เซมินารี
วิวรณ์ 5


วิวรณ์ 5

“พระเมษโปดก (ผู้มีค่าควร)”

ภาพ
Painting of Jesus Christ in America, greeting Nephites.

ท่านคิดว่าการนมัสการพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์หมายความว่าอย่างไร? เพราะเหตุใดท่านจึงคิดว่าเรานมัสการพระองค์? ยอห์นเห็นบัลลังก์ของพระผู้เป็นเจ้าและสัตภาวะที่มีรัศมีภาพมากมายกำลังสรรเสริญและนมัสการพระองค์ บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านเพิ่มความปรารถนาที่จะสักการะพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ด้วยความรักและจริงใจมากขึ้น

เสริมสร้างความสัมพันธ์ของเรากับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ นักเรียนที่รักพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์และทราบถึงความรักที่พระองค์ทรงมีต่อตนเอง จะสัมผัสได้ถึงความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะใกล้ชิดพระองค์ ย้ำเตือนนักเรียนว่าเซมินารีสามารถช่วยให้พวกเขารู้สึกถึงความรักที่พระผู้เป็นเจ้าทรงมีต่อตนเอง

การเตรียมของนักเรียน: เชิญนักเรียนมาพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัวหรือผู้นำศาสนจักรเกี่ยวกับความหมายของการนมัสการพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

บัลลังก์ของพระผู้เป็นเจ้า

ท่านอาจเริ่มต้นชั้นเรียนด้วยการร้องเพลงสวดสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า เช่น “สิริแด่พระเป็นเจ้า” หรือ “สรรพสิ่งของพระเป็นเจ้าราชา” (เพลงสวด, บทที่ 18, 23) เชิญนักเรียนให้สังเกตทัศนคติต่อการนมัสการในเพลงสวด

อีกทางเลือกหนึ่งคือให้นักเรียนนึกถึงบุคคลที่นักเรียนรักและวิธีที่นักเรียนแสดงให้เห็นว่านักเรียนรักบุคคลนั้น เชิญนักเรียนพิจารณาว่าตนแสดงความรักต่อพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร

เชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนคำตอบบนกระดานสำหรับคำถามต่อไปนี้

  • ท่านทราบอะไรเกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ที่ปลุกเร้าความปรารถนาอย่างแท้จริงในใจท่านที่จะนมัสการพระองค์?

&#160 การนมัสการพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์สามารถส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อชีวิตเราและช่วยให้เรารู้สึกใกล้ชิดกับพระองค์

  • ท่านมีโอกาสใดบ้างที่ท่านจะนมัสการพระบิดาและพระบุตร?

ใช้เวลาสักครู่เพื่อคิดว่าท่านนมัสการพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์อย่างจริงใจบ่อยครั้งเพียงใด ไตร่ตรองว่าชีวิตของท่านจะเปลี่ยนไปอย่างไรหากท่านนมัสการพระองค์บ่อยครั้งกว่านี้และมีความหมายกว่านี้ แสวงหาอิทธิพลจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ขณะที่ท่านศึกษา วิวรณ์ 5 เพื่อค้นหาวิธีการที่ท่านจะสามารถนมัสการพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์อย่างจริงใจมากยิ่งขึ้น

พระเมษโปดก (ผู้มีค่าควร)

ภาพ
A modern replica of an ancient papyrus scroll, folded and sealed with multiple clay seals. Sealing an ancient document in this way identified its owner and his authority, made the document legally binding, and protected it from unauthorized disclosure. Jesus Christ’s role as the only person worthy to open and read the sealed book in Revelation 5 highlights His authority as the executor of God’s plan of salvation.

ในนิมิตของยอห์น เขาเห็นบัลลังก์ของพระผู้เป็นเจ้าในอาณาจักรซีเลสเชียล รอบบัลลังก์มีสัตภาวะและสัตว์ที่เปี่ยมรัศมีภาพมากมายที่สรรเสริญและนมัสการพระผู้เป็นเจ้า (ดู วิวรณ์ 4:1–11) เขาเห็นพระบิดาบนสวรรค์ประทับบนบัลลังก์ของพระองค์ ทรงถือหนังสือที่ผนึกไว้ด้วยตราผนึกทั้งเจ็ดดวง (ดู วิวรณ์ 5:1) หนังสือเล่มดังกล่าวประกอบไปด้วยพระประสงค์ ความลี้ลับ และงานของพระผู้เป็นเจ้าตลอดระยะเวลา 7,000 ปีของการดำรงอยู่ทางโลก (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 77:6–7)

อ่าน วิวรณ์ 5:2–4 และมองหาปฏิกิริยาของยอห์น

  • ท่านสังเกตเห็นอะไรบ้าง?

  • เนื่องจากหนังสือที่มีตราผนึกเป็นตัวแทนของประวัติศาสตร์ทางโลก ยอห์นอาจกังวลว่าหากไม่มีผู้ใดมีค่าควรที่จะเปิด จุดประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าในการสร้างโลกก็อาจไม่บรรลุผล จะเกิดอะไรขึ้นกับบุตรธิดาของพระบิดาบนสวรรค์หากไม่สามารถปฏิบัติตามแผนของพระองค์เพื่อความรอดของบุตรธิดา?

อ่าน วิวรณ์ 5:5–7 เพื่อค้นหาว่าเหตุใดยอห์นจึงไม่จำเป็นต้องร้องไห้ สังเกตว่าในงานแปลของโจเซฟ สมิธ ข้อ 6 เลขเจ็ดถูกเปลี่ยนเป็นเลขสิบสอง (ใน คู่มือพระคัมภีร์)

นักเรียนอาจได้รับเชิญให้แบ่งปันความรู้สึกของตนต่อผู้พระผู้ช่วยให้รอดและเหตุผลที่นักเรียนรู้สึกสำนึกคุณต่อพระองค์ ขณะที่นักเรียนศึกษา ให้โอกาสนักเรียนแบ่งปันสิ่งที่ตนค้นพบและถามคำถาม จงช่วยนักเรียนหาคำตอบในพระคัมภีร์ ท่านอาจสนทนาถึงสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดจากพระนามของพระองค์และวิธีที่มีการอธิบายถึงพระองค์

ข้อคิดเพิ่มเติมสำหรับ วิวรณ์ 5:5–6 จะอยู่ในส่วน “บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง”

อ่าน วิวรณ์ 5:8–14 แล้วมองหาว่าสัตภาวะที่มีรัศมีภาพทั้งหลายมีการตอบสนองอย่างไรเมื่อพระเยซูคริสต์ทรงสามารถรับหนังสือเล่มนั้นจากพระหัตถ์ของพระบิดาบนสวรรค์ และท่านยังสามารถอ่านคำอธิบายของโจเซฟ สมิธเกี่ยวกับสัตภาวะรอบบัลลังก์ของพระผู้เป็นเจ้าใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 76:20–21

  • ท่านคิดว่าเหตุใดสัตภาวะที่มีรัศมีภาพจึงตอบสนองเช่นนี้?

  • ลองจินตนาการว่าท่านอยู่ที่นั่น ท่านคิดว่าท่านจะรู้สึกอย่างไร? ท่านจะทำอย่างไร?

  • เราจะเรียนรู้อะไรได้บ้างจากวิธีที่สัตภาวะที่มีรัศมีภาพนมัสการพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์?

สิ่งหนึ่งที่เราเรียนรู้คือ เมื่อเราตระหนักและรู้สึกสำนึกคุณต่อพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ เราปรารถนาที่จะนมัสการและสรรเสริญพระองค์

นมัสการ

ท่านอาจแสดงคำกล่าวต่อไปนี้

อธิการดีน เอ็ม. เดวีส (1951–2021) จากฝ่ายอธิการควบคุมสอนเกี่ยวกับการนมัสการ ท่านสามารถอ่านข้อความด้านล่างหรือรับชม “พรของการนมัสการ” (ตั้งแต่รหัสเวลา 3:34 ถึง 4:45 และ 8:54 ถึง 11:14) รับชมได้ที่ ChurchofJesusChrist.org

ภาพ
Official Portrait of Bishop Dean M. Davies. Photographed in March 2017.

เมื่อเรานมัสการพระผู้เป็นเจ้า เราเข้าเฝ้าพระองค์ด้วยความรัก ความถ่อมตน และความเคารพเทิดทูน เรายอมรับพระองค์เป็นกษัตริย์ผู้ทรงอำนาจ พระผู้สร้างจักรวาล และพระบิดาผู้ทรงเปี่ยมด้วยความรักอย่างหาที่สุดมิได้

เราเคารพและคารวะพระองค์

เรายอมมอบตัวเราต่อพระองค์

เรารื่นเริงใจในการสวดอ้อนวอนอย่างสุดกำลัง ยึดมั่นพระวจนะของพระองค์ ชื่นชมยินดีในพระคุณของพระองค์ และยอมติดตามพระองค์ด้วยความจงรักภักดี …

เมื่อเรานมัสการ ใจเราสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเจริญด้วยพระสิริของเราทั้งตอนเช้า กลางวัน และกลางคืน

เราสักการะและถวายเกียรติพระองค์ตลอดเวลา—ในอาคารประชุม บ้าน พระวิหาร และในการงานทั้งหมดของเรา

เมื่อเรานมัสการ เราเปิดใจรับพลังเยียวยาของการชดใช้ของพระเยซูคริสต์

ชีวิตเราเป็นเครื่องแสดงให้เห็นการนมัสการของเรา

(ดีน เอ็ม. เดวีส, “พรของการนมัสการ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2016, 94–95)

  • ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการนมัสการจากคำกล่าวนี้?

เพื่อประเมินความเข้าใจในการนมัสการของนักเรียน ให้เชิญนักเรียนมาอธิบายถึงแนวคิดในการนมัสการพระผู้เป็นเจ้าให้กับเพื่อนร่วมชั้น ตั้งใจฟังคำตอบของนักเรียนและเสนอที่จะทำความเข้าใจเพิ่มเติมตามความจำเป็น

  • ท่านคิดว่าการนมัสการอย่างจริงใจต่อพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์จะเป็นพรแก่ชีวิตท่านอย่างไร?

  • ท่านเคยรู้สึกใกล้ชิดกับพระบิดาบนสวรรค์หรือพระเยซูคริสต์ผ่านการนมัสการอย่างจริงใจเมื่อใด?

  • การสักการะของท่านจะสะท้อนถึงความรู้สึกที่ท่านมีต่อพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ได้ดีขึ้นอย่างไร?

  • เลือกการกระทำต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งอย่าง แล้วไตร่ตรองว่าการนมัสการอย่างจริงใจจะช่วยให้การกระทำดังกล่าวมีความหมายมากขึ้นอย่างไร: การสวดอ้อนวอน การศึกษาพระคัมภีร์ การรับศีลระลึก การรักษาวันสะบาโต การอดอาหาร การเข้าพระวิหาร

  • สิ่งใดที่ท่านได้รับการกระตุ้นเตือนว่าควรปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงวิธีนมัสการของท่าน?

อาจเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่จะแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวเกี่ยวกับการนมัสการพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

การนมัสการทุกวัน

&#160

ตัวอย่างเกี่ยวกับการนมัสการจากพระคัมภีร์มอรมอน

นักเรียนสามารถศึกษาตัวอย่างต่อไปนี้จากพระคัมภีร์มอรมอนเป็นชั้นเรียนหรือในกลุ่มเล็กๆ และรายงานสิ่งที่นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับการนมัสการพระผู้เป็นเจ้า

1 นีไฟ 1:5–8

เจคอบ 4:4–6

โมไซยาห์ 18:17–30

แอลมา 45:1

3 นีไฟ 11:10–19

จินตนาการว่าอยู่ในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า

เพื่อช่วยให้นักเรียนจินตนาการว่าอยู่ในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า นักเรียนสามารถศึกษา แอลมา 36:22 แล้วดูว่าแอลมารู้สึกอย่างไรเมื่อเขานึกภาพพระผู้เป็นเจ้า นักเรียนสามารถไตร่ตรองว่านักเรียนอาจรู้สึกอย่างไรเมื่ออยู่ในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าและเปรียบเทียบความรู้สึกของตนกับแอลมา นอกจากนี้นักเรียนยังสามารถศึกษาประสบการณ์ของแอลมาได้ใน ข้อ 17–21 แอลมาค้นพบอะไรเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์? การค้นพบของเขาคล้ายคลึงกับสิ่งที่ยอห์นเรียนรู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ใน วิวรณ์ 5:2–9 อย่างไร?

การสร้างสรรค์ของนักเรียน

เพลงคือการนมัสการรูปแบบหนึ่ง (ดู วิวรณ์ 5:9) นักเรียนบางคนอาจสนุกกับการแต่งเพลงสวดที่สรรเสริญและนมัสการพระเจ้า อีกทางเลือกหนึ่งคือการเชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนบทกวีหรือวาดภาพ