เซมินารี
2 โครินธ์ 7


2 โครินธ์ 7

“ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระเจ้า”

ภาพ
A young woman kneels by her bedside to pray.

อาจเป็นเรื่องยากที่จะรู้ว่าเรากลับใจโดยสมบูรณ์แล้วหรือยัง ท่านเคยมีปัญหาในการรู้หรือไม่ว่าท่านกลับใจโดยสมบูรณ์กับบางเรื่องแล้วหรือยัง? ในจดหมายฉบับแรกถึงชาวโครินธ์ อัครสาวกเปาโลตีสอนวิสุทธิชนชาวโครินธ์บางคนเพราะพวกเขาทำบาปมาก ด้วยปีติและความพึงพอใจ ภายหลังเปาโลทราบข่าวว่าวิสุทธิชนชาวโครินธ์ประสบกับการกลับใจที่แท้จริงแล้ว บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจองค์ประกอบสำคัญของการกลับใจที่แท้จริงและช่วยให้ท่านเข้าใกล้พระเยซูคริสต์มากขึ้น

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนคิดเกี่ยวกับวิธีที่จะรู้ได้ว่าพวกเขาประสบกับการกลับใจที่แท้จริง นอกจากนี้ยังอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนศึกษาหมวด “Godly sorrow leads to repentance” จากโครงร่าง จงตามเรามา (“September 11–17. 2 Corinthians 1–7: ‘Be Ye Reconciled to God,’” Come, Follow Me—For Individuals and Families: New Testament 2023)

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า

ท่านสามารถอ่านออกเสียงสถานการณ์สมมติต่อไปนี้และสนทนาเป็นชั้นเรียน อาจพิมพ์แจกนักเรียนเพื่ออ่านและสนทนากันเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ ได้อีกด้วย

อ่านสถานการณ์สมมุติต่อไปนี้ในการสัมภาษณ์ใบรับรองพระวิหารสำหรับการแต่งงาน เยาวชนหญิงสารภาพกับอธิการถึงบาปบางอย่างในอดีตของเธอ หลังจากสนทนาต่อไปแล้ว อธิการเข้าใจว่าเยาวชนหญิงคนนั้นไม่ได้กลับใจจากบาปของเธออย่างแท้จริงและบาปของเธอร้ายแรงพอที่จะทำให้เธอไม่มีค่าควรสำหรับใบรับรองพระวิหาร อธิการอธิบายว่าเยาวชนหญิงคนนี้จะต้องรอรับใบรับรองจนเธอกลับใจอย่างสมบูรณ์ เธอตกใจ อ้างว่าเธอกลับใจแล้วเพราะเธอไม่ได้ทำบาปเหล่านั้นอีกเป็นเวลานานแล้ว อธิการอธิบายว่าการหยุดทำบาปแค่นั้นไม่ใช่การกลับใจที่ครบถ้วน เขาเชื้อเชิญให้เธอเริ่มต้นกระบวนการกลับใจที่แท้จริงอย่างจริงใจ

เยาวชนหญิงอธิบายให้อธิการฟังว่าตนหัวเสียมากเพราะตนได้บอกคนอื่นๆ เกี่ยวกับงานแต่งงานแล้วและวางแผนจะฉลอง เธอกังวลเกี่ยวกับความอับอายจากความล่าช้าของแผนแต่งงานของเธอ และวิธีที่เธอจะบอกคู่หมั้นและบิดามารดา เธอถามว่ามีทางใดที่เธอจะรุดหน้าต่อไปกับการแต่งงานดังที่วางแผนไว้หรือไม่ แล้วจึงทำตามกระบวนการกลับใจต่อไปในภายหลัง

  • ตามที่เยาวชนหญิงคนนี้ตอบอธิการ ดูเหมือนเธอจะกังวลเกี่ยวกับเรื่องอะไรที่สุด?

  • เหตุใดความสนใจของเธอจึงทำให้ยากต่อการกลับใจ?

ไตร่ตรองถึงสิ่งที่เยาวชนหญิงคนนี้ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับการกลับใจ ขณะที่ท่านเรียนบทเรียนนี้ต่อไป ให้มองหาหลักธรรมที่จะช่วยเยาวชนหญิงคนนี้ได้ และไตร่ตรองด้วยว่าท่านต้องการหลักธรรมข้อนี้ในการกลับใจของท่านเองหรือไม่

ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า

หนึ่งในจุดประสงค์ของเปาโลในการเขียนจดหมายฉบับก่อนหน้าของเขาถึงชาวโครินธ์ นั่นคือเพื่อสนับสนุนให้บางคนกลับใจ ในจดหมายติดตามผลของเขา เปาโลยกย่องเหล่าบุคคลที่เขาแก้ไขเพื่อการกลับใจอย่างจริงใจ และสอนเกี่ยวกับส่วนสำคัญของการกลับใจ

อ่าน 2 โครินธ์ 7:8–11 และค้นหาข้อคิดที่เปาโลให้ไว้เกี่ยวกับการกลับใจซึ่งอาจช่วยสตรีในสถานการณ์สมมติ (โปรดทราบว่า คำว่า กลับใจ ดังที่ใช้ใน ข้อ 8 หมายถึงความเสียใจ) .

สำหรับข้อคิดจากพระคัมภีร์มอรมอนเกี่ยวกับความเสียใจตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ให้อ่าน แอลมา 36:12–13 ; 42:29

  • ข้อคิดใดที่ท่านได้รับซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสตรีคนนี้ในสถานการณ์ดังกล่าว?

  • คำสอนเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์ต่อท่านอย่างไร?

ความจริงข้อหนึ่งที่ท่านอาจค้นพบคือความ ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าจะนำไปสู่การกลับใจอย่างจริงใจ

  • ความเสียใจประเภทอื่นใดอีกที่เปาโลกล่าวถึงใน ข้อ10 ?

  • ท่านเห็นอะไรในสถานการณ์ที่บ่งบอกถึงประเภทของความเสียใจที่เยาวชนหญิงรู้สึก?

สร้างแถวแนวตั้งสองแถวในสมุดบันทึกการศึกษาของท่านด้วยการวาดเส้นลงตรงกลางหน้า เขียน ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ไว้บนสุดของแถวหนึ่ง และ ความเสียใจอย่างโลก ไว้บนสุดของอีกแถวหนึ่ง

ใส่ความคิดของท่านที่มีต่อคำถามต่อไปนี้ภายใต้แต่ละหัวข้อ

  • สิ่งใดที่เปาโลสอนใน ข้อ 8–10 เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างความเสียใจตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าและความเสียใจอย่างโลก?

  • ท่านคิดว่ามีความแตกต่างอื่นใดอีกระหว่างความเสียใจทั้งสองประเภท?

อ่านข้อความต่อไปนี้และค้นหาข้อคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสียใจตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าและความเสียใจอย่างโลก เพิ่มข้อคิดเหล่านี้ลงในแผนภูมิของท่าน

ท่านอาจแสดงข้ออ้างอิงต่อไปนี้ให้นักเรียนอ่านหรือแบ่งชั้นเรียนออกเป็นคู่และมอบหมายข้ออ้างอิงให้แต่ละคู่ นักเรียนสามารถอ่านและทำเครื่องหมายที่ข้ออ้างอิง แล้วแลกเปลี่ยนกับคู่ อ่านข้ออ้างอิงที่สองและดูว่าคู่ของตนทำเครื่องหมายอะไรไว้

เอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็นแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองให้นิยามความเสียใจตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าดังนี้:

ภาพ
Official portrait of Elder Neil L. Andersen of the Quorum of the Twelve Apostles, 2010, August.

[ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า] หมายถึงการรู้สึกถึงความเสียใจและสำนึกผิดอย่างลึกซึ้งต่อพฤติกรรมที่เพิ่มความเจ็บปวดและความทุกข์แก่พระผู้ช่วยให้รอด ขณะที่จิตวิญญาณของเราจะขจัดการปฏิเสธหรือการแก้ตัวใดๆ ออกไป …

บางทีการตื่นรู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตนี้ที่มีต่อบุตรหรือธิดาที่มีความอ่อนไหวทางวิญญาณของพระผู้เป็นเจ้าคือการตระหนักรู้ส่วนตัวที่ไม่เหมือนใครว่า การที่พระเยซูคริสต์ทรงจ่ายค่าบาปนั้นเป็นสิ่งที่แท้จริงและความทุกข์ทรมานของพระองค์ไม่ใช่แค่สำหรับทุกคน แต่สำหรับท่านและข้าพเจ้าด้วย! … ขณะที่เราเข้าใจทางวิญญาณว่าพระองค์ทรงทุกข์ทรมานเพื่อบาปของเรา เรารู้สึกเสียใจต่อส่วนของเราในความเจ็บปวดของพระองค์ เราตระหนักว่านี่เป็นส่วนหนึ่งของแผนจากพระบิดาของเรา แต่เราก็รู้สึกตื้นตันกับของประทานที่พระองค์ทรงมอบให้เรา ความพิศวงนี้ ความสำนึกคุณนี้ ความเทิดทูนบูชานี้ที่มีต่อพระผู้ช่วยให้รอดผู้ทรงทำสิ่งนี้เพื่อเรา ทำให้เราคุกเข่าขณะวิญญาณของเราเปี่ยมด้วยความเสียใจตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า

(นีล แอล. แอนเดอร์เซ็น, The Divine Gift of Forgiveness (2019), 149, 150)

ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ แห่งฝ่ายประธานสูงสุดในขณะนั้นกล่าวถึงความเสียใจตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าดังนี้:

ภาพ
Official portrait of Elder Dieter F. Uchtdorf of the Quorum of the Twelve Apostles, 2006. Called as Second Counselor in the First Presidency, 3 February 2008. Made official portrait in 2008 replacing portrait taken in 2004.

ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและความหวังผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ ความเสียใจอย่างโลก ดึงเราลง ทำลายความหวัง และชักจูงให้เรายอมแพ้ต่อการล่อลวงที่จะเข้ามา

ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า นำไปสู่การเปลี่ยนใจเลื่อมใส และการเปลี่ยนแปลงของใจ สิ่งนี้ทำให้เราเกลียดชังบาปและรักความดี อีกทั้งกระตุ้นให้เรายืนขึ้นและเดินในแสงสว่างแห่งความรักของพระคริสต์ การกลับใจที่แท้จริงเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ความเจ็บปวดและความทรมาน ใช่ ความเสียใจอย่างจริงใจและการสำนึกผิดอย่างแท้จริงต่อการไม่เชื่อฟังมักเป็นสิ่งที่เจ็บปวดและเป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการอันศักดิ์สิทธิ์ของการกลับใจ แต่เมื่อความผิดนำเราไปสู่การเกลียดชังตนเองหรือเป็นอุปสรรคแก่เราในการลุกขึ้นอีกครั้ง สิ่งนี้เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งมากกว่าจะเป็นการกระตุ้นให้เรากลับใจ

(ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, ”ท่านสามารถทำได้!,” เลียโฮนา, พ.ย. 2013, 56)

.

  • ข้อคิดใดเป็นประโยชน์ต่อท่านมากที่สุด? เพราะเหตุใด?

  • การรู้สึกว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงทุกข์ทรมานจากบาปของท่านด้วยพระองค์เอง ช่วยท่านในกระบวนการกลับใจได้อย่างไร?

ใคร่ครวญกลับไปยังสถานการณ์สมมติระหว่างเยาวชนหญิงกับอธิการของเธอ

  • ท่านจะแบ่งปันอะไรกับเยาวชนหญิงเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และความเสียใจตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าที่จะช่วยให้เธออัญเชิญพรจากการกลับใจ?

ใคร่ครวญสักครู่เกี่ยวกับความพยายามของท่านเองที่จะกลับใจ พิจารณาว่าพระผู้ช่วยให้รอดจะทรงรู้สึกและประสบกับอะไรขณะทุกข์ทรมานจากบาปของท่าน ท่านจะทำอย่างไรเพื่อเปิดใจของท่านให้กว้างยิ่งขึ้น ให้รู้สึกถึงความเสียใจตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า และเชิญอำนาจเยียวยาของพระผู้ช่วยให้รอดเข้ามาในชีวิตท่าน? ท่านอาจเขียนคำตอบของท่านสำหรับคำถามนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาหรือสมุดบันทึกส่วนตัว

หากไม่ใช่เรื่องส่วนตัวเกินไป ให้เชิญนักเรียนมาแบ่งปันสิ่งที่ตนเรียนรู้เกี่ยวกับความเสียใจตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าในบทเรียนนี้ และวิธีที่ความเสียใจนั้นจะช่วยนักเรียนได้ เพิ่มประจักษ์พยานส่วนตัวเกี่ยวกับความสำคัญของความเสียใจตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าในกระบวนการกลับใจ เชื้อเชิญให้นักเรียนไตร่ตรองว่าจำเป็นต้องมีความเสียใจตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าในชีวิตของตนหรือไม่

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

ฉันจะเข้าใจความแตกต่างระหว่างความเสียใจตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าและความเสียใจอย่างโลกได้ดีขึ้นอย่างไร?

ขณะรับใช้ในฐานะสาวกเจ็ดสิบภาค เอ็ลเดอร์ ดี. แชด ริชาร์ดสันระบุว่า:

ภาพ
Final offiicial portrait of Elder D. Chad Richardson of the Sixth Quorum of the Seventy, 2002. Released at the April 2010 general conference, effective May 1, 2010.

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง [ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้ากับความเสียใจอย่างโลก] คือบ่อเกิดของสองสิ่งนี้ ความเสียใจอย่างโลกได้รับการสนับสนุนจากซาตาน เป็นความเสียใจจากการถูกจับได้ จากการที่ไม่สามารถทำบาปต่อไปได้ หรือหันมาต่อต้านตนเองด้วยความรังเกียจหรือเกลียดชังตนเอง

ในทางตรงกันข้าม ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าเป็นความเสียใจที่เป็นของประทานจากพระผู้เป็นเจ้าแก่ผู้ที่เต็มใจจะรับความเสียใจนั้น ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าทำให้เราตระหนักอย่างสมบูรณ์ถึงขนาดของบาปเรา แต่ด้วยความรู้ที่ว่าเราจะเป็นอิสระจากบาปเหล่านั้นได้

(ดี. แชด ริชาร์ดสัน, “Forgiving Oneself,” Ensign, Mar. 2007, 32)

ในเดือนกันยายน 2019 นิตยสาร New Era ตีพิมพ์ภาพประกอบจากคำสอนของเอ็ลเดอร์ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองที่อาจช่วยให้ท่านแยกความแตกต่างระหว่างความเสียใจตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้ากับความเสียใจอย่างโลกได้ดียิ่งขึ้น ค้นหาได้ที่นี่: ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “Godly Sorrow,” New Era, Sept. 2019, 32–33

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

2 โครินธ์ 6:14-7:1 “อย่าแตะต้องสิ่งที่ไม่สะอาด”

คำแนะนำต่อไปนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวคิดทางเลือกสำหรับบทเรียนได้ เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน 2 โครินธ์ 6:14–7:1 และมองหาการให้คำปรึกษาของเปาโลแก่วิสุทธิชนและสัญญาจากพระเจ้า (โปรดทราบว่าคำว่า “เบลีอัล” และ “คนที่ไม่เชื่อ” [ 2 โครินธ์ 6:15 ] เป็นคำที่หมายถึงคนชั่วร้าย) คำถามสำหรับการสนทนาต่อไปนี้อาจมีประโยชน์:

  • มีตัวอย่างอะไรบ้างของสิ่งที่ไม่สะอาดในสมัยของเรา?

  • ท่านคิดว่าการที่พระผู้เป็นเจ้าจะทรงรับท่านไว้และเป็นดังบิดาของท่านหมายความว่าอย่างไร?

  • เราจะอยู่ในโลกได้อย่างไรขณะแยกตัวออกจากสิ่งที่ไม่สะอาด?