สถาบัน
สื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน บทที่ 24: พลังแห่งการปลดปล่อยของพระเจ้า


“สื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน บทที่ 24: พลังแห่งการปลดปล่อยของพระเจ้า” คำสอนและหลักคำสอนของพระคัมภีร์มอรมอน สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู (2021)

“สื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน บทที่ 24” คำสอนและหลักคำสอนของพระคัมภีร์มอรมอน สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู

สื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน บทที่ 24

ภาพ
เยาวชนหญิงกำลังสวดอ้อนวอน

พลังแห่งการปลดปล่อยของพระเจ้า

เมื่อต้องเผชิญกับการทดลอง ท่านเคยถามตนเองไหมว่า “ทำไมจึงเกิดเรื่องนี้ขึ้นกับฉัน?” หรือ “เหตุใดพระเจ้าจึงไม่ทรงนำการทดลองนี้ออกไปจากฉัน?” จากพระคัมภีร์มอรมอน เราสามารถเรียนรู้บทเรียนสำคัญเกี่ยวกับที่มาของการทดลองของเราและวิธีที่เราสามารถได้รับพรขณะที่เราหันไปหาพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อขอความช่วยเหลือ ขณะที่ท่านศึกษาเพื่อเตรียมเข้าชั้นเรียน ลองพิจารณาว่าท่านจะทำอย่างไรเพื่อทำให้ความไว้วางใจในความรัก พลังอำนาจ และพระปรีชาญาณอันหาที่สุดมิได้ของพระเยซูคริสต์ลึกซึ้งขึ้น ขณะที่พระองค์ทรงสนับสนุนท่านหรือปลดปล่อยท่านจากการทดลองที่ท่านเผชิญ

หมวดที่ 1

เหตุใดฉันจึงมีการทดลอง แม้ว่าฉันจะทำสิ่งที่ถูกต้องแล้วก็ตาม?

พระคัมภีร์มอรมอนแสดงให้เห็นว่าการทดลองมีแหล่งที่มาที่แตกต่างกัน การทดลองบางอย่างเป็นผลมาจากบาป ตัวอย่างเช่น ซีเอสรอมประสบกับไข้ตัวร้อนดังไฟและความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกผิดต่อบาปของเขา (ดู แอลมา 15:3) ชาวนีไฟและชาวเลมันต้องทนผ่านสงครามมานานหลายปีเพราะการเลือกที่ชั่วร้ายของอแมลิไคยาห์ (ดู แอลมา 46:9–10) อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกการทดลองที่เป็นผลมาจากความชั่วร้าย ครอบครัวลีไฮและอิชมาเอลทนทุกข์ต่อความยากลำบากมากมายซึ่งเป็นธรรมชาติของการเดินทางผ่านแดนทุรกันดาร (ดู 1 นีไฟ 16:9–17:4)

เอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองตั้งข้อสังเกตดังนี้เกี่ยวกับการทดลอง:

ภาพ
เอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์

ในโรงเรียนแห่งความเป็นมรรตัย ความเจ็บปวดและความยากลำบากคือครู แต่บทเรียนมีไว้เพื่อขัดเกลาและเป็นพรแก่เรา ทำให้เราเข้มแข็ง ไม่ใช่ทำลายเรา (ดู “ศรัทธาในช่วงเวลาแห่งความยากลำบากนำสันติและความปีติยินดีมาให้,” เลียโฮนา, พ.ค. 2003, 20)

ภาพ
แอลมาให้บัพติศมาในผืนน้ำแห่งมอรมอน โดย อาร์โนลด์ ไฟรบูร์ก

คำกล่าวของเอ็ลเดอร์เฮลส์แสดงอยู่ในประสบการณ์ของแอลมาและผู้คนของเขา คนเหล่านั้นเชื่อคำเตือนของศาสดาพยากรณ์อบินาได หลังจากเปลี่ยนใจเลื่อมใสพระเจ้าและรับบัพติศมาจากแอลมา ผู้คนถูกขับไล่ออกไปยังแดนทุรกันดารโดยกองทัพของกษัตริย์โนอาห์ผู้ชั่วร้าย หลังจากการเดินทางแปดวัน ผู้คนเหล่านั้นมาถึงดินแดนใหม่ที่พวกเขาเรียกกันว่าฮีลัม ที่นี่ผู้คนเหล่านั้นดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณและ “ขยายเผ่าพันธุ์และรุ่งเรืองอย่างยิ่ง” (โมไซยาห์ 23:20) อย่างไรก็ตาม ความสงบสุขของพวกเขาถูกขัดขวางโดยกองทัพชาวเลมันที่พบพวกเขาและนำไปสู่การเป็นทาส (ดู โมไซยาห์ 17–1823)

ภาพ
ไอคอน ศึกษา

ศึกษาเพื่อเตรียมเข้าชั้นเรียน

อ่าน โมไซยาห์ 23:21–24 โดยมองหาเหตุผลที่พระเจ้าทรงยอมให้คนชอบธรรมประสบกับการทดลอง

ภาพ
ไอคอน ไตร่ตรอง

ไตร่ตรองเพื่อเตรียมเข้าชั้นเรียน

การทำความเข้าใจมุมมองนิรันดร์ของพระเจ้าเรื่องการทดลองช่วยให้เราเปลี่ยนมุมมองของเราต่อการทดลองของเราเองอย่างไร?

หมวดที่ 2

เพราะเหตุใดการที่ฉันไว้วางใจจังหวะเวลาของพระเจ้าระหว่างการทดลองของฉันจึงมีความสำคัญ?

หลังจากแอลมากับผู้คนของเขาฟังการเรียกของอบินาไดให้กลับใจและหนีไปในแดนทุรกันดาร กษัตริย์โนอาห์และประชาชนที่เหลือของเขาปฏิเสธศาสดาพยากรณ์และไม่กลับใจ เพราะบาปของพวกเขา พวกเขาจึงพ่ายแพ้แก่ชาวเลมันและถูกนำไปสู่การเป็นทาส ในสมัยการปกครองของกษัตริย์ลิมไฮ บุตรชายของโนอาห์ ชาวเลมันขูดรีดภาษีประชาชนและข่มเหงอย่างหนัก ประชาชนของลิมไฮล้มเหลวในการปลดปล่อยตนเองจากการเป็นทาสถึงสามครั้ง และผู้คนมากมายเสียชีวิตจากความพยายามเหล่านี้ (ดู โมไซยาห์ 12:2; 19:1–21:12) ในที่สุดพวกเขาหันไปขอความช่วยเหลือจากพระเจ้า

ภาพ
การกลับมา โดย เดวิด โฮฟต์
ภาพ
ไอคอน ศึกษา

ศึกษาเพื่อเตรียมเข้าชั้นเรียน

อ่าน โมไซยาห์ 21:13–16 โดยมองหาวิธีที่พระเจ้าประทานพรผู้คนของลิมไฮขณะที่คนเหล่านั้นแสวงหาความช่วยเหลือจากพระองค์

ขณะที่ผู้คนของลิมไฮอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างแท้จริงและรอคอยพระเจ้า คณะค้นหาที่กษัตริย์โมไซยาห์ส่งมาก็เจอผู้คนของลิมไฮ คณะค้นหาและกษัตริย์ลิมไฮหารือกับผู้คนเกี่ยวกับวิธีหนีออกจากการเป็นทาส ในคืนที่นัดหมาย พวกเขาให้เหล้าองุ่นแก่ชาวเลมันมากขึ้น ทำให้ชาวเลมันเมาแล้วหลับไป จากนั้นผู้คนของลิมไฮจึงหนีออกไปในแดนทุรกันดารและมาถึงเซราเฮ็มลาโดยปลอดภัย (ดู โมไซยาห์ 21:23–22:14)

ภาพ
ลิมไฮและผู้คนของเขาหนีออกจากเซราเฮ็มลา โดย สตีเวน ลอยด์ นีล

ดังที่แสดงไว้ในเรื่องราวนี้ พระเจ้าทรงมีจุดประสงค์และตารางเวลาของพระองค์ในการปลดปล่อยผู้คนของลิมไฮ

ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งฝ่ายประธานสูงสุดสอนว่า

ภาพ
ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์

หลักธรรมพระกิตติคุณข้อแรกคือศรัทธาในพระเจ้าพระเยซูคริสต์ ศรัทธาหมายถึงวางใจ—วางใจในพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า วางใจในวิธีทำสิ่งต่างๆ ของพระองค์ และวางใจในตารางเวลาของพระองค์ เราไม่ควรพยายามกำหนดตารางเวลาของเราให้กับพระองค์ ดังที่เอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองกล่าวว่า:

“ประเด็นสำคัญสำหรับเราคือวางใจพระผู้เป็นเจ้ามากพอที่จะวางใจจังหวะเวลาของพระองค์เช่นกัน ถ้าเราสามารถเชื่อได้จริงๆ ว่าพระองค์สนพระทัยสวัสดิภาพของเรา เราจะไม่ปล่อยให้แผนของพระองค์เผยออกมาตามที่พระองค์ทรงเห็นว่าดีที่สุดหรือ?” [Even As I Am (1982), 93] (“Timing,” Ensign, Oct. 2003, 12)

ภาพ
ไอคอน บันทึก

บันทึกความคิดของท่าน

ใช้สิ่งที่ท่านเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้คนของลิมไฮ บันทึกหลักธรรมเกี่ยวกับวิธีที่พระเจ้าสนับสนุนหรือปลดปล่อยผู้ที่หันมาหาพระองค์ในการทดลอง พร้อมแบ่งปันหลักธรรมเหล่านี้ในชั้นเรียน

หมวดที่ 3

ฉันสามารถรับความเข้มแข็งจากพระเจ้าขณะที่ฉันอดทนต่อการทดลองของฉันได้อย่างไร?

กองทัพชาวเลมันติดตามผู้คนของลิมไฮแต่กลับหลงทาง ในที่สุดพวกเขาพบปุโรหิตที่ชั่วร้ายของโนอาห์ ซึ่งเข้าร่วมกับกองทัพชาวเลมัน ขณะเดินทางอยู่ในแดนทุรกันดาร พวกเขาค้นพบผู้คนที่ชอบธรรมของแอลมาและนำผู้คนเหล่านั้นไปเป็นทาส อมิวลอนซึ่งเป็นหนึ่งในปุโรหิตที่ชั่วร้ายของโนอาห์ได้รับแต่งตั้งโดยกษัตริย์เลมันให้ปกครองเหนือผู้คนของแอลมา อมิวลอนตั้งนายทาสควบคุมผู้คนและขู่ว่าจะฆ่าใครก็ตามหากพบว่าสวดอ้อนวอน (ดู โมไซยาห์ 22:15–16; 23:25–24:1; 24:8–11)

ภาพ
ไอคอน ศึกษา

ศึกษาเพื่อเตรียมเข้าชั้นเรียน

อ่าน โมไซยาห์ 24:10–16 โดยมองหาวิธีที่พระเจ้าทรงช่วยผู้คนของแอลมาระหว่างความยากลำบากของพวกเขา ท่านอาจใช้เวลาสักครู่เพื่อไตร่ตรองว่าพระองค์ทรงปลอบโยนและสนับสนุนท่านท่ามกลางการทดลองและความทุกข์ของท่านอย่างไร

ผู้คนของแอลมาใช้ศรัทธาและความอดทน และในที่สุดพระเจ้าทรงปลดปล่อยพวกเขา พระองค์ “ทรงทำให้ชาวเลมันหลับสนิท” (โมไซยาห์ 24:19) ทำให้แอลมาและผู้คนของเขาหนีออกจากดินแดนเซราเฮ็มลาได้ (ดู โมไซยาห์ 24:17–25)

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนเกี่ยวกับประสบการณ์นี้ดังนี้:

ภาพ
เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์

ความท้าทายและความยากลำบากไม่หมดไปจากผู้คนทันที แต่แอลมาและผู้ติดตามท่านเข้มแข็งขึ้น สมรรถภาพที่เพิ่มขึ้นทำให้ภาระของพวกท่านเบาลง …

ภาระในชีวิตเราแต่ละคนช่วยให้เราวางใจในพระคุณความดี พระเมตตา และพระคุณของพระเมสสิยาห์ผู้บริสุทธิ์ (ดู 2 นีไฟ 2:8) ข้าพเจ้าเป็นพยานและสัญญาว่าพระผู้ช่วยให้รอดจะทรงช่วยเราแบกภาระของเราได้ง่ายขึ้น (ดู โมไซยาห์ 24:15) เมื่อเราเทียมแอกกับพระองค์ผ่านพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์และได้รับพลังเสริมความสามารถของการชดใช้ [ของพระองค์] ในชีวิตเรา เราจะแสวงหาที่จะเข้าใจและดำเนินชีวิตตามพระประสงค์ของพระองค์มากขึ้น เราจะสวดอ้อนวอนขอพลังเพื่อเรียนรู้ เปลี่ยนแปลง หรือยอมรับสภาพการณ์ของเราด้วย แทนที่จะสวดอ้อนวอนขอให้พระผู้เป็นเจ้าเปลี่ยนสภาพการณ์ของเราตามที่เราต้องการ (“ทนแบกสัมภาระได้โดยง่าย,” เลียโฮนา, พ.ค. 2014, 89, 90)

ภาพ
พบพระผู้ช่วยให้รอด โดย เจน โทลแมน
ภาพ
ไอคอน บันทึก

บันทึกความคิดของท่าน

ใคร่ครวญถึงวิถีที่แตกต่างกันที่พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงเพิ่มความสามารถของท่านในการแบกภาระของท่าน ท่านอาจแสดงความสำนึกคุณสำหรับความช่วยเหลือของพระองค์ในการสวดอ้อนวอน