เซมินารี
ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน 10


ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน 10

กาลาเทีย–2 เธสะโลนิกา

ภาพ
A young man dressed in New Testament era armor with a sword and shield.

บทเรียนนี้มีเจตนาจะช่วยให้ท่านประเมินเป้าหมายที่ท่านตั้งไว้ รวมถึงประสบการณ์ในการเติบโตส่วนตัวระหว่างศึกษาพันธสัญญาใหม่ 

การให้คุณค่าต่อการมีส่วนร่วมของนักเรียน ผู้เรียนแต่ละคนมีความสามารถที่จะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้อื่น ช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าขณะที่ตนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ตนสามารถสร้างผลเชิงบวกต่อนักเรียนคนอื่นได้ กระตุ้นให้นักเรียนรับฟังอย่างจริงใจเมื่อเพื่อนของตนกำลังพูดและตอบสนองต่อความคิดเห็นของกันและกัน นักเรียนแต่ละคนจะได้รับมุมมองที่แตกต่างกันไปสำหรับชั้นเรียนที่สามารถเป็นพรแก่นักเรียนคนอื่นๆ ได้

การเตรียมของนักเรียน: เชิญนักเรียนมาคิดเกี่ยวกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ขณะที่ตนศึกษากาลาเทียถึง 2 เธสะโลนิกา ให้นักเรียนเตรียมพร้อมที่จะแบ่งปันความคืบหน้าที่ตนได้ทำและอุปสรรคที่ได้เผชิญในขณะที่พยายามเพื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

ความก้าวหน้าทางวิญญาณของท่าน

บทเรียนนี้มีเจตนาจะช่วยให้นักเรียนประเมินเป้าหมายที่พวกเขาตั้งไว้ ประเมินความสามารถในการอธิบายคำสอนในพันธสัญญาใหม่ และเจตคติ ความปรารถนา และความสามารถในการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร การศึกษาของชั้นเรียนเกี่ยวกับกาลาเทีย–2 เธสะโลนิกา อาจเน้นถึงความจริงนอกเหนือจากที่มีอยู่ในกิจกรรมต่อไปนี้ หากเป็นเช่นนั้น อาจปรับกิจกรรมให้มีความจริงเหล่านั้นด้วย

นึกถึงความสามารถ พรสวรรค์ หรืออุปนิสัยที่ท่านกำลังพัฒนาซึ่งต้องการความพยายามอย่างเป็นประจำและสม่ำเสมอ

  • อะไรคือแรงจูงใจให้ท่านใช้เวลาและความพยายามที่จำเป็นในการปรับปรุง?

  • ขณะที่ท่านพยายามอย่างหนักเพื่อให้คืบหน้า ท่านคาดหวังว่าจะเกิดอะไรขึ้นที่จะช่วยให้ท่านทราบว่าความพยายามของท่านคุ้มค่า?

เรามีโอกาสมากมายระหว่างที่เราอยู่บนโลกนี้เพื่อพยายามเป็นเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้น ซึ่งช่วยเตรียมเราให้กลับไปอยู่กับพระองค์และพระบิดาบนสวรรค์ของเราอีกครั้ง การประเมินความคืบหน้าของเราเป็นประจำและทำการปรับเปลี่ยนใดๆ ที่จำเป็นอาจเป็นประโยชน์

จุดประสงค์ของบทเรียนนี้คือ การให้โอกาสท่านประเมินความก้าวหน้าทางวิญญาณของท่าน ท่านจะมีโอกาสประเมินสิ่งที่ท่านเรียนรู้มาจนถึงปัจจุบันเกี่ยวกับพันธสัญญาใหม่ และประเมินความก้าวหน้าของท่านที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายที่ท่านอาจกำหนดไว้จากสิ่งที่ท่านเรียนรู้

ใช้เวลาสักครู่เพื่อนึกถึงการศึกษาเรื่องพันธสัญญาใหม่ครั้งล่าสุดของท่าน และการกระทำที่ท่านทำไปเนื่องจากสิ่งที่ท่านเรียนรู้ ท่านอาจต้องการทบทวนสิ่งที่ท่านเขียนไว้ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่านหรือสิ่งที่ท่านทำเครื่องหมายไว้ในพระคัมภีร์ของท่านเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อระบุเป้าหมายที่ท่านตั้งไว้และความประทับใจที่ท่านได้รับ

นักเรียนอาจบันทึกความคิดไว้ในสมุดบันทึกการศึกษาของตน เมื่อนักเรียนมีเวลาเพียงพอแล้ว ให้เชิญพวกเขามาแบ่งปันสิ่งที่ตนเขียน คำถามต่อไปนี้จะช่วยให้นักเรียนทราบถึงสิ่งที่จะแบ่งปัน

  • ท่านเรียนรู้อะไรจากพันธสัญญาใหม่ที่ช่วยให้ท่านใกล้ชิดกับพระเยซูคริสต์มากขึ้น?

  • ท่านได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระองค์บ้างจากพันธสัญญาใหม่ที่โดดเด่นสำหรับท่าน?

หากนักเรียนแบ่งปันประสบการณ์การเรียนรู้ที่สำคัญที่แตกต่างจากที่ระบุไว้ด้านล่าง ให้ใช้เวลาเพื่อช่วยนักเรียนประเมินสิ่งที่ได้เรียนรู้และวิธีที่นักเรียนพัฒนาเนื่องจากประสบการณ์ของตน หรือให้ทำกิจกรรมต่อไปนี้หนึ่งหรือทั้งสองกิจกรรม

กิจกรรม ก: อธิบายถึงการละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่และการฟื้นฟู

ภาพ
An old 1946 Chevy

ดูรูปภาพทั้งสองภาพนี้และคิดถึงความหมายของการฟื้นฟูบางสิ่งบางอย่าง

  • เพราะเหตุใดจึงต้องมีการฟื้นฟูบางสิ่ง?

  • ภาพเหล่านี้จะเปรียบเทียบกับการละทิ้งความเชื่อและการฟื้นฟูได้อย่างไร?

เพื่อทบทวนความเชื่อมโยงระหว่างการละทิ้งความเชื่อและการฟื้นฟู ให้ทำกิจกรรมต่อไปนี้ให้เสร็จสมบูรณ์:

ลองจินตนาการดูว่าผู้สอนศาสนากำลังสอนเพื่อนของท่านคนหนึ่งในบ้าน ผู้สอนศาสนาขอให้ท่านสอนบางส่วนของบทเรียนถัดไปเกี่ยวกับการละทิ้งความเชื่อและการฟื้นฟู ท่านรู้ว่าเพื่อนของท่านคุ้นเคยกับพระคัมภีร์ไบเบิลอยู่แล้ว จึงดูเหมือนเป็นความคิดที่ดีที่จะใช้บางข้อจากพันธสัญญาใหม่ในระหว่างบทเรียน

ใช้ กิจการ 3:21 ; เอเฟซัส 1:10 ; เอเฟซัส 2:19–22 ; และ 2 เธสะโลนิกา 2:1–3 (หรือข้อที่ท่านเลือก) เขียนสิ่งที่ท่านอาจพูดในระหว่างบทเรียนเพื่อช่วยให้เพื่อนของท่านเข้าใจว่าเหตุใดพระผู้ช่วยให้รอดทรงจำเป็นต้องฟื้นฟูพระกิตติคุณของพระองค์ให้กลับคืนสู่โลก

สามารถเชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันคำตอบเป็นคู่ เป็นกลุ่มเล็กๆ หรือเป็นชั้นเรียน

กิจกรรม ข: การเพิ่มความรักของท่านที่มีต่อพระเยซูคริสต์ และความปรารถนาของท่านที่จะรับใช้พระองค์

หากนักเรียนได้เขียนจดหมายถึงตัวตนในอนาคตของตนเองในบทเรียน “ฟีลิปปี 3,” แล้ว ท่านอาจใช้กิจกรรมต่อไปนี้เพื่อช่วยนักเรียนในการประเมินความรักต่อพระผู้เป็นเจ้า

ในบทเรียน “ฟีลิปปี 3,” ท่านได้รับโอกาสเขียนจดหมายถึงตัวตนในอนาคตของท่าน ซึ่งท่านระบุถึงความเสียสละที่ท่านสามารถทำได้ที่จะช่วยให้ท่านรู้จักพระเยซูคริสต์มากขึ้นและเตรียมพร้อมสำหรับชีวิตนิรันดร์

หากท่านใช้โอกาสนี้ โปรดอ้างอิงจดหมายที่ท่านเขียน เปรียบเทียบความรู้สึกปัจจุบันของท่านกับพระเยซูคริสต์หรือความปรารถนาของท่านที่จะรับใช้พระองค์กับความรู้สึกและความปรารถนาที่ท่านเคยมีเมื่อท่านเขียนจดหมายฉบับนั้น หากมีสิ่งใดที่ท่านต้องการเพิ่มลงในจดหมายจากประสบการณ์ล่าสุดของท่าน ท่านสามารถทำได้ทันที

เชื้อเชิญอาสาสมัครแลกเปลี่ยนข้อคิดหรือความคิดใดๆ ที่ได้รับเมื่อทบทวนจดหมายของตน คำถามต่อไปนี้อาจช่วยให้นักเรียนไตร่ตรองและแบ่งปันความคิดของตนได้

  • เมื่อท่านทบทวนจดหมายของท่าน ท่านสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับความรักของท่านที่มีต่อพระเยซูคริสต์หรือไม่? หากใช่ เพราะเหตุใดท่านจึงคิดว่ามีการเปลี่ยนแปลง?

  • ประสบการณ์ใดเมื่อไม่นานมานี้ที่ทำให้ความรักของท่านที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้าและความเต็มใจที่จะรับใช้พระองค์เพิ่มมากขึ้น?

  • ท่านรู้สึกว่าขั้นตอนต่อไปบางอย่างที่ท่านสามารถทำได้เพื่อช่วยให้ท่านเพิ่มความรักที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้าคืออะไร?

กิจกรรม ค: สวมยุทธภัณฑ์ทั้งชุดของพระผู้เป็นเจ้า

ภาพ
Page from the New Testament Seminary Teacher Manual. Put on the Whole Armor of God.
  • ท่านจดจำอะไรบ้างเกี่ยวกับยุทธภัณฑ์ของพระผู้เป็นเจ้า? ท่านจดจำอะไรบ้างเกี่ยวกับความหมายของแต่ละชิ้น? หากท่านต้องการความช่วยเหลือ โปรดดูคำตอบที่ เอเฟซัส 6:14–18

ลองวาดรูปนี้บนกระดานและเชิญชวนให้นักเรียนก้าวออกมาและเพิ่มความหมายทางวิญญาณให้กับยุทธภัณฑ์แต่ละชิ้น

  • ท่านจะสรุปว่าการ“สวมยุทธภัณฑ์ทั้งชุดของพระผู้เป็นเจ้า” หมายถึงอะไร? ( เอเฟซัส 6:11)

วาดรูปคนแบบลายเส้นในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน

  • ท่านพยายามทำอะไรเพื่อสวมยุทธภัณฑ์ของพระผู้เป็นเจ้า?

วาดยุทธภัณฑ์หนึ่งชิ้นหรือหลายชิ้นที่แสดงถึงความพยายามเหล่านั้น

  • ท่านเคยได้รับผลลัพธ์ใดจากความพยายามของท่านหรือไม่? ถ้าเคย ท่านเคยประสบกับสิ่งใดมาบ้าง? หากไม่ ผลลัพธ์ใดที่ท่านคิดว่าจะได้มาจากความพยายามอย่างต่อเนื่องของท่าน?