เซมินารี
2 เธสะโลนิกา 2


2 เธสะโลนิกา 2

การละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่

ภาพ
A group of New Testament era people gathered around a man. The people are listening to the man speak. The image illustrates the development of false beliefs and apostasy occuring in the early Christian church following the deaths of the original apostles of Jesus Christ.

ชีวิตของท่านจะเป็นอย่างไรหากท่านไม่มีความสมบูรณ์จากพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์? เปาโลสอนวิสุทธิชนในเธสะโลนิกาว่า ในที่สุดความชั่วร้ายของผู้คนก็จะส่งผลให้เกิดการกบฏต่อพระกิตติคุณ (ดู 2 เธสะโลนิกา 2:1–7) บทเรียนนี้สามารถช่วยให้ท่านเข้าใจว่าการละทิ้งความเชื่อในศาสนจักรพันธสัญญาใหม่เกิดขึ้นได้อย่างไรและเหตุใดจึงต้องมีการฟื้นฟูศาสนจักรของพระผู้ช่วยให้รอดในยุคสุดท้าย

การใช้ข้ออ้างโยง ข้ออ้างโยงเป็นข้อพระคัมภีร์ที่จะช่วยให้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือข้อคิดเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังศึกษา อาจเป็นประโยชน์ที่จะเชิญนักเรียนให้ใช้ข้ออ้างโยงถึงสิ่งที่ตนกำลังอ่านด้วยข้อพระคัมภีร์อื่นๆ เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับพระกิตติคุณ

&#160 ให้นักเรียนเตรียมพร้อมที่จะแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้หรือถามคำถามที่นักเรียนมี

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

การละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่

เตือนความจำให้นักเรียนไตร่ตรองเนื้อหาในการเตรียมเข้าชั้นเรียนของตนขณะตอบสนองต่อสถานการณ์ต่อไปนี้

ให้ดูหรืออธิบายสถานการณ์และคำถามต่อไปนี้ และเชื้อเชิญให้นักเรียนตอบลงในสมุดบันทึกการศึกษาของตนก่อนที่จะแบ่งปันคำตอบกับชั้นเรียน

หรืออีกวิธีหนึ่ง ให้แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มละสองหรือสามคนโดยให้นักเรียนหนึ่งคนสวมบทบาทเป็นผู้ได้รับการสอน และอีกหนึ่งถึงสองคนสวมบทบาทเป็นผู้สอนศาสนา อาจให้ผู้ที่แสดงเป็นผู้สอนศาสนาพยายามอธิบายเรื่องการละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่

ลองจินตนาการว่าท่านเป็นผู้สอนศาสนาวันแรกของงานเผยแผ่ของท่าน ท่านต้องสอนใครสักคนเกี่ยวกับการละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่

  • ท่านจะอธิบายประเด็นนี้กับบุคคลนั้นว่าอย่างไร?

  • เหตุใดเรื่องนี้จึงอาจเป็นความท้าทาย?

  • ท่านคิดว่าเหตุใดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจการละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่?

ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน จดคำถามที่ท่านมีเกี่ยวกับการละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่หรือคำถามที่ผู้สนใจอาจถาม ระหว่างที่ท่านกำลังศึกษา ให้แสวงหาความช่วยเหลือจากพระบิดาบนสวรรค์เพื่อค้นหาคำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้

เชิญอาสาสมัครมาเขียนคำถามที่ตนหรือผู้อื่นอาจจะมีเกี่ยวกับการละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่บนกระดาน เชิญนักเรียนให้อ้างอิงคำถามเหล่านี้ตลอดบทเรียน

เปาโลพยากรณ์ว่าจะเกิดการกบฏต่อศาสนจักร

ชาวเธสะโลนิกามีข้อกังวลมากมายเกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สองของพระเยซูคริสต์และคิดว่ามันจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ เปาโลกล่าวถึงข้อกังวลของพวกเขาในจดหมาย และอธิบายว่าจะมีสิ่งอื่นเกิดขึ้นก่อนที่พระคริสต์จะเสด็จกลับมาอีกครั้ง

อ่าน 2 เธสะโลนิกา 2:1–3 และมองหาสิ่งที่เปาโลสอนว่าจะเกิดขึ้นก่อนการเสด็จมาครั้งที่สองของพระคริสต์ &#160

  • เปาโลสอนว่าจะเกิดอะไรขึ้นก่อนการเสด็จมาครั้งที่สองของพระคริสต์?

“การกบฏ” นี้ที่เปาโลอธิบายไว้คือการละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่ซึ่งเกิดขึ้นหลังการเสียชีวิตของอัครสาวกของพระเยซูคริสต์ การละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่นี้แตกต่างจากการละทิ้งความเชื่อส่วนตัวซึ่งคือเมื่อบุคคลกบฏหรือหันหลังให้ความจริง (ดู คู่มือพระคัมภีร์, “ ละทิ้งความเชื่อ (การ) ,” scriptures.ChurchofJesusChrist.org).

  • คำพูดของเปาโลแสดงถึงความใส่ใจและความห่วงใยของพระผู้เป็นเจ้าที่ทรงมีต่อวิสุทธิชนชาวเธสะโลนิกาอย่างไร?

ความจริงข้อหนึ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากข้อเหล่านี้คือ สมัยโบราณมีการพยากรณ์ไว้ว่าก่อนการเสด็จมาครั้งที่สองของพระเยซูคริสต์ การละทิ้งความเชื่อจากศาสนจักรของพระองค์จะเกิดขึ้น

  • ท่านคิดว่าเหตุใดการเข้าใจความจริงข้อนี้จึงสำคัญ?

ประธานเอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ดแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายว่าเหตุใดจึงเกิดช่วงเวลาแห่งการละทิ้งความเชื่อ

ภาพ
Official portrait of President M. Russell Ballard of the Quorum of the Twelve Apostles, 2004.

พระบิดาบนสวรรค์ทรงรักลูกทุกคนของพระองค์ และทรงต้องการให้ทุกคนมีพรของพระกิตติคุณในชีวิต แสงสว่างทางวิญญาณไม่ได้หายไปเพราะพระผู้เป็นเจ้าทรงละทิ้งลูกๆ ของพระองค์ แต่ความมืดทางวิญญาณเกิดจากการที่ลูกๆ หันหลังให้พระองค์ สิ่งนี้เป็นผลพวงจากการเลือกผิดๆ ของบุคคล ชุมชน ประเทศชาติ และโลกอารยธรรมทั้งหลาย

(เอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด, “เรียนบทเรียนจากอดีต,” เลียโฮนา, พ.ค. 2009, 38)

  • ท่านประทับใจอะไรในข้อความนี้? เพราะเหตุใด?

เพราะพระบิดาบนสวรรค์ทรงรู้ทุกสรรพสิ่ง (ดู 2 นีไฟ 9:20) การละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่จึงไม่ใช่เรื่องประหลาดพระทัยของพระองค์ พระองค์ทรงรักบุตรธิดาของพระองค์ (ดู ยอห์น 3:16) พระองค์จึงประทานหนทางที่จะเอาชนะการละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่นี้ผ่านการฟื้นฟูศาสนจักรและพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ (ดู กิจการ 3:19–21 ; เอเฟซัส 1:10)

เพิ่มความเข้าใจของท่านให้ลึกซึ้งขึ้นเกี่ยวกับการละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่

กิจกรรมต่อไปนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจดีขึ้นว่าการละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่เกิดขึ้นอย่างไรและเหตุใดศาสนจักรของพระผู้ช่วยให้รอดจึงจำเป็นต้องมีการฟื้นฟูในยุคสุดท้าย

ถ้านักเรียนสามารถเข้าถึง สั่งสอนกิตติคุณของเรา: แนวทางการรับใช้งานเผยแผ่ศาสนา (2019) ให้นักเรียนศึกษาหมวด “การละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่” ใน “บทที่ 1: ข่าวสารแห่งการฟื้นฟูพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์” (หน้า 35–36) ซึ่งสามารถทำได้แทนการศึกษาเอกสารประกอบการเรียน

แสดงเอกสารประกอบต่อไปนี้ หรือพิมพ์และแจกจ่ายให้นักเรียน

ศึกษาข้อพระคัมภีร์และคำกล่าวต่อไปนี้โดยประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน จากนั้นตอบคำถามต่อไปนี้

  1. 1 นีไฟ 13:24–28 : นีไฟเห็นในนิมิตว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับความจริงที่สำคัญในพระคัมภีร์ไบเบิล

  2. อาโมส 8:11–12 : อาโมสพยากรณ์ว่าจะเกิดการกันดารอาหารทางวิญญาณที่กำลังจะมาถึง

  3. กิจการ 20:29–30 : เปาโลเตือนว่าสมาชิกศาสนจักรของพระผู้ช่วยให้รอดจะถูกชักนำให้หลงผิดจากพระกิตติคุณ

  4. ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันสอนว่า:

    ภาพ
    The official portrait of Russell M. Nelson.

    “เพราะพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงพระชนม์ของเราทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าผู้เปี่ยมด้วยความรัก! พระองค์ต้องการให้บุตรธิดาของพระองค์รู้จักพระองค์และพระเยซูคริสต์ผู้ที่พระองค์ทรงใช้มา! พระองค์ทรงประสงค์ให้บุตรธิดาของพระองค์ได้รับความเป็นอมตะและชีวิตนิรันดร์!

    “เพราะจุดประสงค์อันรุ่งโรจน์นี้ ผู้สอนศาสนาของเราจึงสอนเรื่องการฟื้นฟู พวกเขาทราบว่าเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว พระเจ้าได้สถาปนาศาสนจักรของพระองค์ หลังจากการตรึงกางเขนของพระองค์และมรณกรรมของเหล่าอัครสาวก มนุษย์เปลี่ยนแปลงศาสนจักรและหลักคำสอน จากนั้น หลังจากคนหลายรุ่นตกอยู่ในความมืดมิดทางวิญญาณ และดังที่ศาสดาพยากรณ์ก่อนหน้านั้นทำนายไว้ล่วงหน้า พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงฟื้นฟูศาสนจักร หลักคำสอน และสิทธิอำนาจฐานะปุโรหิต เพราะการฟื้นฟูดังกล่าว ความรู้และศาสนพิธีที่จำเป็นต่อความรอดและความสูงส่งจึงมีให้คนทั้งปวงอีกครั้ง ในที่สุด ความสูงส่งนั้นทำให้เราแต่ละคนได้อยู่กับครอบครัวของเราในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าและพระเยซูคริสต์ตลอดกาล!”

    รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “จับเกลียวคลื่น,” เลียโฮนา, พ.ค. 2013, 46

  • ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่?

  • ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์จากคำสอนเหล่านี้?

  • อิงจากสิ่งที่ท่านเรียนรู้ เหตุใดการฟื้นฟูจึงมีความจำเป็น?

ภาพ
New Testament Seminary Teacher Manaul - 2023

แหล่งข้อมูลอื่นๆที่นักเรียนสามารถศึกษาได้แก่หมวด “การละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่ ใน “บทที่ 1: ข่าวสารแห่งการฟื้นฟูพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์” ใน :แนวทางการรับใช้งานเผยแผ่ศาสนา (2019) หรือวีดิทัศน์ “การฟื้นฟูคืออะไร?” (5:13) หรือ “ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์” (1:27) ซึ่งรับชมได้ใน ChurchofJesusChrist.org สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นหากต้องการ

หลังจากให้เวลานักเรียนอย่างเพียงพอในการศึกษาแล้ว ให้เชิญนักเรียนมาแบ่งปันคำตอบของนักเรียนต่อคำถามในเอกสารแจก ขอให้นักเรียนเล่าว่าคำถามข้อใดที่ได้รับคำตอบแล้วและคำถามใดที่นักเรียนยังมีอยู่ เชิญนักเรียนคนอื่นมาแบ่งปันข้อคิดที่สามารถช่วยตอบคำถามเหล่านั้นได้

สรุปชั้นเรียนด้วยกิจกรรมและคำถามต่อไปนี้

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์เแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองแบ่งปันคำถามที่เขาและภรรยาอาจเคยมีหากทั้งสองดำเนินชีวิตในช่วงเวลาแห่งการละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่: “อะไรขาดหายไป? เราอยากให้มีสิ่งใด? เรา หวัง ว่าพระผู้เป็นเจ้าจะประทานสิ่งใดเพื่อตอบสนองความโหยหาทางวิญญาณของเรา?” (“ความเจิดจ้าอันบริบูรณ์แห่งความหวัง,” เลียโฮนา, พ.ค. 2020, 81) ไตร่ตรองความคิดและความรู้สึกที่คล้ายกันที่ท่านอาจมีหากท่านดำเนินชีวิตในเวลานั้น

  • ชีวิตของท่านจะเป็นอย่างไรหากท่านไม่มีความสมบูรณ์ของพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์?

  • ท่านรู้สึกสำนึกคุณต่อสิ่งใดมากที่สุดเกี่ยวกับศาสนจักรของพระผู้ช่วยให้รอด? เพราะเหตุใด?

  • ท่านรู้สึกว่าสิ่งใดที่พระบิดาบนสวรรค์ทรงประสงค์ให้ท่านทราบ รู้สึก หรือทำอะไรเพราะบทเรียนนี้?

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

ชาวคริสต์ที่มีชีวิตอยู่มาก่อนการฟื้นฟูตระหนักถึงการละทิ้งความเชื่อหรือไม่?

มาร์ติน ลูเธอร์ นักปฏิรูปสังคม (1483–1546) สอนดังนี้:

ข้าพเจ้าไม่ได้มุ่งหมายสิ่งใดนอกจากปฏิรูปศาสนจักรให้สอดคล้องกับพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ … ข้าพเจ้าพูดเพียงว่าศาสนาคริสต์ไม่ดำรงอยู่แล้วในหมู่คนที่ควรอนุรักษ์ไว้

(ใน E. G. Schwiebert, Luther and His Times: The Reformation from a New Perspective [1950], 509)

โรเจอร์ วิลเลียมส์ ผู้นำชาวคริสต์อเมริกันในยุคต้น (1603–83) อธิบายว่า:

การละทิ้งความเชื่อ … ทำลายทั้งหมดจนไม่สามารถนำกลับคืนมาจากการละทิ้งความเชื่อนั้นจนกระทั่งพระคริสต์ทรงส่งอัครสาวกคนใหม่ออกไปตั้งคริสตจักรอีกครั้ง

(ใน Philip Schaff, The Creeds of Christendom, 3 vols. [1877], 1:851)

อีราสมุส นักปรัชญาชาวดัตช์ (1466–1536) สอนว่า

ทุกอย่างตอนนี้พัวพันอยู่กับคำถามเหล่านี้ [ของหลักคำสอน] และกฎข้อบังคับที่เราไม่กล้าแม้แต่จะหวังเรียกให้ชาวโลกกลับมานับถือศาสนาคริสต์ที่แท้จริง

(The Praise of Folly, trans. Clarence H. Miller, 2nd ed. [2003], 155–56)

ที่ผ่านมามีการละทิ้งความเชื่อเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวหรือไม่?

ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา มีสมัยการประทานหลายครั้งที่สิ้นสุดลงด้วยการละทิ้งความเชื่อ ด้วยพระเมตตาของพระเจ้า จึงเกิดการฟื้นฟูพระกิตติคุณของพระองค์สู่โลกด้วยการเรียกศาสดาพยากรณ์ &#160

เราควรจะมองคนดีที่มีความเชื่ออื่นอย่างไร?

ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งฝ่ายประธานสูงสุดอธิบายดังนี้:

ภาพ
Official Portrait of President Dallin H. Oaks taken March 2018.

เราเชื่อว่าผู้นำทางศาสนาและสาวกส่วนใหญ่เป็นผู้มีความเชื่ออย่างจริงใจ เป็นผู้รักพระผู้เป็นเจ้า และเข้าใจและรับใช้พระองค์อย่างสุดความสามารถของพวกเขา เราเป็นหนี้บุญคุณทั้งชายและหญิงผู้รักษาแสงสว่างแห่งศรัทธาและเรียนรู้ชีวิตผ่านหลายศตวรรษจนถึงปัจจุบัน เรามีเพียงความแตกต่างจากแสงไฟที่สว่างน้อยกว่าที่มีอยู่ในหมู่ผู้คนที่ไม่คุ้นเคยกับพระนามของพระผู้เป็นเจ้าและพระเยซูคริสต์ที่จะตระหนักถึงความทุ่มเทอันยิ่งใหญ่ของครูชาวคริสต์ในยุคสมัยต่างๆ เท่านั้น เรายกย่องพวกเขาในฐานะผู้รับใช้พระผู้เป็นเจ้า

(ดัลลิน เอช. โอ๊คส์, “Apostasy and Restoration,” Ensign, May 1995, 85)

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

ทางเลือกการเริ่มต้นเข้าสู่บทเรียน

ให้ดูพืชที่มีชีวิตและพืชที่เหี่ยวแห้งหรือตายแล้ว (หรือกิ่งไม้แห้งในดิน) เชื้อเชิญให้นักเรียนไตร่ตรองและตอบคำถามต่อไปนี้:

  • ท่านคิดว่าเหตุใดพืชเหล่านี้จึงดูแตกต่างกัน?

  • พืชเหล่านี้เป็นตัวแทนสภาพทางวิญญาณที่แตกต่างกันอย่างไร?

จากนั้นเชิญนักเรียนมาพิจารณาว่าอุปมานี้เกี่ยวข้องกับการละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่อย่างไร ถ้าจำเป็น ให้เชิญนักเรียนมาศึกษา อาโมส 8:11–12 เพื่อสร้างการเชื่อมโยงก่อนศึกษา 2 เธสะโลนิกา 2:1–4