เซมินารี
ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน 6


ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน 6

มัทธิว 26–28; มาระโก 14–16; ลูกา 22–24; ยอห์น 13–21

ภาพ
Young men and young women attend an early morning seminary class in Argentina.

บทเรียนนี้มีเจตนาจะช่วยให้ท่านประเมินเป้าหมายที่ท่านตั้งไว้ รวมถึงประสบการณ์ในการเติบโตส่วนตัวระหว่างศึกษาพันธสัญญาใหม่

ใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย นักเรียนมักจะรู้สึกมีส่วนร่วมมากขึ้นเมื่อครูใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย ให้เปิดใจลองวิธีใหม่ๆ และพร้อมปรับเปลี่ยนระหว่างบทเรียนหากนักเรียนหมดความสนใจหรือหากกิจกรรมดูเหมือนจะไม่ช่วยให้นักเรียนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนใคร่ครวญประสบการณ์ของพวกเขาในการศึกษาครึ่งแรกของพันธสัญญาใหม่และการปฏิบัติศาสนกิจของพระเยซูคริสต์ กระตุ้นให้นักเรียนมาชั้นเรียนพร้อมสิ่งที่เรียนรู้หรือรู้สึกจากพระกิตติคุณสี่เล่ม (มัทธิว มาระโก ลูกา และยอห์น) ที่สำคัญสำหรับพวกเขา

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

บทเรียนนี้มีเจตนาจะช่วยให้นักเรียนประเมินเป้าหมายที่พวกเขาตั้งไว้ ประเมินความสามารถในการอธิบายคำสอนในพันธสัญญาใหม่ หรือเจตคติ ความปรารถนา และความสามารถในการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร การศึกษาของชั้นเรียนในมัทธิว 26–28; มาระโก 14–16; ลูกา 22–24; ยอห์น 13–21 อาจเน้นถึงความจริงนอกเหนือจากที่มีอยู่ในกิจกรรมต่อไปนี้ หากเป็นเช่นนั้น อาจปรับกิจกรรมให้มีความจริงเหล่านั้นด้วย

จงรักพระผู้เป็นเจ้าด้วยสุดใจของท่าน

ถ้านักเรียนมีโอกาสใคร่ครวญถึงความรักที่พวกเขามีต่อพระผู้เป็นเจ้าระหว่างที่ศึกษา มัทธิว 22 และ ยอห์น 14:15 แบบฝึกหัดนี้อาจช่วยให้นักเรียนประเมินว่าพวกเขาเติบโตขึ้นและมีความรักมากขึ้นต่อพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไร

วาดรูปหัวใจบนกระดาน เชื้อเชิญนักเรียนที่เต็มใจแบ่งปันสิ่งหนึ่งที่เรียนรู้หรือรู้สึกเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ซึ่งเพิ่มความรักที่มีต่อพระองค์ กระตุ้นให้นักเรียนคนแรกเลือกนักเรียนคนที่สองเพื่อแบ่งปันสิ่งอื่นที่รักเกี่่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด ทำกิจกรรมนี้ต่อไปกับนักเรียนโดยเลือกนักเรียนเพิ่มจนกว่านักเรียนทุกคนจะมีโอกาสแบ่งปัน เขียนคำตอบของนักเรียนเกี่ยวกับความรักต่อพระเยซูคริสต์ทั้งในและรอบหัวใจบนกระดาน

นักเรียนอาจต้องการเวลาคิดคำตอบสำหรับคำถามต่อไปนี้ เชื้อเชิญให้นักเรียนจดคำตอบของพวกเขา แล้วขอให้นักเรียนที่เต็มใจแบ่งปัน

  • การเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับความรักที่พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงมีต่อท่านเป็นแรงจูงใจให้ท่านพยายามรักพระองค์ทั้งสองให้มากขึ้นอย่างไร?

  • ความเข้าใจของท่านในความรักที่ทั้งสองพระองค์ทรงมีต่อท่านช่วยเพิ่มความรักที่ท่านมีต่อผู้อื่นอย่างไร?

ระลึกถึงพระผู้ช่วยให้รอดที่ทรงสอนว่าเราแสดงความรักต่อพระองค์โดยรักษาพระบัญญัติ (ดู ยอห์น 14:15) พระเยซูคริสต์ประทานแบบอย่างที่สมบูรณ์ของการแสดงความรักต่อพระบิดาบนสวรรค์โดยเชื่อฟังพระบัญญัติทั้งหมด (ดู ยอห์น 14:31)

เมื่อท่านศึกษา ยอห์น 14:15 ท่านอาจเขียนในสมุดบันทึกของท่านเกี่ยวกับความปรารถนาที่จะรักษาพระบัญญัติและแรงจูงใจหรือเหตุผลของท่านเพื่อทำเช่นนั้น หากท่านทำ ให้ทบทวนสิ่งที่ท่านเขียน

ให้เวลานักเรียนใคร่ครวญคำถามต่อไปนี้ อาจไม่เหมาะสมที่จะเชิญนักเรียนมาแบ่งปันคำตอบที่เฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ตาม อาจเชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันแนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับคำถาม

  • ท่านรู้สึกอย่างไรกับความปรารถนาและแรงจูงใจในปัจจุบันของท่านที่จะรักษาพระบัญญัติเพื่อแสดงความรักที่มีต่อพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์? เปรียบเทียบความปรารถนาและแรงจูงใจของท่านในเวลานี้กับช่วงต้นปี

  • ท่านสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงใดบ้างในความรักที่ท่านมีต่อพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ขณะท่านศึกษาพันธสัญญาใหม่? หากท่านสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆ ท่านคิดว่าอะไรนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้?

  • มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมใดบ้างหรือไม่ที่ท่านรู้สึกว่าจำเป็นต้องทำเพื่อแสดงหรือเพิ่มความรักต่อพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์?

การชดใช้ของพระเยซูคริสต์: ชีวิตท่านจะเป็นอย่างไรหากปราศจากการชดใช้นี้?

จุดประสงค์ของกิจกรรมนี้คือให้โอกาสนักเรียนประเมินความเข้าใจและความต้องการของพวกเขาสำหรับการชดใช้ของพระเยซูคริสต์

ท่านอาจให้ดูภาพดังต่อไปนี้ขณะนักเรียนไตร่ตรองคำตอบของตน การใช้ภาพในชั้นเรียนจะช่วยให้นักเรียนจดจ่อความคิดของตนเองได้

ให้นึกถึงสิ่งที่ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้ของพระเยซูคริสต์จากพันธสัญญาใหม่ ไตร่ตรองสักครู่ว่าพระเยซูคริสต์และการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้ของพระองค์มีความหมายต่อท่านเป็นการส่วนตัวอย่างไร พิจารณาว่าชีวิตท่านจะเป็นอย่างไรหากไม่มีทั้งสองอย่าง

ภาพ
Illustration of Jesus praying in the Garden of Gethsemane as he performs the Atonement.

ตอนนี้ท่านใช้เวลาไตร่ตรองแล้ว ให้บันทึกความคิดของท่านโดยตอบคำถามต่อไปนี้ ใส่รายละเอียดที่มีความหมายลงในคำตอบของท่าน รวมถึงเขียนข้อพระคัมภีร์ที่ส่งผลต่อท่านเกี่ยวกับการเสียสละของพระเยซูคริสต์

  • ชีวิตท่านจะแตกต่างอย่างไรหากพระผู้ช่วยให้รอดไม่ทรงทนทุกข์ทรมานเพื่อท่านในเกทเสมนีและสิ้นพระชนม์เพื่อท่านบนกางเขนที่คัลวารี?

  • ชีวิตท่านจะแตกต่างอย่างไรหากพระเยซูคริสต์ไม่ทรงเอาชนะความตายผ่านการฟื้นคืนพระชนม์อันรุ่งโรจน์ของพระองค์?

  • จะเกิดอะไรขึ้นกับแผนแห่งความรอดของพระบิดาบนสวรรค์หากไม่มีการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้ของพระเยซูคริสต์?

หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว เชื้อเชิญให้นักเรียนที่เต็มใจแบ่งปันคำตอบของคำถามข้างต้น ท่านอาจแบ่งปันคำพูดอ้างอิงต่อไปนี้หรือฉายวีดิทัศน์ “เพราะพระองค์” (2:33) เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มเติมให้นักเรียนรู้สึกและเข้าใจความต้องการที่พวกเขาต้องมีพระเยซูคริสต์ วีดิทัศน์นี้อาจฉายแล้วในระหว่างบทเรียน “มัทธิว 1:18–25; ลูกา 1:26–35” หลังจากดูวีดิทัศน์ อาจเขียนวลี เพราะพระองค์ … บนกระดานและอาจเชิญนักเรียนให้เติมวลีด้วยคำตอบที่มีความหมายสำหรับพวกเขาให้เสร็จสมบูรณ์ ท่านอาจแบ่งปันข้อความต่อไปนี้ของประธานบัลลาร์ดเพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจความต้องการของพวกเขาต่อการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอด

ประธานเอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด รักษาการประธานโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า

ภาพ
Official portrait of President M. Russell Ballard of the Quorum of the Twelve Apostles, 2004.

ขอบพระทัยพระเยซูคริสต์ผู้ทรงทำการนี้อย่างกล้าหาญในเยรูซาเล็มสมัยโบราณ … แต่พระเยซูเต็มพระทัยทนทุกข์เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสถูกล้างให้สะอาด—โดยผ่านศรัทธาของเราในพระองค์ การกลับใจจากบาป การรับบัพติศมาโดยอำนาจฐานะปุโรหิตที่เหมาะสม การรับของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่ทำให้บริสุทธิ์โดยการยืนยัน และยอมรับศาสนพิธีอื่นทั้งหมดที่จำเป็น หากปราศจากการชดใช้ของพระเจ้า พรเหล่านี้ย่อมไม่มีผลต่อเรา เราจะไม่มีค่าควรและไม่พร้อมกลับไปอยู่ในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า

(เอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด, “การชดใช้และค่าของจิตวิญญาณเดียว,” เลียโฮนา, พ.ค. 2004, 104)

แบ่งปันข่าวประเสริฐเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์

กิจกรรมต่อไปนี้ออกแบบมาเพื่อช่วยให้นักเรียนทบทวนและสรุปประสบการณ์ของพวกเขาในการศึกษาพระกิตติคุณสี่เล่ม

เมื่อท่านใคร่ครวญถึงความสำคัญของการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้ของพระเยซูคริสต์แล้ว โปรดอ่านข้อความต่อไปนี้ของประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน

ภาพ
Official portrait of President Russell M. Nelson taken January 2018

คำว่า กิตติคุณ หมายถึง “ข่าวประเสริฐ” ข่าวประเสริฐคือพระเจ้าพระเยซูคริสต์และข่าวสารของพระองค์เรื่องความรอด พระเยซูทรงถือว่าพระกิตติคุณเป็นทั้งพันธกิจและการปฏิบัติศาสนกิจในความเป็นมรรตัยของพระองค์เท่าเทียมกัน

(รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “ผู้สอนศาสนาอาวุโสและพระกิตติคุณ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2004, 100)

อาจมีตัวอย่างของโพสต์ที่คล้ายกันบนแอป Gospel Living ที่อาจให้นักเรียนดูเพื่อช่วยให้พวกเขาเริ่มสร้างโพสต์ของตนเองได้

ท่านต้องการแบ่งปันข่าวประเสริฐอะไรกับผู้อื่นเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และพระพันธกิจอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์? จินตนาการว่าศาสนจักรกำลังเปิดตัวรณรงค์โซเชียลมีเดียเพื่อเผยแพร่ให้ตระหนักถึงพระชนม์ชีพและคำสอนของพระเยซูคริสต์ที่บันทึกไว้ในพระกิตติคุณสี่เล่ม ศาสนจักรขอโพสต์โซเชียลมีเดียสำหรับการรณรงค์

เขียนโพสต์สั้นๆ ที่อธิบายข่าวประเสริฐของท่านเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ นึกถึงสิ่งที่ท่านเรียนรู้จากพระกิตติคุณสี่เล่มนี้ (มัทธิว มาระโก ลูกา และยอห์น) ที่พิเศษสำหรับท่านและช่วยให้ท่านรู้สึกใกล้ชิดกับพระเยซูคริสต์มากขึ้น ตัวอย่างเช่น ท่านอาจเลือกบางอย่างที่พระเยซูทรงสอน สิ่งอัศจรรย์ที่พระองค์ทรงทำ อุปมา เรื่องราวที่พระองค์ทรงมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างไร คุณลักษณะที่พระองค์ทรงเป็นแบบอย่าง หรือส่วนหนึ่งของการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้ การสิ้นพระชนม์ และการฟื้นคืนพระชนม์ หากท่านรู้สึกสบายใจ ท่านอาจต้องการโพสต์ข่าวประเสริฐของท่านบนโซเชียลมีเดียหรือแบ่งปันกับบุคคลอื่น รวมสิ่งต่อไปนี้ในโพสต์ของท่าน:

  • เขียนพาดหัวหรือตั้งชื่อโพสต์ของท่าน

  • อธิบายว่าข่าวประเสริฐของพระผู้ช่วยให้รอดมีความหมายต่อท่านและช่วยให้ท่านรู้สึกใกล้ชิดกับพระองค์มากขึ้นอย่างไร

  • เขียนข้อความพระคัมภีร์ที่เจาะจงจากพระกิตติคุณสี่เล่ม (มัทธิว มาระโก ลูกา หรือยอห์น)

  • เขียนประจักษ์พยานของท่านและบอกว่าข่าวประเสริฐนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้อื่นได้อย่างไร

ท่านอาจเชื้อเชิญนักเรียนที่เต็มใจแบ่งปันโพสต์ของพวกเขากับชั้นเรียน