สถาบัน
บทที่ 17 สื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน: การเป็นหุ้นส่วนเท่าๆ กันในชีวิตแต่งงาน


“บทที่ 17 สื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน: การเป็นหุ้นส่วนเท่าๆ กันในชีวิตแต่งงาน” ครอบครัวนิรันดร์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู (2022)

“บทที่ 17 สื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน” ครอบครัวนิรันดร์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู

ภาพ
สามีภรรยาทำอาหารด้วยกัน

บทที่ 17 สื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน

การเป็นหุ้นส่วนเท่าๆ กันในชีวิตแต่งงาน

ภายในครอบครัว พระเจ้าทรงมอบ “บทบาทต่างกันแต่สำคัญเท่ากัน [ที่] เสริมกันและกัน” ให้ชายและหญิง (เอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด, “ความรับผิดชอบอันศักดฺิ์สิทธิ์ของการเป็นบิดามารดา,” เลียโฮนา, มี.ค. 2006, 13) ศาสดาพยากรณ์สอนว่า “ในความรับผิดชอบอันศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้บิดาและมารดามีหน้าที่ช่วยเหลือกันในฐานะเป็นหุ้นส่วนเท่าๆ กัน” (“ครอบครัว:ถ้อยแถลงต่อโลก,” ChurchofJesusChrist.org) เราจะสนทนาหน้าที่รับผิดชอบเหล่านี้ลึกซึ้งขึ้นในบทต่อๆ ไป

หมวดที่ 1

ฉันจะเป็นหุ้นส่วนเท่าๆ กันในชีวิตแต่งงานได้อย่างไร?

เราสามารถเรียนรู้ความจริงสำคัญๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่พระเจ้าทรงประสงค์ให้สามีภรรยามีจากวิธีที่ทรงอธิบายเรื่องการสร้างเอวาดังบันทึกไว้ในหนังสือของโมเสส

ภาพ
ไอคอน ศึกษา

ศึกษาเพื่อเตรียมเข้าชั้นเรียน

อ่าน โมเสส 3:18, 21–23 และตรึกตรองความหมายของสัญลักษณ์ที่ใช้อธิบายการสร้างเอวา

ภาพ
อาดัมกับเอวา โดย โลเวลล์ บรูซ เบนเน็ตต์

คำอธิบายเรื่องการสร้างเอวาจากซี่โครงของอาดัมเป็นการอธิบายเชิงเปรียบเทียบ” (ดู สเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์, “The Blessings and Responsibilities of Womanhood,” Ensign, Mar. 1976, 71) ประธานรัสเซลล์เอ็ม. เนลสันอธิบายความหมายเชิงสัญลักษณ์ที่เป็นไปได้อย่างหนึ่งของซี่โครงว่า:

ภาพ
ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน

ซี่โครงที่ดึงมาจากสีข้าง ดูเหมือนจะหมายถึงการเป็นหุ้นส่วน ซี่โครงมิได้หมายถึงการควบคุมหรือการจำยอม แต่หมายถึงความสัมพันธ์จริงๆ ในฐานะหุ้นส่วน ทำงานและดำเนินชีวิตเคียงข้างกัน (“Lessons from Eve,” Ensign, Nov. 1987, 87)

ประธานลินดา เค. เบอร์ตันอดีตประธานสมาคมสงเคราะห์สามัญสอนดังนี้เกี่ยวกับความหมายของ คู่อุปถัมภ์:

ภาพ
ประธานลินดา เค. เบอร์ตัน

วลี คู่อุปถัมภ์ หมายถึง “ผู้ช่วยที่เหมาะสม มีค่าควร หรือเข้ากันได้”   ยกตัวอย่างเช่น มือของเราทั้งสองข้างคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน อันที่จริงทั้งสองข้างตรงกันข้าม แต่ช่วยเสริมกันอย่างเหมาะสม เมื่อทำงานด้วยกัน มือทั้งสองข้างแข็งแรงยิ่งขึ้น (“เราจะขึ้นไปด้วยกัน,” เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 30)

ความเชื่อและพฤติกรรมส่วนตัวหรือทางวัฒนธรรมบางอย่างสามารถกีดกันเราไม่ให้เป็นหุ้นส่วนเท่าๆ กันในชีวิตแต่งงาน ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งฝ่ายประธานสูงสุดอธิบายสภาวการณ์บางอย่างเหล่านี้และวิธีเอาชนะ:

ภาพ
ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์

สามี … บางคนมีความคิดผิดๆ ว่าสามีพักผ่อนขณะภรรยาทำงานส่วนใหญ่ที่บ้านหรือภรรยากับลูกๆ เป็นเพียงคนรับใช้ของสามี เรื่องนี้ไม่เป็นที่พอพระทัยพระเจ้าเพราะนั่นขัดขวางสัมพันธภาพครอบครัวแบบที่ต้องมีในนิรันดรและหยุดยั้งการเติบโตแบบที่ต้องเกิดขึ้นบนแผ่นดินโลกถ้าเราประสงค์จะมีคุณสมบัติคู่ควรรับพรแห่งนิรันดร จงศึกษาพระคัมภีร์และท่านจะเห็นว่าอาดัมกับเอวา บิดามารดาแรกของเรา ต้นแบบสำหรับเราทุกคน สวดอ้อนวอนด้วยกันและทำงานด้วยกัน (ดู โมเสส 5:1, 4, 10–12, 16, 27) นั่นควรเป็นแบบฉบับสำหรับชีวิตครอบครัว—เคารพกันและทำงานด้วยกันในความรัก (“วัฒนธรรมพระกิตติคุณ,” เลียโฮนา, มี.ค. 2012, 24)

ภาพ
สามีภรรยาทำงานด้วยกันในครัว
ภาพ
ไอคอน ไตร่ตรอง

ไตร่ตรองเพื่อเตรียมเข้าชั้นเรียน

พรอะไรจะมาสู่ชีวิตแต่งงานได้บ้างถ้าสามีภรรยามองว่าพวกเขาเป็นหุ้นส่วนกันและสนับสนุนกัน?

หมวดที่ 2

การนำในครอบครัวหมายความว่าอย่างไร?

พระเจ้าทรงกำหนดความรับผิดชอบเฉพาะด้านให้สามีภรรยาในครอบครัวที่ “มีคุณค่าและความสำคัญเท่าเทียมกัน” (เควนทิน แอล. คุก, “ความรักที่ยิ่งใหญ่สำหรับบุตรธิดาของพระบิดา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 79) เราจะสนทนาความรับผิดชอบบางอย่างเหล่านี้ในบทต่อๆ ไป แต่ตัวอย่างหนึ่งคือความรับผิดชอบอันศักดิ์สิทธิ์ต่อไปนี้ที่พระเจ้าประทานแก่สามีและบิดา: “โดยแบบแผนของพระผู้เป็นเจ้า บิดาเป็นผู้นำครอบครัวด้วยความรัก ด้วยความชอบธรรม” (“ครอบครัว: ถ้อยแถลงต่อโลก,” ChurchofJesusChrist.org) ถ้าไม่มีสามีหรือบิดา ภรรยาหรือมารดาเป็นผู้นำในครอบครัว (ดู รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “ทรัพย์สมบัติทางวิญญาณ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2019, 79)

ภาพ
พ่อกับแม่อ่านพระคัมภีร์กับลูกๆ

พิจารณาว่าคำสอนต่อไปนี้จะทำให้ท่านเข้าใจเพิ่มขึ้นได้อย่างไรว่าสามีจะนำครอบครัวด้วยความรักและความชอบธรรมได้อย่างไร:

การนำในครอบครัวคือความรับผิดชอบที่จะช่วยนำสมาชิกครอบครัวกลับไปพำนักในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า เราทำสิ่งนี้โดยรับใช้และสอนด้วยความสุภาพ ความอ่อนโยน และความรักอันบริสุทธิ์ โดยทำตามแบบอย่างของพระเยซูคริสต์ (ดู มัทธิว 20:26–28) การนำในครอบครัวได้แก่การนำสมาชิกครอบครัวให้สวดอ้อนวอน การศึกษาพระกิตติคุณ และการนมัสการด้านอื่นเป็นประจำ บิดามารดาทำงานเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อทำความรับผิดชอบเหล่านี้ให้ลุล่วง (“บิดามารดาและบุตร,” คู่มือทั่วไป: การรับใช้ในศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย, 2.1.3)

อัครสาวกเปาโลสอนเรื่องความรับผิดชอบของสามีในการนำอย่างไม่เห็นแก่ตัวเมื่อเขากล่าวว่า “สามีเป็นศีรษะของภรรยา เหมือนพระคริสต์ทรงเป็นศีรษะของคริสตจักร … ส่วนสามีก็จงรักภรรยาของตน เหมือนพระ‍คริสต์ทรงรักคริสต‌จักร และประ‌ทานพระ‍องค์เองเพื่อคริสต‌จักร” (เอเฟซัส 5:23, 25) หลังจากอ้าง เอเฟซัส 5:23 ประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสันเน้นว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงเป็นแบบอย่างอันสมบุรณ์ของการนำอย่างไร:

ภาพ
ประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสัน

นั่นคือต้นแบบที่เราพึงตามในบทบาทการนำในบ้าน เราไม่พบว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงนำศาสนจักรด้วยมือที่หยาบกระด้างหรือไร้เมตตา เราไม่พบว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงปฏิบัติต่อศาสนจักรของพระองค์ด้วยความไม่เคารพหรือเพิกเฉย เราไม่พบว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงใช้กำลังหรือบีบคั้นให้บรรลุจุดประสงค์ของพระองค์ ไม่มีที่ใดที่เราพบว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงทำสิ่งใดนอกจากสิ่งซึ่งจรรโลงใจ หนุนใจ ปลอบใจ และยกศาสนจักรให้สูงส่ง พี่น้องชายทั้งหลาย ข้าพเจ้ากล่าวกับท่านด้วยความมีสติครบถ้วนว่า พระองค์ทรงเป็นต้นแบบที่เราพึงตามขณะที่เราให้การนำทางวิญญาณในครอบครัวเรา (ดู คำสอนของประธานศาสนจักร: เอสรา แทฟท์ เบ็นสัน [2014], 196)

ในจดหมายที่ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธได้รับการดลใจให้เขียนถึงสมาชิกศาสนจักรท่านพูดถึงความสำคัญของการแสดงคุณลักษณะเหมือนพระคริสต์เมื่อนำผู้อื่น คุณลักษณะเหล่านี้ประยุกต์ใช้กับการนำในครอบครัว

ภาพ
ไอคอน ศึกษา

ศึกษาเพื่อเตรียมเข้าชั้นเรียน

อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 121:41–43 และพิจารณาการทำเครื่องหมายคุณลักษณะเหมือนพระคริสต์ที่ท่านพบ

ภาพ
ไอคอน บันทึก

บันทึกความคิดของท่าน

เลือกคุณลักษณะเหมือนพระคริสต์หนึ่งอย่างที่ท่านค้นพบหรือทำเครื่องหมายไว้ และบันทึกความคิดของท่านเกี่ยวกับคำถามต่อไปนี้หนึ่งข้อหรือมากกว่านั้น: เหตุใดคุณลักษณะนี้จึงสำคัญในการนำครอบครัว? คุณลักษณะนี้จะช่วยให้ฉันเป็นหุ้นส่วนเท่าๆ กันในชีวิตแต่งงานได้อย่างไร? พระเยซูคริสต์ทรงเป็นแบบอย่างของคุณลักษณะนี้ในบทบาทการนำของพระองค์เมื่อใด? จงพร้อมแบ่งปันความคิดของท่านในชั้นเรียน

หมวดที่ 3

คู่สมรสจะหารือกันอย่างชอบธรรมในการนำครอบครัวของพวกเขาได้อย่างไร?

ความหมายของการ “นำในครอบครัว” อาจเข้าใจกันผิดได้ ตัวอย่างเช่น บางคนตีความภาษาในข้อความพระคัมภีร์ผิดๆ เช่น ปฐมกาล 3:16 (พระเจ้ารับสั่งกับเอวาว่าอาดัมจะ “ปกครอง” เธอ) ให้หมายความว่าสามีสามารถใช้อำนาจกดขี่หรือควบคุม ซึ่งผิด แต่พระดำรัสแนะนำนี้จากพระเจ้าเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของสามีในการนำด้วยความรักและความชอบธรรม ดังที่ประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์สอนเกี่ยวกับความหมายของวลีนี้ ว่า “ความรับผิดชอบด้านการปกครอง [ของสามี] คือ หาเลี้ยง คุ้มครอง เสริมกำลังและปกป้องภรรยา” (“Daughters of God,” Ensign, Nov. 1991, 99; ดู Spencer W. Kimball, “The Blessings and Responsibilities of Womanhood,” Ensign, Mar. 1976, 72 ด้วย)

เกี่ยวกับการประพฤติมิชอบของสามีโดยใช้อำนาจกดขี่หรือควบคุม เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า:

ภาพ
เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์

วัฒนธรรมของท่านให้สามีใช้อำนาจบาตรใหญ่ปกครอง บีบบังคับ และตัดสินใจเรื่องสำคัญทั้งหมดแทนครอบครัวไหม? แบบฉบับนี้ต้องยกเลิกเพื่อทั้งสามีและภรรยาจะทำส่วนของตนอย่างเท่าเทียมกันในการตัดสินใจด้วยความเป็นหนึ่งเดียวสำหรับตนเองและครอบครัว ไม่มีครอบครัวใดจะอดทนได้นานภายใต้ความกลัวหรือการบีบบังคับ นั่นนำไปสู่ความขัดแย้งและการต่อต้าน ความรักคือพื้นฐานของครอบครัวที่มีความสุข (“เอาสิ่งกีดขวางความสุขออกไป,” เลียโฮนา, ก.ค. 1998, 97)

คู่สามีภรรยาควรหารือกันด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน ความเคารพ และความอ่อนโยน ในการตัดสินใจสำหรับครอบครัวตน เอ็ลเดอร์เควนทิน แอล. คุก แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า:

ภาพ
เอ็ลเดอร์เควนทิน แอล. คุก

ในสภาครอบครัว สามีภรรยาเป็นหุ้นส่วนเท่าๆ กันในการตัดสินใจเรื่องสำคัญที่สุด พวกเขาตัดสินใจว่าจะสอนและอบรมลูกอย่างไร จะใช้จ่ายเงินอย่างไร พวกเขาจะอยู่ที่ไหน และการตัดสินใจอื่นๆ อีกมากมายเกี่ยวกับครอบครัว โดยทำสิ่งเหล่านี้ร่วมกันหลังจากแสวงหาการนำทางจากพระเจ้า (“พระเจ้าเป็นแสงฉัน,” เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 64)

ภาพ
สามีภรรยาคุกเข่าสวดอ้อนวอนด้วยกัน

พึงจดจำความจริงสำคัญๆ เพิ่มเติมเหล่านี้เกี่ยวกับการหารือกันในฐานะคู่สมรสและการส่งเสริมความเท่าเทียมกันในชีวิตแต่งงาน:

  • สามีภรรยาต้องมี “สิทธิ์เท่าเทียมกันในการพูดและออกเสียง” ในการตัดสินใจต่างๆ (แอล. วิทนีย์ เคลย์ตัน, “ชีวิตแต่งงาน: ดูและเรียนรู้,” เลียโฮนา, พ.ค. 2013, 84)

  • ภรรยาต้อง “พูดในฐานะ ‘หุ้นส่วน เต็ม ที่ เอื้อประโยชน์’ [สเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์, “Privileges and Responsibilities of Sisters,” Ensign, Nov. 1978, 106] เมื่อ [พวกเธอ] เป็นหนึ่งกับสามี [พวกเธอ] ในการปกครองครอบครัว” (รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “คำวิงวอนต่อพี่น้องสตรีของข้าพเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ย. 2015, 97)

  • สามีภรรยา “สามารถรับการเปิดเผยสำหรับครอบครัวเท่าเทียมกัน” (เควนทิน แอล. คุก, “ความรักที่ยิ่งใหญ่สำหรับบุตรธิดาของพระบิดา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 79)

  • บิดามารดาสามารถจัดสภาครอบครัวกับบุตรธิดาเพื่อหารือกันเกี่ยวกับการตัดสินใจหรือความท้าทายที่อาจเกี่ยวข้องกับทั้งครอบครัว (ดู เอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด, “สภาครอบครัว,” เลียโฮนา, พ.ค. 2016, 63–65)

ภาพ
ไอคอน ไตร่ตรอง

ไตร่ตรองเพื่อเตรียมเข้าชั้นเรียน

การหารือกันด้วยความชอบธรรมจะเป็นพรแก่คู่สามีภรรยาและบุตรธิดาได้อย่างไร?