เซมินารี
ผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน: 2 เธสะโลนิกา 2:1–3


ผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน: 2 เธสะโลนิกา 2:1–3

“วันขององค์พระผู้เป็นเจ้า … จะไม่มาถึงจนกว่าจะมีการกบฏเสียก่อน”

ภาพ
Image of man at a desk writing on parchment

ในบทเรียนก่อนหน้านี้ ท่านได้เรียนรู้ว่ามีการพยากรณ์ไว้ตั้งแต่สมัยโบราณว่า ก่อนการเสด็จมาครั้งที่สองของพระเยซูคริสต์ การละทิ้งความเชื่อจากศาสนจักรของพระองค์จะอุบัติขึ้น (ดู “2 เธสะโลนิกา 2”) บทเรียนนี้สามารถช่วยท่านท่องจำข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนและวลีสำคัญจากพระคัมภีร์สำหรับ 2 เธสะโลนิกา 2:1–3 รวมทั้งอธิบายหลักคำสอนเรื่องการละทิ้งความเชื่อ และประยุกต์ใช้หลักธรรมการได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณในสถานการณ์ชีวิตจริง

ช่วยให้นักเรียนตั้งคำถามด้วยการแสดงศรัทธา “นักเรียนของเราหลายคนได้รับพรด้วยของประทานแห่งใจที่่เชื่อ นักเรียนส่วนใหญ่มีคำถาม ไม่ใช่ความสงสัย วิธีที่เราใช้ผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนควรยืนยันศรัทธาและช่วยให้นักเรียนตอบคำถามด้วยตนเองและเตรียมพวกเขาให้ช่วยผู้อื่น ไม่ควรทำสิ่งนี้ในวิธีที่จะสร้างความสงสัยหรือลดศรัทธา” (แชด เอช. เว็บบ์, “Doctrinal Mastery” [คำปราศรัยในการถ่ายทอดการอบรมประจำปีเซมินารีและสถาบันศาสนา, 14 มิถุนายน 2016])

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนไตร่ตรองคำถามต่อไปนี้ และเตรียมอธิบายว่าตนจะตอบคำถามอย่างไร : “ทำไมพระผู้เป็นเจ้าทรงปรากฎต่อโจเซฟ สมิธเพื่อฟื้นฟูศาสนจักรของพระองค์ หากศาสนาคริสต์ได้ก่อตั้งขึ้นแล้วและมีผู้คนมากมายที่เชื่อพระคัมภีร์ไบเบิลอยู่แล้ว?”

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

บทเรียนนี้ออกแบบมาเพื่อสอนหลังจาก “2 เธสะโลนิกา 2” ซึ่งเป็นบทเรียนตามบริบทสำหรับข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน 2 เธสะโลนิกา 2:1–3 ถ้าบทเรียนนี้จำเป็นต้องย้ายไปสัปดาห์อื่นเพื่อให้เหมาะกับตารางของโรงเรียน ขอให้แน่ใจว่าได้ย้ายบทเรียนตามบริบทไปด้วย

ท่องจำและอธิบาย

แสดงเฉพาะข้ออ้างอิงพระคัมภีร์ 2 เธสะโลนิกา 2:1–3, และเชิญให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

ท่องจำข้ออ้างอิงพระคัมภีร์และวลีสำคัญจากพระคัมภีร์สำหรับ 2 เธสะโลนิกา 2:1–3 วิธีหนึ่งในการทำสิ่งนี้คือทำกิจกรรมต่อไปนี้ให้เสร็จสมบูรณ์ (หรือกิจกรรมที่คล้ายกันโดยใช้แอปพลิเคชันผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนในมือถือ):

นักเรียนสามารถทำกิจกรรมต่อไปนี้ด้วยตนเอง หรืออาจทำบนกระดานเป็นชั้นเรียน

เขียน 2 เธสะโลนิกา 2:1–3: “วันขององค์พระผู้เป็นเจ้า … จะไม่มาถึงจนกว่าจะมีการกบฏเสียก่อน” ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่านหรือในอุปกรณ์ดิจิทัลของท่าน

ท่องข้ออ้างอิงและวลีสำคัญจากพระคัมภีร์นั้นออกเสียงหรือท่องในใจสองสามครั้ง

ลบวลีเช่น “การกบฏเสียก่อน” และลองท่องข้ออ้างอิงและวลีสำคัญจากพระคัมภีร์ที่สมบูรณ์อีกครั้ง

ดำเนินการลบวลีเพิ่มเติมต่อไปจนกว่าท่านจะสามารถท่องข้ออ้างอิงและวลีสำคัญจากพระคัมภีร์ได้ทั้งข้อจากความจำ

ท่านอาจจำได้ว่าเมื่อท่านศึกษา 2 เธสะโลนิกา 2 ท่านได้ทราบว่า ก่อนการเสด็จมาครั้งที่สองของพระเยซูคริสต์ การละทิ้งความเชื่อจากศาสนจักรของพระองค์จะอุบัติขึ้น

แทนที่จะให้นักเรียนเขียนคำอธิบายเกี่ยวกับการละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่ที่เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมต่อไปนี้ ให้ลองจับคู่นักเรียนและเชื้อเชิญให้นักเรียนผลัดกันอธิบายเกี่ยวกับการละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่ต่อกัน หากนักเรียนต้องการทำความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับหลักคำสอนของการละทิ้งความเชื่อและการฟื้นฟูก่อนทำกิจกรรมนี้ให้เสร็จสมบูรณ์ ลองใช้เวลาสองสามนาทีเพื่อทบทวนเนื้อหาจากบทเรียนก่อนหน้านี้

เขียนคำอธิบายว่าการละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่คืออะไรและทำไมจึงเกิดขึ้น เขียนราวกับท่านกำลังอธิบายการละทิ้งความเชื่อให้เด็กคนหนึ่งฟัง ใช้ความจริงจาก 2 เธสะโลนิกา 2:1–3 เป็นส่วนหนึ่งของคำอธิบายของท่าน และรวมถึงข้อคิดว่าเหตุใดจึงจำเป็นต้องมีการฟื้นฟูศาสนจักรของพระคริสต์อย่างเต็มรูปแบบ

ฝึกประยุกต์ใช้

หากจำเป็น เปิดโอกาสให้นักเรียนทบทวนหลักธรรมของการได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณ วิธีหนึ่งในการทำสิ่งนี้คือการแสดงแบบทดสอบจับคู่ให้นักเรียนทำด้วยตนเอง หรือกับคู่ หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ อีกทางหนึ่ง สามารถให้ทำแบบทดสอบทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเกมออนไลน์หากนักเรียนสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ที่ทำได้ คำตอบที่ถูกต้องคือ (1) ค; (2) ก; (3) ข

ขณะที่ท่านเรียนรู้บทเรียนนี้ต่อไป ท่านจะมีโอกาสช่วยใครสักคนประยุกต์ใช้หลักธรรมของการได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณ เพื่อดูว่าท่านจดจำหลักธรรมเหล่านี้ได้ดีเพียงใด ให้ลองจับคู่ข้อความต่อไปนี้กับหลักธรรมของการได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณที่แต่ละข้อความอธิบายไว้

  1. “ผู้แสวงหาความจริงที่จริงใจควรระมัดระวังแหล่งข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ”

  2. “วางใจพระผู้เป็นเจ้าและหันไปหาพระองค์เป็นอันดับแรกผ่านการสวดอ้อนวอนที่จริงใจ การศึกษาคำสอนของพระองค์ และการเชื่อฟังพระบัญญัติของพระองค์”

  3. “พิจารณา [คำถาม] ในบริบทของแผนแห่งความรอดและคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอด”

ก. กระทำด้วยศรัทธาข. พินิจแนวคิดและคำถามด้วยมุมมองนิรันดร์ ค. แสวงหาความเข้าใจเพิ่มเติมผ่านแหล่งช่วยที่กำหนดไว้จากสวรรค์

หากท่านจำเป็นต้องทบทวนหลักธรรมเหล่านี้มากขึ้น ให้อ่านย่อหน้าที่ 5–12 ของหมวด “การได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณ” ใน เอกสารหลักผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน(2022)

เชื้อเชิญให้นักเรียนใคร่ครวญถึงการเตรียมสำหรับชั้นเรียนขณะพวกเขาทำกิจกรรมฝึกการประยุกต์ใช้ต่อไปนี้

ลองจินตนาการว่าท่านกำลังส่งข้อความหาคำรณ เพื่อนของท่านซึ่งเป็นสมาชิกของศาสนจักรชาวคริสต์คนละแห่ง เขาอุทิศตนให้กับพระเยซูคริสต์อย่างมากและศึกษาพระคัมภีร์ไบเบิลบ่อยๆ ในข้อความที่ส่งมาหาท่าน คำรณบอกว่า “วันนี้ศิษยาภิบาลของฉันสอนว่าสมาชิกศาสนจักรของคุณเชื่อว่าศาสนจักรของคุณคือศาสนจักรแห่งเดียวที่แท้จริงและศาสนจักรอื่นๆ ล้วนเป็นเท็จ จริงหรือเปล่า? ฉันรู้สึกใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้ามากขึ้นเพราะศาสนจักรของฉัน ศาสนจักรของฉันไม่ได้มาจากพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไร?”

  • เพราะเหตุใดจึงเป็นเรื่องธรรมชาติสำหรับสมาชิกของศาสนจักรอื่นๆ ในการตั้งคำถามเช่นนี้?

  • ท่านจะตอบคำรณด้วยวิธีที่เหมือนพระคริสต์ได้อย่างไร?

ท่านส่งข้อความกลับไปให้คำรณ กล่าวขอบคุณสำหรับคำถามที่น่าคิดของเขา ท่านถามว่าจะบอกคำตอบของท่านให้เขาทราบในวันถัดไปได้หรือไม่ และเขาเห็นด้วย

ใช้หลักธรรมของการได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณเพื่อเตรียมคำตอบสำหรับคำรณ พึงแน่ใจว่าท่านใช้หลักธรรมทั้งสามข้อ ใช้คำถามและกิจกรรมต่อไปนี้เพื่อช่วยท่านเตรียมคำตอบ

นักเรียนอาจสนทนาเกี่ยวกับคำถามต่อไปนี้เป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็ก ก่อนที่จะเขียนคำตอบของตนเอง

ซึ่งอาจเป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนในการส่งสำเนาคำตอบของนักเรียนเพื่อการตรวจ ตรวจสอบให้แน่ใจว่านักเรียนมีความเข้าใจอย่างเพียงพอเกี่ยวกับหลักคำสอนของการละทิ้งความเชื่อและการฟื้นฟู และหลักธรรมของการได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณ

แสวงหาความเข้าใจเพิ่มเติมผ่านแหล่งช่วยที่กำหนดไว้จากสวรรค์

ท่านจะใช้ความจริงที่สอนใน 2 เธสะโลนิกา 2:1–3 เพื่อช่วยคำรณได้อย่างไร?

ค้นหาพระคัมภีร์ การสนทนาหรือบทความเพิ่มเติมอีกอย่างน้อยสามฉบับที่ท่านคิดว่าจะเป็นประโยชน์ในสถานการณ์นี้ ท่านอาจใช้แหล่งช่วยต่อไปนี้:

  1. อ่านข้อมูลทั้งหมดของ “ การละทิ้งความเชื่อ ” และ “ การฟื้นฟูพระกิตติคุณ ” ในคู่มือพระคัมภีร์ เนื้อหาเหล่านี้สามารถพบได้ที่ scriptures.ChurchofJesusChrist.org

  2. &#160

  3. อ้างอิงพระคัมภีร์และคำกล่าวจากบทเรียน “2 เธสะโลนิกา 2” หรือจาก “บทเรียนที่ 1: ข่าวสารแห่งการฟื้นฟูพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์” ใน สั่งสอนกิตติคุณของเรา (2018), 31–46

  • ข้อพระคัมภีร์หรือแหล่งช่วยอื่นใดที่ท่านพบว่าสามารถช่วยท่านตอบคำถามของคำรณได้?

พินิจแนวคิดและคำถามด้วยมุมมองนิรันดร์

  • ความจริงใดเกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ที่ท่านต้องการจะแบ่งปันกับคำรณที่จะช่วยให้เขาเข้าใจถึงความจำเป็นของการฟื้นฟู?

กระทำด้วยศรัทธา

  • ท่านจะเชิญคำรณให้กระทำสิ่งใดเพื่อให้เขาสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองว่า เหตุใดการฟื้นฟูศาสนจักรของพระเยซูคริสต์จึงเป็นสิ่งจำเป็น?

  • ประสบการณ์ประเภทใดที่คำรณคาดหวังได้ว่าจะได้รับหากดำเนินการเหล่านี้?

  • การเชื้อเชิญให้เขากระทำการนั้นถือเป็นการกระทำด้วยศรัทธาของท่านอย่างไร?

เชื้อเชิญให้นักเรียนที่เต็มใจร่วมแบ่งปันคำตอบของตนกับชั้นเรียน รวมถึงข้อพระคัมภีร์ การสนทนา หรือบทความที่เป็นประโยชน์ที่พวกเขาค้นพบ หากมีเวลา ให้ลองเชื้อเชิญอาสาสมัครมาแบ่งปันว่าตนได้รับประจักษ์พยานแห่งการฟื้นฟูได้อย่างไร

การทบทวนผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน

ในตอนต้นหรือตอนท้ายของบทเรียนที่กำลังจะมาถึง ใช้เวลาไม่เกินสามถึงห้านาทีทบทวนข้ออ้างอิงพระคัมภีร์และวลีสำคัญจากพระคัมภีร์สำหรับข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนข้อนี้ ใช้กิจกรรมส่งเสริมความจำแบบเดียวกับที่นักเรียนเคยทำก่อนหน้านี้ในบทเรียนนี้