คำสอนของประธานศาสนจักร
บทนำ


บทนำ

ฝ่ายประธานสูงสุดและโควรัมอัครสาวกสิบสองจัดทำหนังสือชุด คำสอน ของประธานศาสนาจักร เพื่อช่วยให้ท่านมีความเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้นในพระกิตติ คุณที่ได้รับการพื่นฟู และใกล้ชิดพระเข้ามากขึ้นโดยผ่านคำสอนของศาสดายุค สุดท้าย เมื่อศาสนาจักรเพิ่มคำสอนของประธานท่านอื่นในชุดนี้ ท่านก็จะมี หนังสืออ้างอิงพระกิตติคุณสะสมไว้ใข้ที่บ้านมากขึ้น

หนังสือเล่มนี้เน้นคำสอนของประธานสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมปัลล์ผู้รับใช้ เป็นประธานศาสนาจักรของพระเยซูคริสต์แห่งสิทธิชนยุคสุดท้ายตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1973 ถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985

ศึกษาส่วนตัว

ขณะที่ท่านศึกษาคำสอนของประธานคิมนัลล์ จงแสวงหาการดลใจจากพระ วิญญาณ พึงจดจำคำสัญญาของนีไฟที่ว่า “ผู้ที่แสวงหาอย่างพากเพียรจะพบและ ความลับ้ลึกของพระผู้เป็นเข้าจะคลี่ต่อเขาโดยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์” (1 นีไฟ 10:19) จงเริ่มการศึกษาของท่านด้วยการสวดอ้อนวอน และสวดอ้อน วอนในใจต่อไปขณะอ่าน

ท้ายบทแต่ละบทท่านจะพบคำถามและพระคัมภีร์อ้างอิงที่จะช่วยให้ท่านเข้า ใจและประยุกต์ใข้คำสอนของประธานคิมนัลล์ ท่านควรทบทวนสิ่งเหล่านี้ก่อน อ่านเนื้อหาในแต่ละบท

แนวทางที่พึงพิจารณาควบคู่กันไปคือ

  • มองหาคำและวลีสำคัญๆ ถ้าท่านพบคำที่ไม่เข้าใจ ให้ใช้พจนานุกรมหรือ แหล่งช่วยอื่นเพื่อจะเข้าใจความหมายของคำนั้นดีขึ้น

  • ตรึกตรองความหมายในคำสอนของประธานคิมนัลล์ ท่านอาจจะทำเครื่อง หมายคำและประโยคที่ส่งผลต่อความคิดและจิตใจท่าน

  • ใคร่ครวญประสบการณ์ที่ท่านเคยมีซึ่งเกี่ยวข้องกับคำสอนของประธานคิม บัลล์

  • ไตร่ตรองว่าจะนำคำสอนของประธานคิมบัลล์มาประยุกต์ใช้กับท่านอย่างไร ใคร่ครวญว่าคำสอนเกี่ยวช้องอย่างไรกับข้อกังวลหรือช้อสงสัยที่ท่านมี ตัดสินใจว่าท่านจะทำอะไรสืบเนื่องจากสิ่งที่ท่านเรียนรู้

สอนจากหนังสือเล่มนี้

หนังสือเล่มนี้ใช้สอนได้ทั้งที่บ้านและที่โบสถ์ แนวทางต่อไปนี้จะช่วยท่าน

มุ่งเน้นคำลอนบองประธานคิมบัลล์และพระคัมภีร์

พระเจ้าทรงบัญชาว่าเราจะไม่สอน “เรื่องอื่นใดนอกจากเรื่องซึ่งศาสดาและ อัครสาวกเขียนไว้ และเรื่องซึ่งพระผู้ปลอบโยนสอน [เรา] โดยทางคำสวดอ้อน วอนแห่งศรัทธา” (ค.พ. 52:9)

งานมอบหมายของท่านคือช่วยให้ผู้อื่นเช้าใจและประยุกต์ใช้พระกิตติคุณ ผ่านคำสอนของประธานคิมบัลล์และพระคัมภีร์ อย่าสอนโดยไม่ใช้หนังสือเล่ม นี้หรือเตรียมบทเรียนจากหนังสือเล่มอื่น จงใช้ส่วนสำคัญของบทเรียนไปกับ การอ่านคำสอนของประธานคิมบัลถ์ในหนังสือเล่มนี้พร้อมทั้งสนทนาความ หมายและการประยุกต์ใช้

สนับสนุนผู้เรียนให้ศึกษาเนื้อหาในบทต่างๆ ก่อนมาการประชุมวันอาทิตย์ และนำหนังสือติดตัวมาด้วย เมื่อผู้เรียนอ่านมาล่วงหน้าพวกเขาย่อมพร้อมจะมี ส่วนร่วมและสร้างสรรค์กันมากขึ้น

แสวงทำการนําทางจากพระวิญญาณบริฮุทธิ์

เมื่อท่านสวดอ้อนวอนขอความช่วยเหลือและหมั่นเตรียม พระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงนำทางท่าน พระองค์จะทรงช่วยท่านเน้นส่วนต่างๆ ของแต่ละบท ซึ่งจะกระตุ้นผู้เรียนให้เช้าใจและนำพระกิตติคุณมาประยุกต์ใช้

เมื่อท่านสอน จงสวดอ้อนวอนในใจขอให้อำนาจของพระวิญญาณอยู่กับคำ พูดของท่านและการสนทนาในชั้นเรียน นีไฟกล่าวว่า “เมื่อคนใดพูดโดยอำนาจ ของพระวิญญาณบริสุทธิ์ อำนาจของพระวิญญาณบริสุทธี้ย่อมนำคำพูดไปสู่ใจ ของลูกหลานมนุษย์” (2 นีไฟ 33:1; ดู ค.พ. 50:13–22 ด้วย)

เตรียมสอน

บทเรียนแต่ละบทในหนังสือเล่มนี้จัดเรียงตามลำดับเพื่อช่วยท่านเตรียมสอน พึงพิจารณาแนวทางต่อไปนี้

  1. ศึกษาบทเรียน ศึกษาบทเรียนร่วมกับการสวดอ้อนวอนเพื่อให้มั่นใจว่าท่าน เข้าใจคำสอนของประธานคิมบัลล์ ท่านจะสอนด้วยความจริงใจและด้วยพลัง มากขึ้นเมื่อถ้อยคำของประธานคิมบัลล์มีอิทธิพลต่อตัวท่าน (ดู ค.พ. 11:21) ขณะอ่านให้นึกถึงความต้องการของคนที่ท่านสอน ท่านอาจจะทำเครื่อง หมายข้อความที่ท่านรู้สึกว่าจะช่วยพวกเขา พึงสนใจหัวข้อที่เป็นตัวเข้มของ แต่ละบทด้วย หัวข้อเหล่านี้จะสรุปประเด็นหลักในบท

  2. ตัดสินใจว่าจะใช้ส่วนใด แต่ละบทมีเนื้อหามากเกินกว่าจะสอนได้หมดในบทเรียนเดียว แทนที่จะพยายามสอนทั้งบท ให้ท่านสวดอ้อนวอนและเลือกส่วนที่ท่านรู้ลืกว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด

  3. ตัดสินใจว่าจะนำเช้าสู่บทเรียนอย่างไร เพื่อชุดประกายความคิดให้เกิดความ สนใจตอนเริ่มบทเรียน ท่านอาจจะเล่าประสบการณ์ส่วนตัวหรือขอให้ผู้เรียน อ่านเรื่องหนึ่งจากด้นบทเรียนหรือดูรูปในบท แถ้วท่านอาจจะถามว่า “เรื่องนี้ (หรือรูปนี้) สอนอะไรเกี่ยวกับหัวข้อของบท” ทางเลือกอื่นๆ สำหรับเริ่มบท เรียนได้แก่ การอ่านพระคัมภีร์หรือข้อความอ้างอิงจากบทเรียนหรือร้องเพลง สวด อีกความคิดหนึ่งที่ช่วยได้คือให้ผู้เรียนรู้ว่าประเด็นหลักของบทเรียนคือ อะไร

  4. ตัดสินใจว่าจะกระตุ้นการสนทนาอย่างไร นี่่คือส่วนที่ท่านควรให้เวลาแก่บทเรียนมากที่สุด ทบทวนข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการสนทนาอย่าง สร้างสรรค์หน้า ⅷ-ⅸ ของหนังสือเล่มนี้ ท่านอาจจะใช้คำถามจาก “ข้อเสนอแนะสำหรับศึกษาและสอน” ท้ายบทหรือจะตั้งคำถามเองก็ได้ จงถาม คำถามซึ่งจะช่วยคนที่ท่านกำลังสอน

    • ดูว่าสอนอะไร คำถามลักษณะนี้จะช่วยให้ผู้เรียนพบและคุ้นเคยกับข้อมูล จำเพาะเจาะจงในคำสอนของประธานคิมบัลล์ ตัวอย่างเช่น หลังจากบอก ข้อความอ้างอิงตอนหนึ่งแล้ว ท่านอาจจะถามว่า “มีคำหรือวลีสำคัญๆ อะไรบ้างในข้อความนี้” หรือ “อะไรคือหัวข้อของข้อความด้งกล่าว”

    • ตรึกตรองความหมาย คำถามลักษณะนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจคำสอนของ ประธานคิมนัลล์ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น “ท่านคิดว่าเหตุใดคำสอนนี้จึงสำคัญ” หรือ “ท่านมีความคิดหรือความรู้ลืกอย่างไรเกี่ยวกับข้อความนี้” หรือ “คำสอนนี้มีความหมายต่อท่านอย่างไร”

    • เล่าประสบการณ์ คำถามเหล่านี้จะกระตุ้นผู้เรียนให้โยงสิ่งที่ประธานคิมบัลล์พูดเข้ากับเรื่องบางเรื่องในชีวิตส่วนตัวของเขา ตัวอย่างเช่น “ท่าน เคยมีประสบการณ์อะไรบ้างซึ่งเกี่ยวโยงกับสิ่งที่ประธานคิมบัลล์พูด”

    • ประยุกต์ใข้เนื้อหาที่เรียน คำถามเหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนคิดหาวิธีที่เขาจะ สามารถดำเนินชีวิตตามคำสอนของประธานคิมบัลล์ได้ ตัวอย่างเช่น “ประ ธานคิมบัลล์กำลังกระตุ้นเราให้ทำอะไร เราจะนำสิ่งที่ท่านพูดไปประยุกต์ใช้ในทางใด”

  5. ตัดสินใจว่าจะสรุปบทเรียนอย่างไร ท่านอาจจะเลือกสรุปบทเรียนอย่างรวดเร็ว หรือขอให้ผู้เรียนหนึ่งหรือสองคนเป็นผู้สรุป เป็นพยานถึงคำสอนที่ท่านสอน เมื่อพระวิญญาณกระตุ้นเตือน ท่านอาจจะเชิญนักเรียนบางคนแสดงประจักษ์ พยาน สนับสนุนผู้เรียนให้ทำตามการกระตุ้นเตือนที่เขาได้รับจากพระวิญญาณ บริสุทธี้

ขณะเตรียมสอน ท่านอาจจะค้นหาแนวคิดใน โม่ปีการเรียกใดยิ่งใหญ่กว่า การสอน (36123 425) ภาค ข บทที่ 14, 16, 28 และ 29 หรือใน หนังสือ แนะแนวการสอน (34595 425)

ดำเนินการสนทนาอย่างสร้างสรรค์

แนวทางต่อไปนี้จะช่วยท่านส่งเสริมและดำเนินการสนทนาอย่างสร้างสรรค์

  • แสวงหาการนำทางจากพระวิญญาณบริสุทธี้ พระองค์อาจจะกระตุ้นเตือน ท่านให้ถามคำถามบางข้อหรือรวมคนบางคนไว้ในการสนทนา

  • ช่วยให้ผู้เรียนมุ่งเนันคำสอนของประธานคิมนัลล์ ให้เขาอ่านถ้อยคำของ ท่านเพื่อให้เกิดการสนทนาและตอบคำถาม นำการสนทนากลับเข้าสู่ประเด็น หาก เริ่มออกนอกประเด็นหรือเกิดการคาดเดาหรือความขัดแย้ง

  • หากเห็นสมควรให้เล่าประสบการณ์ที่เกี่ยวโยงกับคำสอนในบท

  • กระตุ้นผู้เรียนให้แบ่งปันความคิด ซักถาม และสอนกัน (ดู ค.พ. 88:122) ตัวอย่างเช่น ท่านอาจจะขอให้เขาแสดงความเห็นในสิ่งที่ผู้อื่นพูด หรือท่าน อาจจะใข้คำถามข้อเดียวแต่ให้ผู้เรียนหลายคนตอบ

  • อย่ากลัวความเงียบหลังจากที่ท่านถามคำถาม ผู้เรียนมักต้องการเวลาคิดหรือ หาคำตอบในหนังสือก่อนจะแบ่งปันแนวคิด ประจักษ์พยาน และประสบการณ์

  • ตั้งใจฟัง และพยายามเข้าใจความคิดเห็นของทุกคน กล่าวขอบคุณสำหรับ การมีส่วนร่วมของพวกเขา

  • เมื่อผู้เรียนแบ่งปันแนวคิดหลายประการ ท่านอาจจะขอให้คนใดคนหนึ่งเขียน แนวคิดเหล่านี้บนกระดาน

  • หาวิธีหลายๆ วิธีให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสนทนา ตัวอย่างเช่น ท่านอาจ จะให้เขาสนทนาคำถามในกลุ่มเล็กหรือกับคนที่นั่งติดกัน

  • ติดต่อกับผู้เรียนหนึ่งหรือสองคนล่วงหน้า ขอให้เขาเตรียมตอบคำถามข้อ หนึ่งที่ท่านเตรียมไว้

  • อย่าตัดบทการสนทนาที่ดีเพียงเพราะท่านต้องการสอนให้ครอบคลุมเนื้อหา ทั้งหมดที่เตรียมมา เรื่องสำคัญที่สุดคือผู้เรียนต้องรู้สึกถึงอิทธิพลของพระวิญ ญาณและมีปณิธานแน่วแน่มากขึ้นว่าจะดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ

ข้อมูลเกี่ยวกับบรรณานุกรมในหนังสือเล่มนี้

คำสอนของประธานคิมบัลล์ในหนังสือหยิบยกมาจากแหล่งต่างๆ โดยตรง บทคัดลอกเหล่านี้ยังคงเครื่องหมายวรรคตอน ตัวสะกด และย่อหน้าไว้เหมือน ต้นฉบับเติม แต่จำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบบทความหรือการเรียงพิมพ์เพื่อให้อ่าน ง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ท่านจึงอาจจะเห็นความลักลั่นเล็กๆ น้อยๆ ปรากฎอยู่ใน เนื้อหา

ประธานคิมบัลล์ใข้คำว่า มนุษย์ หรือ มนุษยชาติ บ่อยๆ เพื่อหมายถึงคนทั้ง ปวง ทั้งชายและหญิง ท่านใช้สรรพนาม เขา อยู่บ่อยครั้งเพื่อหมายถึงคนทั้ง สองเพศ นี่เป็นภาษาที่ใข้กันทั่วไปในสมัยของท่าน แห้จะมีความแตกต่างระ หว่างกฎเกณฑ์การใช้ภาษาในอดีตและป้จจุมัน แต่คำสอนของประธานคิมบัลล์ ยังคงประยุกต้ใข้ได้ทั้งหญิงและชาย

ภาพ
President Spencer W. Kimball
ภาพ
Kimball signature