เซมินารี
มัทธิว 7:1–5


มัทธิว 7:1–5

พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนสานุศิษย์ของพระองค์ให้ตัดสินอย่างชอบธรรม

ภาพ
พระเยซูคริสต์ประทับบนก้อนหินริมฝั่งทะเลกาลิลี คนมากมายมาห้อมล้อมพระองค์ ผู้คนฟังพระคริสต์ทรงสั่งสอน (มาระโก 4:1) (ลูกา 5:1)

ระหว่างเทศนาบนภูเขา พระเยซูคริสต์ทรงสอนสานุศิษย์ของพระองค์ให้ตัดสินอย่างชอบธรรม ในบทเรียนนี้ท่านจะมีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับการตัดสินอย่างชอบธรรม

การเตรียมของนักเรียน: ให้นักเรียนไตร่ตรองสิ่งที่พวกเขารู้เกี่ยวกับการตัดสินที่พวกเขาควรทำและไม่ควรทำ กระตุ้นให้พวกเขานึกถึงคำถามที่มีเกี่ยวกับการตัดสิน

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

เราควรตัดสินอย่างชอบธรรม

ให้ชั้นเรียนอ่านสถานการณ์สมมติต่อไปนี้ และให้นักเรียนคิดว่าบางคนอาจตัดสินแบบใดในแต่ละสถานการณ์ ท่านอาจเปลี่ยนสถานการณ์ให้เกี่ยวข้องกับนักเรียนมากขึ้น

  • มีคนเชิญท่านไปงานปาร์ตี้ที่วัยรุ่นส่วนใหญ่จะใช้สารที่ขัดต่อพระคำแห่งปัญญา

  • คนที่ดำเนินชีวิตตามมาตรฐานต่างจากท่านอยากเป็นเพื่อนสนิทของท่าน

  • สมาชิกคนหนึ่งในวอร์ดทำกิจกรรมในวันสะบาโตต่างจากครอบครัวท่าน

  • ท่านพบว่าเพื่อนมีนิสัยชอบดูสื่อลามก

ท่านจะเรียนรู้เกี่ยวกับการตัดสินอย่างชอบธรรมตลอดบทเรียนนี้ ท่านจะมีโอกาสกลับมาทบทวนความคิดเกี่ยวกับสถานการณ์เหล่านี้และประยุกต์ใช้สิ่งที่ท่านเรียนรู้

  • ท่านมีคำถามอะไรบ้างเกี่ยวกับการตัดสิน?

ขณะศึกษาบทเรียนวันนี้ ให้คิดว่าท่านรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการตัดสิน และฟังการกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณบริสุทธิ์ บันทึกความประทับใจที่เพิ่มความเข้าใจของท่านเกี่ยวกับคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอดเรื่องการตัดสิน อ่าน มัทธิว 7:1 พระคัมภีร์ข้อนี้มักถูกเข้าใจผิดว่าหมายถึงพระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนว่าเราไม่ควรตัดสินเลย อ่านงานแปลของโจเซฟ สมิธสำหรับข้อนี้ (ใน มัทธิว 7:1, เชิงอรรถ )

  • งานแปลของโจเซฟ สมิธเพิ่มความเข้าใจของท่านอย่างไรในสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนเกี่ยวกับการตัดสิน?

  • ท่านคิดว่าการตัดสินอย่างชอบธรรมหมายความว่าอย่างไร?

อ่านข้อความต่อไปนี้:

ท่านอาจติดข้อความต่อไปนี้ให้นักเรียนดูตามไปด้วยขณะบางคนอ่านออกเสียง

การตัดสินคือการใช้สิทธิ์เสรีครั้งสำคัญและต้องระวังให้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราตัดสินผู้อื่น การตัดสินของเราทุกครั้งต้องมีมาตรฐานที่ชอบธรรมเป็นแนวทาง เฉพาะพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงรู้ใจของแต่ละคนเท่านั้นสามารถตัดสินแต่ละคนขั้นสุดท้ายได้

บางครั้งผู้คนรู้สึกว่าไม่ถูกต้องที่จะตัดสินผู้อื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงแม้จะจริงที่ว่าเราไม่ควรกล่าวโทษหรือตัดสินผู้อื่นอย่างไม่เป็นธรรม แต่เราจะต้องตัดสินแนวคิด สถานการณ์ และคนตลอดชีวิตเรา …

… เท่าที่เราจะทำได้ เราควรตัดสินสถานการณ์ของคนไม่ใช่ตัดสินตัวเขา เมื่อทำได้ เราไม่ควรตัดสินจนกว่าจะรู้ข้อเท็จจริงมากพอ และเราควรรู้สึกไวต่อพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์เสมอผู้ทรงชี้นำการตัดสินใจของเราได้

(Gospel Topics, “Judging Others,” topics.ChurchofJesusChrist.org)

  • คำหรือวลีใดในข้อความนี้ช่วยให้ท่านเข้าใจการตัดสินอย่างชอบธรรม?

เราไม่ควรใส่ใจความผิดของผู้อื่น

ภาพ
มือถือเมล็ดมัสตาร์ด
ภาพ
ท่อนไม้หรือเสาไม้โอ๊กเก่าๆ ถ่ายบนพื้นหลังสีขาว (vert)

อ่าน มัทธิว 7:2–5 โดยมองหาคำสอนอื่นเกี่ยวกับการตัดสิน ใน ข้อ 3 พระผู้ช่วยให้รอดทรงเรียกเศษไม้ว่า ผง และไม้ขนาดใหญ่ว่า ท่อนไม้

ท่านอาจให้นักเรียนดูภาพผงและท่อนไม้

หรือนำเศษไม้ (หรือของชิ้นเล็ก) และไม้ท่อนใหญ่ (หรือของชิ้นใหญ่) มาให้ดู เชิญนักเรียนสองคนสาธิตอุปมานี้ โดยให้แต่ละคนถือของเหล่านี้คนละชิ้นอย่างระมัดระวังหน้าดวงตาของพวกเขา

  • เหตุใดคนที่มีท่อนไม้อยู่ในตาจึงเขี่ยผงออกจากตาคนอื่นได้ยาก?

  • ท่านคิดว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนอะไรผ่านการเปรียบเทียบเรื่องท่อนไม้กับผง?

นักเรียนอาจระบุหลักธรรมบางประการต่อไปนี้:

วิธีที่เราตัดสินผู้อื่นมีผลต่อวิธีที่เราจะถูกพระผู้ช่วยให้รอดตัดสิน

หากเราให้ความสนใจกับการมองดูบาปและความอ่อนแอของเราเองและกลับใจ เราจะตัดสินผู้อื่นอย่างไม่ชอบธรรมน้อยลง

หลังจากกลับใจจากบาปของเราแล้ว เราจะช่วยเหลือผู้อื่นได้ดีขึ้น

เมื่อนักเรียนกล่าวถึงหลักธรรมเหล่านี้หรือหลักธรรมอื่นๆ ให้เขียนบนกระดานโดยใช้คำพูดของนักเรียนเอง

  • เหตุใดการจดจำคำสอนเหล่านี้จึงสำคัญต่อเรา?

  • ท่านเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์จากคำสอนเหล่านี้?

เพื่อจะเห็นอีกตัวอย่างหนึ่งของความจริงที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอน ให้ดู “Looking through Windows” (2:19) ที่ ChurchofJesusChrist.org

  • เหตุใดบางครั้งเราดำเนินชีวิตตามคำสอนของพระคริสต์เรื่องการตัดสินได้ยาก?

  • ท่านจะเชื้อเชิญความช่วยเหลือจากพระบิดาบนสวรรค์ผ่านพระเยซูคริสต์ได้อย่างไรเพื่อช่วยท่านประยุกต์ใช้หลักธรรมเหล่านี้ในชีวิต?

ฝึกใช้หลักธรรมเรื่องการตัดสินอย่างชอบธรรม

เลือกสถานการณ์หนึ่งจากต้นบทเรียนหรือคิดสถานการณ์คล้ายกัน

แบ่งนักเรียนเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็กเพื่อทำกิจกรรมนี้ เดินดูแต่ละกลุ่มโดยใช้เวลาพอสมควรและเข้าร่วมการสนทนาของพวกเขาตามความเหมาะสม

  • ท่านเลือกสถานการณ์ใด?

  • ท่านควรตัดสินสถานการณ์นี้โดยชอบธรรมอย่างไร?

  • ท่านไม่ควรตัดสินอย่างไร?

  • ท่านจะตัดสินอย่างยุติธรรมและมีเมตตาตามคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอดได้อย่างไร?

  • การจดจำบาปและความอ่อนแอของท่านเองอาจช่วยในสถานการณ์เช่นนี้ได้อย่างไร?

เชิญอาสาสมัครแบ่งปันความคิดเห็นของพวกเขา ตั้งใจฟังคำตอบของนักเรียนเพื่อประเมินว่าพวกเขาเรียนรู้ได้ดีเพียงใด

บางครั้งผู้คนคิดเอาเองว่าคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอดใน มัทธิว 7:1–5 หมายถึงเราไม่ควรตัดสินเลย ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งฝ่ายประธานสูงสุดชี้แจงว่ามีการตัดสินบางอย่างที่เราพึงทำ:

ภาพ
ภาพครึ่งตัวอย่างเป็นทางการของประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์ ถ่ายเมื่อเดือนมีนาคม 2018

มีการตัดสินสองแบบ ได้แก่ การตัดสินขั้นสุดท้าย ซึ่งเราห้ามทำ และการตัดสินขั้นกลาง ซึ่งแนะนำให้เราทำ แต่เป็นไปตามหลักความชอบธรรม …

… ขอให้เราพิจารณาหลักธรรมหรือส่วนประกอบบางอย่างที่นำไปสู่ “การตัดสินอย่างชอบธรรม”

ประการแรก การตัดสินอย่างชอบธรรมจะต้องเป็นการตัดสินขั้นกลาง จะไม่ประกาศว่าบุคคลนั้นได้รับความสูงส่งแน่นอนหรือตัดสินว่าบุคคลนั้นจะอยู่ในไฟนรกถาวรแน่นอน …

สอง การตัดสินอย่างชอบธรรมจะได้รับการนำทางโดยพระวิญญาณของพระเจ้า ไม่ใช่โดยความโกรธ ความแค้น ความริษยา หรือประโยชน์ส่วนตน …

สาม เพื่อตัดสินอย่างชอบธรรม การตัดสินขั้นกลางจะต้องอยู่ภายในความพิทักษ์ของเรา เราไม่ควรคิดจะตัดสินและทำการตัดสินนอกเหนือความรับผิดชอบส่วนตัวของเรา …

สี่ หากเป็นไปได้ เราจะไม่ตัดสินจนกว่าจะรู้ข้อเท็จจริงมากพอ …

ห้า หลักธรรมของการตัดสินขั้นกลางอย่างชอบธรรม คือเมื่อใดก็ตามที่ทำได้เราจะไม่ตัดสินคน แต่จะตัดสินสถานการณ์เท่านั้น

(ดัลลิน เอช. โอ๊คส์, “‘Judge Not’ and Judging,” Ensign, ส.ค. 1999, 7, 9–11)

เชื้อเชิญให้นักเรียนไตร่ตรองคำตอบของพวกเขาสำหรับคำถามข้อแรก คำถามข้ออื่นที่ตามมาอาจให้ชั้นเรียนสนทนา หรือนักเรียนอาจตอบคำถามเหล่านี้ในสมุดบันทึกการศึกษา

  • ฉันควรตัดสินแบบไหน และไม่ควรตัดสินแบบไหน?

  • ท่านเรียนรู้อะไรในบทเรียนนี้เกี่ยวกับการตัดสินอย่างชอบธรรม? สิ่งที่ท่านเรียนรู้ช่วยให้ท่านมองผู้อื่นและตัวท่านเองเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดทรงมองมากขึ้นได้อย่างไร?

  • ท่านตอบคำถามเรื่องการตัดสินว่าอย่างไร? หากท่านมีคำถามที่ยังไม่ได้ตอบ ให้ตั้งใจศึกษาต่อไปและแสวงหาคำตอบจากพระวิญญาณบริสุทธิ์

  • อะไรจะช่วยให้ท่านตัดสินผู้อื่นน้อยลงได้ในชีวิตท่าน?

ท่านอาจแสดงประจักษ์พยานเกี่ยวกับการตัดสินอย่างชอบธรรม

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

พระผู้เป็นเจ้าทรงมองลูกๆ ของพระองค์อย่างไร?

ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันสอนว่าเราทุกคนเท่าเทียมกันในสายพระเนตรของพระบิดาบนสวรรค์ของเรา:

ภาพ
ภาพครึ่งตัวอย่างเป็นทางการของประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน ถ่ายเมื่อเดือนมกราคม 2018

เราแต่ละคนมีศักยภาพอันสูงส่งเพราะแต่ละคนเป็นลูกของพระผู้เป็นเจ้า แต่ละคนเท่าเทียมกันในสายพระเนตรของพระองค์ นัยของความจริงข้อนี้ลึกซึ้งยิ่ง พี่น้องทั้งหลาย โปรดตั้งใจฟังสิ่งที่ข้าพเจ้ากำลังจะบอก พระผู้เป็นเจ้าไม่ได้ทรงรักเชื้อชาติหนึ่งมากกว่าอีกเชื้อชาติหนึ่ง หลักคำสอนของพระองค์ในเรื่องนี้ชัดเจน พระองค์ทรงเชื้อเชิญให้ ทุกคน มาหาพระองค์ “ดำและขาว ทาสและไท ชายและหญิง” [ 2 นีไฟ 26:33 ]

(รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “ให้พระผู้เป็นเจ้าทรงมีชัย,”เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 94)

การพัฒนาคุณสมบัติเหมือนพระคริสต์มีผลต่อวิธีตัดสินของท่านอย่างไร?

เอ็ลเดอร์เดล จี. เรนลันด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนเรื่องการเป็นเหมือนพระคริสต์ ซึ่งจะช่วยให้เราตัดสินได้อย่างชอบธรรม

ภาพ
ภาพครึ่งตัวอย่างเป็นทางการของเอ็ลเดอร์เดล จี. เรนลันด์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง ถ่ายเมื่อเดือนมกราคม 2016

การเป็นเหมือนพระคริสต์ ต้องรักความเมตตา คนที่รักความเมตตาไม่ชอบตัดสินผู้อื่น แสดงความเห็นใจผู้อื่นโดยเฉพาะกับคนที่ด้อยกว่า พวกเขามีน้ำใจ มีเมตตา และน่ายกย่อง บุคคลเหล่านี้ปฏิบัติต่อทุกคนด้วยความรักความเข้าใจ ไม่ว่าจะมีลักษณะอย่างไร เช่น เชื้อชาติ เพศ การเข้าร่วมศาสนา รสนิยมทางเพศ สถานะทางเศรษฐกิจสังคม และความแตกต่างทางเผ่าพันธุ์ วงศ์ตระกูล หรือชนชาติ สิ่งเหล่านี้ถูกแทนที่ด้วยความรักเหมือนพระคริสต์

กิจกรรมเสริมการเรียนรู้

วีดิทัศน์ของศาสนจักรเกี่ยวกับการตัดสิน

วีดิทัศน์ต่อไปนี้อาจเพิ่มความหลากหลายในการสอนบทเรียนนี้เกี่ยวกับการตัดสินอย่างชอบธรรม ดูวีดิทัศน์ทั้งสองเรื่องที่ ChurchofJesusChrist.org

“Judging Others? Stop It!” (3:18)—ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ กล่าวเมื่อครั้งอยู่ในฝ่ายประธานสูงสุดว่า, “เมื่อมีความเกลียดชัง การนินทาว่าร้าย ความหมางเมิน การเย้ยหยัน ความขุ่นแค้น หรือความประสงค์ร้าย โปรดทำดังนี้: หยุดเถิด!”

“Am I Good Enough?” (3:28)—เอ็ลเดอร์เจ. เดฟน์ คอร์นิชแห่งสาวกเจ็ดสิบกล่าวว่า “เราตัดสินค่าของตัวเราผิดๆ จาก สิ่ง ที่เรามีหรือไม่มี และจาก ความคิดเห็นของผู้อื่น