สถาบัน
บทที่ 7 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู: พลังความเข้มแข็งของพระเยซูคริสต์


“สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู บทที่ 7: พลังความเข้มแข็งของพระเยซูคริสต์” สื่อการเรียนการสอนสำหรับครูเกี่ยวกับคำสอนและหลักคำสอนของพระคัมภีร์มอรมอน (2021)

“บทที่ 7 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู” สื่อการเรียนการสอนสำหรับครูเกี่ยวกับคำสอนและหลักคำสอนของพระคัมภีร์มอรมอน

บทที่ 7 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู

พลังความเข้มแข็งของพระเยซูคริสต์

พระคัมภีร์มอรมอนขยายความเข้าใจของเราในแง่ความกว้างและความลึกของการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอด เราเรียนรู้จากพระคัมภีร์ว่าพระเยซูคริสต์ไม่เพียงมอบโอกาสให้เราได้ชำระล้างจากบาปเท่านั้น แต่พระองค์ยังทรงปลอบโยนและช่วยเหลือเราผ่านความทุพพลภาพและความอ่อนแอของเราด้วย ในระหว่างบทเรียนนี้ นักเรียนจะมีโอกาสอธิบายและเป็นพยานเกี่ยวกับหลักคำสอนนี้ นักเรียนจะได้รับโอกาสระบุด้วยว่าพวกเขาสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่ออัญเชิญพระคุณของพระเจ้าเข้ามาในชีวิตของพวกเขามากขึ้น

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

ปรับปรุงการสอนและการเรียนของเรา

เริ่มโดยคำนึงถึงนักเรียน นักเรียนเข้ามาในชั้นเรียนด้วยประสบการณ์ ความรู้ และคำถามที่มีมาก่อนหน้านี้ เราสามารถกำหนดให้ความเข้าใจปัจจุบันของผู้เรียนเป็นจุดเริ่มต้น ขณะที่เรานำทางผู้เรียนตลอดกระบวนการเรียนรู้ ตลอดหลักสูตรนี้เมื่อท่านเริ่มชั้นเรียนหรือเริ่มพูดคุยเกี่ยวกับบางหัวข้อ ให้พิจารณาว่าท่านจะค้นพบว่าคำถามและความเข้าใจลึกซึ้งใดที่นักเรียนหวังว่าจะสนทนา จากนั้นจึงปรับแผนของท่านตามแนวทางของพระวิญญาณ

แอลมาผู้บุตรสอนผู้คนในกิเดียนว่าพระเจ้าจะทรงช่วยเหลือผู้คนของพระองค์

ท่านอาจแสดงรูปภาพเช่นรูปต่อไปนี้และถามว่า “การต่อสู้ดิ้นรน ความเจ็บปวด หรือความทุกข์ใดที่เราอาจพบเจอซึ่ง ไม่ได้เป็น ผลมาจากทางเลือกที่เต็มไปด้วยบาป?” (เขียนคำตอบของนักเรียนไว้บนกระดาน)

ภาพ
ผู้หญิงกำลังร้องไห้
ภาพ
ชายหนุ่มนอนอยู่บนเตียงของโรงพยาบาล
ภาพ
เยาวชนหญิงที่ดูเศร้า
ภาพ
ชายบนเก้าอี้เข็น

ให้เวลานักเรียนไตร่ตรองหนึ่งนาที (และอาจเขียน) ความท้าทายบางอย่างที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ให้กับตนเองหรือคนที่ตนรัก

เตือนความจำนักเรียนว่าเมื่อแอลมาผู้บุตรปฏิบัติศาสนกิจกับผู้คนที่มีศรัทธาในกิเดียน เขาสอนว่าความทุกข์ของพระผู้ช่วยให้รอดสามารถช่วยเราจากความเจ็บปวดและความทุกข์ ที่ไม่ได้ เกิดขึ้นจากบาปอย่างไร ให้นักเรียนทบทวน แอลมา 7:11–12 และค้นหาวลีที่โดดเด่นสำหรับพวกเขา เชิญชวนให้นักเรียนอธิบายความหมายของสิ่งที่ตนพบและเหตุผลที่สิ่งนั้นมีความสำคัญต่อพวกเขา

เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทราบวิธีช่วยเหลือผู้คนของพระองค์ ท่านอาจแบ่งปันคำกล่าวต่อไปนี้จากเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง:

ภาพ
เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์

[ช่วยเหลือ] คำนี้ใช้บ่อยในพระคัมภีร์เพื่อบรรยายถึงการดูแลและความใส่พระทัยที่พระคริสต์ทรงมีต่อเรา คำนี้แปลตรงๆ ว่า “การวิ่งเข้าไปหา” นั่นเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการอธิบายความพยายามอันเร่งด่วนของพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อเรา แม้เมื่อพระองค์ทรงเรียกให้เรามาหาพระองค์และติดตามพระองค์ พระองค์ยังทรงวิ่งเข้าไปช่วยเราอยู่เสมอ (“จงตามเรามา” [ไฟร์ไซด์ระบบการศึกษาของศาสนจักรสำหรับคนหนุ่มสาว, มี.ค. 2, 1997], 9, speeches.byu.edu)

หลังจากที่ได้พูดคุยกันถึงคำสอนจาก แอลมา 7:11–12 ให้ช่วยนักเรียนระบุหลักธรรมทำนองนี้: พระผู้ช่วยให้รอดทรงรับเอาความเจ็บปวด ความป่วยไข้ และการล่อลวงของเรามาไว้กับพระองค์เพื่อพระองค์จะทรงช่วยเราได้เมื่อเราประสบความท้าทายของความเป็นมรรตัย

  • เหตุใดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจแง่มุมนี้ของหลักคำสอนเกี่ยวกับการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอด?

  • ความจริงข้อนี้สอนอะไรท่านเกี่ยวกับพระลักษณะและพระอุปนิสัยของพระเยซูคริสต์?

  • ศรัทธาในความจริงข้อนี้จะช่วยท่านหรือคนที่ท่านรักท่ามกลางความท้าทายส่วนตัวได้อย่างไร?

อ่าน คำกล่าวของเอ็ลเดอร์เบดนาร์ในหมวดที่ 1 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน ทั้งชั้นเรียนหรือเป็นกลุ่มเล็กๆ และสนทนาคำถามต่อไปนี้จากสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน

  • ท่านรู้สึกว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงเอื้อมพระหัตถ์มาหา ปลอบโยน หรือเสริมสร้างท่านขณะที่ท่านประสบกับความท้าทายในชีวิตของท่านเมื่อใด?

พระเจ้าทรงสอนโมโรไนเกี่ยวกับพลังแห่งพระคุณของพระองค์

แสดงภาพประกอบและเชื้อเชิญให้นักเรียนอธิบายว่าโมโรไนรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับความสามารถของตนในการเขียนพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (หากจำเป็นให้ทบทวน อีเธอร์ 12:23–25 ร่วมกับนักเรียน)

ภาพ
โมโรไนซ่อนแผ่นจารึกไว้ในเนินเขาคาโมราห์ โดย ทอม โลเวลล์

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนใช้เวลาสักครู่ในการเขียนหรือไตร่ตรองความบกพร่องและความอ่อนแอบางอย่างของตน

อ่าน อีเธอร์ 12:27 ร่วมกันและเชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาหลักธรรมที่สามารถช่วยให้เราจัดการกับความอ่อนแอของเราในวิธีของพระเจ้า นักเรียนอาจระบุความจริงทำนองนี้: เมื่อเรามาหาพระองค์ พระองค์ทรงช่วยให้เราตระหนักถึงความอ่อนแอของเรา การตระหนักถึงความอ่อนแอของเราสามารถช่วยให้เราอ่อนน้อมถ่อมตน เมื่อเราอ่อนน้อมถ่อมตนและมีศรัทธาในพระผู้ช่วยให้รอด พระคุณของพระองค์สามารถทำให้ความอ่อนแอของเรากลายเป็นความเข้มแข็ง แสดงความจริงที่นักเรียนระบุเพื่อให้พวกเขาสามารถอ้างอิงความจริงเหล่านั้นได้ในกิจกรรมต่อไปนี้

ปรับปรุงการสอนและการเรียนของเรา

ช่วยให้นักเรียนทราบและเข้าใจหลักธรรมและหลักคำสอน หลังจากนักเรียนระบุหลักธรรมและหลักคำสอนจากพระคัมภีร์และถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์แล้ว ช่วยให้นักเรียนเข้าใจความหมายและความแตกต่างของความจริงเหล่านี้และวิธีที่ความจริงเหล่านี้มีผลต่อชีวิตของนักเรียน ความรู้และความเข้าใจนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในขณะที่นักเรียนอธิบายความหมายของหลักคำสอนหรือหลักธรรม และแบ่งปันตัวอย่างตลอดจนประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง สวดอ้อนวอนขอความช่วยเหลือเพื่อถามคำถามที่เปิดความคิดและหัวใจของนักเรียนให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องและความสำคัญของหลักธรรมที่นักเรียนระบุ

เชื้อเชิญให้นักเรียนอธิบายว่าหลักธรรมเหล่านี้มีความหมายต่อตนอย่างไรในฐานะชั้นเรียนหรือกลุ่มเล็กๆ

เพื่อช่วยให้นักเรียนคิดและรู้สึกอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับหลักธรรมเหล่านี้ ท่านอาจแสดงคำถามบางข้อต่อไปนี้และให้นักเรียนเลือกคำถามที่จะสนทนาร่วมกัน อาจมีเวลาไม่มากพอที่จะสนทนาคำถามทุกข้อ

เป็นพยาน (หรือเชื้อเชิญนักเรียนให้มาเป็นพยาน) ในการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอด โดยเฉพาะเดชานุภาพของพระองค์ที่ทรงช่วยให้เราเอาชนะความทุกข์ ความโทมนัส ความอ่อนแอ และความบกพร่อง

ให้เวลานักเรียนไตร่ตรองหรือบันทึกความประทับใจส่วนตัวที่นักเรียนรู้สึกในระหว่างบทเรียนวันนี้ ท่านสามารถเชื้อเชิญให้นักเรียนพิจารณาคำถามต่อไปนี้: ท่านคิดว่าพระเจ้าทรงต้องการให้ท่านทำอะไรเพื่อเข้าถึงพระคุณของพระองค์ได้มากขึ้น? ท่านจะทำอย่างไรเพื่อจัดการกับความอ่อนแอในปัจจุบันที่ท่านเผชิญด้วยความนอบน้อมถ่อมตนและศรัทธาในพระเยซูคริสต์อย่างแรงกล้ายิ่งขึ้น?

สำหรับครั้งต่อไป

ขอให้นักเรียนพิจารณาคำถามที่ตนมีเกี่ยวกับโลกวิญญาณ การฟื้นคืนชีวิต หรือการพิพากษาครั้งสุดท้าย ในขณะที่นักเรียน เตรียมพร้อมสำหรับชั้นเรียนถัดไป เชื้อเชิญให้นักเรียนนึกถึงสิ่งที่ตนกำลังทำอยู่เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับชีวิตหลังความตาย