เซมินารี
โรม 2–3


โรม 2–3

การรับรองความชอบธรรมโดยผ่านศรัทธาในพระเยซูคริสต์

ภาพ
Screenshot from the 2019 ComeUntoChrist.org Video.

เปาโลรักวิสุทธิชนชาวโรมันและต้องการช่วยให้พวกเขาเป็นหนึ่งเดียวกันผ่านศรัทธาของพวกเขาในพระเยซูคริสต์ ทั้งผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใสชาวยิวและคนต่างชาติต่างต้องการความช่วยเหลือในการเข้าใจการพึ่งพาของตนในพระเยซูคริสต์และวิธีรับพรจากการชดใช้ของพระองค์ บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจดียิ่งขึ้นถึงความต้องการของเราทุกคนเพื่อได้รับการอภัยบาปของเรา หรือได้รับการรับรองความชอบธรรมผ่านพระเยซูคริสต์

มุ่งเน้นที่แต่ละบุคคล ความท้าทายอย่างหนึ่งของการสอนคือการตอบรับความต้องการของนักเรียนที่มีภูมิหลัง ความสนใจ ความหวัง และปัญหาที่แตกต่างกัน พระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงช่วยท่านปรับบทเรียนให้เข้ากับความต้องการของนักเรียนทั้งหมดของท่านได้ ค้นหาวิธีนำนักเรียนไปหาพระผู้ช่วยให้รอด ผู้ทรงสามารถช่วยนักเรียนแต่ละคนในสภาวการณ์เฉพาะตัวของพวกเขา

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่านคำจำกัดความที่พบในบทเรียนเกี่ยวกับ โรม 1–6 ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาใหม่ 2023 ขอให้พวกเขาเตรียมพร้อมที่จะแบ่งปันความหมายของคำต่างๆ เช่น การรับรองความชอบธรรม และ พระคุณ ด้วยคำพูดของตนเอง

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

ทุกคนต้องการพระเยซูคริสต์

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนวาดฉากต่อไปนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาของพวกเขา (หรือบนกระดาน) ขณะมีการอ่านออกเสียง

จินตนาการว่าท่านอยู่บนเส้นทางสู่จุดหมายที่ต้องการอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ขณะท่านเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางท่านพบอุปสรรคกีดขวางหรือกำแพงปิดกั้นเส้นทางนั้น อุปสรรคกีดขวางความก้าวหน้าทุกอย่างและท่านไม่สามารถผ่านไปได้ด้วยตัวท่านเอง

เขียนชื่อจุดหมายว่า ที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า

  • เพราะเหตุใดการกลับไปยังที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าจึงเป็นสิ่งที่ท่านต้องการ?

สมาชิกศาสนจักรในสมัยของเปาโลมาจากวัฒนธรรมและภูมิหลังที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่พวกเขามีเหมือนกันคือ พวกเขาทำบาปและดังนั้นจึงไม่มีค่าควรแก่การเข้าไปในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า ขณะท่านศึกษา โรม 2–3 พยายามเข้าใจว่าพระบิดาบนสวรรค์และพระบุตรผู้ทรงเป็นที่รักของพระองค์ทรงทำสิ่งใดบ้างเพื่อให้ทุกคนสามารถเอาชนะอุปสรรคกีดขวางที่ขัดขวางพวกเขาจากการกลับมาสู่ที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า

การนิยามคำศัพท์จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจบริบทและเนื้อหาของข้อพระคัมภีร์ได้ดียิ่งขึ้น ท่านอาจติดนิยามเหล่านี้ซึ่งนักเรียนสามารถดูเพื่ออ้างอิงได้ขณะอ่านข้อพระคัมภีร์ในโรม อาจเป็นประโยชน์ที่จะอ่านข้อหนึ่งด้วยกันและแทนคำในข้อนั้นด้วยนิยาม นักเรียนอาจแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้จากกิจกรรมการเตรียมของนักเรียนด้วย

เพื่อเข้าใจถึงคำสอนของเปาโลต่อชาวโรมันได้ดียิ่งขึ้น คำจำกัดความต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์:

การรับรองความชอบธรรม รับรองความชอบธรรม: “การได้รับอภัยโทษจากบาปและประกาศว่าไม่มีความผิด บุคคลจะได้รับการรับรองจากพระคุณของพระผู้ช่วยให้รอดโดยผ่านศรัทธาในพระองค์ ศรัทธานี้แสดงออกโดยการกลับใจ การเชื่อฟังกฎและศาสนพิธีของพระกิตติคุณ การชดใช้ของพระเยซูคริสต์ทำให้มนุษยชาติสามารถกลับใจและได้รับการรับรองหรือได้รับการอภัยโทษซึ่งตามจริงแล้วพวกเขาจะต้องได้รับโทษนั้น” (คู่มือพระคัมภีร์, “ แก้ต่าง (การ), รับรอง (การ) ,” scriptures.ChurchofJesusChrist.org)

ศรัทธา: “ความมั่นใจและความวางใจในพระเยซูคริสต์ซึ่งนำบุคคลให้เชื่อฟังพระองค์” (คู่มือพระคัมภีร์, “ ศรัทธา, เชื่อ (ความ) ,” scriptures.ChurchofJesusChrist.org)

กฎ: คำศัพท์นี้หมายถึงกฎของโมเสสและการกระทำภายนอกที่เกี่ยวข้องหรือ “งาน” (ดู “7–13 สิงหาคม โรม 1–6: ‘ฤทธานุภาพของพระเจ้าเพื่อได้รับความรอด,’” ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาใหม่ 2023; ดู คู่มือพระคัมภีร์ด้วย, “ กฎของโมเสส ,” scriptures.ChurchofJesusChrist.org)

พระคุณ: พร พระเมตตา ความช่วยเหลือ และความเข้มแข็งที่มีให้แก่เราเนื่องจากการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ (ดู คู่มือพระคัมภีร์, “ พระคุณ ”)

อ่าน โรม 3:10–12, 20–23 และค้นหาว่าเปาโลอธิบายอุปสรรคกีดขวางระหว่างเรากับพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร

  • วลีใดบ้างจากคำสอนของเปาโลที่ช่วยให้เราเข้าใจว่าอุปสรรคกีดขวางคืออะไร?

เขียนวลีเหล่านี้บนอุปสรรคกีดขวางในภาพวาดของท่านอ่านข้อความต่อไปนี้ของประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ ฝ่ายประธานสูงสุดในขณะนั้น และมองหาความเข้าใจเพิ่มเติมว่าอุปสรรคกีดขวางหมายถึงอะไร:

ภาพ
Official portrait of Elder Dieter F. Uchtdorf of the Quorum of the Twelve Apostles, 2006. Called as Second Counselor in the First Presidency, 3 February 2008. Made official portrait in 2008 replacing portrait taken in 2004.

เพราะเราทุกคน “ทำบาปและเสื่อมจากพระสิริของพระเจ้า” [โรม 3:23] และเพราะ “ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ไม่สะอาดจะเข้าในอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าได้” [1 นีไฟ 15:34] เราทุกคนจึงไม่มีค่าควรที่จะกลับไปยังที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า

ถึงแม้ว่าเราจะรับใช้พระผู้เป็นเจ้าด้วยจิตวิญญาณทั้งหมด ก็ยังไม่พอเพราะเรายังคงเป็น “ผู้รับใช้ที่ไม่สมค่า” [โมไซยาห์ 2:21] เราไม่อาจทำสิ่งใดเพื่อเข้าสู่สวรรค์ ข้อเรียกร้องของความยุติธรรมขวางกั้นอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่มีอำนาจจะเอาชนะได้ด้วยตนเอง

(ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “ของประทานแห่งพระคุณ,” เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 108)

นักเรียนอาจเพิ่ม ข้อเรียกร้องของความยุติธรรม ตรงอุปสรรคกีดขวางในภาพวาดของตนด้วย

นึกถึงสิ่งที่ท่านไม่สามารถเอาชนะได้หรือบาปที่ท่านพยายามเอาชนะ

อาจเป็นประโยชน์ที่จะแบ่งปันข้อความของเอ็ลเดอร์อุคท์ดอร์ฟในหมวด “บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง”

อ่าน โรม 3:24–28 และค้นหาสิ่งที่เปาโลสอนเกี่ยวกับวิธีเดียวที่เราจะได้รับการรับรองความชอบธรรมหรือได้รับการอภัยบาปของเรา

เชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันความเข้าใจหรือคำถามที่อาจมีเกี่ยวกับหัวข้อนี้หรือข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ . . ช่วยให้นักเรียนเข้าใจความจริงที่เป็นตัวหนาต่อไปนี้ซึ่งมาจากข้อพระคัมภีร์เหล่านี้

ความจริงอย่างหนึ่งที่ท่านจะเรียนรู้ได้จากข้อพระคัมภีร์เหล่านี้คือ โดยผ่านการยอมรับพระเยซูคริสต์อย่างซื่อสัตย์ มนุษยชาติทั้งปวงอาจได้รับการรับรองความชอบธรรมโดยผ่านพระคุณของพระองค์

อาจเป็นประโยชน์ที่จะฉายวีดิทัศน์ “เหตุใดเราจึงต้องการพระผู้ช่วยให้รอด” (2:15) ซึ่งรวมอยู่ในหมวด “บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง” ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระเยซูคริสต์ทรงช่วยให้เราเอาชนะบาปและความท้าทายของเรา

  • ท่านมีความคิดหรือความรู้สึกอะไรบ้างเมื่อใคร่ครวญถึงความจริงนี้?

เอ็ลเดอร์ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่าการชดใช้ของพระเยซูคริสต์สามารถเปลี่ยนมุมมองของเราเกี่ยวกับบาปและความไม่ดีพร้อมของเราอย่างไร:

ภาพ
Official portrait of Elder Dieter F. Uchtdorf of the Quorum of the Twelve Apostles, 2006. Called as Second Counselor in the First Presidency, 3 February 2008. Made official portrait in 2008 replacing portrait taken in 2004.

การชดใช้อันไม่มีขอบเขตของพระผู้ช่วยให้รอดเปลี่ยนวิธีที่เราอาจมองการล่วงละเมิดและความไม่ดีพร้อมของเราโดยสิ้นเชิง แทนที่จะจมปลักและรู้สึกว่าแก้ไขไม่ได้หรือสิ้นหวัง เราสามารถเรียนรู้จากสิ่งเหล่านั้นและมีความหวัง ของประทานแห่งการกลับใจช่วยให้เราละทิ้งบาปไว้เบื้องหลังและกลายเป็นคนใหม่

เพราะพระเยซูคริสต์ ความล้มเหลวของเราไม่จำเป็นต้องนิยามเรา สิ่งเหล่านั้นขัดเกลาเราได้

(ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “พระผู้เป็นเจ้าท่ามกลางเรา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2021, 8–9)

นักเรียนอาจตอบคำถามต่อไปนี้ได้ดีกว่าโดยส่วนตัวในสมุดบันทึกการศึกษาของพวกเขา

  • มุมมองของท่านถึงความผิดพลาดและความไม่ดีพร้อมของตัวท่านเองเป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่เอ็ลเดอร์อุคท์ดอร์ฟอธิบายไว้?

เพิ่มลงในภาพวาดของท่านโดยแสดงให้เห็นว่าพระเยซูคริสต์ทรงช่วยเราเอาชนะอุปสรรคกีดขวางอย่างไร

  • การเข้าใจว่าเราทุกคนทำบาปและไปไม่ถึงความรอดเปลี่ยนวิธีที่เรามองพระเยซูคริสต์อย่างไร?

  • ท่านมีความเข้าใจ ความรู้สึก หรือความประทับใจอะไรบ้างจากสิ่งที่ท่านเรียนรู้ในบทเรียนนี้?

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

ฉันจะเข้าใจการรับรองความชอบธรรมได้ดีขึ้นอย่างไร?

เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนเกี่ยวกับความหมายของ การรับรองความชอบธรรม ดังนี้

ภาพ
Portrait of Elder D. Todd Christofferson. Photographed in March 2020.

เนื่องจาก “คุณธรรมอันไม่มีที่สิ้นสุดของการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้อันยิ่งใหญ่ของพระองค์” พระเยซูคริสต์ทรงสามารถตอบสนองหรือทรง “ตอบเจตนารมณ์ของกฎ” แทนเรา การอภัยโทษเกิดขึ้นโดยพระคุณของพระองค์ผู้ทรงตอบสนองข้อเรียกร้องของความยุติธรรมโดยการทนทุกข์ของพระองค์เอง … พระองค์ทรงนำการกล่าวโทษเราออกไปโดยไม่นำกฎออกไป เราได้รับการอภัยโทษและอยู่ในสภาพของความชอบธรรมกับพระองค์ เรากลับไม่มีบาปเหมือนพระองค์ กฎและความยุติธรรมค้ำจุนและคุ้มครองเรา อาจพูดได้ว่าเราได้รับ การรับรอง

ดังนั้นเราจึงอาจพูดได้อย่างถูกต้องว่าคนที่ได้รับการรับรองความชอบธรรมคือคนที่ได้รับอภัยโทษ ไม่มีบาป หรือไม่มีความผิด

(ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน, “Justification and Sanctification,” Ensign, June 2001, 20)

ทำไมโลกจึงต้องการพระเยซูคริสต์?

.

บาปขัดขวางแผนของพระบิดาบนสวรรค์หรือไม่?

ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ ฝ่ายประธานสูงสุดในขณะนั้นสอนว่า

ภาพ
Official portrait of Elder Dieter F. Uchtdorf of the Quorum of the Twelve Apostles, 2006. Called as Second Counselor in the First Presidency, 3 February 2008. Made official portrait in 2008 replacing portrait taken in 2004.

พระบิดาบนสวรรค์ทรงทราบก่อนเรามาอยู่บนโลกนี้ว่าอิทธิพลไม่ดีจะล่อลวงเราให้ออกนอกทาง “เพราะว่าทุกคนทำบาปและเสื่อมจากพระสิริของพระเจ้า” [ โรม 3:23 ] ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงเตรียมทางให้เราแก้ไข โดยผ่านกระบวนการอันเปี่ยมด้วยเมตตาของการกลับใจที่แท้จริงและการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ บาปของเราจะได้รับการให้อภัยและเราจะ “ไม่พินาศ แต่มีชีวิตนิรันดร์” [ ยอห์น 3:16 ]

(ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “เรื่องเล็กๆ น้อยๆ,” เลียโฮนา, พ.ค. 2008, 73)

เปาโลหมายความว่าอย่างไรเมื่อเขาพูดว่า “คนต่างชาติ … ประพฤติตามธรรมบัญญัติโดยปกติวิสัย”? (โรม 2:14)

“เปาโลตระหนักดีว่าคนต่างชาติบางคนดำเนินชีวิตอย่างมีศีลธรรมโดยสัญชาตญาณ … คนต่างชาติเหล่านี้กำลังตามแสงสว่างของพระคริสต์ซึ่งเป็น ‘อิทธิพลเพื่อความดีในชีวิตของผู้คนทั้งปวง (ยอห์น 1:9; คพ. 84:46–47)’ [คู่มือพระคัมภีร์, “ สว่าง (ความ), แสงสว่าง, แสงสว่างของพระคริสต์ ,” scriptures.ChurchofJesusChrist.org] แม้พวกเขาไม่มีกฎของโมเสส เปาโลกล่าวว่าพวกเขามี ‘หลักความประพฤติที่เป็นตามธรรมบัญญัตินั้น มีจารึกอยู่ในจิตใจของเขา’ (โรม 2:15)” (“โรม 1–3,” ใน คู่มือนักเรียน พันธสัญญาใหม่ [2018], 337)

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

การเชื่อฟังจากใจ

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน โรม 2:28–29 โดยแทนที่คำว่า ยิว ด้วย วิสุทธิชนยุคสุดท้าย และคำว่า การเข้าสุหนัต ด้วย พันธสัญญา การเปลี่ยนคำนี้เพิ่มความเข้าใจของเราเกี่ยวกับคำสอนของเปาโลอย่างไร? ตัวอย่างของสิ่งที่เราทำในฐานะสมาชิกศาสนจักรที่มีความหมายและทรงพลังมากกว่าเมื่อทำจาก “จิตใจ ตามพระวิญญาณ”? (โรม 2:29) (ดัดแปลงจาก “7–13 สิงหาคม โรม 1–6: ‘ฤทธานุภาพของพระเจ้าเพื่อได้รับความรอด,’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2023)

หลักคำสอนของการรับรองความชอบธรรมในพระคัมภีร์ของการฟื้นฟู

ยังมีการสอนหลักคำสอนเกี่ยวกับการรับรองความชอบธรรมในพระคัมภีร์มอรมอนและหลักคำสอนและพันธสัญญาด้วย นักเรียนอาจจับคู่กันและอ่าน 2 นีไฟ 2:5–8 หรือ หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:29–31 เพื่อหาความเข้าใจเกี่ยวกับการรับรองความชอบธรรม

ความเชื่อของวิสุทธิชนชาวยิวเกี่ยวกับกฎของโมเสส

สถานการณ์สมมุติต่อไปนี้อาจแสดงถึงความเชื่อของวิสุทธิชนชาวโรมันบางคนที่เปาโลเขียนไปหา ท่านอาจใช้สถานการณ์นี้เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจถึงแนวคิดที่เปาโลกล่าวถึงซึ่งมีบางข้อไม่ถูกต้อง

อาเชอร์มาจากครอบครัวชาวยิวที่เปี่ยมด้วยศรัทธา เขาอาศัยอยู่ในกรุงโรมสองชั่วอายุคนมาแล้ว ขณะเติบโต เขาได้รับการสอนให้หมั่นดำเนินชีวิตตามกฎของโมเสส ครอบครัวของเขาเชื่อเสมอว่าพวกเขาจะได้รับความรอดโดยการดำเนินชีวิตตามพิธีกรรม การปฏิบัติที่แสดงออกภายนอก และศาสนพิธีตามกฎของโมเสส เมื่อครอบครัวของอาเชอร์เรียนรู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ พวกเขาเชื่อว่าพระองค์ทรงเป็นพระเมสสิยาห์ที่พวกเขาเฝ้ารอ พวกเขารับบัพติศมาแต่ยังคงดำเนินชีวิตตามกฎของโมเสส โดยเชื่อว่าการเชื่อฟังอย่างเคร่งครัดจะนำความรอดมาให้พวกเขา

  • ความจริงอะไรบ้างที่อาเชอร์และครอบครัวของเขายังต้องเรียนรู้?