เซมินารี
มัทธิว 26:1–25


มัทธิว 26:1–25

“องค์พระผู้เป็นเจ้า คือข้าพระองค์หรือ?”

ภาพ
Jesus giving the sop to Judas Iscariot. Outtakes include just Jesus, all the disciples seated, Jesus passing the cup of wine, Jesus holding the bread, a servant woman bring a jar, Judas Iscariot eating the sop, Jesus taking a piece of bread wrapped in cloth, and Jesus raising a glass of wine.

ก่อนงานเลี้ยงฉลองเทศกาลปัสกา มารีย์ชโลมพระผู้ช่วยให้รอดด้วยน้ำมันอันมีราคาแพง และยูดาสสมรู้ร่วมคิดกับพวกหัวหน้าปุโรหิตและพวกธรรมาจารย์เพื่อปลงพระชนม์พระเยซู ระหว่างมื้ออาหารของเทศกาลปัสกาพระเยซูทรงประกาศว่าพระองค์จะถูกทรยศ บรรดาอัครสาวกสงสัยว่าใครจะทรยศพระผู้ช่วยให้รอดโดยถามว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า คือข้าพระองค์หรือ?” บทเรียนนี้สามารถช่วยให้ท่านใช้พระดำรัสของพระผู้ช่วยให้รอดในพระคัมภีร์เพื่อตรวจสอบชีวิตของท่านและระบุสิ่งที่ท่านจำเป็นต้องปรับปรุง

เตรียมโดยนึกถึงนักเรียน ขณะเตรียมสอน พิจารณาว่านักเรียนควรบรรลุผลสำเร็จในเรื่องใดจากบทเรียน ประธานโธมัส เอส. มอนสัน (1927–2018) กล่าวว่า “เป้าหมายของการสอนพระกิตติคุณไม่ใช่เพื่อกรอกข้อมูลใส่ความคิดบุตรธิดาของพระผู้เป็นเจ้า … [แต่คือการช่วยพวกเขา] พัฒนาศรัทธาในพระเจ้าพระเยซูคริสต์และ … เปลี่ยนใจเลื่อมใส สู่พระกิตติคุณของพระองค์” (“เรียนจากเรา,” เลียโฮนา, มี.ค. 2016, 4) แสวงหาการดลใจเพื่อรู้วิธีช่วยให้นักเรียนมีศรัทธาเพิ่มขึ้นและรู้สึกมากขึ้นถึงความรักต่อและจากพระเยซูคริสต์ในแต่ละบทเรียน

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนนึกถึงช่วงเวลาที่พวกเขาประยุกต์ใช้คำแนะนำหรือคำสอนจากพระคัมภีร์ ผู้นำศาสนจักร หรือพระวิญญาณบริสุทธิ์กับชีวิตพวกเขา ชีวิตพวกเขาจะต่างไปอย่างไรหากพวกเขาไม่ได้เลือกประยุกต์ใช้คำแนะนำนั้น?

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

วิธีที่เราปฏิบัติต่อสิ่งที่เราให้คุณค่า

ท่านอาจแบ่งปันตัวอย่างส่วนตัวเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของการสนทนาต่อไปนี้

นึกถึงบุคคลหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับท่าน

  • เหตุใดบุคคลนี้จึงสำคัญต่อท่านมาก?

  • การกระทำของท่านแสดงว่าบุคคลนี้มีความสำคัญต่อท่านอย่างไร?

ในบทเรียนส่วนนี้ ท่านจะศึกษาว่าแต่ละบุคคลแสดงออกด้วยการกระทำอย่างไรว่าพวกเขารักและชื่นชมพระผู้ช่วยให้รอดมากเพียงใด ขณะท่านศึกษา ให้พิจารณาว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงสำคัญ แม้ถึงกับจำเป็นมากเพียงใดต่อท่านและท่านสามารถทำสิ่งใดเพื่อแสดงความรักที่ท่านมีต่อพระองค์ไม่กี่วันก่อนพระเยซูทรงรวบรวมอัครสาวกของพระองค์มาอยู่ด้วยกันเพื่ออาหารมื้อสุดท้ายของพระองค์ในเทศกาลปัสกา พระองค์เสด็จไปที่เบธานีเพื่ออยู่กับผู้ติดตามของพระองค์ (ดู มัทธิว 26:6 ; ยอห์น 12:1)

อ่าน ยอห์น 12:3–8 เพื่อเรียนรู้สิ่งที่มารีย์ทำถวายพระผู้ช่วยให้รอดขณะพระองค์ประทับในเบธานี

  • การกระทำของมารีย์แสดงว่าเธอรักและชื่นชมพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไร?

  • ท่านจะเรียนรู้อะไรได้บ้างเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดจากเรื่องราวนี้?

นักเรียนอาจให้คำตอบหลากหลายสำหรับคำถามก่อนหน้านี้ รวมถึงคำตอบต่อไปนี้: พระองค์ทรงได้รับยกย่องจากผู้ติดตามของพระองค์ว่าพระองค์ทรงคุณค่ายิ่ง พระองค์เข้าพระทัยว่าพระชนม์ชีพอันเป็นมรรตัยของพระองค์จะสิ้นสุดในไม่ช้า พระองค์ทรงปฏิบัติต่อยูดาสด้วยความรักและความเมตตา แม้ทรงรู้ว่ายูดาสจะทรยศพระองค์

  • ท่านมีความคิดหรือความรู้สึกใดบ้างหลังจากใคร่ครวญถึงความจริงเหล่านี้เกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด?

ใน มัทธิว 26:3–5 เราเรียนรู้ว่าพวกหัวหน้าปุโรหิตปรึกษากันว่าอาจจะปลงพระชนม์พระเยซูอย่างไร อ่าน มัทธิว 26:14–16 โดยมองหาสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากมารีย์ชโลมพระเยซูในเบธานี

อาจเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่จะรู้ว่าการที่ยูดาสทรยศพระเยซูเพื่อเงินสามสิบเหรียญเป็นไปตามคำพยากรณ์ของเศคาริยาห์ ศาสดาพยากรณ์ในพันธสัญญาเดิม (ดู เศคาริยาห์ 11:12) นอกจากนี้ ตามกฎของโมเสส เงินสามสิบเหรียญเป็นค่าชดเชยที่ต้องจ่ายให้เจ้าของทาสเมื่อทำให้ทาสคนหนึ่งถึงแก่ความตาย (ดู อพยพ 21:32)

  • ท่านเรียนรู้อะไรจากการเปรียบเทียบการกระทำของมารีย์กับการกระทำของยูดาส?

คำถามต่อไปนี้นักเรียนอาจตอบได้ดีที่สุดเป็นรายบุคคลในสมุดบันทึกการศึกษาของพวกเขา

ใช้เวลาสักครู่ทบทวนสัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงเวลานี้ของท่าน

  • ท่านมีโอกาสใดบ้างที่จะแสดงความรักที่ท่านมีต่อพระผู้ช่วยให้รอด?

  • มีชั่วขณะใดหรือไม่ที่ท่านต้องการทำให้ดีกว่านี้?

  • ท่านอาจทำอะไรที่แตกต่างออกไปในอนาคตเพื่อแสดงความรักที่ท่านมีต่อพระองค์อย่างเต็มที่มากขึ้น?

พิจารณาว่าพระดำรัส ของ พระเยซูประยุกต์ใช้กับเราได้อย่างไร

พระเยซูทรงมีส่วนร่วมในมื้ออาหารของเทศกาลปัสกา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นพระกระยาหารมื้อสุดท้าย กับอัครสาวกของพระองค์สองสามวันหลังจากมารีย์ชโลมพระองค์ อ่าน มัทธิว 26:20–21 โดยมองหาคำประกาศที่พระผู้ช่วยให้รอดตรัสระหว่างอาหารมื้อนี้

  • หากท่านเป็นอัครสาวกคนหนึ่ง ท่านอาจจะคิดอะไรในชั่วขณะนี้?

อ่าน มัทธิว 26:22 เพื่อดูว่าอัครสาวกตอบอย่างไร

ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ ขณะนั้นเป็นสมาชิกในฝ่ายประธานสูงสุด แบ่งปันบทเรียนบทหนึ่งที่เราสามารถเรียนรู้จากคำตอบของอัครสาวก

ภาพ
Official portrait of Elder Dieter F. Uchtdorf of the Quorum of the Twelve Apostles, 2006. Called as Second Counselor in the First Presidency, 3 February 2008. Made official portrait in 2008 replacing portrait taken in 2004.

สานุศิษย์ไม่ได้สงสัยว่าสิ่งที่ [พระเยซู] ตรัสนั้นจริงหรือไม่ ทั้งไม่ได้เหลียวมองไปรอบๆ ชี้ไปที่คนอื่นและถามว่า “คือเขาหรือ?”

แต่ “พวกสาวกก็พากันเป็นทุกข์ ต่างคนต่างเริ่มทูลถามพระองค์ว่า องค์พระผู้เป็นเจ้า คือข้าพระองค์หรือ?” [ มัทธิว 26:22 ; เน้นตัวเอน]

ข้าพเจ้าสงสัยว่าเราแต่ละคนจะทำอย่างไร … เราจะมองไปยังคนรอบข้างและพูดในใจอย่างนี้ไหม “พระองค์คงตรัสถึงบราเดอร์จอห์นสัน ฉันสงสัยเขามาตลอด” หรือ “ฉันดีใจที่บราเดอร์บราวน์อยู่ที่นี่ เขาควรจะได้ยินข่าวสารนี้”? หรือเราจะเป็นเหมือนสานุศิษย์สมัยโบราณ มองที่ตนเองและถามคำถามแทงใจว่า “คือฉันหรือ?”

ในคำพูดที่เรียบง่ายนี้ “องค์พระผู้เป็นเจ้า คือข้าพระองค์หรือ?” เป็นจุดเริ่มต้นของปัญญาและเส้นทางของการเปลี่ยนใจเลื่อมใสส่วนตัวตลอดจนการเปลี่ยนแปลงอันถาวร

(ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “องค์พระผู้เป็นเจ้า คือข้าพระองค์หรือ?,” เลียโฮนา, พ.ย. 2014, 56)

ความจริงข้อหนึ่งที่เราสามารถเรียนรู้จากข้อความนี้และแบบอย่างของอัครสาวกคือ การเรียนรู้ที่จะตรวจสอบชีวิตของเราเองตามพระดำรัสของพระผู้ช่วยให้รอดช่วยเราบนเส้นทางสู่การเปลี่ยนใจเลื่อมใสส่วนตัวและการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

  • เหตุใดจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเราที่จะถามตนเองว่าพระดำรัสของพระเจ้าประยุกต์ใช้กับเราอย่างไรแทนที่จะทึกทักเองว่าพระดำรัสของพระองค์หมายถึงคนอื่น?

  • มีสถานการณ์ใดบ้างในชีวิตท่านที่ท่านอาจจะถามว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า คือข้าพระองค์หรือ?”

  • ท่านรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ที่จะกระตุ้นให้ท่านถามได้ว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า คือข้าพระองค์หรือ?”

ประธานอุคท์ดอร์ฟแบ่งปันสองตัวอย่างจากแหล่งข้อมูลที่เราสามารถใช้ช่วยเราตรวจสอบตนเองทางวิญญาณ:

ภาพ
Official portrait of Elder Dieter F. Uchtdorf of the Quorum of the Twelve Apostles, 2006. Called as Second Counselor in the First Presidency, 3 February 2008. Made official portrait in 2008 replacing portrait taken in 2004.

ข้าพเจ้าขอแนะนำว่าพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์และคำปราศรัยในการประชุมใหญ่สามัญเป็นกระจกเงาที่ดีที่เราจะถือไว้ส่องดูตนเองได้

ขณะที่ท่านฟังหรืออ่านถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์สมัยโบราณและปัจจุบัน หลีกเลี่ยงความคิดที่ว่าถ้อยคำเหล่านี้ใช้กับคนอื่นและถามคำถามเรียบง่ายว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า คือข้าพระองค์หรือ?”

(ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “องค์พระผู้เป็นเจ้า คือข้าพระองค์หรือ?,” เลียโฮนา, พ.ย. 2014, 58)

ใช้เวลาสักครู่เพื่อคิดว่าท่านพยายามประยุกต์ใช้พระคัมภีร์หรือคำสอนจากการประชุมใหญ่สามัญกับชีวิตท่านบ่อยเพียงใด นึกถึงพรที่ท่านได้รับจากความพยายามของท่านในการนำพระดำรัสของพระเจ้าเข้ามาใช้ในชีวิตท่าน

ท่านอาจเชิญชวนให้นักเรียนแบ่งปันประสบการณ์เมื่อพวกเขาประยุกต์ใช้คำแนะนำหรือคำสอนจากพระคัมภีร์หรือคำปราศรัยในการประชุมใหญ่สามัญกับชีวิตพวกเขา เชิญชวนให้พวกเขาคิดว่าชีวิตพวกเขาจะต่างไปอย่างไรหากไม่ได้เลือกประยุกต์ใช้คำแนะนำนั้น นักเรียนอาจคิดเกี่ยวกับประสบการณ์เช่นนั้นโดยเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมการเตรียมของนักเรียน

ฝึกประยุกต์ใช้พระดำรัสของพระเจ้ากับชีวิตท่าน

ศึกษาข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนอย่างน้อยสามข้อต่อไปนี้ ระหว่างที่ท่านศึกษา ให้แสวงหาการนำทางจากพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อระบุว่าพระดำรัสของพระเจ้าในข้อความเหล่านี้ประยุกต์ใช้กับท่านอย่างไร ท่านอาจต้องการศึกษาคำปราศรัยในการประชุมใหญ่สามัญเมื่อเร็วๆ นี้โดยเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมนี้ด้วย

หลังจากนักเรียนศึกษาแล้ว ให้เชิญอาสาสมัครแบ่งปันว่าข้อพระคัมภีร์หรือคำปราศรัยที่พวกเขาศึกษาจะประยุกต์ใช้กับชีวิตของพวกเขาอย่างไร ท่านอาจใช้คำถามต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสนทนา

  • ท่านพบคำสอนใดบ้างที่อาจนำมาประยุกต์ใช้กับสภาวการณ์ในชีวิตปัจจุบันของท่านได้?

  • ท่านคิดว่าท่านอาจได้รับพรอะไรบ้างจากการประยุกต์ใช้คำสอนเหล่านี้กับชีวิตท่าน?

เป็นพยานถึงความจริงที่สนทนาวันนี้ เชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาโอกาสต่อไปเพื่อดูว่าพระดำรัสของพระเจ้าประยุกต์ใช้กับชีวิตพวกเขาอย่างไรบ้าง

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

ทำไมมารีย์จึงชโลมพระเยซู?

เอ็ลเดอร์เจมส์ อี. ทัลเมจ (1862–1933) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองกล่าวว่า

ภาพ
Portrait of James E. Talmage.

การชโลมศีรษะของแขกด้วยน้ำมันธรรมดาเป็นการให้เกียรติแขกผู้นั้น การชโลมเท้าของเขาคือการแสดงความเคารพเป็นพิเศษ แต่การชโลมศีรษะและเท้าด้วยผอบน้ำมันหอมในปริมาณมาก เป็นเครื่องหมายของการถวายสักการะด้วยความคารวะที่ไม่ค่อยมีใครทำให้แม้แต่กับกษัตริย์ การกระทำของมารีย์เป็นการแสดงออกถึงความเลื่อมใส เป็นน้ำมันหอมที่กลั่นจากใจ ท่วมท้นด้วยการนมัสการและความรัก

(James E. Talmage, Jesus the Christ [1916], 512)

เราจะหลีกเลี่ยงการตำหนิตนเองมากเกินไปได้อย่างไรขณะที่ยังคงยอมรับความจำเป็นในการพัฒนาตนเอง?

ซิสเตอร์มิเชลล์ ดี. เครก ที่ปรึกษาที่หนึ่งในฝ่ายประธานเยาวชนหญิงสามัญแบ่งปันความเข้าใจต่อไปนี้

ภาพ
Sister Michelle D. Craig, first counselor, Young Women general presidency. Official Portrait as of October 2018.

เราควรยินดีรับความรู้สึกถึงความไม่พอใจอย่างพระเจ้าที่เรียกร้องให้เราขึ้นสู่วิถีที่สูงกว่า ขณะที่รู้และหลีกเลี่ยงสิ่งเทียมเท็จของซาตาน นั่นคือ—ความท้อถอยจนไม่ทำอะไรเลย เป็นช่องโหว่อันล้ำค่าที่ซาตานจ้องจะกระโดดเข้ามา เราอาจเลือกที่จะเดินบนวิถีที่สูงกว่าซึ่งนำเราให้แสวงหาพระผู้เป็นเจ้า สันติสุขและพระคุณของพระองค์หรือเราอาจเลือกฟังซาตาน ผู้กรอกหูเราด้วยข่าวสารที่เราไม่เคยพอ อาทิ ไม่รวยพอ ไม่ฉลาดพอ ไม่สวยพอ ไม่มีอะไรดีพอ ความไม่พอใจของเราอาจเป็นแรงจูงใจให้ปรับปรุง—หรือทำให้เราเลิกพยายาม

(มิเชลล์ ดี. เครก, “ความไม่พอใจอย่างพระเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ย. 2018, 53)

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

เมื่อเราสังเกตเห็นปัญหา เราควรมองตัวเราเองก่อนแทนที่จะตัดสินผู้อื่น

ท่านอาจนำกระจกเงาและกระจกใสหรือหน้าต่างขนาดเล็กมาชั้นเรียน

หลังจากสนทนากับอัครสาวกที่ถามว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า คือข้าพระองค์หรือ?” ให้นักเรียนดูกระจกเงาและกระจกใส ถามคำถามดังต่อไปนี้

  • เพราะเหตุใดท่านจึงคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะถามว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า คือข้าพระองค์หรือ?” [ให้ดูกระจกเงา] แทนที่จะเป็น “องค์พระผู้เป็นเจ้า คือเขาหรือ” [ให้ดูกระจกใส]?

  • ปัญหาอะไรบ้างที่อาจหลีกเลี่ยงในความสัมพันธ์ของเราหากเรามองตนเอง [ให้ดูกระจกเงา] แทนที่จะตัดสินผู้อื่น [ให้ดูกระจกใส]?