เซมินารี
กาลาเทีย 6


กาลาเทีย 6

“ใครหว่านอะไรลง ก็จะเก็บเกี่ยวสิ่งนั้น”

ภาพ
Woman and girl harvest and garden in Ecuador.

ท่านเคยสงสัยหรือไม่ว่าความพยายามของท่านในการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์จะนำไปสู่เป้าหมายชั่วนิรันดร์ของท่านไหม? เปาโลเขียนจดหมายถึงวิสุทธิชนในแคว้นกาลาเทียเพื่อช่วยให้วิสุทธิชนเหล่านั้นตระหนักว่าวิธีที่เราดำเนินชีวิตในแต่ละวันนั้นมีอิทธิพลต่อการที่พระผู้ช่วยให้รอดจะทรงอวยพรเราด้วย “ชีวิตนิรันดร์” หรือไม่ ( กาลาเทีย 6:8) บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านตระหนักถึงการกระทำที่ท่านต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมายนิรันดร์ของท่าน

กระตุ้นให้เกิดการประยุกต์ใช้ วัตถุประสงค์ของการสอนพระกิตติคุณคือเพื่อช่วยนักเรียนประยุกต์ใช้หลักคำสอนและหลักธรรมที่พบในพระคัมภีร์ คำถามและกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ประยุกต์ใช้จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจวิธีประยุกต์ใช้หลักคำสอนและหลักธรรมในชีวิตตนเอง

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน กาลาเทีย 6:7–9 และเตรียมแบ่งปันว่า นักเรียนรู้สึกว่าคำสอนในข้อพระคัมภีร์เหล่านี้อาจส่งผลต่อการตัดสินใจในแต่ละวันของนักเรียนได้อย่างไร

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

เป้าหมายนิรันดร์

ประโยคต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์เควนทิน แอล. คุกสามารถนำมาใช้เพื่อช่วยให้นักเรียนเริ่มคิดเกี่ยวกับผลของการตัดสินใจในแต่ละวันของเราที่มีต่อผลลัพธ์ที่เราจะได้รับ ดูแนวคิดอื่นๆ เกี่ยวกับวิธีเริ่มต้นบทเรียนในกิจกรรม “กาลาเทีย 6:7–8 การเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์” ในส่วน “กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม”

เอ็ลเดอร์เควนทิน แอล. คุก แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองเล่าถึงการสนทนาที่น่าจดจำที่ท่านเคยมีกับเยาวชนชายคนหนึ่ง

ดูวีดิทัศน์ “เลือกอย่างฉลาด” ซึ่งรับชมได้ที่ ChurchofJesusChrist.org ตั้งแต่รหัสเวลา 3:03 ถึง 4:52 หรืออ่านข้อความต่อไปนี้ มองหาเป้าหมายของเยาวชนชายคนนี้และความเข้าใจผิดที่เขาอาจมีเกี่ยวกับการบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น

ภาพ
Official portrait of Elder Quentin L. Cook. Called to the Quorum of the Twelve Apostles on 6 October 2007.

เมื่อไม่นานมานี้ข้าพเจ้าพบกับชายวัยรุ่นคนหนึ่ง เป้าหมายของเขาคือไปรับใช้งานเผยแผ่ เรียนต่อ แต่งงานในพระวิหาร มีครอบครัวที่ซื่อสัตย์และมีความสุข ข้าพเจ้ายินดีมากกับเป้าหมายของเขา แต่ระหว่างการสนทนาต่อไป เห็นได้ชัดว่าความประพฤติและการเลือกของเขาไม่ได้สอดคล้องกับเป้าหมาย ข้าพเจ้ารู้สึกว่าเขาต้องการรับใช้งานเผยแผ่อย่างจริงจังและหลีกเลี่ยงการล่วงละเมิดร้ายแรงที่จะยับยั้งงานเผยแผ่ของเขา แต่ความประพฤติในแต่ละวันไม่ได้เตรียมเขาเพื่อรับความท้าทายทางร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และทางวิญญาณที่เขาจะเผชิญ เขาไม่ได้เรียนรู้ที่จะทำงานหนัก เขาไม่จริงจังกับเรื่องเรียนหรือเซมินารี เขามาโบสถ์แต่ไม่อ่านพระคัมภีร์มอรมอน เขาเล่นวิดีโอเกมและใช้สื่อสังคมครั้งละนานๆ ดูเหมือนเขาจะคิดว่าการไปอยู่ที่คณะเผยแผ่ของเขานั้นเพียงพอแล้ว

(เควนทิน แอล. คุก, “เลือกอย่างฉลาด,” เลียโฮนา, พ.ย. 2014, 47)

  • เยาวชนชายผู้นี้อาจเข้าใจผิดในเรื่องการบรรลุเป้าหมายของตนเองอย่างไร?

ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน ให้จัดทำรายการเป้าหมายคร่าวๆ ที่ท่านจะพิจารณาให้เป็นสิ่งสำคัญชั่วนิรันดร์ ลองคิดว่าเหตุใดท่านจึงต้องการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ ไตร่ตรองว่าการปฏิบัติในแต่ละวันของท่านอาจนำท่านไปสู่หรือออกห่างจากเป้าหมายนิรันดร์ที่สำคัญเหล่านี้อย่างไร ระหว่างที่ท่านศึกษา ให้มองหาความจริงที่จะช่วยให้ท่านสามารถปรับการกระทำในแต่ละวันให้สอดคล้องกับผลลัพธ์ที่มีความหมายชั่วนิรันดร์ที่ท่านต้องการได้ดียิ่งขึ้น

กฎแห่งการเก็บเกี่ยว

วิสุทธิชนชาวกาลาเทียสัมผัสกับคำสอนเท็จที่ชักนำหลายคนให้หลงผิด (ดู กาลาเทีย 1:6–9) บางคนเชื่อและสอนหลักคำสอนเท็จที่บอกให้ผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใสที่เป็นคนต่างชาติต้องเข้าสุหนัดจึงจะได้รับการช่วยให้รอด (ดู กาลาเทีย 6:12 ; กิจการ 15:1). บางคนเชื่อว่าพระคุณของพระคริสต์ทำให้ตนมีเสรีภาพในการกระทำผิด (ดู กาลาเทีย 5:13) หลังจากกล่าวถึงความเชื่อที่ผิดเหล่านี้และสนับสนุนให้วิสุทธิชนช่วยเหลือผู้ที่ถูกชักนำให้หลงผิดทางวิญญาณ เปาโลสอนความจริงที่สำคัญเพื่อช่วยให้ผู้คนเข้าใจถึงผลกระทบจากการกระทำของตน

อ่าน กาลาเทีย 6:7–8 มองหาความจริงที่เปาโลสอนที่ส่งอิทธิพลต่อการกระทำในชีวิตประจำวันของเราได้ &#160

  • ท่านจะอธิบายคำสอนของเปาโลด้วยคำพูดของท่านเองว่าอย่างไร?

ความจริงข้อหนึ่งที่เราสามารถเรียนรู้จาก กาลาเทีย 6:7 คือ บุคคลหนึ่งหว่านอะไรลง ก็จะเก็บ‍เกี่ยวสิ่ง‍นั้น บางครั้งสิ่งนี้ก็เรียกว่ากฎแห่งการเก็บเกี่ยว

  • ตัวอย่างใดที่ท่านเห็นเกี่ยวกับความจริงข้อนี้ในชีวิตของท่านหรือในชีวิตของผู้อื่น?

  • การทำความเข้าใจความจริงข้อนี้จะส่งผลต่อการตัดสินใจในชีวิตท่านอย่างไร?

&#160 &#160

คำสอนของแอลมาต่อโคริแอนทอนบุตรชายของเขาในพระคัมภีร์มอรมอนสามารถช่วยให้เราเข้าใจถึงนัยอันเป็นนิรันดร์ของกฎแห่งการเก็บเกี่ยวได้ดียิ่งขึ้น หรือที่แอลมาเรียกว่า “แผนแห่งการนำกลับคืน” อ่าน แอลมา 41:3–6, 10–15 โดยมองหาความจริงที่ช่วยทำให้ท่านเข้าใจคำสอนของเปาโล

  • ท่านพบว่ามีถ้อยคำหรือวลีสำคัญใดบ้างในข้อเหล่านี้? เพราะเหตุใด?

  • หลังจากทบทวนสิ่งที่แอลมาสอนโคริแอนทอนแล้ว คำสอนนี้จะนำมาประยุกต์ใช้กับถ้อยคำของเปาโลที่ว่า “เพราะว่าใครหว่านอะไรลง ก็จะเก็บเกี่ยวสิ่งนั้น” ได้อย่างไร? ( กาลาเทีย 6:7)

  • คำสอนที่ท่านเคยศึกษามาจนถึงปัจจุบันช่วยให้ท่านเข้าใจเกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์อย่างไร?

คำเชิญของเปาโลถึงชาวกาลาเทีย

เปาโลสรุปคำสอนของเขาเกี่ยวกับกฎแห่งการเก็บเกี่ยวด้วยคำเชิญ อ่าน กาลาเทีย 6:9–10 แล้วมองหาสิ่งที่เปาโลแนะนำให้วิสุทธิชนทำ

ท่านอาจแสดงคำถามต่อไปนี้และเชื้อเชิญให้นักเรียนสนทนากับคู่หรือกลุ่มเล็กๆ จากนั้นขอให้อาสาสมัครสองสามคนออกมาแบ่งปันคำตอบกับชั้นเรียน

  • ท่านคิดว่า “อย่าให้เราเมื่อยล้าในการทำดี” หมายความว่าอย่างไร? ( กาลาเทีย 6:9)

  • พระเยซูคริสต์ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีพร้อมของประเด็นนี้อย่างไร?

  • ท่านคิดว่าเปาโลหมายความว่าอย่างไรเมื่อเขาพูดว่า เราจะเก็บเกี่ยว “ในเวลาอันสมควร” ( กาลาเทีย 6:9) ขณะที่เราพยายามทำดีเพื่อผู้อื่น? เหตุใดเรื่องนี้จึงสำคัญที่จะต้องทำความเข้าใจ?

การประยุกต์ใช้สิ่งที่ท่านเรียนรู้

ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งฝ่ายประธานสูงสุดสนับสนุนให้เราคิดว่าการตัดสินใจแต่ละครั้งของเราจะพาเราไปที่ใด (ดู “สิ่งนี้จะนำไปสู่จุดใด,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 60–62)

เพื่อนำคำปรึกษาจากประธานโอ๊คส์ไปประยุกต์ใช้ ให้ทำกิจกรรมดังต่อไปนี้

สร้างแผนภูมิที่คล้ายกับสิ่งต่อไปนี้:

สิ่งที่ท่านหว่านลงไป (การกระทำที่ท่านทำเป็นประจำ)

ผลผลิตที่ท่านคาดหวังว่าจะได้เก็บเกี่ยวในอนาคต (การกระทำเหล่านี้จะนำไปสู่สิ่งใด)

ทางด้านซ้าย ให้จดบันทึกสิ่งที่ท่านใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทำหรืออยากจะเริ่มต้นทำเป็นประจำ

ทางด้านขวา เขียนสิ่งที่ท่านรู้สึกได้ว่าผลลัพธ์ของการทำสิ่งเหล่านั้นเป็นประจำจะเป็นเช่นไร คิดเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่ท่านคาดหวังได้หากท่านกระทำสิ่งเหล่านี้เป็นประจำเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ หนึ่งเดือน หนึ่งปี ห้าปีหรือแม้แต่ชั่วชีวิตของท่าน

ไตร่ตรองถึงการกระตุ้นเตือนใดๆ ที่ท่านได้รับจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ขณะที่ท่านศึกษาในวันนี้ ใต้แผนภูมิของท่าน ให้จดการปรับเปลี่ยนใดๆ ที่ท่านรู้สึกได้รับการกระตุ้นเตือนให้ทำในชีวิตของท่าน ซึ่งจะช่วยให้ท่านมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะได้รับพรที่ท่านต้องการได้ดีขึ้น พระผู้เป็นเจ้าจะทรงช่วยเหลือท่านขณะท่านพยายามสุดความสามารถ (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 123:17)

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

กาลาเทีย 6:8 . บุคคลที่ “หว่านสิ่งที่ตอบสนองพระวิญญาณ” หรือ “หว่านสิ่งที่ตอบสนองเนื้อหนังของตน” หมายความว่าอย่างไร?

เอ็ลเดอร์ยูลิซีส ซวาเรสแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า:

ภาพ
Elder Ulisses Soares, Quorum of the Twelve Apostles official portrait.

การหว่านในพระวิญญาณหมายถึงความคิด คำพูด และการกระทำทั้งหมดของเราจะต้องยกระดับเราเข้าไปสู่ระดับแห่งความสูงส่งของพระบิดาพระมารดาบนสวรรค์ของเรา อย่างไรก็ตาม พระคัมภีร์พูดถึงเนื้อหนังว่าเป็นอุปนิสัยทางร่างกายหรือทางเนื้อหนังของมนุษย์ปุถุชน ซึ่งยอมให้ผู้คนได้รับอิทธิพลจากความลุ่มหลง ความปรารถนา ความอยาก และแรงผลักดันของเนื้อหนังแทนที่จะมองหาการดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ ถ้าเราไม่ระวัง อิทธิพลเหล่านั้นจะผนวกกับแรงกดดันของความชั่วร้ายในโลกอาจทำให้เรามีพฤติกรรมหยาบคายและไม่ยั้งคิดซึ่งอาจกลายเป็นนิสัยอย่างหนึ่งของเรา เพื่อจะหลีกเลี่ยงอิทธิพลที่ไม่ดีเหล่านี้ เราจะต้องทำตามสิ่งที่พระเจ้าทรงแนะนำศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธเกี่ยวกับการหว่านเมล็ดในพระวิญญาณอย่างต่อเนื่อง “ดังนั้น, อย่าเบื่อหน่ายในการทำดี, เพราะเจ้ากำลังวางรากฐานของงานอันสำคัญยิ่ง และจากสิ่งเล็กน้อย บังเกิดสิ่งที่ยิ่งใหญ่” ( หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:33)

(ยูลิซีส ซวาเรส, “อยู่ในแดนของพระเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ค. 2012, 39)

ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์ในฝ่ายประธานสูงสุดสอนว่า

ภาพ
Official Portrait of President Dallin H. Oaks taken March 2018.

หากเราหมกมุ่นอยู่กับยาเสพติดหรือสื่อลามกอนาจาร หรือความชั่วอื่นที่อัครสาวก [เปาโล] เรียกว่าหว่านสิ่งที่ตอบสนองเนื้อหนัง กฎแห่งความเป็นนิรันดร์ระบุว่าเราจะเก็บเกี่ยวความเปื่อยเน่ามิใช่ชีวิตนิรันดร์ นั่นคือความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า และความเมตตาจะขโมยความยุติธรรมไม่ได้ หากกฎนิรันดร์ถูกฝ่าฝืน จะต้องรับโทษที่ติดมากับกฎนั้น การชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดชดเชยการลงโทษบางอย่าง แต่การชำระความสกปรกของคนบาปจะเกิดขึ้นหลังจากการกลับใจเท่านั้น (ดู แอลมา 42:22–25) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ยาวนานและเจ็บปวดสำหรับบาปบางอย่าง

(ดัลลิน เอช. โอ๊คส์, “อย่าถูกหลอก,” เลียโฮนา, พ.ย. 2004, 54)

ความพยายามเพียงเล็กน้อยสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของฉันและชีวิตของผู้อื่นได้อย่างไร?

&#160 &#160

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

กาลาเทีย 6:1–2 การช่วยคนอื่นให้กลับมาหาพระคริสต์

เชิญให้นักเรียนคิดว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงตอบสนองต่อผู้ที่ใช้ชีวิตในบาปอย่างไร ขอให้นักเรียนอ่าน กาลาเทีย 6:1–2 และดูว่าเปาโลได้เชื้อเชิญให้เราติดตามตัวอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไรในการตอบสนองต่อคนบาป ท่านอาจให้นิยามต่อไปนี้กับนักเรียนขณะศึกษา:

  • “ใครที่ละเมิด” หมายความว่าถูกจับได้ในบาป

  • “กลับตั้งตัวใหม่ (ฟื้นฟู)”: คำดั้งเดิมภาษากรีก katartizete “หมายถึงกระดูกที่เคลื่อนผิดที่ที่ควรกลับมาสู่ไขข้อที่ถูกต้อง เช่นเดียวกัน เราต้องมุ่งมั่นที่จะเคลื่อนมันมาสู่ไขข้อตำแหน่งเดิมอีก” หรือในอีกแง่หนึ่งคือการ “คืน [กระดูก] ให้กลับสู่หน้าที่ของตนเอง” (Matthew Henry’s Commentary on the Whole Bible: Volume VI–II—First Corinthians–Second Timothy [2018], 168)

  • “คิดถึงตัวเอง” หมายถึงการตระหนักรู้และเฝ้ามองตัวเอง

เชิญนักเรียนมาร่วมแบ่งปันสิ่งที่ตนรู้สึกว่าเปาโลต้องการให้ชาวกาลาเทียเข้าใจ ท่านอาจใช้คำถามเช่นคำถามต่อไปนี้:

  • เราจะทำให้ผู้อื่นฟื้นกลับมาสู่พระคริสต์ได้อย่างไรโดยไม่ตกสู่การล่อลวงกับพวกเขา?

  • การแบ่งเบาภาระของผู้อื่นจะช่วยให้ผู้อื่นฟื้นกลับมาหาพระคริสต์อย่างไร?

  • การทำตามคำปรึกษาของเปาโลจะช่วยให้เราเป็นเหมือนพระบิดาบนสวรรค์มากขึ้นได้อย่างไร? (ดู โมไซยาห์ 18:8–10).

กาลาเทีย 6:7–8 เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์

ให้ดูเมล็ดผลไม้หรือผักสองสามเมล็ดที่นักเรียนจะรู้จักดี ขอให้พวกเขาระบุว่าเป็นเมล็ดของอะไร

ท่านจะคาดหวังอะไรหากท่านนำเมล็ดเหล่านี้ไปปลูก เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง กาลาเทีย 6:7–8 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเปาโลสอนอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่เราคาดหวังได้เมื่อเราปลูกพืช