คลังค้นคว้า
บทที่ 9: มัทธิว 5:1–16


บทที่ 9

มัทธิว 5:1-16

คำนำ

มัทธิว 5-7 บันทึกคำเทศนาที่พระผู้ช่วยให้รอดประทานในช่วงเริ่มต้นการปฏิบัติศาสนกิจของพระองค์ คำเทศนานี้เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นคำเทศนาบนภูเขา มัทธิว 5:1-16 บันทึกคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอดเกี่ยวกับหลักธรรมที่นำไปสู่ความสุข พระผู้ช่วยให้รอดทรงบัญชาสานุศิษย์ของพระองค์ให้เป็นแบบอย่างที่ชอบธรรม

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

มัทธิว 5:1-12

พระเยซูทรงเริ่มคำเทศนาบนภูเขาโดยการสอนเรื่องผู้เป็นสุข

เขียนคำถามต่อไปนี้ไว้บนกระดาน: ท่านมีความสุขหรือไม่ มีเพราะเหตุใดหรือไม่มีเพราะเหตุใด

ให้นักเรียนไตร่ตรอง (หรือเขียนในสมุดจดหรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขา) ว่าพวกเขาจะตอบคำถามเหล่านี้อย่างไร (ท่านอาจต้องการบอกนักเรียนว่าพวกเขาไม่ต้องแบ่งปันคำตอบของพวกเขากับชั้นเรียน)

เชิญนักเรียนอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้โดยประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟแห่งฝ่ายประธานสูงสุด

ภาพ
ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ

“บ่อยครั้งเหลือเกินที่เราจมอยู่กับภาพลวงตาว่ามีบางสิ่งเกินเอื้อมที่จะนำความสุขมาให้เรา เช่นครอบครัวมีฐานะดีขึ้น สถานะทางการเงินดีขึ้น หรือการทดลองที่เป็นความท้าทายสิ้นสุดลง

“… สภาวการณ์ภายนอกไม่ได้สำคัญหรือกำหนดความสุขของเราแต่อย่างใด

“… เรา ต่างหากที่กำหนดความสุขของเรา (“เรื่องความเสียใจและปณิธาน,” เลียโฮนา, พ.ย. 2012, 23)

  • ท่านคิดว่าประโยคนี้ “เรากำหนดความสุขของเรา” หมายถึงอะไร เหตุใดการรู้สิ่งนี้จึงสำคัญ

อธิบายว่าเมื่อพระผู้ช่วยให้รอดทรงเริ่มการปฏิบัติศาสนกิจของพระองค์ พระองค์ประทานคำเทศนาใกล้ทะเลกาลิลี คำเทศนานี้มักจะเรียกว่าคำเทศนาบนภูเขาและบันทึกใน มัทธิว 5–7 ในคำเทศนานี้พระผู้ช่วยให้รอดทรงอธิบายว่าเราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อให้มีความสุขที่แท้จริง ไม่ว่าสภาวการณ์ภายนอกของเราจะเป็นอย่างไร

เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน มัทธิว 5:3–11 ในใจโดยละเอียด มองหาคำที่พูดซ้ำๆ ในช่วงเริ่มต้นของแต่ละข้อ ขอให้นักเรียนรายงานสิ่งที่พบ

อ่านคำอธิบายต่อไปนี้ (จากมัทธิว 5:3, เชิงอรรถในพระคัมภีร์ไบเบิลภาษาอังกฤษฉบับ LDS ) และขอให้นักเรียนมองหาว่าคำว่า “ผู้เป็นสุข” แปลว่าอะไร: คำว่า “ผู้เป็นสุข” แปลจากคำว่า beatus ในภาษาละตินซึ่งเป็นรากศัพท์ของคำว่า “beatitude” ซึ่งแปลว่า “ที่โชคดี” “ที่มีความสุข” หรือ “ที่เป็นสุข”

  • คำว่า ผู้เป็นสุข หมายถึงอะไร

อธิบายว่าเนื่องจาก ผู้เป็นสุข แปลจากคำในภาษาละตินว่า beatus, แปลว่าที่โชคดีหรือมีความสุข โดยปกติข้อเหล่านี้เรียกว่าผู้เป็นสุข

จัดเตรียมสำเนา แผนภูมิ ต่อไปนี้ไว้ให้นักเรียนแต่ละคน ชี้ให้เห็นว่านอกจากข้อที่มีคำว่าผู้เป็นสุขใน มัทธิว 5 แผนภูมิมีข้ออ้างอิงสองข้อไปที่ 3 นีไฟ ข้ออ้างอิงเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของคำเทศนาที่พระเยซูคริสต์ประทานระหว่างการปฏิบัติศาสนกิจท่ามกลางชาวนีไฟซึ่งคล้ายคลึงกับคำเทศนาบนภูเขา ข้ออ้างอิงใน 3 นีไฟ ทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นถึงข้อความพระคัมภีร์ที่สอดคล้องกันใน มัทธิว 5

ภาพ
เอกสารแจก ผู้เป็นสุข

ผู้เป็นสุข

คู่มือครูเซมินารี พันธสัญญาใหม่—บทที่ 9

มัทธิว 5:3; 3 นีไฟ 12:3

ความยากจนในวิญญาณหมายถึงอ่อนน้อมถ่อมตนและ “ตระหนักด้วยความสำนึกคุณถึงการพึ่งพาพระเจ้า [ของเรา] —เพื่อเข้าใจว่า [เรา] ต้องการความช่วยเหลือจากพระองค์เสมอ ความอ่อนน้อมถ่อมตนคือการยอมรับว่าพรสวรรค์และความสามารถ [ของเรา] เป็นของประทานจากพระผู้เป็นเจ้า” (ดู แน่วแน่ต่อศรัทธา: ศัพทานุกรมพระกิตติคุณ [2004], 112)

มัทธิว 5:4

โศกเศร้าคือรู้สึกเสียใจหรือแสดงออกถึงความเสียใจ บุคคลอาจจะโศกเศร้าเรื่องความลำบากและการทดลองในความเป็นมรรตัย รวมถึงความตายของคนที่รัก เช่นเดียวกัน บุคคลอาจโศกเศร้าเพราะความเสียใจเรื่องบาปด้วย

มัทธิว 5:5

“ความสุภาพอ่อนโยน ตามที่นิยามไว้ในพจนานุกรมของ Webster คือ ‘การแสดงออกถึงความอดทน อดกลั้น ทนต่อความเจ็บปวดโดยไม่มีความขุ่นเคือง’ [Webster’s Third New International Dictionary (1976) ‘meek,’ 1403] ความสุภาพอ่อนโยนไม่ใช่ความอ่อนแอ นี่คือสัญลักษณ์ของความกล้าหาญแบบชาวคริสต์” (ดู โรเบิร์ต ดี. เฮลส์, “ความกล้าหาญแบบชาวคริสต์: คุณค่าแห่งความเป็นสานุศิษย์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2008, 91)

มัทธิว 5:6; 3 นีไฟ 12:6.

การหิวและกระหายความชอบธรรมหมายถึงความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะรู้และทำตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า

มัทธิว 5:7

“ความเมตตาคือการปฏิบัติอันเกิดจากความสงสารคนๆ หนึ่งมากกว่าสิ่งที่สมควรจะได้รับ” (“Mercy,Gospel Topics, lds.org/topics) เราสามารถได้รับพระเมตตาจากพระบิดาบนสวรรค์เนื่องจากการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ (ดู แอลมา 33:11)

มัทธิว 5:8

“คนที่มีใจบริสุทธิ์เป็นคนที่รักพระเจ้า มุ่งติดตามพระองค์และรักษาพระบัญญัติของพระองค์ พยายามดำเนินชีวิตอย่างชอบธรรมและอดทนอย่างซื่อสัตย์จนกว่าชีวิตจะหาไม่ คนที่มีใจบริสุทธิ์เป็นคนที่ควบคุมความคิดของพวกเขาและรักษาตนเองให้ปราศจากความคิดเพ้อฝันหรือการกระทำที่ผิดศีลธรรม” (เชลดอน เอฟ. ไชด์, Words of Jesus: Chastity, Ensign, ม.ค. 2003, 44)

มัทธิว 5:9

“[การสร้างสันติ] คือของประทานซึ่งจะช่วยให้ผู้คนอยู่บนพื้นฐานเดียวกันเมื่อคนอื่นมองเห็นต่างกัน” (เฮนรีย์ บี. อายริงก์, “การเรียนรู้ในฐานะปุโรหิต,” เลียโฮนา, พ.ค. 2011, 80)

มัทธิว 5:10-12

การ “ถูกข่มเหงเพราะความชอบธรรม” หมายถึงการเต็มใจเชื่อฟังและปกป้องพระเยซูคริสต์และคำสอนของพระองค์ แม้เมื่อเราอาจถูกเยาะเย้ยหรือถูกข่มเหงเมื่อทำเช่นนั้น

แบ่งนักเรียนออกเป็นแปดกลุ่มและมอบหมายหัวข้อผู้เป็นสุขให้กลุ่มละหนึ่งหัวข้อตามรายการที่อยู่ในแผนภูมิ (หากท่านไม่มีนักเรียนพอที่จะแบ่งเป็นแปดกลุ่ม ให้พิจารณามอบหมายหัวข้อผู้เป็นสุขมากกว่าหนึ่งหัวข้อให้แต่ละกลุ่ม) ให้นักเรียนเตรียมการนำเสนอสั้นๆ เกี่ยวกับหัวข้อผู้เป็นสุขที่พวกเขาได้รับมอบหมาย พวกเขาควรมีกิจกรรมต่อไปนี้ในการนำเสนอของพวกเขา (ท่านอาจต้องการเขียนคำสั่งเหล่านี้บน กระดาน หรือทำเอกสารแจกที่มีข้ออ้างอิง)

  1. เชิญเพื่อนร่วมชั้นเรียนหนึ่งคนให้อ่านออกเสียงข้อพระคัมภีร์และระบุพรที่เราได้รับสัญญาว่าจะได้รับเมื่อดำเนินชีวิตตามผู้เป็นสุขในหัวข้อนั้น

  2. โดยใช้ข้อพระคัมภีร์และข้อมูลในแผนภูมิ อธิบายว่าเราต้องทำอะไรเพื่อให้ได้รับพรที่สัญญาไว้

  3. ให้ชั้นเรียนแนะนำวิธีที่เจาะจงที่เราสามารถดำเนินชีวิตตามผู้เป็นสุขข้อนี้

  4. อธิบายว่าการดำเนินชีวิตตามผู้เป็นสุขข้อนี้จะนำความสุขมาให้เราได้อย่างไร ท่านอาจต้องการแบ่งปันประสบการณ์ที่แสดงความจริงที่ท่านสอน และประจักษ์พยานของท่านถึงความจริงนั้น

หลังจากให้เวลาพอสมควร เชิญแต่ละกลุ่มนำเสนอหัวข้อผู้เป็นสุขที่พวกเขาได้รับมอบหมายกับชั้นเรียน

หลังจากนักเรียนจบการนำเสนอ ชี้ให้เห็นว่าผู้เป็นสุขสอนเกี่ยวกับคุณลักษณะของพระเยซูคริสต์และโดยการดำเนินชีวิตตามผู้เป็นสุขเหล่านั้นเราจะเป็นเหมือนพระองค์ได้มากขึ้น

  • ตามที่ท่านเรียนรู้ใน มัทธิว 5 จะเกิดอะไรขึ้นกับเราเมื่อเราพัฒนาคุณลักษณะเหล่านี้และคุณลักษณะอื่นๆ เหมือนพระคริสต์ (ถึงแม้นักเรียนจะใช้คำพูดต่างกัน แต่พวกเขาควรระบุหลักธรรมต่อไปนี้ เมื่อเราพัฒนาคุณลักษณะเหมือนพระคริสต์เราจะพบความสุขที่เพิ่มขึ้น เขียนหลักธรรมนี้ไว้บนกระดาน)

ท่านอาจแบ่งปันประจักษ์พยานของท่านเกี่ยวกับหลักธรรมนี้ เตือนความจำนักเรียนถึงคำถามเกี่ยวกับความสุขของพวกเขาที่พวกเขาไตร่ตรองเมื่อเริ่มบทเรียน เชื้อเชิญให้นักเรียนแสวงหาความสุขที่ยิ่งใหญ่มากขึ้นโดยเลือกคุณลักษณะที่ระบุในรายการผู้เป็นสุขและตั้งเป้าหมายพัฒนาคุณลักษณะนั้น

มัทธิว 5:13-16

พระเยซูคริสต์ทรงสอนสานุศิษย์ของพระองค์ให้เป็นแบบอย่างที่ชอบธรรม

ขอให้นักเรียนนึกถึงคนบางคนที่พวกเขารู้จัก เช่นสมาชิกครอบครัวหรือเพื่อนที่จะได้รับพรโดยเข้าใกล้พระบิดาบนสวรรค์มากขึ้น ขณะที่นักเรียนศึกษา มัทธิว 5 ต่อ เชิญพวกเขาให้มองหาหลักธรรมที่จะนำทางพวกเขาเมื่อพยายามช่วยบุคคลคนนี้

ให้นักเรียนดูขวดใส่เกลือและเทลงมาในถ้วยนิดหน่อย

  • เกลือมีประโยชน์ในทางใดบ้าง

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้โดยเอ็ลเดอร์คาร์ลอส เอ. เอเซย์แห่งสาวกเจ็ดสิบ ขอให้ชั้นเรียนฟังประโยชน์บางอย่างของเกลือ

ภาพ
เอ็ลเดอร์คาร์ลอส เอ. เอเซย์

“[เกลือที่ดี] … สะอาด บริสุทธิ์ ไม่มีอะไรเจือปน และมีประโยชน์ ในสถานะหรือสภาพนี้ เกลือจะถนอมคุณค่า ให้รส รักษา และทำสิ่งที่มีประโยชน์อื่นๆ ” (Salt of the Earth: Savor of Men and Saviors of Men, Ensign, พ.ค. 1980, 42)

ให้นักเรียนอ่าน มัทธิว 5:13 ในใจ โดยมองหาว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงเปรียบใครเป็นเกลือ

  • พระผู้ช่วยให้รอดทรงเปรียบใครเป็นเกลือ (สานุศิษย์ของพระองค์)

  • สานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์แสดงคุณลักษณะเช่นเดียวกันกับเกลือที่ดีในด้านใด

  • ตามที่ระบุใน ข้อ 13 เกิดอะไรขึ้นเมื่อเกลือหมดรสเค็ม

อธิบายว่าคำว่า รส ไม่ได้หมายถึงรสเกลือเท่านั้นแต่หมายถึงคุณสมบัติพิเศษสุดของเกลือด้วยในการถนอมรักษาของไม่ให้เสีย

  • อะไรเป็นสาเหตุให้เกลือหมดรสเค็ม (เกลือหมดรสเค็มเมื่อมันผสมกับสิ่งอื่นหรือมีสิ่งเจือปน)

เทสิ่งอื่น เช่นดิน ลงไปในถ้วย และผสมเกลือกับสสารอื่นรวมกัน

  • เกิดอะไรขึ้นกับประโยชน์ของเกลือเมื่อผสมกับสิ่งอื่นๆ

  • ในฐานะสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์ อะไรที่ทำให้เราสูญเสียรสของเรา หรือคุณสมบัติเหมือนพระคริสต์ที่ทำให้เราเป็นพรแก่ผู้อื่น (นักเรียนอาจใช้คำพูดต่างกัน แต่ให้แน่ใจว่าพวกเขาระบุหลักธรรมต่อไปนี้ การถูกเจือปนด้วยบาปต่างๆ ของโลกจะกีดกันเราจากการเป็นพรแก่ผู้อื่น) เขียนหลักธรรมนี้ไว้บนกระดาน)

  • เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อได้รสของเรากลับมา

ให้นักเรียนดูเทียนหนึ่งเล่ม (ไม่ต้องจุดเทียน) เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง มัทธิว 5:14–16 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงเปรียบสานุศิษย์ของพระองค์กับเทียนอย่างไร

  • สานุศิษย์ของพระคริสต์พึงทำอะไรกับแสงสว่างของพวกเขา

  • พวกท่านจงส่องสว่างหมายความว่าอย่างไร (ดู 3 นีไฟ 18:24)

  • งานดีของเราจะนำคนอื่นให้ทำอะไร

อธิบายว่านอกเหนือจากวลีอื่นๆ วลีที่ว่า “จะได้สรรเสริญพระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์” (ข้อ 16) หมายความว่าจะสรรเสริญและถวายเกียรติพระผู้เป็นเจ้าผ่านทางคำพูดหรือการกระทำ

  • เราสามารถเรียนรู้หลักธรรมอะไรจาก ข้อ 14–16 ว่าแบบอย่างที่ชอบธรรมของเราจะเป็นอิทธิพลต่อคนอื่นได้อย่างไร (นักเรียนอาจใช้คำพูดต่างกัน แต่ให้แน่ใจว่าพวกเขาระบุหลักธรรมต่อไปนี้ แบบอย่างที่ชอบธรรมของเราจะกระตุ้นให้คนอื่นเข้าใกล้พระบิดาบนสวรรค์มากขึ้น เขียนหลักธรรมนี้ไว้บนกระดาน)

  • เมื่อใดบ้างที่บางคนเป็นแบบอย่างที่ชอบธรรมแก่ท่านที่ได้ช่วยท่านเข้าใกล้พระบิดาบนสวรรค์มากขึ้น

กระตุ้นให้นักเรียนไตร่ตรองสิ่งที่พวกเขาทำได้เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีขึ้นให้กับครอบครัวและมิตรสหายของพวกเขา

ทบทวนหลักธรรมต่างๆ ที่ระบุไว้และเขียนบนกระดานในบทเรียนนี้ เขียนบนกระดานว่า เริ่ม หยุด และ ทำต่อไป เชื้อเชิญให้นักเรียนประเมินชีวิตของพวกเขาและเลือกหนึ่งสิ่งที่พวกเขาเริ่มทำได้ หนึ่งสิ่งที่พวกเขาจะหยุด และหนึ่งสิ่งที่พวกเขาจะทำต่อไปเพื่อประยุกต์ใช้หลักธรรมเหล่านี้ในชีวิตของพวกเขา

ภาพ
ไอคอนผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์
ผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์—มัทธิว 5:14-16

อธิบายว่าตลอดทั้งปีนักเรียนจะมุ่งความสนใจไปที่ ข้อผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ 25 ข้อ รวมถึง มัทธิว 5:14–16 ข้อเหล่านี้จะช่วยพวกเขาเข้าใจและอธิบายหลักคำสอนเบื้องต้นของพระกิตติคุณ มีรายการข้ออ้างอิงผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ 25 ข้อ อยู่ในด้านหลังของที่คั่นหนังสือเซมินารีสำหรับพันธสัญญาใหม่ อธิบายว่า “การเชี่ยวชาญ” พระคัมภีร์ข้อนั้นได้แก่ความสามารถที่จะบอกได้ว่าอยู่ที่ไหน เข้าใจ ประยุกต์ใช้และท่องจำข้อนั้นได้

เพื่อช่วยให้นักเรียนท่องจำข้อนี้ ให้พวกเขาท่องหลายๆ ครั้งในใจและจากนั้นท่องดังๆ ให้เพื่อนร่วมชั้นเรียนฟัง ท่านอาจต้องการให้ชั้นเรียนท่องออกเสียงข้อนี้ในตอนเริ่มต้นหรือตอนจบชั้นเรียนแต่ละครั้งในสัปดาห์หน้า

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

มัทธิว 5:1-12 “ผู้เป็นสุข”

เพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เป็นสุข ท่านอาจต้องการอ่านบทความโดยเอ็ลเดอร์โรเบิร์ต อี. เวลส์ แห่งสาวกเจ็ดสิบชื่อว่า The Beatitudes: Pattern for Coming unto Christ, (Ensign, Dec. 1987, 8–11)

มัทธิว 5:1-12 “ผู้เป็นสุข”

ประธานฮาโรลด์ บี. ลีสอนเกี่ยวกับคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอดใน มัทธิว 5:1–12 ว่า

“คำประกาศเหล่านี้ของพระอาจารย์เป็นที่รู้จักในแวดวงวรรณกรรมของโลกชาวคริสต์ว่าผู้เป็นสุขและมีการอ้างอิงจากผู้อธิบายพระคัมภีร์ไบเบิลว่าเป็นการเตรียมที่จำเป็นสำหรับการเข้าสู่อาณาจักรสวรรค์ เพื่อบรรลุจุดประสงค์ของการสนทนานี้ ข้าพเจ้าขอพูดถึงข้อพระคัมภีร์นี้ว่าเป็นบางสิ่งที่มากกว่านั้นเมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับท่านและข้าพเจ้า คำสอนนี้ครอบคลุมองค์ประกอบของชีวิตที่ดีพร้อม” (Decisions for Successful Living [1973], 56–57)