เซมินารี
ยอห์น 6:22–58


ยอห์น 6:22–58

“เราเป็นอาหารแห่งชีวิต”

ภาพ
Jesus Christ seated at a table. In one hand He is holding a piece of bread. With the other He is gesturing towards Himself. There is a plate of bread on the table in front of Him and a goblet.

หนึ่งวันหลังจากปาฏิหาริย์ในการเลี้ยงอาหารคนห้าพันคน หลายคนตามหาพระเยซู “ไม่ใช่เพราะ [พวกเขา] เห็นหมายสำคัญแต่เพราะ [พวกเขา] ได้กินขนมปังอิ่ม” และความหิวของเขากลับมา (ยอห์น 6:26) พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนเขาว่า “เราเป็นอาหารแห่งชีวิต คนที่มาหาเราจะไม่หิว” (ยอห์น 6:35) บทเรียนนี้สามารถช่วยให้ท่านระบุวิธีที่จะมาหาพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อให้พระองค์ทรงเติมเต็มความต้องการทางวิญญาณของท่าน

แบบฝีกหัดการเขียน เชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนตอบคำถามกระตุ้นความคิดที่จะช่วยให้ความคิดของพวกเขาลึกซึ้งและกระจ่างยิ่งขึ้น เมื่อนักเรียนตอบคำถามด้วยการเขียนก่อนแบ่งปันความคิดกับชั้นเรียน พวกเขามีเวลารวบรวมความคิดและรับการดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์

การเตรียมของนักเรียน เชื้อเชิญให้นักเรียนคิดว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นสัญลักษณ์ของอาหารอย่างไรและเตรียมพร้อมที่จะแบ่งปันข้อคิดของพวกเขา

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

“เราเป็นอาหารแห่งชีวิต”

ท่านอาจนำขนมปัง (และถ้าจำเป็น สิ่งอื่นสำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถกินกลูเตนได้) มาให้นักเรียนกิน ติดคำถามต่อไปนี้ให้นักเรียนเห็นขณะเข้ามาในชั้นเรียน เชิญชวนให้พวกเขาใช้ความคิดจากกิจกรรมการเตรียมของนักเรียนเพื่อช่วยพวกเขาตลอดบทเรียน

ภาพ
Bread
  • ท่านคิดว่าท่านกินขนมปังได้มากเพียงใด?

  • ไม่ว่าท่านจะกินขนมปังมากน้อยเพียงใดในตอนนี้ จะเกิดอะไรขึ้นในที่สุด?

เมื่อพระผู้ช่วยให้รอดทรงเลี้ยงอาหารผู้คนกว่าห้าพันคนโดยใช้ขนมปังเพียงห้าก้อนและปลาสองตัว บางคนตอบรับปาฏิหาริย์นี้โดยแสวงหาพระองค์เพื่ออาหารอีกมื้อมากกว่าเพื่อเหตุผลทางวิญญาณ (ดู ยอห์น 6:5–14) พระเยซูทรงแก้ความเข้าใจให้ถูกต้องแก่ผู้ที่แสวงหาพระองค์เพื่อขออาหารเพิ่มแทนที่จะแสวงหาพระองค์เพื่อชีวิตนิรันดร์ พวกเขาตั้งคำถามเกี่ยวกับพระอัตลักษณ์และพระปรีชาสามารถของพระองค์ที่จะประทานชีวิตนิรันดร์แก่พวกเขา (ดู ยอห์น 6:30, 41–42)

อ่าน ยอห์น 6:32, 35 เพื่อดูว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงแก้ความเข้าใจให้ถูกต้องแก่ผู้คนอย่างไร ท่านอาจทำเครื่องหมายที่พระสมัญญานามของพระผู้ช่วยให้รอด “อาหารแท้ที่มาจากสวรรค์” และ “อาหารแห่งชีวิต” ในพระคัมภีร์ของท่าน ท่านอาจเพิ่มพระสมัญญานามเหล่านี้ลงในรายการในสมุดบันทึกของท่านชื่อ “พระสมัญญานามและบทบาทของพระเยซูคริสต์” (ท่านอาจเริ่มรายการนี้ในระหว่าง บทเรียนสำหรับยอห์น 1:1–51)

  • เหตุใดท่านจึงคิดว่าพระผู้ช่วยให้รอดจะทรงเรียกพระองค์เองว่าเป็น “อาหารแท้ที่มาจากสวรรค์” หรือ “อาหารแห่งชีวิต”?

  • ท่านเรียนรู้อะไรจากพระเยซูคริสต์ใน ข้อ 35 ?

ยอห์น 6:35 สอนว่า หากเรามาหาพระเยซูคริสต์และเชื่อในพระองค์ พระองค์จะทรงสนองความหิวโหยและความกระหายทางวิญญาณของเราได้

ท่านอาจจะเขียนหรือติดคำถามต่อไปนี้บนกระดาน

ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน:

  • มีเหตุผลอะไรบ้างที่ท่านต้องการพระเยซูคริสต์ทุกวัน? ขณะนี้ท่าน “หิวโหย” ทางวิญญาณอย่างไร?

  • ขณะนี้ท่านทำอะไรเพื่อแสวงหาความช่วยเหลือจากพระผู้ช่วยให้รอดในการสนองความหิวโหยนั้น? สิ่งใดที่เป็นไปด้วยดี? สิ่งใดที่ไม่?

ขณะท่านศึกษาต่อไป ให้แสวงหาอิทธิพลของพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อช่วยให้ท่านระบุวิธีที่ท่านจะมาหาพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อให้พระองค์เติมเต็มความหิวโหยทางวิญญาณของท่านอ่าน ยอห์น 6:47–58 มองหาสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงมีพระดำรัสเชิญให้เราทำและสิ่งที่ทรงสัญญาหากเราทำ พิจารณาว่าพระดำรัสเชิญและสัญญาเหล่านี้ช่วยให้ท่านเข้าใจว่าจะรับของประทานของพระผู้ช่วยให้รอดในการสนองความหิวโหยและความกระหายทางวิญญาณของท่านได้ดียิ่งขึ้นอย่างไร ท่านอาจต้องการชมวีดิทัศน์ “เราเป็นอาหารแห่งชีวิต,” มีอยู่ที่ ChurchofJesusChrist.org, จากช่วงเวลา 3:20 ถึง 5:08 และดูตามไปด้วยในพระคัมภีร์ของท่าน ท่านอาจสร้างแผนภูมิต่อไปนี้เพื่อช่วยท่าน

ภาพ
Bread

ท่านอาจติดแผนภูมินี้บนกระดานและกรอกข้อมูลด้วยกันทั้งชั้นเรียน พระดำรัสเชิญบางอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดคือให้เชื่อในพระองค์ ( ยอห์น 6:47) และให้กินอาหารแห่งชีวิต ( ข้อ 51) คำสัญญาบางอย่างรวมถึงการมีชีวิตตลอดกาล ( ข้อ 50) และมีพระองค์อยู่ในเรา ( ข้อ 56)

พระดำรัสเชิญของพระผู้ช่วยให้รอด

คำสัญญาของพระผู้ช่วยให้รอด

  • พระดำรัสเชิญและคำสัญญาของพระองค์สอนอะไรท่านเกี่ยวกับพระองค์?

เรื่องราวของอีนัสในพระคัมภีร์มอรมอนแสดงให้เห็นว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงสนองความหิวโหยทางวิญญาณของเราได้อย่างไร ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน อีนัส 1:1–8 และแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาค้นพบ นักเรียนอาจสนทนาถึงสิ่งที่อีนัสทำเพื่อสนองความหิวโหยของเขาและพระเจ้าประทานพรแก่อีนัสอย่างไร นอกจากนี้นักเรียนอาจใคร่ครวญว่าแบบอย่างของอีนัสจะช่วยให้พวกเขาได้รับการบำรุงเลี้ยงทางวิญญาณจากอาหารแห่งชีวิตได้อย่างไร

การรับส่วนพระมังสาและพระโลหิตของพระผู้ช่วยให้รอด

ผู้คนมากมายที่ได้ยินคำเทศนาของพระผู้ช่วยให้รอดมีคำถามเกี่ยวกับความหมายของการกินพระมังสาของพระผู้ช่วยให้รอดและดื่มพระโลหิตของพระองค์ (ดู ยอห์น 6:52, 60)

อ่านข้อความต่อไปนี้โดยเอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองเพื่อเข้าใจความหมายของพระวจนะของพระผู้ช่วยให้รอดได้ดียิ่งขึ้นและวิธีที่เราจะตอบรับพระดำรัสเชิญของพระองค์

ภาพ
Portrait of Elder D. Todd Christofferson. Photographed in March 2020.

การรับประทานพระมังสาและการดื่มพระโลหิตของพระองค์เป็นวิธีที่ไม่ธรรมดาในการบอกว่าเราต้องนำพระผู้ช่วยให้รอดเข้ามาในชีวิตเราอย่างสมบูรณ์—เข้ามาในตัวตนของเรา—เพื่อเราจะเป็นหนึ่งเดียวกัน …

… เรารับส่วนพระมังสาของพระองค์และพระโลหิตของพระองค์เมื่อเรารับพลังและพรของการชดใช้จากพระองค์

หลักคำสอนของพระคริสต์บอกสิ่งที่เราต้องทำเพื่อจะรับพระคุณแห่งการชดใช้ นั่นคือการเชื่อและมีศรัทธาในพระคริสต์ กลับใจและรับบัพติศมา และรับพระวิญญาณบริสุทธิ์ “และเมื่อนั้นการปลดบาปของท่านจะมาถึงโดยไฟและโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์” [ 2 นีไฟ 31:17 ] …

ข้าพเจ้าพูดถึงการได้รับพระคุณแห่งการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อนำบาปและคราบของบาปเหล่านั้นในตัวเราออกไป ในเชิงภาพพจน์ การรับประทานพระมังสาของพระองค์และการดื่มพระโลหิตของพระองค์มีความหมายและความสำคัญเพิ่มเติม นั่นคือการเปลี่ยนแปลงภายในด้วยคุณสมบัติและพระอุปนิสัยของพระคริสต์ ทิ้งความเป็นมนุษย์ปุถุชนและกลับเป็นวิสุทธิชน “โดยผ่านการชดใช้ของพระคริสต์พระเจ้า” [ โมไซยาห์ 3:19 ] …

… การกินพระมังสาและดื่มพระโลหิตของพระคริสต์หมายถึงการดำเนินตามความบริสุทธิ์

(ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน, “อาหารดำรงชีวิตซึ่งลงมาจากสวรรค์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2017, 36–38)

  • ท่านจะอธิบายความหมายของการกินพระมังสาและดื่มพระโลหิตของพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร?

  • ท่านหรือผู้อื่นทำตามคำแนะนำของเอ็ลเดอร์คริสทอฟเฟอร์สันและรู้สึกว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงสนองความหิวโหยทางวิญญาณเมื่อใด? ท่านทำอะไรในประสบการณ์เหล่านี้ที่รู้สึกว่าได้ทูลเชิญพระผู้ช่วยให้รอดให้ทรงสนองความหิวโหยดังกล่าว?

จินตนาการว่าท่านอยู่ในเหตุการณ์ที่มีการเทศนาของพระผู้ช่วยให้รอดใน ยอห์น 6:22–58 เขียนรายการในสมุดบันทึกเสมือนว่าท่านอยู่ที่นั่น รวมสิ่งต่อไปนี้ในรายการของท่าน:

  1. สิ่งที่ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดและสิ่งที่ท่านเรียนรู้จากพระองค์

  2. ประสบการณ์ใดก็ตามที่ท่านเคยมีเมื่อพระเยซูคริสต์ประทานแก่ความต้องการทางวิญญาณของท่าน (หรือประสบการณ์ใดที่ผู้อื่นเคยมี)

  3. การกระทำที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงกระตุ้นเตือนให้ท่านทำและเหตุผลที่ทำ

หากมีเวลา กระตุ้นให้นักเรียนแบ่งปันรายการในบันทึกของตนกับชั้นเรียนหรือกับคู่หรือในกลุ่มเล็ก ท่านอาจสรุปด้วยประจักษ์พยานถึงพระผู้ช่วยให้รอดในฐานะอาหารแห่งชีวิตและเชื้อเชิญให้นักเรียนแสดงประจักษ์พยานด้วย

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

เหตุใดพระเยซูจึงทรงให้ผู้คนมุ่งเน้นที่ความต้องการทางวิญญาณของพวกเขามากกว่าความต้องการทางร่างกาย?

ขณะรับใช้เป็นสมาชิกโควรัมสาวกเจ็ดสิบ เอ็ลเดอร์คาร์ลอส เอช. อามาโดสอนว่า

ภาพ
Former official portrait of Elder Carlos H. Amado of the First Quorum of the Seventy, 2008. Retouched version done in March 2009.

ในฐานะศาสนจักรเราควรเลี้ยงอาหารคนหิวโหย คลายทุกข์ให้คนป่วย ให้เสื้อผ้าแก่คนเปล่าเปลือย และให้ที่พักพิงแก่ผู้ยากไร้ ด้วยเงินอดอาหารเราบรรเทาความต้องการพื้นฐานและเร่งด่วนของสมาชิก และด้วยแผนสวัสดิการเราช่วยจัดหาให้ตามความต้องการระยะยาวของพวกเขา เมื่อมีภัยธรรมชาติเราเตรียมความช่วยเหลือให้พี่น้องของเราผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกโดยผ่านการบำเพ็ญประโยชน์ด้านมนุษยธรรม

โดยที่ไม่ได้ละเลยสิ่งจำเป็นแก่ชีวิตเหล่านี้ ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย ด้วยพระบัญญัติของพระเจ้า จึงผดุงการทำงานอันประเสริฐและสูงส่งของการรับใช้ ซึ่งเป็นพรแก่มนุษย์ทุกคนโดยสั่งสอนพวกเขาถึงหลักคำสอนของพระคริสต์และเชิญพวกเขามารับศาสนพิธีแห่งความรอด ทั้งนี้เพื่อพวกเขาจะได้รับ “ความเป็นอมตะและชีวิตนิรันดร์” ( โมเสส 1:39)

(คาร์ลอส เอช. อามาโด, “การรับใช้ คุณลักษณะแห่งสวรรค์,” เลียโฮนา, พ.ค. 2008, 44)

ยอห์น 6:56 พระผู้ช่วยให้รอดทรงหมายถึงอะไรเมื่อพระองค์ทรงสอนว่าจะทรงอยู่ในเรา?

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า

ภาพ
Former official portrait of Elder Carlos H. Amado of the First Quorum of the Seventy, 2008. Retouched version done in March 2009.

สิ่งหนึ่งที่ต้องรู้คือพระเยซูคริสต์เสด็จมาแผ่นดินโลกเพื่อ สิ้นพระชนม์ แทนเรา—นี่คือพื้นฐานและรากฐานแห่งหลักคำสอนของพระคริสต์ แต่เราต้องสำนึกคุณเช่นกันว่าพระเจ้าทรงปรารถนาจะ มีชีวิต ในเราโดยผ่านการชดใช้ของพระองค์และโดยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์—ไม่เพียงเพื่อนำเราเท่านั้นแต่เพื่อให้อำนาจเราด้วย

(เดวิด เอ. เบดนาร์, “การชดใช้และการเดินทางของความเป็นมรรตัย,” เลียโฮนา, เม.ย. 2012, 14)

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

พระบิดาทรงปรารถนาให้ทุกคนมาหาพระบุตรของพระองค์เพื่อรับการช่วยให้รอด

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนศึกษา ยอห์น 6:39–40 และอ้างโยงข้อพระคัมภีร์เหล่านี้กับ โมเสส 1:39 และ ยอห์น 3:16–17 เชื้อเชิญให้พวกเขาไตร่ตรองว่าข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้นอย่างไรถึงความปรารถนาของพระบิดาบนสวรรค์ในการช่วยบุตรธิดาของพระองค์ให้รอด พวกเขาอาจมุ่งเน้นไปยังสิ่งที่ข้อพระคัมภีร์เหล่านี้และคำสัญญาในนั้นสอนเกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์และพระพันธกิจของพระเยซูคริสต์ในฐานะอาหารแห่งชีวิต

ยอห์น 6:24–27, 48–50 เลือกเรื่องทางวิญญาณหรือที่เป็นนิรันดร์มากกว่าเรื่องทางโลก

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนค้นหาข้อพระคัมภีร์เหล่านี้และพิจารณาเหตุผลว่าทำไมเราจึงเลือกเรื่องทางโลกมากกว่าสิ่งที่เป็นเรื่องทางวิญญาณ พวกเขาอาจอ้างโยงข้อพระคัมภีร์เหล่านี้กับข้อพระคัมภีร์เช่น 2 โครินธ์ 4:18 , โมไซยาห์ 2:41 , หลักคำสอนและพันธสัญญา 25:10 และอื่นๆ ท่านอาจขอให้พวกเขาวิเคราะห์การตัดสินใจในแต่ละวันของตนเอง เชิญชวนให้พวกเขาไตร่ตรองถึงสิ่งที่พวกเขาทราบเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดและแผนแห่งความรอดที่อาจช่วยให้พวกเขามุ่งเน้นไปที่เรื่องทางวิญญาณมากขึ้น พวกเขาอาจระบุวิธีที่พวกเขาอาจให้ความสำคัญกับเรื่องทางวิญญาณมากกว่าที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน

ยอห์น 5:1–16 “ท่านอยากจะหายเป็นปกติหรือเปล่า?”

ถ้านักเรียนจะได้รับประโยชน์จากการศึกษาเรื่องที่พระเยซูคริสต์ทรงรักษาชายคนหนึ่งที่สระน้ำแห่งเบธซาธา ท่านอาจใช้ประสบการณ์เรียนรู้นี้แทนที่บทเรียนหนึ่งจากบทเรียนอื่นๆ

เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน ยอห์น 5:2–9 โดยค้นหาการใช้วลี “เป็นปกติ” ในแต่ละครั้ง ถามว่าพวกเขาคิดว่าวลีนี้หมายความว่าอย่างไร จากการที่พระองค์ทรงมีปฏิสัมพันธ์กับชายคนนี้ สนทนากับนักเรียนถึงสิ่งที่พวกเขาจะเรียนรู้เกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดและจากพระผู้ช่วยให้รอด

อ่าน ข้อ 14 และถามว่าสิ่งนี้เพิ่มความเข้าใจของพวกเขาในการ “หายเป็นปกติ” อย่างไร ผลจากบาปที่ยังไม่กลับใจ “เลวร้ายกว่า” สภาพร่างกายที่อ่อนแอของชายคนนี้เป็นเวลา 38 ปีในทางใดบ้าง? ช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าพระเยซูคริสต์ในพระปรีชาญาณของพระองค์ ไม่ทรงรักษาความเจ็บป่วยทางร่างกายทั้งหมดในทันที เหมือนกับที่พระองค์ไม่ทรงรักษาทุกคนในวันนั้น (ดู ข้อ 3) กระนั้นก็ตาม พระผู้ช่วยให้รอดผู้ทรงเป็นที่รักของเราทรงสามารถและจะทรงทำให้ทุกอย่างหายจากผลของบาปหากพวกเขากลับใจและใช้ศรัทธาในพระองค์