เซมินารี
กิจการของอัครทูต 8


กิจการของอัครทูต 8

ฟีลิปสอนชายชาวเอธิโอป

ภาพ
Philip (New Testament figure) teaching the gospel to an Ethiopian as they ride in a chariot. Another man is pictured driving the horses and chariot. A lake or river can be seen beside of the road they are riding on. Scriptural Reference: Acts 8:26-39

ฟีลิปเป็นผู้สอนศาสนาที่กระตือรือร้นและซื่อสัตย์ เขาเดินทางเข้าไปในทะเลทรายตามพระบัญชาของพระเจ้า พระวิญญาณทรงนำทางฟีลิปไปยังชายชาวเอธิโอปที่กำลังอ่านพระคัมภีร์ในรถม้า เมื่อฟีลิปถามชายคนนั้นว่าเข้าใจสิ่งที่เขาอ่านหรือไม่ เขาตอบว่า “ถ้าไม่มีใครอธิบาย จะเข้าใจได้อย่างไร?” (กิจการของอัครทูต 8:31) เพราะฟีลิปเข้าใจและรักพระคัมภีร์ เขาจึงสามารถสอนชายชาวเอธิโอปเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ในวิธีที่นำเขาไปสู่ความเชื่อและรับบัพติศมา ขณะท่านศึกษา กิจการของอัครทูต 8:26–40 ให้ไตร่ตรองว่าท่านจะใช้พระคัมภีร์เพื่อช่วยให้ผู้อื่นเชื่อในพระเยซูคริสต์และมาหาพระองค์ได้อย่างไร

การใช้ถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์สมัยปัจจุบันศาสดาพยากรณ์สมัยปัจจุบันมักใช้เรื่องราวจากพระคัมภีร์เพื่อสอนหลักธรรมและหลักคำสอนที่เรียนรู้ได้จากเรื่องราวเหล่านี้ เชื้อเชิญให้นักเรียนศึกษาถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์สมัยใหม่เพื่อระบุและเข้าใจหลักคำสอนและหลักธรรมต่างๆ จากพระคัมภีร์และเรียนรู้วิธีประยุกต์ใช้ความจริงเหล่านี้ในชีวิตของตนเอง

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนคิดเกี่ยวกับเครื่องมือหรือทักษะทางวิญญาณที่ช่วยให้พวกเขาเข้มแข็งยิ่งขึ้นในพระกิตติคุณ พวกเขาจะมีโอกาสแบ่งปันแนวคิดของตนในระหว่างบทเรียน

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

การใช้เครื่องมือที่เหมาะสม

ท่านอาจนำค้อนหรือไขควงมาชั้นเรียนหรือให้ดูภาพเหล่านี้ เชื้อเชิญนักเรียนหนึ่งคนให้สาธิตการใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง จากนั้นถามนักเรียนว่าอาจเกิดอะไรขึ้นถ้าพวกเขาพยายามตอกตะปูหรือขันน็อตโดยไม่ใช้เครื่องมือ

การใช้เครื่องมือที่เหมาะสมจะช่วยให้ท่านสามารถสร้างหรือซ่อมแซมสิ่งต่างๆ ได้รวดเร็วและง่ายขึ้น จินตนาการว่าการสร้างหรือซ่อมแซมสิ่งของโดยไม่ใช้เครื่องมือที่ถูกต้องจะยากเพียงใด พิจารณาว่าเครื่องมือต่อไปนี้ใช้สำหรับอะไร

ภาพ
Hammer
ภาพ
Saw
ภาพ
Combination Wrench (english)
  • เครื่องมือเหล่านี้มีประโยชน์เมื่อใด?

  • ท่านจะใช้เครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร?

ในทำนองเดียวกัน เครื่องมือและทักษะบางอย่างสามารถนำมาใช้สร้างและซ่อมแซมความปรารถนาของเราที่จะติดตามพระผู้ช่วยให้รอดและดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณของพระองค์

เมื่อนักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ กระตุ้นให้พวกเขาทบทวนแนวคิดจากการเตรียมบทเรียนของตน ให้แน่ใจว่าการแบ่งปันไม่ใช้เวลามากเกินไป

  • เครื่องมือหรือทักษะทางวิญญาณอะไรบ้างที่ช่วยให้ท่านเติบโตในพระกิตติคุณ?

  • ท่านอาจใช้เครื่องมือเหล่านี้เชื้อเชิญบุคคลอื่นให้มาหาพระผู้ช่วยให้รอดได้อย่างไร?

หนึ่งในเครื่องมือเหล่านี้คือความสามารถของเราในการเข้าใจและใช้พระคัมภีร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะพวกเขาสอนและเป็นพยานเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ ไตร่ตรองสักครู่ว่าท่านรู้สึกสบายใจมากเพียงใดในการใช้พระคัมภีร์เพื่อเชื้อเชิญผู้อื่นมาหาพระเยซูคริสต์ ขณะท่านศึกษาบทเรียนนี้ ให้แสวงหาการนำทางผ่านพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อจะรู้วิธีที่ท่านสามารถใช้พระคัมภีร์เพื่อช่วยนำผู้อื่นมาหาพระผู้ช่วยให้รอด

ฟีลิปถูกเรียกไปยังทะเลทราย

กิจการของอัครทูต 8 บันทึกประสบการณ์ของฟีลิป หนึ่งในพี่น้องชายเจ็ดคนที่อัครสาวกเรียกให้ปฏิบัติศาสนกิจ (ดู กิจการของอัครทูต 6:3–6) เพื่อหลีกหนีจากการข่มเหงที่เพิ่มขึ้นในเยรูซาเล็ม ฟีลิปเดินทางไปสะมาเรียเพื่อแบ่งปันพระกิตติคุณต่อไป เขาทำปาฏิหาริย์โดยผ่านฐานะปุโรหิต รักษาผู้คนมากมาย และ “ประกาศเรื่องพระคริสต์ให้ชาวเมืองนั้นฟัง” (ดู กิจการของอัครทูต 8:5–8) ขณะท่านศึกษาเรื่องราวต่อไปนี้ ให้มองหาเครื่องมือที่ฟีลิปใช้เพื่อทำงานมอบหมายที่ได้รับจากพระเจ้าให้สำเร็จ

หากนักเรียนบางคนประสบปัญหาในการอ่านช่วงพระคัมภีร์ที่ยาวด้วยตนเอง ให้อ่านออกเสียงข้อต่อไปนี้เป็นชั้นเรียนหรือเป็นคู่

อ่าน กิจการของอัครทูต 8:26–39 และนึกภาพเหตุการณ์ที่อธิบายไว้ในเรื่องราวนี้ ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายคำและวลีที่มีความหมายต่อท่าน (สังเกตว่า ขันที คือผู้รับใช้ที่ได้รับความไว้วางใจ)

เชื้อเชิญให้นักเรียนสองสามคนแบ่งปันคำและวลีที่ทำเครื่องหมายไว้ บอกด้วยว่าคำและวลีดังกล่าวช่วยให้ตระหนักถึงบทเรียนในเรื่องราวนี้อย่างไร ท่านอาจถามคำถามต่อไปนี้บางข้อเพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจอย่างลึกซึ้งขึ้น

ท่านอาจต้องการเขียน (หรือให้นักเรียนเขียน) บทเรียนที่พวกเขาระบุบนกระดาน

  • พระเจ้าทรงนำทางฟีลิปในวิธีใดบ้าง? เหตุใดการทำตามการกระตุ้นเตือนของพระเจ้าขณะที่เราพยายามช่วยให้ผู้อื่นมาหาพระองค์จึงเป็นสิ่งสำคัญ?

  • ฟีลิปสามารถใช้ความรู้จากพระคัมภีร์สอนชาวเอธิโอปเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ได้อย่างไร?

  • บทเรียนอะไรบ้างที่โดดเด่นสำหรับท่านในเรื่องราวนี้?

ในความจริงหลายประการในเรื่องราวนี้ ท่านอาจระบุหลักธรรมดังนี้ เมื่อเราเข้าใจพระคัมภีร์และสอนเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดจากพระคัมภีร์ เราสามารถช่วยให้ผู้อื่นมาหาพระองค์

โดยขึ้นอยู่กับความต้องการของนักเรียน กิจกรรมต่อไปนี้อาจแทนที่ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่ฟีลิปตอบสนองต่อการกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณ

การใช้พระคัมภีร์สอนเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์

เมื่อชาวเอธิโอปถามว่าพระคัมภีร์ที่เขาอ่านเกี่ยวกับศาสดาพยากรณ์อิสยาห์หรือ “เล็งถึงคนอื่น” ให้สังเกตว่าความรู้ของฟีลิปเกี่ยวกับพระคัมภีร์ทำให้เขาเริ่ม “เล่าโดยตั้งต้นจากพระคัมภีร์ตอนนั้น ท่านประกาศข่าวประเสริฐเรื่องพระเยซูกับขันทีผู้นั้น” ทันที ( กิจการของอัครทูต 8:34–35)

ข้อพระคัมภีร์ที่ชาวเอธิโอปอ่านอยู่ใน อิสยาห์ 53 เป็นคำพยากรณ์อันไพเราะเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดของเรา พระเยซูคริสต์ ท่านอาจต้องการอ้างโยงหรือเชื่อมโยง กิจการของอัครทูต 8:32–33 กับ อิสยาห์ 53:7–8

ให้ตระหนักถึงความละเอียดอ่อนที่ว่านักเรียนบางคนอาจรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถเข้าใจพระคัมภีร์หรืออธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ ให้ความมั่นใจแก่นักเรียนว่าความเข้าใจของพวกเขาจะเพิ่มขึ้นตามเวลาและความพยายาม เตือนพวกเขาว่าบางครั้งการสอนที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือเพียงบอกว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับข้อพระคัมภีร์ เพราะพระวิญญาณบริสุทธิ์จะเป็นพยานถึงความแท้จริงของถ้อยคำของพวกเขา

จินตนาการว่าท่านอยู่ในตำแหน่งของฟีลิปและมีโอกาสแบ่งปันประจักษ์พยานของท่านถึงพระเยซูคริสต์กับเพื่อน อ่าน อิสยาห์ 53:3–9 โดยใส่ใจความคิดและความรู้สึกของท่านที่มีต่อพระผู้ช่วยให้รอดขณะที่ท่านอ่าน

ให้เวลานักเรียนอย่างเพียงพอเพื่อตอบคำถามต่อไปนี้โดยคิดมาอย่างถี่ถ้วน ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนแสดงบทบาทสมมุติในการแบ่งปันกับเพื่อน หรือท่านอาจเชิญนักเรียนที่เต็มใจให้แบ่งปันสิ่งที่เขียนกับชั้นเรียน

  • ท่านต้องการให้เพื่อนท่านรู้จัก รู้สึก หรือเข้าใจเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์จากข้อความนี้อย่างไร? เพราะเหตุใด?

  • ท่านอาจใช้สิ่งที่รู้และรู้สึกเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์อย่างไรเพื่อกระตุ้นให้เพื่อนของท่านติดตามพระองค์ได้ดีขึ้น?

เสริมสร้างความเข้มแข็งด้วยการเตรียม

เนื่องจากความพยายามของฟีลิป ชาวเอธิโอปเปลี่ยนใจเลื่อมใสและรับบัพติศมา (ดู กิจการของอัครทูต 8:36–38) เช่นเดียวกับฟีลิป เราสามารถสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้ผู้อื่นติดตามและเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์ เอ็ลเดอร์ยูลิซีส ซวาเรสแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า การเตรียมโดยส่วนตัวของเราสามารถช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อื่นเพื่อเข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้า:

ภาพ
Elder Ulisses Soares, Quorum of the Twelve Apostles official portrait.

เมื่อเราแสวงหาการเรียนรู้พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์อย่างจริงจัง เต็มใจ แน่วแน่ และจริงใจและสอนกันและกันโดยมีจุดประสงค์อย่างแท้จริง ภายใต้อิทธิพลของพระวิญญาณ คำสอนเหล่านี้สามารถเปลี่ยนใจและเป็นแรงบันดาลใจให้ปรารถนาจะดำเนินชีวิตตามความจริงของพระผู้เป็นเจ้า

(ยูลิซีส ซวาเรส, “ฉันจะเข้าใจได้อย่างไร?,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 8)

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของพวกเขา หากมีเวลา เชิญนักเรียนที่เต็มใจแบ่งปันความเข้าใจของพวกเขากับชั้นเรียน

  • การปรับเปลี่ยนใดบ้างที่ท่านอาจทำได้ในการศึกษาพระคัมภีร์ส่วนตัวของท่านที่จะเตรียมท่านให้ช่วยผู้อื่นมาหาพระคริสต์? การเปลี่ยนแปลงนี้จะช่วยเสริมความมั่นใจของท่านในการใช้พระคัมภีร์ในทางใดบ้าง?

  • ส่วนใดของการศึกษาพระคัมภีร์ในวันนี้ที่ช่วยให้ท่านรู้สึกใกล้ชิดพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์มากขึ้น? เหตุใดท่านจึงคิดว่าส่วนนั้นมีอิทธิพลต่อท่านอย่างลึกซึ้งมากกว่าส่วนอื่น?

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

กิจการของอัครทูต 8:27 ขันทีคืออะไร?

ขันทีคือชายที่ถูกตอนซึ่งรับใช้ในสังคมโบราณหลายแห่งของตะวันออกใกล้และตะวันออกกลาง พวกเขาทำหน้าที่เป็นทหาร คุ้มกันฮาเร็มของพระราชาและบ่อยครั้งมักจะได้รับตำแหน่งซึ่งเป็นที่ไว้วางใจภายในราชสำนัก ขันทีชาวเอธิโอปใน กิจการของอัครทูต 8:26–39 มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลคลังของศาลเอธิโอป (ดู Bible Dictionary, “ Eunuch ”)

ผู้เรียนที่ซื่อสัตย์สามารถเป็นครูที่ได้รับการดลใจ

เอ็ลเดอร์ยูลิซีส ซวาเรสแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า

ภาพ
Elder Ulisses Soares, Quorum of the Twelve Apostles official portrait.

ในบริบทของการเรียนการสอนพระกิตติคุณ บางครั้งเราเป็นเหมือนชาวเอธิโอป—เราต้องการความช่วยเหลือจากครูที่ซื่อสัตย์และได้รับการดลใจ และบางครั้งเราเป็นเหมือนฟีลิป—เราต้องการสอนและทำให้ผู้อื่นเข้มแข็งขึ้นในการเปลี่ยนใจเลื่อมใสของพวกเขา

(ยูลิซีส ซวาเรส, “ฉันจะเข้าใจได้อย่างไร?,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 6)

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

.

. .

ฟีลิปตอบสนองต่อการกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณ

ทบทวน กิจการของอัครทูต 8:26–35 และเชื้อเชิญให้นักเรียนระบุวลีที่บ่งบอกวิธีที่ฟีลิปรู้ว่าพระเจ้าทรงต้องการให้เขาทำอะไรและฟีลิปตอบสนองอย่างไร แบ่งปันข้อความต่อไปนี้ เชิญชวนให้นักเรียนพิจารณาว่าเหตุใดการตอบสนองต่อการกระตุ้นเตือนทางวิญญาณจึงสำคัญมาก

เอ็ลเดอร์โรนัลด์ เอ. ราสแบนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการทำตามการกระตุ้นเตือนทางวิญญาณขณะรับใช้งานเผยแผ่:

ภาพ
Official Portrait (as of June 2016) of Elder Ronald A. Rasband of the Quorum of the Twelve Apostles.

เช้าวันที่อากาศอบอ้าววันหนึ่งในเดือนกรกฎาคม ข้าพเจ้ากับคู่ได้รับการกระตุ้นเตือนให้ติดตามผลใบแนะนำชื่อที่อยู่จากเท็มเปิลสแควร์ เราเคาะประตูบ้านของเอลวูด แชฟเฟอร์ คุณนายแชฟเฟอร์ปฏิเสธพวกเราอย่างสุภาพ

เมื่อเธอกำลังจะปิดประตู ข้าพเจ้ารู้สึกว่าควรทำบางสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนและไม่ได้ทำอีกตั้งแต่นั้นมา! ข้าพเจ้ายื่นเท้าเข้าไปในประตูและถามว่า “มีใครอีกไหมครับที่อาจสนใจข่าวสารของเรา?” ลูกสาววัย 16 ปีของเธอ มาร์ตี้ สนใจ และเมื่อวานเธอได้สวดอ้อนวอนอย่างแรงกล้าขอการนำทาง มาร์ตี้พบกับเรา เวลาผ่านไป คุณแม่ของเธอเข้ามาฟังบทสนทนาด้วย ทั้งสองคนเข้าร่วมศาสนจักร

ผลของการบัพติศมาของมาร์ตี้คือ มีคน 136 คน หลายคนมาจากครอบครัวของเธอเอง ได้รับบัพติศมาและทำพันธสัญญาพระกิตติคุณ ข้าพเจ้าขอบพระทัยที่ฟังพระวิญญาณและยื่นเท้าขวางประตูไว้ในวันที่อบอ้าวเดือนกรกฎาคมวันนั้น

(โรนัลด์ เอ. ราสแบนด์, “ให้พระวิญญาณทรงนำ,” เลียโฮนา, พ.ค. 2017, 94)

  • เอ็ลเดอร์ราสแบนด์ตอบสนองต่อการกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณอย่างไร? อะไรเกิดขึ้นเพราะเหตุนี้?

  • เมื่อใดที่ท่านตอบสนองต่อการกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณ? เกิดอะไรขึ้น?

  • ท่านจะให้ความสนใจกับการกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณให้มากขึ้นได้อย่างไร?

  • การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจช่วยให้ท่านแบ่งปันพระกิตติคุณอย่างมั่นใจมากขึ้นกับผู้อื่นได้อย่างไร?

ไตร่ตรองว่าพระเจ้าอาจต้องการให้ท่านพบ ผูกมิตร หรือแบ่งปันพระกิตติคุณกับใคร

แนวคิดสำหรับบทเรียนทางเลือกอื่น

หากนักเรียนจะได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้เกี่ยวกับความปรารถนาของซีโมนในการซื้อฐานะปุโรหิตใน กิจการของอัครทูต 8:5–24 ท่านอาจแบ่งปันแนวคิดที่พบภายใต้หัวข้อ “หัวใจของเราจำเป็นต้อง ‘ชอบธรรมในสายพระเนตรของพระผู้เป็นเจ้า’” ใน “10–16 กรกฎาคม กิจการของอัครทูต 6–9: ‘พระองค์ประสงค์จะให้ข้าพระองค์ทำอะไร’” ใน จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2023