สถาบัน
บทที่ 12 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู: ความจำเป็นของการเกิดใหม่ทางวิญญาณ


“บทที่ 12 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู: ความจำเป็นของการเกิดใหม่ทางวิญญาณ” สื่อการเรียนการสอนสำหรับครูเกี่ยวกับคำสอนและหลักคำสอนของพระคัมภีร์มอรมอน (2021)

“บทที่ 12 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู” สื่อการเรียนการสอนสำหรับครูเกี่ยวกับคำสอนและหลักคำสอนของพระคัมภีร์มอรมอน

บทที่ 12 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู

ความจำเป็นของการเกิดใหม่ทางวิญญาณ

ในสภาพที่ตกแล้วของเรา เราไม่คู่ควรที่จะอยู่ในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า เพราะพระเยซูคริสต์และโดยผ่านเดชานุภาพการชดใช้ของพระองค์ เราจึงสามารถเกิดใหม่ทางวิญญาณในฐานะบุตรธิดาแห่งพันธสัญญาของพระองค์และมีคุณสมบัติคู่ควรกับรัศมีภาพซีเลสเซียล ในบทเรียนนี้นักเรียนจะมีโอกาสทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการเกิดใหม่ทางวิญญาณและอธิบายว่าพระเยซูคริสต์ทรงเปลี่ยนใจเราได้อย่างไร นอกจากนี้นักเรียนยังจะพิจารณาถึงสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้ในการดำเนินชีวิตตามหลักคำสอนของพระคริสต์ได้ดีขึ้นเพื่อให้การเปลี่ยนใจเลื่อมใสของพวกเขาลึกซึ้งมากขึ้น

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

ปรับปรุงการสอนและการเรียนของเรา

ช่วยให้นักเรียนมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง “การเรียนรู้ต้องสำเร็จลุล่วงโดย [นักเรียน] ดังนั้น [นักเรียน] จึงเป็นผู้ที่ต้องดำเนินการ” (Teaching the Gospel: A Handbook for CES Teachers and Leaders [1994], 14) ซิสเตอร์เวอร์จิเนีย เอช. เพียร์ซ อดีตที่ปรึกษาในฝ่ายประธานเยาวชนหญิงสามัญกล่าวว่า: “ครูที่มีทักษะไม่คิดว่า ‘ฉันจะทำอะไรในชั้นเรียนวันนี้’ แต่จะถามว่า ‘นักเรียนของฉันจะทำอะไรในชั้นเรียนวันนี้’ ไม่ใช่ ‘ฉันจะสอนอะไรในวันนี้’ แต่จะเป็น ‘ฉันจะช่วยนักเรียนค้นหาสิ่งที่พวกเขาจำเป็นต้องรู้ได้อย่างไร?’ [Teaching the Gospel: A Handbook for CES Teachers and Leaders, 13]” (“The Ordinary Classroom—a Powerful Place for Steady and Continued Growth,” Ensign, Nov. 1996, 12)

ผู้คนของกษัตริย์เบ็นจามินประสบกับการเกิดใหม่ทางวิญญาณ

แสดงคำกล่าวต่อไปนี้โดยประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์: “เพียงแต่ เชื่อมั่น ในพระกิตติคุณเท่านั้นยังไม่พอ เราต้องกระทำและคิดเพื่อพระกิตติคุณจะทำให้เรา เปลี่ยนใจเลื่อมใส” (“การท้าทายเพื่อที่จะเป็น,” เลียโฮนา, ม.ค. 2001, 47)

เตือนความจำนักเรียนว่าใน หมวดที่ 1 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน นักเรียนอ่านเรื่องราวการเกิดใหม่ทางวิญญาณของผู้คนของกษัตริย์เบ็นจามิน ถ้าจำเป็นนักเรียนสามารถทบทวน โมไซยาห์ 4:2–3 และ โมไซยาห์ 5:2–7 มองหาการเชื่อมโยงระหว่างหลักคำสอนของพระคริสต์กับการเปลี่ยนใจเลื่อมใส ท่านสามารถถามคำถามต่อไปนี้บางส่วนหรือทั้งหมดเพื่อให้นักเรียนเข้าใจความจริงที่ตนระบุได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น

  • แง่มุมใดของหลักคำสอนของพระคริสต์ที่ผู้คนของกษัตริย์เบ็นจามินนำมาใช้ และแง่มุมนั้นมีอิทธิพลต่อการเกิดใหม่ทางวิญญาณของพวกเขาอย่างไร? (ช่วยให้นักเรียนระบุถึงหลักธรรมทำนองนี้: เมื่อเรามุ่งมั่นที่จะดำเนินชีวิตตามหลักคำสอนของพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอดจะทรงเปลี่ยนแปลงใจเราและช่วยให้เราเกิดใหม่ทางวิญญาณ)

  • เหตุใดจึงจำเป็นต้องตระหนักถึงบทบาทของพระผู้ช่วยให้รอดในการเกิดใหม่ทางวิญญาณของท่านและการเปลี่ยนใจเลื่อมใส?

  • ท่านทราบอะไรบ้างเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ที่เป็นแรงบันดาลใจให้ท่านหันไปหาพระองค์เพื่อเปลี่ยนแปลงใจของท่าน?

  • พระเยซูคริสต์ทรงเปลี่ยนแปลงใจของท่านอย่างไร? ท่านรู้สึกอย่างไรกับพระองค์ที่ทรงช่วยให้ท่านทำการเปลี่ยนแปลงนั้น? (กระตุ้นให้นักเรียนแบ่งปันประสบการณ์ที่ไม่เป็นเรื่องส่วนตัวมากเกินไป หรือเชื้อเชิญให้นักเรียนบันทึกประสบการณ์ในสมุดบันทึกของตน)

  • แต่ละองค์ประกอบของหลักคำสอนของพระคริสต์ (ศรัทธา การกลับใจ บัพติศมา ของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ และการอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่) เปิดโอกาสให้พระผู้ช่วยให้รอดทรงเปลี่ยนแปลงใจของท่านในทางใด?

เชื้อเชิญให้นักเรียนคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในใจที่ตนต้องการประสบและถามว่า:

ชาวแอนไท-นีไฟ-ลีไฮฝังอาวุธของตน

อธิบายว่าแม้หลังจากที่ใครบางคนได้รับการเปลี่ยนแปลงในใจอย่างลึกซึ้ง การอุทิศตนของเขาก็อาจเลือนหายไปได้ ให้ดูคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์เดล จี. เรนลันด์:

ภาพ
เอ็ลเดอร์เดล จี. เรนลันด์

เราต่างรู้จักหลายคนที่เปลี่ยนแปลงลึกซึ้งในใจแล้ว แต่ก็ยอมจำนนต่อความเป็นมนุษย์ปุถุชน คนเหล่านั้นไม่ค่อยสนใจจะนมัสการและอุทิศตนแด่พระผู้เป็นเจ้า ใจของพวกเขาแข็งกระด้าง จึงทำให้ความรอดชั่วนิรันดร์ของพวกเขาตกอยู่ในความเสี่ยง (“ดำรงการเปลี่ยนแปลงอันลึกซึ้งในใจ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2009, 119–120)

  • เหตุใดบางคนที่เคยประสบการเปลี่ยนแปลงในใจอย่างลึกซึ้งจึงกลายเป็นคนไม่ใส่ใจการนมัสการและการอุทิศตนต่อพระผู้เป็นเจ้า

เพื่อสร้างความแตกต่างให้บุคคลที่เอ็ลเดอร์เรนลันด์อธิบาย ท่านอาจแสดงรูปภาพต่อไปนี้ เชื้อเชิญนักเรียนมาอธิบายเรื่องราวของชาวแอนไท-นีไฟ-ลีไฮ และอธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้ชาวแอนไท-นีไฟ-ลีไฮต้องฝังอาวุธสงครามของตน

ภาพ
เส้นทางการชำระให้บริสุทธิ์อันเนื่องจากการเชื่อฟัง การเสียสละ และการอุทิศถวาย โดย แดน เบอร์

ขณะที่นักเรียนเล่าถึงสิ่งที่ตนทราบเกี่ยวกับชาวแอนไท-นีไฟ-ลีไฮ ท่านอาจใช้บางข้อต่อไปนี้เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถระบุถึงความลึกซึ้งของการเปลี่ยนแปลงของผู้คนและการเปลี่ยนใจเลื่อมใสต่อพระเยซูคริสต์: แอลมา 23:6–7; แอลมา 24:9–11, 15; และ แอลมา 27:27

  • อะไรที่ทำให้ชาวแอนไท-นีไฟ-ลีไฮไม่กลายเป็นคนไม่ใส่ใจการนมัสการและการอุทิศตนต่อพระผู้เป็นเจ้า?

  • บทเรียนอะไรจากข้อเหล่านี้ที่จะช่วยให้ท่านพัฒนาความพยายามของท่านให้ “มั่นคงในศรัทธาแห่งพระคริสต์, แม้จนกว่าชีวิตจะหาไม่” (แอลมา 27:27)?

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนไตร่ตรองว่าอาวุธแห่งการกบฏชนิดใดที่กีดกันไม่ให้พวกเขาประสบกับการเปลี่ยนแปลงอันลึกซึ้งในใจ?

เพื่อช่วยให้นักเรียนประยุกต์ใช้สิ่งที่ตนเรียนรู้จากบทเรียนและหน่วยนี้ จัดนักเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆ และแต่งตั้งผู้นำการสนทนาสำหรับแต่ละกลุ่ม แจกเอกสารต่อไปนี้ให้แต่ละกลุ่ม และตรวจสอบให้แน่ใจว่านักเรียนมีเวลาเพียงพอที่จะทำการสนทนาที่มีความหมาย หากมีเวลา ให้เชิญนักเรียนออกมาแบ่งปันสิ่งที่สนทนาร่วมกับชั้นเรียน

การสนทนากลุ่มเล็กๆ เกี่ยวกับการเกิดใหม่ทางวิญญาณ

สื่อการเรียนการสอนสำหรับครูเกี่ยวกับคำสอนและหลักคำสอนของพระคัมภีร์มอรมอน—บทที่ 12

หมายเหตุสำหรับผู้นำการสนทนา: โปรดนำการสนทนาเกี่ยวกับสถานการณ์ต่อไปนี้กับสมาชิกในกลุ่มของท่าน กระตุ้นให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วม อย่างไรก็ตาม ไม่ควรมีใครรู้สึกกดดันที่จะแบ่งปันความคิดของตน

ปาโบลชอบการรับใช้งานเผยแผ่และรู้สึกว่าพระกิตติคุณหยั่งรากลึกเข้าไปในใจของเขา เขากลับบ้านจากงานเผยแผ่ของเขาซึ่งเปี่ยมปีติและความคาดหวังอย่างยิ่งสำหรับอนาคตของเขา หลังจากกลับบ้านไปสองสามสัปดาห์ เขาเริ่มรู้สึกว่าไม่เป็นที่ต้องการและหลงทาง เขารู้สึกโดดเดี่ยวบ่อยครั้ง ในความพยายามที่จะเอาชนะความรู้สึกเหล่านี้ เขาเข้าร่วมในกิจกรรมและโครงการต่างๆ มากมาย เขาเริ่มละเลยการสวดอ้อนวอนส่วนตัวและการศึกษาพระคัมภีร์ของเขามากขึ้นเรื่อยๆ เขาเข้าร่วมประชุมของศาสนจักรเป็นครั้งคราว และเมื่อไม่นานมานี้เขารู้สึกถูกล่อลวงให้กลับมามีนิสัยไม่ดีบางอย่างที่เขาเคยมีก่อนไปเป็นผู้สอนศาสนา

คำถามเพื่อการสนทนา:

  • ความจริงใดเกี่ยวกับการเกิดใหม่ทางวิญญาณและการเปลี่ยนแปลงในใจอาจเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ของปาโบลมากที่สุด?

  • หากปาโบลเป็นเพื่อนของท่าน ท่านจะแบ่งปันอะไรกับเขาเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ซึ่งอาจช่วยให้เขาฟื้นคืนการเปลี่ยนแปลงในใจ?

  • ปาโบลสามารถเรียนรู้อะไรจากชาวแอนไท-นีไฟ-ลีไฮ?

การสนทนากลุ่มเล็กๆ เกี่ยวกับการเกิดใหม่ทางวิญญาณ

ภาพ
เอกสารแจกจากครู

ให้เวลานักเรียนสองสามนาทีเพื่อรายงานสิ่งที่ตนเรียนรู้ในการสนทนากลุ่ม ท่านอาจให้เวลานักเรียนไตร่ตรองสิ่งที่ตนรู้สึกได้รับแรงบันดาลใจที่จะทำอันเนื่องจากสิ่งที่ตนเรียนรู้และรู้สึกในวันนี้ ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันวิธีที่ความเข้าใจและประจักษ์พยานของตนเกี่ยวกับหลักคำสอนของพระคริสต์เติบโตขึ้นขณะที่พวกเขาศึกษาหน่วยนี้

สำหรับครั้งต่อไป

ในขณะที่ท่านเตรียมตัวจบชั้นเรียน ท่านสามารถแสดงคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน: “เราอยากจะพูดกับท่านเกี่ยวกับความท้าทาย ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด อุดมการณ์ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และงาน ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด บนแผ่นดินโลก เราต้องการเชื้อเชิญให้ ท่าน มีส่วนในเรื่องนี้!” (รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันกับเวนดี้ ดับเบิลยู. เนลสัน, “ความหวังอิสราเอล” [การให้ข้อคิดทางวิญญาณสำหรับเยาวชนทั่วโลก, 3 มิ.ย. 2018], ส่วนเสริมใน New Era และ Ensign, 3, HopeofIsrael.ChurchofJesusChrist.org) ขณะที่นักเรียนศึกษา สื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียนต่อไป กระตุ้นให้นักเรียนพิจารณาถึงบทบาทของอุดมการณ์ที่ยิ่งใหญ่นี้: การรวมอิสราเอล