่โดดเด่นสำหรับท่านในบทนำของเปาโลที่ให้แก่เหล่าวิสุทธิชน?

  • เปาโลใช้พระนามหรือชื่อเรียกใดเรียกพระบิดาบนสวรรค์ที่ทำให้ท่านสนใจ?

  • พระนามหรือชื่อเรียกเหล่านี้สอนอะไรท่านเกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์?

  • เปาโลเคยสอนความจริงใดบ้างใน ข้อ 4 ?

รับการปลอบโยนจากพระบิดาบนสวรรค์และช่วยให้ผู้อื่นได้รับเช่นกัน

ท่านอาจระบุความจริงจาก ข้อ 4 ทำนองนี้: เมื่อเราได้รับการปลอบโยนจากพระบิดาบนสวรรค์ระหว่างการทดลอง เราสามารถช่วยให้ผู้อื่นได้รับเช่นกัน

ขณะนักเรียนกำลังระบุความจริงใน 2 โครินธ์ 1:4 ท่านอาจเชิญนักเรียนเปรียบเทียบข้อนี้กับ โมไซยาห์ 18:8–10 และมองหาสิ่งที่คล้ายคลึงกัน

ท่านอาจแบ่งปันคำพูดของเอ็ลเดอร์แกรีย์ อี. สตีเวนสันในหมวด “บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง” ตอนท้ายของบทเรียนและถามคำถามต่อไปนี้

  • ท่านคิดว่าการ “หนุนใจ (ปลอบโยน) คนทั้งหลายที่มีความยากลำบากอย่างใดอย่างหนึ่ง” มีความหมายว่าอย่างไร? ( ข้อ 4)

  • เหตุใดท่านจึงคิดว่ามีความคาดหวังกับสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์?

  • ระหว่างการทดลอง ท่านหรือคนที่ท่านรู้จักเคยได้รับความช่วยเหลือและการปลอบโยนจากพระบิดาบนสวรรค์เมื่อใด?

  • ท่านเรียนรู้อะไรจากประสบการณ์นั้น?

  • ท่านคิดว่าท่านสามารถทำอะไรได้เพื่อรับการปลอบโยนจากพระผู้เป็นเจ้ามากขึ้นเมื่อท่านต้องการ?

หากคำตอบของนักเรียนไม่ได้เป็นเรื่องส่วนตัวจนเกินไป ให้เชิญนักเรียนหลายๆ คนมาแบ่งปันประสบการณ์ของตน อาจเป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนที่จะได้ฟังวิธีต่างๆ ที่พระบิดาบนสวรรค์ทรงปลอบโยนเรา ท่านอาจเพิ่มประจักษ์พยานส่วนตัวและประสบการณ์ส่วนตัวเช่นกัน

อ่านคำกล่าวต่อไปนี้ของประธานสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์ (1895–1985)

ภาพ
Portrait painting of President Spencer W. Kimball.

พระผู้เป็นเจ้าสนพระทัยเรา และพระองค์ทรงดูแลเรา แต่ปกติพระองค์จะทรงตอบรับความต้องการของเราผ่านผู้อื่น ด้วยเหตุนี้ การรับใช้กันในอาณาจักรจึงสำคัญยิ่ง

(คำสอนของประธานศาสนาจักร: สเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์ [2006], 90)

. .

  • เพราะเหตุใดท่านจึงคิดว่าพระบิดาบนสวรรค์มักใช้เราในการช่วยเหลือผู้อื่นระหว่างการทดลองของพวกเขาเพื่อให้รู้สึกว่าพระองค์ทรงรักและปลอบโยน?

นึกถึงใครสักคนที่ท่านรู้จักผู้ซึ่งกำลังประสบกับความยากลำบาก พิจารณาร่วมกับการสวดอ้อนวอนว่าท่านจะช่วยให้บุคคลนั้นรู้สึกถึงการปลอบโยนดังที่พระบิดาบนสวรรค์ประทานแก่ท่านอย่างไรในขณะที่ท่านทำสิ่งต่อไปนี้:

ก. นึกถึงสิ่งที่ท่านเรียนรู้จาก 2 โครินธ์ 1:1–4 ที่อาจช่วยบุคคลนี้ได้

ข. อ่านชุดข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้สองชุดหรือมากกว่านั้น ซึ่งประกอบด้วยคำสอนเพิ่มเติมของเปาโลที่สอนชาวโครินทร์เกี่ยวกับการทดลอง ค้นหาวลีหรือคำพูดที่ท่านรู้สึกว่าจะมีความหมายต่อบุคคลที่ท่านเลือก

ค. ทำบางสิ่งบางอย่างตอนนี้เพื่อช่วยให้คนๆ นี้รู้สึกได้ถึงการปลอบโยนจากพระบิดาบนสวรรค์ ท่านอาจสวดอ้อนวอนให้บุคคลนั้นดังเช่นวิสุทธิชนชาวโครินธ์สวดอ้อนวอนให้เปาโล (ดู 2 โครินธ์ 1:11) นอกจากนี้ท่านยังสามารถเขียนข้อความให้กำลังใจบุคคลนี้เหมือนกับที่เปาโลทำกับชาวโครินธ์ แม้ว่าข่าวสารของท่านอาจจะเป็นข้อความ อีเมล หรือโน้ตสั้นแทนที่จะเป็นจดหมาย (พิจารณาสิ่งที่ท่านเรียนรู้ในบทเรียนนี้จาก 2 โครินธ์ 1; 4 รวมถึงประสบการณ์ส่วนตัวใดๆ ที่อาจช่วยได้)

ง. วางแผนเพิ่มเติมเพื่อช่วยบุคคลนี้ พระบิดาบนสวรรค์อาจทรงกระตุ้นเตือนให้ท่านลงมือทำอะไรเพิ่มเติม เช่น การไปเยี่ยมเยียนหรือรับใช้ในทางใดทางหนึ่ง อย่าลืมจดแผนที่ท่านคิดไว้ในที่ซึ่งท่านจะได้รับการเตือนให้ทำตามแผน เช่น ในปฏิทินบนสมาร์ทโฟนของท่าน หรือบนแผ่นกระดาษที่ท่านจะดูในภายหลัง

หลังจากให้เวลานักเรียนอย่างเพียงพอแล้ว ให้เชิญนักเรียนมาแบ่งปันสิ่งหนึ่งที่ตนวางแผนจะทำเพื่อช่วยบุคคลที่ตนนึกถึง แม้อาจเป็นสิ่งที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนที่จะแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับการทดลองหรือเหตุการณ์ทั่วไปของบุคคลนั้น แต่เตือนนักเรียนว่าไม่ควรแบ่งปันว่าบุคคลนั้นเป็นใครหรือเล่าอย่างเฉพาะเจาะจงจนนักเรียนคนอื่นสามารถคาดเดาได้อย่างง่ายดายว่าเป็นใคร

เป็นพยานให้แก่หลักธรรมที่สอนในบทเรียนนี้ และกระตุ้นให้นักเรียนทำตามแผนของตนในการปลอบโยนใครสักคน

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

2 โครินธ์ 1:4 เหตุใดพระเจ้าจึงทรงคาดหวังให้ฉันติดต่อและปลอบโยนผู้คนที่ประสบปัญหา?

เอ็ลเดอร์แกรีย์ อี. สตีเวนสันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนดังนี้:

ภาพ
Official portrait of Elder Gary E. Stevenson of the Quorum of the Twelve Apostles, 2015.

ทันทีที่เราขึ้นมาจากน้ำบัพติศมา เราได้รับมอบหมายให้ทำงานนี้ เราแสดงความรักต่อผู้อื่นเพราะนั่นคือสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงบัญชาให้เราทำ … เมื่อเพื่อนบ้านของเรามีความทุกข์ทางโลกหรือทางวิญญาณ เราวิ่งไปช่วย เราแบกภาระของกันและกัน เพื่อมันจะได้เบา เราโศกเศร้ากับคนที่โศกเศร้า เราปลอบโยนคนที่ต้องการการปลอบโยน พระเจ้าทรงคาดหวังสิ่งนี้จากเรา วันนั้นจะมาถึงเมื่อเราจะรายงานการดูแลฝูงแกะของพระองค์

(แกรีย์ อี. สตีเวนสัน, “การดูแลจิตวิญญาณ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2018, 111)

2 โครินธ์ 4:17 เปาโลหมายความว่าอย่างไรเมื่อเขาเรียกความท้าทายทางมรรตัยของเราว่าเป็น “ความยาก‍ลำ‌บากเล็ก‍น้อย”?

เอ็ลเดอร์พอล วี. จอห์นสันแห่งฝ่ายประธานโควรัมสาวกเจ็ดสิบสอนว่า:

ภาพ
Elder Paul V. Johnson of the Quorum of the Seventy takes an official portrait, 2021.

ท่ามกลางปัญหาทั้งหลาย เราแทบมองไม่เห็นว่าพรที่จะได้รับมีค่ายิ่งกว่าความเจ็บปวด ความอดสู หรือความปวดร้าวใจที่เราประสบขณะนั้น … อัครสาวกเปาโลสอนว่า “เพราะว่าความยาก‍ลำ‌บากชั่ว‍คราวและเล็ก‍น้อยของเรา จะทำให้เรามีศักดิ์‍ศรีนิ‌รันดร์มาก‍มายอย่างไม่‍มีที่เปรียบ” [ 2 โครินธ์ 4:17 ] น่าสนใจที่เปาโลใช้คำว่า “ความยาก‍ลำ‌บากเล็ก‍น้อย” คำนี้มาจากคนที่ถูกตี ถูกหินขว้าง เรืออับปาง ถูกจองจำ และคนที่ประสบการทดลองอื่นๆ อีกมากมาย ข้าพเจ้าคิดว่าพวกเราหลายคนคงไม่คิดว่าความทุกข์เป็นเรื่องเล็ก แต่เมื่อเทียบกับพรและการเติบโตที่เราจะได้รับในท้ายที่สุดแล้ว ทั้งในชีวิตนี้และในนิรันดร ความทุกข์ของเราเล็กน้อยมาก …

บางครั้งเราต้องการเติบโตโดยไม่มีการท้าทายและเข้มแข็งขึ้นโดยไม่ต้องต่อสู้ แต่การเติบโตเกิดขึ้นไม่ได้โดยวิธีง่ายๆ เราเข้าใจชัดเจนว่านักกีฬาที่ต่อต้านการฝึกอย่างเข้มงวดจะไม่มีวันได้เป็นนักกีฬาระดับโลก เราพึงระวังว่าเราจะไม่โกรธเคืองสิ่งที่ช่วยให้เราสวมสภาพของพระองค์

(ดู พอล วี. จอห์นสัน, ”เรามีชัยเหลือล้นโดยพระองค์ผู้ได้ทรงรักเราทั้งหลาย” เลียโฮนา, พ.ค. 2011, 99–100)

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

2 โครินธ์ 1:3 . “พระ‍เจ้าแห่งการหนุน‍ใจ (ปลอบโยน) ทุก‍อย่าง”

เชื้อเชิญให้นักเรียนค้นหาเรื่องราวอื่นๆ ในพระคัมภีร์หรือจากประวัติศาสนจักรที่แสดงให้เห็นว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงสามารถให้การปลอบโยนได้ ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนสามารถสรุปเรื่องราวในพระคัมภีร์มอรมอนเมื่อพระเจ้าทรงแบ่งเบาภาระผู้คนของแอลมาขณะที่พวกเขาเป็นทาสของชาวเลมัน (ดู โมไซยาห์ 24) หรือนักเรียนอาจสนทนาเกี่ยวกับวิธีที่พระเจ้าทรงปลอบโยนโจเซฟ สมิธในคุกลิเบอร์ตี้ (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 121) ให้เวลานักเรียนค้นคว้าพระคัมภีร์และแหล่งช่วยอื่นๆ ก่อนที่จะแบ่งปัน

การปลอบโยนผ่านพระเยซูคริสต์

หลังจากถามนักเรียนว่าเหตุใดตนจึงรู้สึกว่าพระบิดาบนสวรรค์มักจะใช้เราปลอบโยนผู้อื่น ท่านอาจจะอ่าน 2 โครินธ์ 1:5–7 กับนักเรียนและเชื้อเชิญให้นักเรียนค้นหาข้อเหล่านี้เพื่อหาแหล่งการปลอบโยนอื่นที่พระบิดาบนสวรรค์ทรงจัดเตรียมไว้ให้: พระผู้ช่วยให้รอด พระเยซูคริสต์ ถามนักเรียนว่าเหตุใดจึงรู้สึกว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นแหล่งการปลอบโยนที่ทรงพลังมากเมื่อพวกเขาประสบกับการทดลอง ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนเปรียบเทียบข้อเหล่านี้กับ แอลมา 7:11–13