คลังค้นคว้า
บทเรียนภาคการศึกษาที่บ้าน: ลูกา 18–ยอห์น 1 (หน่วย 12)


บทเรียนภาคการศึกษาที่บ้าน

ลูกา 18ยอห์น 1 (หน่วย 12)

การเตรียมเนื้อหาสำหรับครูภาคการศึกษาที่บ้าน

สรุปบทเรียนประจำวันภาคการศึกษาที่บ้าน

ใจความสรุปเหตุการณ์ หลักคำสอน และหลักธรรมต่อไปนี้ที่นักเรียนเรียนรู้ขณะศึกษา ลูกา 18ยอห์น 1 (หน่วย 12) ไม่ได้มีเจตนาจะให้สอนเป็นส่วนหนึ่งในบทเรียนของท่าน บทเรียนที่ท่านสอนเน้นไปที่หลักคำสอนและหลักธรรมเหล่านี้เพียงไม่กี่ข้อ ทำตามการกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ขณะพิจารณาความต้องการของนักเรียน

วันที่ 1 (ลูกา 18–21)

ในบทเรียนนี้นักเรียนศึกษาอุปมาเรื่องผู้พิพากษาอธรรมรวมทั้งเรื่องฟาริสีและคนเก็บภาษี พวกเขายังได้อ่านเกี่ยวกับขอทานตาบอดที่ขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าและเรื่องราวของศักเคียส จากเรื่องราวเหล่านี้นักเรียนได้เรียนรู้ว่าหากเราจริงใจและไม่ย่อท้อขณะที่เราใช้ศรัทธาในพระเจ้า เราจะได้รับพระเมตตาของพระองค์

วันที่ 2 (ลูกา 22)

เมื่อนักเรียนอ่านเกี่ยวกับคำแนะนำที่พระเจ้าประทานแก่เปโตร พวกเขาเรียนรู้ว่าเมื่อเราเปลี่ยนใจเลื่อมใสสู่พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ เราจะชูกำลังผู้อื่นได้ นักเรียนเรียนรู้ความจริงต่อไปนี้เช่นกันเมื่อพวกเขาอ่านเกี่ยวกับการทนทุกข์ของพระผู้ช่วยให้รอดในเกทเสมนี หากเราเต็มใจเชื่อฟังพระบิดาบนสวรรค์ พระองค์จะประทานพลังให้เราทำตามพระประสงค์ของพระองค์ พระเยซูคริสต์ทรงมีพระเสโทไหลออกเป็นเหมือนโลหิตเม็ดใหญ่ขณะที่พระองค์ทนทุกข์ในสวนเกทเสมนี

วันที่ 3 (ลูกา 23–24)

ในบทเรียนนี้นักเรียนอ่านเกี่ยวกับการตรึงกางเขน การฝังพระศพ และการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ พวกเขาเรียนรู้ความจริงต่อไปนี้ เราสามารถทำตามแบบอย่างของพระเยซูคริสต์โดยเลือกที่จะให้อภัยผู้ที่ข่มเหงเรา วิญญาณของทุกคนจะเข้าไปสู่โลกวิญญาณหลังจากความตายของพวกเขา พระเยซูคริสต์ทรงมีพระวรกายที่ฟื้นคืนพระชนม์เป็นเนื้อหนังและกระดูก

วันที่ 4 (ยอห์น 1)

เมื่อนักเรียนได้ศึกษาคำของยอห์นผู้เป็นที่รักและยอห์นผู้ถวายบัพติศมา พวกเขาเรียนรู้ว่าพระเยซูคริสต์ประทับอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าในปฐมกาล พระองค์ทรงรังสรรค์สิ่งทั้งปวง และพระองค์ทรงเป็นความสว่างของโลก เมื่อนักเรียนอ่านเกี่ยวกับวิธีที่สานุศิษย์มาทำความรู้จักพระเยซูคริสต์ พวกเขาเรียนรู้ว่าเมื่อเรายอมรับคำเชื้อเชิญให้เรียนรู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และติดตามพระองค์ เราจะได้รับพยานของเราเองเกี่ยวกับพระองค์

บทนำ

บทเรียนนี้จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจวิธีอัญเชิญพระวิญญาณบริสุทธิ์มาสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ นอกจากนี้ พวกเขาจะเรียนรู้ว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระสัตภาวะที่ฟื้นคืนพระชนม์พร้อมด้วยพระวรกายที่เป็นเนื้อหนังและกระดูก

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

ลูกา 24:13–32

พระเยซูผู้ทรงฟื้นคืนตรัสกับสานุศิษย์สองคนบนถนนไปหมู่บ้านเอมมาอูส

ขอให้นักเรียนไตร่ตรองว่าพวกเขาเคยมีปัญหาในการรู้ว่าแนวความคิดพระกิตติคุณเป็นความจริงหรือไม่

อธิบายว่าใน ลูกา 24:13 เราเรียนรู้ว่าสานุศิษย์สองคนออกจากเยรูซาเล็มวันเดียวกันกับที่กลุ่มสตรีพบอุโมงก์ฝังศพที่ว่างเปล่า พวกเขาเดินทางไปประมาณ 6–7.5 ไมล์ (10–12 กิโลเมตร) “ไปหมู่บ้านชื่อเอมมาอูส” การศึกษาประสบการณ์ของพวกเขาระหว่างทางไปเอมมาอูสจะช่วยให้เรารู้วิธีเสริมสร้างประจักษ์พยานของเราในพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณของพระองค์

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง ลูกา 24:14–17 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าใครมาร่วมเดินกับสานุศิษย์ทั้งสอง

  • ใครมาร่วมเดินกับสานุศิษย์ทั้งสอง

  • เหตุใดสานุศิษย์จึงจำพระเยซูไม่ได้ (อธิบายว่าคำว่า ถูกปิดไว้ ใน ลูกา 16 หมายถึงถูกยั้งไว้หรือปกปิด)

เชื้อเชิญนักเรียนหลายๆ คนผลัดกันอ่านออกเสียงจาก ลูกา 24:17–33 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าสานุศิษย์เรียนรู้อะไรจากพระเยซูขณะที่พวกเขาเดินไปพร้อมกับพระองค์โดยไม่รู้ว่าพระองค์เป็นใคร

หากมีในภาษาของท่าน แทนที่จะอ่าน ลูกา 24:17–33ท่านอาจต้องการฉายวีดิทัศน์เรื่อง “Christ Appears on the Road to Emmaus (พระคริสต์ทรงปรากฎบนถนนสู่เอมมาอูส)” (3:32) จาก วีดิทัศน์พระคัมภีร์ไบเบิล พระชนม์ชีพของพระเยซูคริสต์ ซึ่งมีอยู่ที่ LDS.org ขอให้นักเรียนดูว่าสานุศิษย์เรียนรู้อะไรจากพระเยซูขณะที่พวกเขาเดินไปพร้อมกับพระองค์โดยไม่รู้ว่าพระองค์เป็นใคร ก่อนฉายวีดิทัศน์ อธิบายว่าบทพูดที่อยู่ในวีดิทัศน์นั้นมาจาก ลูกา 24:17–33 เพื่อว่านักเรียนจะดูตามในพระคัมภีร์หากพวกเขาต้องการ

ชี้ให้เห็นว่าในวีดิทัศน์นี้ เราไม่ได้ยินสิ่งที่พระเยซูทรงสอนสานุศิษย์ขณะที่พวกเขาเดินไป เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง ลูกา 24:27 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสิ่งที่พระเยซูคริสต์ทรงสอนสานุศิษย์

  • พระเยซูทรงสอนอะไรแก่สานุศิษย์

  • พระองค์ทรงใช้สิ่งใดเพื่อสอนเกี่ยวกับพระองค์เอง (พระคัมภีร์)

  • ใน ข้อ 32 อาการใจเรารุ่มร้อนภายในของสานุศิษย์หมายความว่าอย่างไร (พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นพยานว่าคำสอนเกี่ยวกับพระเยซูในพระคัมภีร์เป็นความจริง)

เชื้อเชิญให้นักเรียนไตร่ตรองว่าสานุศิษย์อาจเรียนรู้อะไรจากการที่พระเยซูทรงใช้พระคัมภีร์สอนพวกเขาแทนที่จะเพียงเปิดเผยว่าพระองค์เป็นใคร ท่านอาจขอให้นักเรียนสองสามคนแบ่งปันความคิดของพวกเขา

  • ข้อเหล่านี้สอนหลักธรรมอะไรเกี่ยวกับผลของการศึกษาพระคัมภีร์ของเราเอง (หลังจากนักเรียนตอบแล้ว ให้เขียนความจริงต่อไปนี้บนกระดาน เมื่อเราศึกษาพระคัมภีร์ เราอัญเชิญพระวิญญาณบริสุทธิ์ให้ทรงสอนเราเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์)

  • นอกจากใจรุ่มร้อนภายใน ท่านจะบรรยายสิ่งที่เราอาจประสบเมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นพยานถึงพระเยซูคริสต์แบบอื่นอีกได้อย่างไร

ขอให้นักเรียนหาพระคัมภีร์ข้อหนึ่งที่จะช่วยพวกเขารู้สึกว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงสอนเขาเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ เชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันข้อพระคัมภีร์และผลของสิ่งที่พวกเขารู้สึก ท่านอาจต้องการแบ่งปันพระคัมภีร์ข้อหนึ่งที่เคยช่วยท่านเป็นการส่วนตัวเช่นกัน

เตือนนักเรียนว่าถึงแม้เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องอ่านพันธสัญญาใหม่เพื่อให้ได้หน่วยกิตเซมินารี แต่สำคัญมากกว่าที่จะศึกษาพระคัมภีร์ในวิธีที่พระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงเสริมสร้างประจักษ์พยานของพวกเขาเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด

หากอยู่ในวิสัยที่ทำได้ ให้แจกสำเนา ที่คั่นหนังสือ ที่มีคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองหรือเชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนคำกล่าวลงในแผ่นกระดาษแข็งเพื่อทำเป็นที่คั่นหนังสือ (เอกสาร PDF ที่พิมพ์ออกมาได้มีที่คั่นหนังสือหลายแผ่นในฉบับออนไลน์ของบทเรียนนี้)

ภาพ
เอกสารแจก พระคัมภีร์

คู่มือครูเซมินารี พันธสัญญาใหม่—บทเรียนภาคการศึกษาที่บ้าน (หน่วย 12)

ภาพ
เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน

“จุดประสงค์หลักของพระคัมภีร์ทุกเล่มคือเติมจิตวิญญาณของเราด้วยศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าพระบิดาและในพระบุตรของพระองค์ พระเยซูคริสต์ …

“… ศรัทธาเกิดจากการที่พระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์เป็นพยานต่อจิตวิญญาณเรา [พระวิญญาณต่อวิญญาณ] เมื่อเราได้ยินหรืออ่านพระคำของพระผู้เป็นเจ้า และศรัทธาเติบโตขึ้นเมื่อเราดื่มด่ำพระวจนะอยู่เสมอ …

“… จงศึกษาพระคัมภีร์อย่างละเอียดถี่ถ้วน ไตร่ตรองและสวดอ้อนวอนเกี่ยวกับสิ่งที่อ่าน พระคัมภีร์เป็นการเปิดเผย และจะนำการเปิดเผยเพิ่มเติมมาสู่เรา” (ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน, “พรจากพระคัมภีร์,” เลียโฮนา, พ.ค. 2010, 34–35)

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้โดยเอ็ลเดอร์คริสทอฟเฟอร์สัน ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาวิธีที่พวกเขาจะปรับปรุงการศึกษาพระคัมภีร์ส่วนตัวของพวกเขา

เชื้อเชิญให้นักเรียนตั้งเป้าหมายที่จะศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขาในวิธีที่จะอัญเชิญพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อเพิ่มศรัทธาในพระเยซูคริสต์และความรู้ของพวกเขาเกี่ยวกับพระองค์ ท่านอาจแนะนำให้พวกเขาเขียนเป้าหมายหนึ่งอย่างไว้ด้านหลังที่คั่นหนังสือเพื่อใช้เป็นเครื่องเตือนใจระหว่างศึกษาพระคัมภีร์

ลูกา 24:36–39

พระเยซูทรงปรากฏพระองค์ต่อสานุศิษย์ของพระองค์และแสดงพระวรกายที่ฟื้นคืนพระชนม์ต่อพวกเขา

อธิบายว่าสานุศิษย์ที่อยู่กับพระเยซูบนถนนไปเอมมาอูสกลับไปที่เยรูซาเล็มทันทีและเล่าประสบการณ์ของพวกเขาให้อัครสาวกและสานุศิษย์คนอื่นๆ ฟัง (ดู ลูกา 24:33–35)

เชื้อเชิญชั้นเรียนอ่านออกเสียงข้อผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ใน ลูกา 24:36–39 พร้อมกัน โดยมองหาว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อสานุศิษย์สองคนนี้รายงานประสบการณ์ของพวกเขากับสานุศิษย์คนอื่นๆ

  • เกิดอะไรขึ้นขณะที่สานุศิษย์สองคนนี้รายงานประสบการณ์ของพวกเขา

แสดงภาพ พระเยซูทรงให้ดูบาดแผลของพระองค์ (หนังสือภาพพระกิตติคุณ [2009], ภาพที่ 60; ดู LDS.org ด้วย)

  • พระเยซูทรงเชื้อเชิญให้สานุศิษย์ของพระองค์ทำอะไรเพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าใจว่าพระองค์ไม่ได้เป็นเพียงวิญญาณแต่มีร่างกาย

  • เราสามารถเรียนรู้หลักคำสอนอะไรจากข้อเหล่านี้ (นักเรียนอาจระบุหลักคำสอนที่หลากหลาย แต่ให้แน่ใจว่าได้เน้นว่า พระเยซูคริสต์ทรงมีพระวรกายที่ฟื้นคืนพระชนม์เป็นเนื้อหนังและกระดูก เขียนหลักคำสอนนี้ไว้บนกระดาน ดู คพ. 130:22 ด้วย)

เชื้อเชิญนักเรียนสองสามคนแบ่งปันประจักษ์พยานของพวกเขาถึงการฟื้นคืนพระชนม์ของพระผู้ช่วยให้รอดและอธิบายสาเหตุที่หลักคำสอนนี้สำคัญสำหรับพวกเขา หรือเชื้อเชิญพวกเขาให้แบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์สำหรับงานมอบหมายที่ 3 จากหน่วย 12: บทเรียนวันที่ 3 สรุปโดยเป็นพยานถึงความเป็นจริงของการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์

หน่วยต่อไป (ยอห์น 2–6)

อธิบายกับนักเรียนว่าเมื่อพวกเขาศึกษา ยอห์น 2–6พวกเขาจะเรียนรู้คำตอบของคำถามต่อไปนี้: ปาฏิหาริย์ครั้งแรกของพระเยซูต่อหน้าสาธารณชนคืออะไร ปาฏิหาริย์นั้นช่วยมารดาของพระองค์อย่างไร เหตุใดพระเยซูทรงชำระพระวิหาร พระเยซูทรงประกาศครั้งแรกว่าพระองค์ทรงเป็นพระเมสสิยาห์ต่อใคร พระองค์ทรงเปิดเผยอะไรต่อสตรีคนนี้เกี่ยวกับชีวิตของเธอที่พระองค์ทรงทราบได้คนเดียว เหตุใดพระผู้ช่วยให้รอดทรงเรียกพระองค์เองว่าเป็นน้ำดำรงชีวิตและอาหารแห่งชีวิต นักเรียนจะอ่านเกี่ยวกับการปฏิบัติศาสนกิจของพระเยซูคริสต์ในความสง่างามและพลังอำนาจเช่นกัน