เซมินารี
ยอห์น 8


ยอห์น 8

หญิงที่ถูกจับฐานล่วงประเวณีถูกนำมาอยู่เบื้องพระพักตร์พระคริสต์

ภาพ
Depiction of Jesus and the woman taken in adultery. They are both kneeling on the ground. For Mormon Channel use.

ขณะพระเยซูทรงสอนในพระวิหาร พวกธรรมาจารย์และพวกฟาริสีบางคนนำหญิงที่ล่วงประเวณีมาหาพระองค์ พวกเขาถามพระองค์ว่าเธอควรถูกขว้างด้วยหินตามกฎของโมเสสหรือไม่ (ดู เลวีนิติ 20:10) คำตอบของพระเยซูต่อพวกเขาและหญิงผู้นั้นจะทำให้ท่านเข้าใจลึกซึ้งขึ้นถึงพระอุปนิสัยของพระองค์และช่วยให้ท่านรู้สึกถึงเดชานุภาพแห่งพระเมตตาของพระองค์

มุ่งเน้นที่นักเรียน ขณะท่านสอน ให้มุ่งเน้นที่ความต้องการของนักเรียนแต่ละคน อย่าปล่อยให้แผนของท่านมีความสำคัญมากกว่านักเรียนในห้องเรียน ประเมินการมีส่วนร่วมของนักเรียนอย่างต่อเนื่องและหาวิธีเชื้อเชิญให้นักเรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนนึกถึงช่วงเวลาที่พวกเขาแสดงความเมตตาต่อใครบางคนหรือเมื่อพวกเขาต้องการหรือหวังในความเมตตา

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

คุณลักษณะของพระเยซูคริสต์

ให้ติดคำถามต่อไปนี้ไว้ตรงที่นักเรียนมองเห็นขณะเข้ามาในห้องเรียน นักเรียนอาจได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็กก่อนจะแบ่งปันคำตอบกับชั้นเรียน

  • เมื่อใดที่มีใครบางคนเมตตาท่านแม้ว่าท่านรู้สึกไม่คู่ควรได้รับความเมตตานั้น?

  • สิ่งนี้ส่งผลอย่างไรต่อท่าน?

พระเยซูทรงแสดงความเมตตาอย่างลึกซึ้งต่อหญิงที่ถูกจับฐานล่วงประเวณีซึ่งส่งผลต่อเธออย่างลึกซึ้งอ่าน ยอห์น 8:1–5 และค้นหาว่าเหตุใดสถานการณ์นี้จึงเป็นเรื่องยากที่จะรับมือ

เมื่อพวกธรรมาจารย์และพวกฟาริสีนำหญิงผู้นั้นมาหาพระเยซูและถามว่าเธอจะถูกขว้างด้วยหินจนตายหรือไม่ พวกเขาตั้งใจให้พระองค์ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยาก (ดู ยอห์น 8:6) ถ้าพระเยซูตรัสไม่ให้ขว้างหินใส่หญิงผู้นั้น พระองค์จะถูกกล่าวหาว่าไม่เคารพกฎของโมเสส (ดู อพยพ 20:14) ถ้าพระองค์ตรัสว่าควรขว้างหิน ก็เท่ากับพระองค์ทรงต่อต้านทัศนะซึ่งเป็นที่นิยมของประชาชนและกฎหมายโรมันด้วย และพระองค์ไม่ทรงแสดงความเมตตาต่อหญิงผู้นั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่พระเยซูทรงทำซ้ำแล้วซ้ำเล่าระหว่างการปฏิบัติศาสนกิจของพระองค์ (ดู คู่มือนักเรียน พันธสัญญาใหม่ [2018], ChurchofJesusChrist.org)

ขณะท่านศึกษาว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงรับมืออย่างไรต่อสถานการณ์ที่ท้าทายนี้ ท่านสามารถระบุคุณลักษณะหลายอย่างที่จะช่วยให้ท่านเข้าใจได้ดีขึ้นว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงเป็นอย่างไร การค้นหาคุณลักษณะของพระผู้ช่วยให้รอดเป็นทักษะที่ท่านจะใช้ได้ตลอดการศึกษาพันธสัญญาใหม่ การเข้าใจคุณลักษณะเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความปรารถนาของท่านที่จะเข้าใกล้พระคริสต์มากขึ้น

อ่าน ยอห์น 8:6–11 โดยมองหาคุณลักษณะของพระเยซูคริสต์ที่เราเห็นในการปฏิสัมพันธ์ของพระองค์กับผู้กล่าวหาและหญิงผู้นั้น

ท่านอาจต้องการชม “จงไปเถิดและจากนี้ไปอย่าทำบาปอีก” (3:21) มีอยู่ที่ ChurchofJesusChrist.org คำถามต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์ในการใคร่ครวญขณะที่ท่านชม:

อาจเป็นประโยชน์ที่จะให้ดูคำถามต่อไปนี้เพื่อนักเรียนสามารถอ้างอิงถึงคำถามเหล่านั้นได้ตามต้องการ

  • คุณลักษณะใดบ้างที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงแสดงให้เห็นในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับคนที่กล่าวหาหญิงผู้นั้น?

  • คุณลักษณะใดบ้างที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงแสดงให้เห็นในการปฏิบัติต่อหญิงผู้นั้น?

หากจำเป็นช่วยให้นักเรียนเห็นว่าขณะที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงอดทนและเมตตาต่อหญิงผู้นั้น พระองค์มิได้ทรงให้อภัยเธอในชั่วขณะนั้น (ดูข้อความของประธานโอ๊คส์ในหมวด “บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง”)

  • วลีใดในพระคัมภีร์ที่แสดงถึงคุณลักษณะเหล่านี้?

ท่านอาจให้นักเรียนแบ่งปันข้อสังเกตของพวกเขาร่วมกันเป็นชั้นเรียนหรือเป็นกลุ่มเล็ก หากจำเป็น ช่วยนักเรียนระบุคุณลักษณะของพระผู้ช่วยให้รอด เช่น การอดทนในสถานการณ์ที่มีอารมณ์ความรู้สึกมาก ความสามารถแยกแยะถูกผิดของสถานการณ์ การแสดงความเมตตาและความสงสารต่อหญิงผู้นั้น และอื่นๆ

ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายวลีใน ยอห์น 8:6–11 ซึ่งแสดงถึงคุณลักษณะเหล่านี้ของพระเยซู สังเกตว่าพระผู้ช่วยให้รอดมิได้ทรงให้อภัยบาปแก่หญิงผู้นี้ในขณะนั้นแต่ทรงกระตุ้นให้เธอ “ไปเถิดและจากนี้ไปอย่าทำบาปอีก” ( ยอห์น 8:11)

อาจเป็นประโยชน์ที่จะเชิญนักเรียนคนหนึ่งให้ยกตัวอย่างวลีที่แสดงถึงคุณลักษณะของพระเยซูหรือให้ครูแบ่งปันตัวอย่าง หากนักเรียนจะได้รับประโยชน์จากการใคร่ครวญคุณลักษณะที่จะพัฒนา คำถามต่อไปนี้อาจช่วยได้ อาจให้เวลานักเรียนใคร่ครวญคำถามและตอบคำถามเหล่านั้นในสมุดบันทึกการศึกษาของพวกเขา

  • คุณลักษณะใดจากคุณลักษณะเหล่านี้ที่ท่านต้องการพัฒนาให้ดีขึ้น? เพราะเหตุใด?

  • ท่านจะให้พระผู้ช่วยให้รอดทรงช่วยท่านพัฒนาหรือทำให้คุณลักษณะนี้เข้มแข็งในชีวิตท่านอย่างไร?

พระเมตตาของพระผู้ช่วยให้รอดเป็นแรงจูงใจให้เราเปลี่ยนแปลง

คุณลักษณะแห่งพระผู้เป็นเจ้าหนึ่งอย่างที่พระเยซูคริสต์ทรงมีคือพระองค์ทรงมีพระเมตตา “ความเมตตาคือการปฏิบัติด้วยความสงสารต่อบุคคลหนึ่งมากกว่าที่สมควรจะได้รับ” (หัวข้อพระกิตติคุณ, “ความเมตตา,” topics.ChurchofJesusChrist.org)

เอ็ลเดอร์เดล จี. เรนลันด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองให้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเมตตาสงสารของพระผู้ช่วยให้รอดและผลที่มีต่อหญิงผู้นั้น:

ภาพ
Official portrait of Elder Dale G. Renlund of the Quorum of the Twelve Apostles, January 2016.

แน่นอนว่าพระผู้ช่วยให้รอดไม่ทรงยกโทษการล่วงประเวณี แต่พระองค์ไม่ทรงเอาโทษหญิงนั้นเช่นกัน พระองค์ทรงกระตุ้นให้เธอเปลี่ยนชีวิต ทรงผลักดันให้เธอเปลี่ยนเพราะความสงสารและพระเมตตาของพระองค์ งานแปลพระคัมภีร์ไบเบิลของโจเซฟ สมิธยืนยันผลแห่งความเป็นสานุศิษย์ที่เกิดขึ้นว่า “และหญิงนั้นสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้านับจากโมงนั้นและปักใจเชื่อในพระนามของพระองค์” [งานแปลของโจเซฟ สมิธ, ยอห์น 8:11 ]

(เดล จี. เรนลันด์, “พระเมษบาลผู้ประเสริฐของเรา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2017, 30)

&#160

  • พระเมตตาของพระผู้ช่วยให้รอดส่งผลต่อหญิงผู้นั้นอย่างไร?

  • เหตุใดท่านจึงคิดว่าพระเมตตาของพระองค์จะมีอิทธิพลแบบนั้นได้?

  • การรู้ว่าพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงรักความมีเมตตาส่งผลต่อความรู้สึกที่ท่านมีต่อทั้งสองพระองค์อย่างไร?

แม้ว่าพระผู้ช่วยให้รอดไม่ทรงยกโทษบาปแต่พระองค์ทรงเป็นผู้ที่ให้อภัย พระองค์ทรงต้องการให้ท่านรู้สึกมีแรงจูงใจที่จะกลับใจและพยายามทำให้ดีขึ้นต่อไป

นักเรียนบางคนอาจได้รับประโยชน์จากการสนทนาว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงต้องการให้เราพยายามต่อไปอย่างไรเมื่อเราทำผิดพลาด หากเป็นเช่นนั้น ท่านอาจใช้ข้อความจากเอ็ลเดอร์ลินน์ จี. รอบบินส์ในหมวด “บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง”

ท่านอาจให้เวลาเงียบสงบแก่นักเรียนเพื่อใคร่ครวญสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้เพื่อช่วยให้พวกเขาเชื่อมโยงกับพระผู้ช่วยให้รอดได้ดีขึ้นและรู้สึกถึงพระเมตตาของพระองค์ คำถามที่แสดงไว้ด้านล่าง (หรือคำถามอื่นๆ) อาจเขียนบนกระดานและอาจเชิญให้นักเรียนตอบคำถามเหล่านั้นในสมุดบันทึกของพวกเขา

  • วันนี้ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดซึ่งเป็นแรงจูงใจให้ท่านกลับใจและพยายามต่อไปที่จะเป็นเหมือนพระองค์?

  • ท่านรู้สึกว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงต้องการให้ท่านทำหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใดในชีวิตท่านขณะท่านพยายามเป็นเหมือนพระองค์มากขึ้น?

ท่านอาจสรุปโดยแบ่งปันประจักษ์พยานและความรู้สึกส่วนตัวเกี่ยวกับความสงสารและพระเมตตาของพระผู้ช่วยให้รอด

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

เราได้รับพรอย่างไรเพราะพระเมตตาของพระผู้ช่วยให้รอด?

ในการพูดถึงความปรารถนาของพระผู้ช่วยให้รอดที่จะให้เราพยายามต่อไปเมื่อเราทำผิดพลาด เอ็ลเดอร์ลินน์ จี. รอบบินส์แห่งสาวกเจ็ดสิบสอนว่า

ภาพ
Former Official Portrait of Elder Lynn G. Robbins. Photographed March 2017. Replaced October 2019 (with Telescope ID: 2298123)

ขณะที่เราสำนึกคุณสำหรับโอกาสครั้งที่สองหลังทำผิดพลาด หรือความล้มเหลวในความคิด เราสุดพิศวงต่อพระคุณของพระผู้ช่วยให้รอดที่ประทานโอกาสครั้งที่สองแก่เราในการเอาชนะบาป หรือความล้มเหลวในใจ

ไม่มีใครอยู่ฝ่ายเดียวกับเรามากเท่าพระผู้ช่วยให้รอด … เพื่อเป็นเหมือนพระองค์จำเป็นต้องมี โอกาสครั้งที่สอง นับไม่ถ้วนในการที่เราต้องดิ้นรนวันแล้ววันเล่าตามประสามนุษย์ปุถุชน เช่น การควบคุมความอยาก การเรียนรู้ที่จะอดทนและให้อภัย การเอาชนะความเกียจคร้าน และการหลีกเลี่ยงบาปของการละเลย นี่แค่บางเรื่อง …

ข้าพเจ้าสำนึกอย่างเป็นนิรันดร์ในพระกรุณาธิคุณที่เปี่ยมด้วยความรัก ความอดทน และความอดกลั้นของพระบิดาพระมารดาบนสวรรค์และพระผู้ช่วยให้รอด ผู้ทรงช่วยให้เรามีโอกาสครั้งที่สองนับไม่ถ้วนในการเดินทางกลับไปสู่ที่ประทับของพระองค์

(ลินน์ จี. รอบบินส์, “เจ็ดสิบครั้งคูณเจ็ด,” เลียโฮนา, พ.ค. 2018, 22–23)

ฉันจะเรียนรู้ที่จะมีความเมตตาเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้นได้อย่างไร?

ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟแห่งฝ่ายประธานสูงสุดสอนว่า

ภาพ
Official portrait of Elder Dieter F. Uchtdorf of the Quorum of the Twelve Apostles, 2006. Called as Second Counselor in the First Presidency, 3 February 2008. Made official portrait in 2008 replacing portrait taken in 2004.

ในโลกที่เต็มไปด้วยการประณามและความไม่เป็นมิตร เป็นการง่ายที่จะเก็บรวบรวมก้อนหินมาขว้างใส่กัน แต่ก่อนที่เราจะทำเช่นนั้น ขอให้เราระลึกถึงพระวจนะของพระองค์ผู้ทรงเป็นพระอาจารย์และแบบอย่างของเรา “ใครในพวกท่านไม่มีบาป ให้เอาหินขว้างนางก่อนเป็นคนแรก” [ยอห์น 8:7]

พี่น้องทั้งหลาย ขอให้เราวางก้อนหินของเรา

ขอให้เรามีเมตตา

ขอเราจงให้อภัยกัน

ขอให้เราพูดกันอย่างสงบ

ขอให้ความรักของพระผู้เป็นเจ้าเปี่ยมอยู่ในใจเรา

ขอ “ให้เราทำดีต่อคนทั้งปวง” [กาลาเทีย 6:10]

(ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “ผู้มีใจกรุณาย่อมได้รับพระกรุณา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2012, 76)

เอ็ลเดอร์เดล จี. เรนลันด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนดังนี้

ภาพ
Official portrait of Elder Dieter F. Uchtdorf of the Quorum of the Twelve Apostles, 2006. Called as Second Counselor in the First Presidency, 3 February 2008. Made official portrait in 2008 replacing portrait taken in 2004.

การเป็นเหมือนพระคริสต์ ต้องรักความเมตตา คนที่รักความเมตตาไม่ชอบตัดสินผู้อื่น แสดงความเห็นใจผู้อื่นโดยเฉพาะกับคนที่ด้อยกว่า พวกเขามีน้ำใจ มีเมตตา และน่ายกย่อง บุคคลเหล่านี้ปฏิบัติต่อทุกคนด้วยความรักความเข้าใจ ไม่ว่าจะมีลักษณะอย่างไร เช่น เชื้อชาติ เพศ การเข้าร่วมศาสนา รสนิยมทางเพศ สถานะทางเศรษฐกิจสังคม และความแตกต่างทางเผ่าพันธุ์ วงศ์ตระกูล หรือชนชาติ สิ่งเหล่านี้ถูกแทนที่ด้วยความรักเหมือนพระคริสต์

(เดล จี. เรนลันด์, “ทำความยุติธรรม รักความเมตตา และดำ‌เนินชีวิตไปกับพระ‍เจ้าของเจ้าด้วยความถ่อม‍ใจ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 111)

พระผู้ช่วยให้รอดทรงแสดงพระเมตตาโดยไม่ยอมรับพฤติกรรมอันไม่ชอบธรรมอย่างไร?

ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์ที่ปรึกษาที่หนึ่งในฝ่ายประธานสูงสุดสอนว่า

ภาพ
Official portrait of Elder Dieter F. Uchtdorf of the Quorum of the Twelve Apostles, 2006. Called as Second Counselor in the First Presidency, 3 February 2008. Made official portrait in 2008 replacing portrait taken in 2004.

เห็นได้ชัดว่าพระเจ้าไม่ทรงแก้ต่างให้บาปของหญิงคนนั้น พระองค์เพียงรับสั่งกับเธอว่าพระองค์ไม่ทรงประณามเธอ—กล่าวคือ เวลานั้นพระองค์จะไม่ทรงตัดสินขั้นสุดท้าย … พระองค์ทรงให้เวลาหญิงที่ถูกจับฐานล่วงประเวณีกลับใจ เวลาที่คนเหล่านั้นผู้ต้องการเอาหินขว้างเธอไม่ยอมให้

(Dallin H. Oaks, “‘Judge Not’ and Judging,” Ensign, Aug. 1999, 8)

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

ยอห์น 8:12 “เราเป็นความสว่างของโลก”

ท่านอาจจะอ่าน ยอห์น 8:12 และสนทนาเรื่องพระนามและบทบาทของพระผู้ช่วยให้รอดในฐานะ “ความสว่างของโลก”

อาจใช้คำพูดอ้างอิงต่อไปนี้ ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์ระบุสามวิธีที่พระเยซูคริสต์ทรงเป็น “ความสว่างของโลก”:

ภาพ
Official portrait of Elder Dieter F. Uchtdorf of the Quorum of the Twelve Apostles, 2006. Called as Second Counselor in the First Presidency, 3 February 2008. Made official portrait in 2008 replacing portrait taken in 2004.

พระเยซูคริสต์ทรงเป็น ความสว่าง ของโลกเพราะพระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแสงที่ “ฉายส่องออกมาจากที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อเติมเต็มความกว้างใหญ่ไพศาลของที่ว่าง” [ หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:12 ] …

นอกจากนี้พระเยซูคริสต์ยังทรงเป็นความสว่างของโลกเพราะแบบอย่างและคำสอนของพระองค์ส่องทางที่เราควรเดินกลับไปยังที่ประทับของพระบิดาในสวรรค์ของเรา …

พระเยซูคริสต์ทรงเป็นความสว่างของโลกอีกเช่นกันเพราะเดชานุภาพของพระองค์ทรงโน้มน้าวใจให้เราทำความดี

(Dallin H. Oaks, “The Light and Life of the World,” Ensign, Nov. 1987, 63–64)

วีดิทัศน์พระคัมภีร์ไบเบิล “พระเยซูทรงประกาศว่า เราเป็นความสว่างของโลก สัจจะจะทำให้ท่านเป็นไท” (4:26) อาจใช้สอน ข้อ 12–59

ยอห์น 8:13, 17–18, 25–29 ความสัมพันธ์ของพระเยซูคริสต์กับพระบิดาของพระองค์

พระเยซูคริสต์ทรงสอนเรื่องความสัมพันธ์กับพระบิดาอย่างชัดเจน รวมถึงว่าพระองค์กับพระบิดาทรงเป็นพระสัตภาวะที่แยกจากกัน เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน ยอห์น 8:13, 17–18, 25–29 โดยมองหาคำและวลีที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของพระผู้ช่วยให้รอดกับพระบิดา

ยอห์น 8:30–36 “สัจจะจะทำให้ท่านเป็นไท”

พระเยซูทรงหันไปหาคนที่ “เชื่อพระองค์” และทรงสอนเกี่ยวกับความจริงที่ทำให้เราเป็นอิสระ นักเรียนอาจจะอ่าน ข้อ 31–33 และมองหาสิ่งที่ทำให้พวกเขารู้ความจริง นักเรียนอาจระบุได้ว่าพระสมัญญานามหนึ่งของพระผู้ช่วยให้รอดเป็น “ความจริง” (ดู ยอห์น 14:6) และใส่พระนามของพระผู้ช่วยให้รอดสำหรับ “สัจจะ” ใน ยอห์น 8:31–36

นอกจากนี้นักเรียนอาจสนทนาวิธีที่บาปนำไปสู่ความเป็นทาสและวิธีที่พระเยซูคริสต์ทรงนำไปสู่อิสรภาพ ซึ่งอาจสนทนา 2 นีไฟ 2:27 ด้วย