เซมินารี
ยอห์น 21:1–17


ยอห์น 21:1–17

“จงดูแลแกะของเราเถิด”

ภาพ
The resurrected Jesus Christ with His arms around the shoulder of the apostle Peter. Christ points to a large number of fish lying on the beach as He speaks to Peter. Two other men and a ship sit on the beach in thebackground.

พระเจ้าผู้ฟื้นคืนพระชนม์ทรงปรากฏต่อสานุศิษย์ของพระองค์ขณะพวกเขาตกปลาในทะเลแห่งทิเบเรียส (กาลิลี) ที่ชายฝั่ง พระเยซูเสวยกับพวกเขาและทรงเชื้อเชิญให้เปโตรแสดงความรักต่อพระองค์โดยการเลี้ยงดูแกะของพระองค์ บทเรียนนี้สามารถช่วยให้ท่านแสดงความรักต่อพระผู้ช่วยให้รอดขณะท่านพยายามดูแลผู้อื่นอย่างที่พระองค์ทรงดูแล

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน ยอห์น 21:15–17 ที่บ้านกับสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนและสนทนาว่าการเลี้ยงแกะของพระเจ้ามีความหมายอย่างไร

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

“ท่านรักเรามากกว่าพวกนี้หรือ?” ( ยอห์น 21:15)

บนแผ่นกระดาษหรือในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน ทำรายการหลายสิ่งที่ท่านทำเมื่อวานนี้ตั้งแต่ท่านตื่นจนกระทั่งเข้านอน

จากนั้น ในรายการของท่านให้ขีดฆ่ารายการที่มุ่งเน้นเฉพาะตัวท่านและความต้องการของท่านเท่านั้น วงกลมกิจกรรมที่มุ่งเน้นช่วยเหลือผู้อื่น ใช้เวลาสักครู่เพื่อใคร่ครวญว่าท่านใช้เวลาอย่างไรและท่านอาจเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเพื่อให้เวลากับการช่วยเหลือผู้อื่นมากขึ้น ขณะท่านศึกษา ยอห์น 21 ให้คิดว่าท่านจะดูแลผู้อื่นดังที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงดูแลได้อย่างไร

ยอห์น 21 บันทึกเรื่องราวของเปโตรและสานุศิษย์อีกหกคนที่ออกไปตกปลาในทะเลแห่งทิเบเรียส (กาลิลี) หลังการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ อ่าน ยอห์น 21:1–13 และมองหาว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงปฏิบัติศาสนกิจต่อสานุศิษย์ของพระองค์อย่างไร

  • พระเยซูทรงทำสิ่งใดเพื่อแสดงความรักและความห่วงใยต่อสานุศิษย์?

อ่าน ยอห์น 21:15–17 โดยมองหาว่าพระเจ้าทรงถามเปโตรว่าอะไร

  • เมื่อพระเยซูทรงถามเปโตรว่า “ท่านรักเรามากกว่าพวกนี้หรือ?” ท่านคิดว่าคำว่า พวกนี้ หมายถึงอะไร?

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองแนะนำว่าพระเยซูทรงหมายถึงเรือ อวนจับปลา และปลากองใหญ่ 153 ตัว—นั่นคือวิถีชีวิตแบบเก่าของพวกเขาก่อนที่พวกเขาจะได้รับการเรียกมายังงานปฏิบัติศาสนกิจ (ดู “พระบัญญัติสำคัญข้อแรก,” เลียโฮนา, พ.ย. 2012, 84)

  • เราสามารถเรียนรู้ความจริงอะไรบ้างจากพระดำรัสร้องขอของพระผู้ช่วยให้รอดในยอห์น 21:15–17?

นักเรียนอาจระบุความจริงที่หลากหลาย รวมถึงความจริงนี้: เราสามารถแสดงความรักของเราต่อพระผู้ช่วยให้รอดโดยการดูแลแกะของพระองค์

  • ท่านคิดว่าพระเจ้าทรงหมายถึงอะไรเมื่อทรงขอให้เปโตรดูแลลูกแกะและแกะของพระองค์?

อาจเป็นประโยชน์ที่จะย้ำเตือนนักเรียนว่าการแทนที่ชื่อของพวกเขาในพระคัมภีร์สามารถช่วยให้พวกเขาทำให้การศึกษาพระคัมภีร์มีความเป็นส่วนตัวและเปรียบพระคัมภีร์กับชีวิตตนเอง

อ่าน ยอห์น 21:15–17 อีกครั้ง และแทนที่ชื่อซีโมนเปโตรด้วยชื่อของท่าน

ท่านอาจให้ดูคำถามสองข้อต่อไปนี้และอนุญาตให้นักเรียนไตร่ตรองเงียบๆ จากนั้นเชื้อเชิญให้นักเรียนตอบคำถามดังกล่าวในสมุดบันทึกการศึกษาของพวกเขา เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความรักต่อพระผู้ช่วยให้รอดโดยเชื้อเชิญสองสามคนให้แบ่งปันคำตอบสำหรับคำถามที่สอง

  • ถ้าพระเยซูทรงถามท่านคำถามเดียวกันกับที่ทรงถามเปโตร ท่านคิดว่าพระองค์จะหมายถึงอะไรในชีวิตท่านเมื่อกล่าวถึง “พวกนี้”?

  • ท่านมีเหตุผลอะไรบ้างที่จะรักพระเยซูคริสต์มากกว่าสิ่งอื่นใด?

ดูแลแกะของพระเจ้า

เชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาสนทนาโดยให้เป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมของพวกเขา ท่านอาจทำรายการบนกระดานขณะที่นักเรียนคิดวิธีหลากหลายในการดูแลแกะของพระผู้ช่วยให้รอด

  • วิธีที่หลากหลายในการดูแลแกะของพระเจ้าและปฏิบัติศาสนกิจต่อผู้อื่นมีอะไรบ้าง?

ขณะท่านศึกษาต่อไป ให้นึกว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงต้องการให้ท่านปฏิบัติศาสนกิจต่อใคร อ่านข้อความด้านล่าง

ภาพ
Christ gives water to a thirsty lamb.
ภาพ
Elder Ulisses Soares, Quorum of the Twelve Apostles official portrait.

พระเยซูทรงแสดงความอดทนและความรักต่อทุกคนที่มาขอให้พระองค์ทรงบรรเทาความเจ็บป่วยทางร่างกาย ทางอารมณ์ และทางวิญญาณ ผู้รู้สึกท้อแท้และถูกบีบคั้น

เพื่อทำตามตัวอย่างของพระผู้ช่วยให้รอด เราแต่ละคนต้องมองไปรอบๆ เอื้อมมือออกไปช่วยแกะที่กำลังเผชิญสถานการณ์เดียวกัน พยุงพวกเขา และให้กำลังใจพวกเขาเดินทางสู่ชีวิตนิรันดร์

ปัจจุบันความต้องการดังกล่าวสำคัญหรืออาจจะสำคัญกว่าเมื่อพระผู้ช่วยให้รอดทรงดำเนินบนแผ่นดินโลก

(ยูลิซีส ซวาเรส, “จงดูแลแกะของเราเถิด,” เลียโฮนา, พ.ย. 2005, 116)

ลองนึกถึงช่วงเวลาที่ใครบางคนเอื้อมออกไปและปฏิบัติศาสนกิจต่อท่านเหมือนที่พระผู้ช่วยให้รอดจะทรงทำ หรือเมื่อท่านพยายามปฏิบัติศาสนกิจต่อคนอื่นอย่างที่พระองค์ทรงทำ

  • ประสบการณ์นี้มีผลต่อท่านอย่างไร?

กิจกรรมที่ชื่อว่า “แบ่งปันพระกิตติคุณ” ในหมวด “กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม” อาจนำไปใช้ได้ ณ จุดนี้ในบทเรียน

พระเจ้าผู้ทรงฟื้นคืนพระชนม์ประทานคำแนะนำเพิ่มเติมแก่อัครสาวกของพระองค์ อ่าน มัทธิว 28:19–20 และ มาระโก 16:15 โดยมองหาอีกวิธีหนึ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงขอให้พวกเขาปฏิบัติศาสนกิจต่อผู้อื่น

  • ท่านคิดว่าเหตุใดการแบ่งปันพระกิตติคุณเป็นวิธีที่สำคัญในการดูแลแกะของพระผู้ช่วยให้รอด?

  • ท่านรู้สึกอย่างไรกับการแบ่งปันพระกิตติคุณกับผู้อื่น?

นักเรียนบางคนอาจกลัวที่จะแบ่งปันพระกิตติคุณกับผู้อื่น ช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกแบบนี้ แสดงความเห็นอกเห็นใจโดยเชื่อมโยงกับความรู้สึกของพวกเขา ข้อความต่อไปนี้จากเอ็ลเดอร์อุคท์ดอร์ฟอาจเป็นประโยชน์

อ่านข้อความต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง

ภาพ
Official portrait of Elder Dieter F. Uchtdorf of the Quorum of the Twelve Apostles, 2006. Called as Second Counselor in the First Presidency, 3 February 2008. Made official portrait in 2008 replacing portrait taken in 2004.

ข้าพเจ้าไม่ได้ขอให้ท่านไปยืนถือโทรโข่งที่มุมถนนและร้องตะโกนข้อพระคัมภีร์มอรมอน สิ่งที่ข้าพเจ้าขอก็คือให้ท่านมองหาโอกาสอยู่เสมอในการพูดเรื่องศรัทธาอย่างเป็นเรื่องปกติธรรมดากับผู้คน—ทั้งเป็นการส่วนตัวและทางออนไลน์ …

มีวิธีปกติธรรมดามากมายที่จะทำสิ่งนี้ จากการกระทำด้วยความเมตตาทุกวันไปจนถึงประจักษ์พยานส่วนตัวบนยูทูป เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม หรือทวิตเตอร์และการสนทนาอย่างเรียบง่ายกับผู้คนที่ท่านพบเจอ …

ไม่ว่าวิธีใดที่ดูเหมือนปกติธรรมดาสำหรับท่าน จงแบ่งปันกับผู้คนว่าเหตุใดพระเยซูคริสต์และศาสนจักรของพระองค์จึงสำคัญต่อท่าน

(ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “งานเผยแผ่ศาสนา: แบ่งปันสิ่งที่อยู่ในใจท่าน,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 17)

  • วิธีธรรมดาๆ ซึ่งท่านสามารถแบ่งปันพระกิตติคุณกับผู้อื่นมีอะไรบ้าง?

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนเยี่ยมชม ChurchofJesusChrist.org/share สำหรับแนวคิดเกี่ยวกับวิธีแบ่งปันพระกิตติคุณ นักเรียนอาจแบ่งปันประสบการณ์ที่พวกเขาเคยแบ่งปันพระกิตติคุณกับผู้อื่นด้วย

แสวงหาการนำทางจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ขณะท่านไตร่ตรองว่าจะปฏิบัติศาสนกิจให้แกะของพระผู้ช่วยให้รอดคนใดบ้าง ท่านอาจนึกถึงเพื่อนบ้าน เพื่อน คนที่ท่านได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติศาสนกิจ เพื่อนร่วมชั้น คนรู้จักที่ทำงาน หรือสมาชิกในครอบครัว นอกจากนี้ให้พิจารณาผู้คนที่ท่านอาจพบว่านั่งตามลำพังคนเดียวหรือต้องการความช่วยเหลือ

  • บุตรธิดาคนใดของพระบิดาบนสวรรค์ที่ต้องการท่านในเวลานี้?

  • พระผู้ช่วยให้รอดจะทรงใช้ท่านเพื่อตอบรับความต้องการของพวกเขาได้อย่างไร?

  • ท่านแสดงความรักที่มีต่อพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์อย่างไรเมื่อท่านเลือกปฏิบัติศาสนกิจต่อผู้อื่น?

  • การดูแลแกะของทั้งสองพระองค์ช่วยให้ท่านเป็นเหมือนพระองค์ได้อย่างไร?

ให้เวลานักเรียนพิจารณาร่วมกับการสวดอ้อนวอนเกี่ยวกับคำถามข้างต้นและเชื้อเชิญให้นักเรียนที่เต็มใจแบ่งปันแนวคิดของพวกเขา

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

เราจะแสดงให้พระเจ้าเห็นได้อย่างไรว่าเรารักพระองค์?

กษัตริย์เบ็นจามิน ศาสดาพยากรณ์ในพระคัมภีร์มอรมอนสอนว่า เมื่อเรารับใช้กัน เรากำลังรับใช้พระผู้เป็นเจ้าอย่างแท้จริง (ดู โมไซยาห์ 2:17) ประธานโธมัส เอส. มอนสัน (1927–2018) ประกาศว่า

ภาพ
Official portrait of President Thomas S. Monson, 2008.

ในความเป็นจริง ท่านจะรักพระเจ้าไม่ได้จนกว่าท่านรับใช้พระองค์โดยรับใช้ผู้คนของพระองค์

(โธมัส เอส. มอนสัน, “Great Expectations” [การให้ข้อคิดทางวิญญาณที่มหาวิทยาลัยบริคัมยังก์, 11 ม.ค. 2009], 6, speeches.byu.edu)

ยอห์น 21:15–17 การรับสั่งซ้ำๆ ของพระผู้ช่วยให้รอดให้ดูแลลูกแกะและแกะของพระองค์มีความสำคัญอย่างไร?

ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันแบ่งปันความเข้าใจเหล่านี้จากข้อความภาษากรีกโบราณของ ยอห์น 21 ดังนี้

ภาพ
Official portrait of President Russell M. Nelson taken January 2018

ใน [ ยอห์น 21:15 ] คำว่า เลี้ยงดู มาจากคำศัพท์ในภาษากรีก bosko หมายถึง “บำรุงเลี้ยงหรือให้เล็มหญ้า” คำว่า ลูกแกะ มาจากคำเรียกชื่อเล่น arnion หมายถึง “ลูกแกะตัวน้อย” …

ใน [ ยอห์น 21:16 ] คำว่า ดูแล มาจากคำศัพท์ที่แตกต่างกันคือ poimaino หมายถึง “ต้อน เฝ้าดู หรือดูแล” คำว่า แกะ มาจากคำศัพท์ probaton หมายถึง “แกะที่โตเต็มที่” …

ใน [ ยอห์น 21:17 ] คำว่า เลี้ยงดู มาจากคำในภาษากรีก bosko อีกครั้งเช่นกัน หมายถึงการบำรุงเลี้ยง คำว่า แกะ แปลอีกครั้งจากคำศัพท์ในภาษากรีก probaton หมายถึงแกะที่โตเต็มวัย

พระคัมภีร์สามข้อนี้ ซึ่งดูเหมือนจะคล้ายกันในภาษาอังกฤษ แต่จริงๆ แล้วมีข่าวสารต่างกันชัดเจนสามอย่างในภาษากรีก:

  • ลูกแกะตัวน้อยจำเป็นต้องได้รับการบำรุงเลี้ยงจึงจะเติบโต

  • แกะจำเป็นต้องได้รับการดูแล

  • แกะจำเป็นต้องได้รับการบำรุงเลี้ยง

(รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “Shepherds, Lambs, and Home Teachers,” Ensign, Aug. 1994, 16)

ฉันจะดูแลแกะของพระองค์ได้อย่างไร?

มีวิธีมากมายนับไม่ถ้วนในการเอื้อมออกไปและปฏิบัติศาสนกิจต่อผู้อื่นด้วยความรักและความเมตตา ตัวอย่างเช่น ซิสเตอร์มิเชลล์ ดี. เครก ที่ปรึกษาที่หนึ่งในฝ่ายประธานเยาวชนหญิงสามัญ สวดอ้อนวอนเพื่อให้รู้ว่าเธอจะทำอะไรได้มากขึ้นเพื่อช่วยบุตรธิดาของพระผู้เป็นเจ้า ก่อนหน้านี้เธอได้รับการกระตุ้นเตือนไม่ให้มองโทรศัพท์ขณะยืนต่อแถว ดู “สวดอ้อนวอนให้มีตาที่จะมองเห็นเหมือนที่พระองค์ทรงเห็น” มีอยู่ที่ ChurchofJesusChrist.org หรืออ่านเรื่องราวด้านล่าง

ภาพ
Sister Michelle D. Craig, first counselor, Young Women general presidency. Official Portrait as of October 2018.

เช้าวันถัดมา ดิฉันพบตนเองกำลังต่อแถวยาวที่ร้านค้า ดิฉันดึงโทรศัพท์ออกมาแล้วจำได้ถึงคำตอบที่เคยได้รับ ดิฉันเก็บโทรศัพท์และมองไปรอบๆ ดิฉันเห็นสุภาพบุรุษสูงวัยคนหนึ่งต่อแถวอยู่ข้างหน้า รถเข็นของเขาว่างเปล่า มีแค่อาหารแมวสองสามกระป๋อง ดิฉันรู้สึกเคอะเขิน แต่พูดสิ่งที่ฉลาด มากๆ ออกไปว่า “คุณมีแมวด้วย” เขาบอกว่าพายุกำลังมา และเขาอยากเตรียมอาหารแมวไว้ล่วงหน้า เราทักทายกันสั้นๆ แล้วเขาหันมาบอกดิฉันว่า “รู้ไหม ผมยังไม่ได้บอกใครเรื่องนี้เลย แต่วันนี้เป็นวันเกิดผม” หัวใจดิฉันละลาย ดิฉันอวยพรวันเกิดเขาและสวดอ้อนวอนขอบพระทัยในใจที่ไม่ได้ดูโทรศัพท์และพลาดโอกาสที่จะได้เห็นและติดต่อกับคนอื่นอย่างแท้จริงในยามที่เขาต้องการ

(มิเชลล์ ดี. เครก, “ตาที่จะมองเห็น,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 16)

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

คำปราศรัยการประชุมใหญ่สามัญ

ท่านอาจใช้ส่วนต่างๆ จากคำปราศรัยของเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ “พระบัญญัติสำคัญข้อแรก” ( เลียโฮนา, พ.ย. 2012, 83–85) ตัวอย่างเช่น การเชื้อเชิญให้นักเรียนชมตั้งแต่ช่วงเวลา 6:51 ถึง 12:24 หลังจากอ่าน ยอห์น 21:15–17 อาจช่วยให้นักเรียนรู้สึกถึงความจริงและความสำคัญของการแสดงความรักต่อพระผู้ช่วยให้รอดโดยการดูแลแกะของพระองค์

การแบ่งปันพระกิตติคุณ

ท่านอาจจะอ่าน มัทธิว 28:19–20 กับนักเรียนแล้วถามคำถามต่อไปนี้

  • ตามที่กล่าวไว้ในข้อ 20 พระผู้ช่วยให้รอดทรงสัญญาอะไรกับอัครสาวกของพระองค์?

  • พระเจ้าทรง “อยู่กับท่าน” หรือช่วยท่านในทางใดบ้าง เมื่อท่านพยายามแบ่งปันพระกิตติคุณ?

  • การจดจำคำสัญญานี้อาจจูงใจให้ท่านมองหาโอกาสที่จะแบ่งปันกับผู้อื่นต่อไปได้อย่างไร?