การเรียกในคณะเผยแผ่
แหล่งช่วยเพื่อการจัดการ ความต้องการทางวิญญาณ


แหล่งช่วยเพื่อการจัดการ ความต้องการทางวิญญาณ

ในบรรดาผู้สอนศาสนา ปฏิกิริยาโดยทั่วไปที่มีต่อความเครียดเกินปกติคือสงสัยความเข้มแข็งในประจักษ์พยานของตนเองหรือความจริงในพระกิตติคุณ การต่อสู้ดิ้นรนนี้มักจะมีต้นตอมาจากการขาดแหล่งช่วยเพื่อรับมือกับความเครียดเกินปกติแทนที่จะเป็นการขาดประจักษ์พยาน ถ้าท่านมีความยากลำบากเช่นนั้น ความทำตามคำแนะนำที่อยู่ด้านล่างซึ่งดูเหมือนจะเหมาะสมกับท่าน นอกจากนี้ให้อ่านหมวด “หลักธรรมโดยทั่วไปสำหรับการจัดการกับความเครียด” หน้า 17–22 ด้วย เพื่อหาแนวคิดเพิ่มเติม

ภาพ
An elder missionary sitting at a desk or table with his hands clasped and eyes closed. There are scriptures laying on the desk.

เรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ประจักษ์พยานของฉัน

  • ตระหนักว่าความสงสัยเป็นเรื่องปกติ โจเซฟ สมิธรับการเปิดเผยหลายอย่างซึ่งเป็นการตอบรับข้อสงสัยที่จริงใจ พระคัมภีร์ ครู และเหตุผลจะช่วยคลี่คลายข้อสงสัยบางอย่าง แต่มีเพียงพระวิญญาณเท่านั้นที่ยืนยันได้ว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงมีอยู่จริง พระเยซูคือพระคริสต์ และศาสนจักรจริง

  • เข้าใจว่าศรัทธาคืออะไร การมีศรัทธาคือการวางใจในพระคุณความดีอันเพียบพร้อม ความรัก ปัญญา และความยุติธรรมของพระเจ้า ถึงแม้เราจะไม่เข้าใจโดยสมบูรณ์ แอลมาสอนว่า “ศรัทธาไม่ใช่การมีความรู้อันสมบูรณ์ของสิ่งต่าง ๆ; ฉะนั้นหากท่านมีศรัทธาท่านย่อมหวังในสิ่งที่ไม่เห็น, ซึ่งจริง.” (แอลมา 32:21) ท่านมีศรัทธาได้โดยไม่ต้องมี “ความรู้อันสมบูรณ์” ศึกษาแอลมา 32 เพื่อรับความช่วยเหลือในการสร้างศรัทธาของท่าน (ดู สั่งสอนกิตติคุณของเรา, หน้า126–127)

  • อดทน เวลาและประสบการณ์จะช่วยให้ท่านเข้าใจบางสิ่งที่ดูว่าสับสนในตอนนี้ ระลึกถึงคำยืนยันของนีไฟ “ข้าพเจ้ารู้ว่า [พระผู้เป็นเจ้า] ทรงรักลูก ๆ ของพระองค์; กระนั้นก็ตาม, ข้าพเจ้าไม่รู้ความหมายของเรื่องทั้งหมด.” (1 นีไฟ 11:17) ต่อยอดจากสิ่งที่ท่านรู้โดยพระวิญญาณว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงมีอยู่จริง (ดู สั่งสอนกิตติคุณของเรา, หน้า130)

  • รักษาพระบัญญัติ เรามีความวางใจในพระเจ้าเมื่อเราเรียนรู้จากประสบการณ์ถึงคุณค่าคำสอนของพระองค์ “ถ้าใครตั้งใจประพฤติตามพระประสงค์ของพระองค์ คนนั้นก็จะรู้ว่าคำสอนนี้มาจากพระเจ้าหรือว่าเราพูดตามใจชอบเอง” (ยอห์น 7:17)

เรียนรู้ที่จะกลับใจ

  • ซื่อสัตย์กับประธานคณะเผยแผ่ของท่าน ถ้าท่านจำเป็นต้องกลับใจจากบาปร้ายแรงที่ท่านไม่ได้จัดการมาก่อน พูดกับประธานคณะเผยแผ่ของท่านอย่างเปิดเผยและซื่อสัตย์ เขาจะช่วยท่านทำสิ่งเหล่านี้ให้ถูกต้อง

  • ให้อภัยตนเองหลังการกลับใจ ถ้าท่านกลับใจแล้ว แต่ยังรู้สึกผิดและอับอาย จำไว้ว่าเราทุกคนเสียใจกับบาปและความผิดพลาดในอดีต จงวางใจว่าการชดใช้ของพระคริสต์มีเพียงพอแม้สำหรับท่าน จำไว้ว่าการกลับใจไม่ใช่แผนสำรอง การกลับใจคือแผนแห่งความสุขสำหรับทุกคน ขอให้แน่ใจว่าสิ่งต่างๆ ที่ท่านกังวลส่วนใหญ่เป็นสิ่งสำคัญ (ตัวอย่างเช่น ความก้าวหน้าของผู้สนใจ) ไม่ใช่แค่เรื่องความจองหองส่วนตัว (เช่นคนอื่นคิดอย่างไรกับท่าน)

    ภาพ
    An elder missionary kneelining at his bed praying.
  • เข้าใจบทบาทของการสัมภาษณ์ ถ้าท่านรู้สึกว่าจำเป็นต้องสารภาพบาปที่ร้ายแรงไม่มากหรือสารภาพซ้ำๆ แม้หลังจากที่ผู้นำฐานะปุโรหิตได้ยืนยันกับท่านว่าการสารภาพของท่านเพียงพอแล้ว ท่านอาจย้ำคิดเรื่องสารภาพมากเกินไป การที่ยังมีความรู้สึกเศร้าเสียใจถึงบาปในอดีตอยู่ต่อไปเป็นเรื่องปกติและไม่ได้หมายความว่าท่านจำเป็นต้องสารภาพอีก เบี่ยงเบนความคิดเช่นนั้นด้วยกิจกรรมอื่น เลือกอย่างรอบคอบที่จะเชื่อในการให้อภัยของพระเจ้า ไม่สนใจการล่อลวงที่ทำให้กังวลหรืออับอาย

  • พูดกับประธานคณะเผยแผ่ของท่านถ้าท่านยังคงต่อสู้กับความรู้สึกเหล่านี้

เรียนรู้การสวดอ้อนวอนอย่างมีความหมาย

  • พยายามสวดอ้อนวอนออกเสียง แม้จะเป็นเพียงการกระซิบ พยายามเตรียมตัวสวดอ้อนวอนโดยเขียนคำถามหรือข้อกังวลของท่าน นึกภาพว่าพระเจ้าทรงอยู่ใกล้ท่าน ทูลถามพระผู้เป็นเจ้าว่าท่านจะทำสิ่งใดให้พระองค์ได้ในวันนี้ จากนั้นปฏิบัติตามความคิดที่เข้ามาสู่จิตใจ บางครั้งให้ใช้การสวดอ้อนวอนเพียงเพื่อขอบพระทัยพระผู้เป็นเจ้าสำหรับสิ่งดีๆ มากมายที่พระองค์ประทานพรท่าน

  • ศึกษา “สวดอ้อนวอนด้วยศรัทธา” ใน สั่งสอนกิตติคุณของเรา หมวดนี้อยู่ในหน้า 99–101 ให้คำแนะนำเรื่องการสวดอ้อนวอน

เรียนรู้ที่จะรักพระคัมภีร์

  • สวดอ้อนวอนอย่างเจาะจงเพื่อทูลขอความช่วยเหลือให้เข้าใจและชื่นชมพระคัมภีร์ ใช้เวลาศึกษาของท่านบางส่วนเขียนความรู้สึกและปฏิกิริยา สิ่งที่ท่านเรียนรู้ หรือความประทับใจทางวิญญาณที่ท่านได้รับ

  • ทบทวน “ศึกษาแนวคิดและคำแนะนำ” ใน สั่งสอนกิตติคุณของเรา หมวดนี้อยู่ในหน้า 22–25 ให้คำแนะนำสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์อย่างมีคุณค่ามากขึ้น

เรียนรู้การพึ่งพาพระวิญญาณ

  • ฝึกด้วยความอดทน การเรียนรู้ที่จะจดจำเสียงของพระวิญญาณเหมือนกันอย่างมากกับการเรียนภาษา—ต้องใช้การฝึกฝน ความอดทน ความอ่อนน้อมถ่อมตน และความเต็มใจในการเรียนรู้จากความผิดพลาดโดยไม่ยอมแพ้

  • เรียนรู้จากการประชุมใหญ่สามัญ สำหรับแนวคิดเกี่ยวกับวิธีปลูกฝังการเปิดเผยส่วนตัว ให้ศึกษาจากคำปราศรัยการประชุมใหญ่สามัญในหัวข้อนี้

  • ศึกษา สั่งสอนกิตติคุณของเรา หน้า 102–105 ประกอบด้วยคำแนะนำและแนวคิดเพิ่มเติมถึงการจดจำและพึ่งพาพระวิญญาณ