คลังค้นคว้า
บทที่ 22: มัทธิว 19–20


บทที่ 22

มัทธิว 19–20

คำนำ

พระเยซูคริสต์ทรงสอนเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของการแต่งงาน พระองค์ทรงเน้นความสำคัญของการเลือกชีวิตนิรันดร์แทนความร่ำรวยทางโลกและสอนอุปมาเรื่องคนทำงานในสวนองุ่น พระเยซูทรงตรัสล่วงหน้าถึงการสิ้นพระชนม์ของพระองค์และสอนสานุศิษย์ของพระองค์ให้รับใช้ผู้อื่น

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

มัทธิว 19:1–12

พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของการแต่งงาน

ภาพ
คู่แต่งงานหนุ่มสาว

แสดง ภาพ คู่แต่งงานที่มีความสุขซึ่งผนึกในพระวิหาร ชี้ให้เห็นว่าหลักคำสอนของพระเจ้าเกี่ยวกับการแต่งงานและการหย่าร้างแตกต่างจากความเชื่อของโลกมากมาย

  • ความเชื่อของโลกเกี่ยวกับการแต่งงานและการหย่าร้างมีอะไรบ้าง (คำเตือน: หลีกเลี่ยงการใช้เวลามากเกินไปในประเด็นบางเรื่องเช่นการแต่งงานเพศเดียวกัน ซึ่งจะดึงเวลาจากหลักธรรมสำคัญอื่นๆ ในบทเรียนวันนี้)

ให้นักเรียนศึกษา มัทธิว 19:1–12 มองหาคำสอนของพระเจ้าเกี่ยวกับ การแต่งงาน และการหย่าร้าง พิจารณาความสำคัญของคำสอนเหล่านี้สำหรับพวกเขา

ขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง มัทธิว 19:1–3 ให้ชั้นเรียนดูตามโดยมองหาคำถามที่พวกฟาริสีถามพระเยซู ขอให้นักเรียนรายงานสิ่งที่พบ

อธิบายว่าวลี “หย่าร้างภรรยาของเขาไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม” (มัทธิว 19:3) หมายถึงผู้ชายที่หย่าร้างภรรยาของตนด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยหรือเห็นแก่ตัว

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง มัทธิว 19:4–6 ขอให้ชั้นเรียนมองหาสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดสอนเกี่ยวกับการแต่งงานและการหย่าร้าง

  • เราเรียนรู้ความจริงอะไรจากคำตอบที่พระผู้ช่วยให้รอดประทานแก่พวกฟาริสี (นักเรียนอาจระบุความจริงหลากหลาย แต่ให้แน่ใจว่าได้เน้นว่า การแต่งงานระหว่างชายกับหญิงเป็นสัมพันธภาพอันศักดิ์สิทธิ์ที่พระผู้เป็นเจ้าทรงออกแบบและจัดตั้ง)

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง มัทธิว 19:7 ขอให้ชั้นเรียนมองหาคำถามอีกข้อหนึ่งที่พวกฟาริสีถามพระผู้ช่วยให้รอด

  • พวกฟาริสีถามอะไรพระผู้ช่วยให้รอด

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง มัทธิว 19:8–9 ขอให้ชั้นเรียนมองหาคำตอบของพระผู้ช่วยให้รอด

  • ตามที่พระผู้ช่วยให้รอดตรัส เหตุใดโมเสสยอมให้มีการหย่าร้างในบรรดาชาวอิสราเอล (เนื่องจากใจที่แข็งกระด้างของผู้คน)

เพื่อช่วยให้นักศึกษาเข้าใจว่าคำสอนนี้เกี่ยวข้องกับสมัยของเรา เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้โดยเอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง

ภาพ
เอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์

“การแต่งงานในแบบที่ทำเพื่อความสูงส่ง—เป็นนิรันดร์ในระยะเวลาและเป็นเหมือนพระผู้เป็นเจ้าในคุณภาพ—จะไม่คิดเรื่องการหย่าร้าง ในพระวิหารของพระเจ้าคู่ชายหญิงแต่งงานเพื่อนิรันดร แต่ชีวิตสมรสของบางคนไม่ก้าวไปสู่อุดมการณ์เช่นนั้น เพราะ ‘ความแข็งกระด้างของใจ [เรา]’ [มัทธิว 19:8] ปัจจุบันพระเจ้าจึงไม่ทรงใช้ผลลัพธ์ของมาตรฐานซีเลสเชียล พระองค์ทรงยอมให้บุคคลที่ถูกหย่าแต่งงานใหม่โดยปราศจากความมัวหมองของการผิดศีลธรรมดังระบุไว้ในกฎที่สูงกว่า” (ดู“การหย่าร้าง,” เลียโฮนา, พ.ค. 2007, 88)

ท่านอาจเชิญนักเรียนมาแบ่งปันประจักษ์พยานของพวกเขาว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงออกแบบและจัดตั้งการแต่งงานให้เป็นสัมพันธภาพอันศักดิ์สิทธิ์ระหว่างชายกับหญิง

มัทธิว 19:13–30; 20:1–16

พระเยซูทรงสอนเรื่องชีวิตนิรันดร์และประทานอุปมาเรื่องคนทำงานในสวนองุ่น

เชิญนักเรียนคนหนึ่งออกมาหน้าชั้นเรียน บอกนักเรียนว่าหากเขาสามารถวิดพื้นได้ 10 ครั้ง เขาจะได้รับของรางวัลเล็กๆ (เช่นลูกอมเล็กๆ 10 ลูก) หลังจากนักเรียนวิดพื้นสิบครั้งแล้ว ให้รางวัลและขออาสาสมัครอีกคนออกมา ขอให้นักเรียนคนที่สองวิดพื้นหนึ่งครั้ง แล้วถามชั้นเรียนว่ารางวัลอะไรที่นักเรียนคนนี้ควรได้รับและเพราะเหตุใด เชิญนักเรียนทั้งสองให้กลับไปนั่ง บอกชั้นเรียนว่าในช่วงต่อไปในบทเรียนนักเรียนคนที่สองจะได้รับรางวัลตามสิ่งที่ชั้นเรียนเรียนรู้ในพระคัมภีร์

สรุป มัทธิว 19:13–27 โดยอธิบายว่าพระเยซูทรงกระตุ้นให้ผู้ติดตามพระองค์แสวงหาชีวิตนิรันดร์แทนความร่ำรวยทางโลก เปโตรถามว่าสานุศิษย์จะได้รับอะไรเนื่องจากพวกเขาได้ทิ้งสิ่งของทางโลกเพื่อติดตามพระผู้ช่วยให้รอด (หมายเหตุ: เหตุการณ์ที่สนทนาในข้อเหล่านี้จะสอนรายละเอียดในบทเรียน มาระโก 10)

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง มัทธิว 19:28–30 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาคำตอบที่พระผู้ช่วยให้รอดตอบเปโตร

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 29 คนที่ทิ้งทุกอย่างเพื่อติดตามพระผู้ช่วยให้รอดจะได้รับอะไร

อธิบายว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนสานุศิษย์ของพระองค์เกี่ยวกับอุปมาเพื่อช่วยพวกเขาให้เข้าใจความปรารถนาของพระบิดาบนสวรรค์ที่จะประทานโอกาสให้บุตรธิดาทุกคนของพระองค์ได้รับชีวิตนิรันดร์ ในอุปมานี้ ชายคนหนึ่งจ้างคนงานให้ทำงานในสวนองุ่นของเขาในช่วงเวลาที่ต่างกันตลอดทั้งวัน เวลาทำงานปกติในสมัยพันธสัญญาใหม่น่าจะเป็นจาก 6.00 น. ถึง 18.00 น. โดยอาจใช้เวลานานต่างกันไปตามฤดูกาลที่แตกต่างของปี

ลอกแผนภูมิต่อไปนี้บน กระดาน หรือทำเป็นเอกสารแจก

คนงาน (เวลาเริ่ม)

ค่าจ้างที่ตกลง

ชั่วโมงทำงาน

จำนวนเงินที่จ่าย

เช้าตรู่ (6:00 น.)

ชั่วโมงที่ 3 (9:00 น.)

ชั่วโมงที่ 6 (12:00 น.)

ชั่วโมงที่ 9 (15:00 น.)

ชั่วโมงที่ 11 (17:00 น.)

ให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มเล็กๆ ให้พวกเขาอ่าน มัทธิว 20:1–7 ในกลุ่มโดยมองหาว่าคนงานแต่ละกลุ่มทำงานนานเท่าใดและค่าจ้างที่พวกเขาตกลง (“หนึ่งเพนนี” คือหนึ่งเดนาริอัน ซึ่งเป็นเงินเหรียญโรมันมีค่าเท่าค่าจ้างทำงานหนึ่งวัน)

หลังจากให้เวลามากพอแล้ว เชิญนักศึกษาสองสามคนออกมาหน้าชั้นและเขียนข้อมูลลงในสองช่องแรกของแผนภูมิ (หรือให้พวกเขาเขียนในเอกสารแจก)

  • ท่านคิดว่าใครควรได้รับค่าจ้างมากที่สุด

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง มัทธิว 20:8–10 ให้ชั้นเรียนมองหาค่าจ้างที่คนงานแต่ละกลุ่มได้รับ

  • คนงานแต่ละกลุ่มได้รับค่าจ้างเท่าไร (หลังจากนักเรียนตอบ ให้เขียน 1 เดนาริอัน ในแต่ละช่องสี่เหลี่ยมในช่องที่เขียนว่า “จำนวนเงินที่จ่าย”)

  • หากท่านเป็นหนึ่งในคนงานที่ทำงานทั้งวัน ท่านจะคิดหรือรู้สึกอย่างไรที่ท่านได้รับค่าตอบแทนเดียวกันกับคนที่ทำงานแค่ชั่วโมงเดียว

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง มัทธิว 20:11–14 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าคนงานที่ทำงานทั้งวันพูดอะไรกับเจ้าของสวนองุ่นและเจ้าของสวนองุ่นตอบพวกเขาว่าอย่างไร

  • คนที่ทำงานทั้งวันไม่พอใจอะไร

  • เจ้าของสวนองุ่นตอบว่าอะไร

  • เจ้าของสวนองุ่นยุติธรรม (หรือเป็นธรรม) กับคนที่ทำงานทั้งวันอย่างไร

เพื่อช่วยให้นักเรียนระบุความจริงจากอุปมานี้ อธิบายว่าค่าจ้างหนึ่งเดนาริอันหมายถึงชีวิตอันเป็นนิจหรือชีวิตนิรันดร์ ตามที่กล่าวไว้ใน มัทธิว 19:29 เขียนข้อความที่ไม่ครบถ้วนต่อไปนี้บนกระดาน พระผู้เป็นเจ้าประทานชีวิตนิรันดร์แก่ทุกคนที่ …

  • หากค่าตอบแทนในอุปมานี้หมายถึงชีวิตนิรันดร์ การทำงานจะหมายถึงอะไร (นักเรียนอาจให้คำตอบหลากหลาย แต่ให้แน่ใจว่าได้เน้นว่าการทำงานในอุปมานี้หมายถึงการทำและรักษาพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์กับพระผู้เป็นเจ้า) หลังจากนักเรียนตอบแล้ว ให้เขียนความจริงบนกระดานให้ครบถ้วนดังนี้ พระผู้เป็นเจ้าประทานชีวิตนิรันดร์แก่ทุกคนที่เลือกทำและรักษาพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์กับพระองค์

ชี้ให้เห็นว่าความจริงนี้ช่วยให้เราเข้าใจพระเมตตาของพระบิดาบนสวรรค์ที่มีต่อคนที่ไม่ได้ทำหรือรักษาพันธสัญญาในช่วงแรกของชีวิตและคนที่ไม่มีโอกาสจะทำเช่นนั้นจนหลังจากพวกเขาตาย (ดู คพ. 137:7–8)

  • เหตุใดจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเราที่จะรู้ว่าพระผู้เป็นเจ้าประทานชีวิตนิรันดร์แก่ทุกคนที่เลือกทำและรักษาพันธสัญญากับพระองค์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด

เตือนนักเรียนถึงนักเรียนคนที่สองที่วิดพื้นแค่หนึ่งครั้ง และถามว่า

  • ท่านคิดว่านักเรียนคนนี้ควรได้รับรางวัลอะไรสำหรับการวิดพื้นหนึ่งครั้ง (ให้รางวัลเดียวกันกับที่ท่านให้นักเรียนที่วิดพื้น 10 ครั้ง)

ขอให้นักศึกษาคนหนึ่งอ่านออกเสียง มัทธิว 20:15–16 ให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเจ้าของสวนองุ่นตอบคนที่ไม่พอใจเกี่ยวกับน้ำพระทัยของพระองค์ที่มีต่อคนงานอื่นๆ อย่างไร

  • ท่านคิดว่าเจ้าของสวนองุ่นหมายความว่าอย่างไรเมื่อเขาถามว่า “ทำไมท่านอิจฉาเมื่อเห็นเราใจดี?” (ข้อ 15)

อธิบายว่าว่าเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองได้ถอดความคำถามดังกล่าวไว้ดังนี้ “ทำไม ท่าน อิจฉาเพราะ เรา เลือกที่จะใจดี?” (“คนงานในสวนองุ่น,” เลียโฮนา, พ.ค. 2012, 31)

  • “หลายคน [ถูก] เรียก, แต่น้อยคนถูกเลือก” ใน ข้อ 16 (ไบเบิลฉบับ KJV)หมายความว่าอย่างไร (ถูก เรียก หมายถึงได้รับเชิญให้มีส่วนร่วมในงานของพระบิดาบนสวรรค์ ถูก เลือก หมายถึงได้รับพรของพระองค์—รวมถึงพรของชีวิตนิรันดร์)

  • เราสามารถเรียนรู้หลักธรรมอะไรจากข้อ 16 (นักเรียนอาจระบุหลักธรรมหลายข้อรวมถึงข้อต่อไปนี้ ถ้าเราเลือกอิจฉาพรของพระบิดาบนสวรรค์ที่ประทานแก่คนอื่น เราอาจสูญเสียพรที่พระองค์ต้องการประทานแก่เรา)

อ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้โดยเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ และให้นักเรียนไตร่ตรองว่าพวกเขาอาจถูกล่อลวงให้อิจฉาพรที่พระบิดาบนสวรรค์ประทานแก่คนอื่นอย่างไร

ภาพ
เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์

“จะมีช่วงเวลาในชีวิตเราเมื่อคนอื่นได้พรอย่างไม่คาดฝันหรือได้รับยกย่องเป็นพิเศษ ข้าพเจ้าขอให้เราไม่ต้องน้อยใจ—และแน่นอนว่าไม่ต้องรู้สึกอิจฉา—เมื่อโชคดีมาถึงผู้อื่น เราไม่ได้ถูกลดคุณค่าลงเมื่อคนอื่นได้รับเพิ่มเติม เราไม่ได้แข่งขันกันเพื่อให้รู้ว่าใครร่ำรวยที่สุด หรือมีพรสวรรค์มากที่สุด หรือสวยงามที่สุด หรือแม้แต่ได้รับพรมากที่สุด แต่ ที่จริงแล้ว เรากำลังแข่งขันกับบาป …

“… ความโลภ อาการ บูดบึ้ง หรือการจ้องทำร้ายผู้อื่น ไม่ได้ ยก สถานะ ของ ท่าน การดูหมิ่นผู้อื่นมิได้ทำให้ภาพลักษณ์ในตัวตนของท่านดีขึ้นเช่นกัน ดังนั้นจงมีเมตตาและขอบพระทัยที่พระผู้เป็นเจ้าทรงมีพระเมตตา นี่คือวิถีชีวิตที่เป็นสุข” (“คนงานในสวนองุ่น,” 31, 32)

แบ่งปันประจักษ์พยานของท่านถึงความจริงที่นักเรียนระบุเมื่อพวกเขาศึกษาอุปมาเรื่องคนงานในสวนองุ่น

เขียนข้อความต่อไปนี้บนกระดาน ให้เวลานักเรียนเติมข้อความให้ครบถ้วนในสมุดจดหรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขาดังนี้ ตามที่ฉันได้เรียนรู้จากอุปมานี้ ฉันจะ …

หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว ให้เชิญนักเรียนสองสามคนที่รู้สึกสบายใจในการทำดังนี้มาแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเขียนกับชั้นเรียน

มัทธิว 20:17–34

พระเยซูทรงบอกล่วงหน้าถึงการสิ้นพระชนม์ของพระองค์และสอนสานุศิษย์ของพระองค์ให้รับใช้ผู้อื่น

สรุป มัทธิว 20:17–34โดยอธิบายว่าพระผู้ช่วยให้รอดตรัสล่วงหน้าว่าพระองค์จะถูกทรยศและต้องโทษถึงตายเมื่อกลับไปเยรูซาเล็ม พระองค์ทรงสอนสานุศิษย์ของพระองค์ว่าแทนที่จะแสวงหาตำแหน่งและอำนาจ พวกเขาควรทำตามแบบอย่างของพระองค์และรับใช้ผู้อื่น

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

มัทธิว 19:3–6 “สิ่งที่พระเจ้าทรงผูกพันกัน”

เอ็ลเดอร์เอฟ. เบอร์ตัน ฮาเวิร์ดแห่งสาวกเจ็ดสิบอธิบายสิ่งที่ศาสดาพยากรณ์สอนไว้เมื่อนานมาแล้วถึงบทบาทของการแต่งงานในแผนของพระผู้เป็นเจ้า

“การแต่งงานนิรันดร์คือหลักธรรมที่สถาปนาไว้ก่อนการวางรากฐานของโลกและเริ่มต้นบนโลกนี้ก่อนที่ความตายจะเกิดขึ้น พระผู้เป็นเจ้าประทานอาดัมและเอวาให้แก่กันในสวนอีเดนก่อนการตก พระคัมภีร์กล่าวว่า ‘เมื่อพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์นั้น พระองค์ทรงสร้างตามอย่างของพระองค์ พระองค์ทรงสร้างเป็นชายและหญิงแล้วทรงอวยพร แก่พวกเขา’ (อพยพ 5:1–2; เพิ่มตัวเอน)

“ศาสดาพยากรณ์สอนไว้สอดคล้องต้องกันถึงความบริบูรณ์และส่วนประกอบสุดท้ายของแผนอันยิ่งใหญ่ของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อเป็นพรแก่ลูกๆ ของพระองค์นั่นคือการแต่งงานนิรันดร์” (ดู “การแต่งงานนิรันดร์,” เลียโฮนา, พ.ค. 2003, 116)

ซิสเตอร์จูลี บี. เบค ซึ่งรับใช้เป็นประธานสมาคมสงเคราะห์สามัญ สอนสิ่งต่อไปนี้เกี่ยวกับสาเหตุที่การแต่งงานได้รับแต่งตั้งจากพระผู้เป็นเจ้า

“เรารู้ว่าในการขัดแย้งครั้งใหญ่ในโลกก่อนเกิดเราอยู่ฝ่ายพระผู้ช่วยให้รอดพระเยซูคริสต์เพื่อรักษาศักยภาพของเราในการเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวนิรันดร์ … เราเชื่อในการสร้างครอบครัวนิรันดร์ นั่นหมายความว่าเราเชื่อในเรื่องการแต่งงาน” (“สิ่งที่สตรีสิทธิชนยุคสุดท้ายทำได้ที่ดีที่สุดคือการยืนหยัดและไม่หวั่นไหว,” เลียโฮนา, พ.ย. 2007, 140)

มัทธิว 19:6–9 การหย่าร้าง

เอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองให้ความเห็นเกี่ยวกับผลของการหย่าร้างที่มีต่อครอบครัว ดังนี้

“มีสมาชิกที่ดีๆ หลายคนของศาสนจักรหย่าร้าง … เรารู้ว่าหลายคนเป็นเหยื่อที่ไม่มีความผิด—สมาชิกที่อดีตคู่ครองฝ่าฝืนพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์หรือละเลยหรือไม่ยอมปฏิบัติความรับผิดชอบในชีวิตสมรสเป็นเวลานาน …

“… ทุกคนที่เคยผ่านการหย่าร้างต่างรู้สึกถึงความเจ็บปวด ต้องการพลังเยียวยาและความหวังที่มาจากการชดใช้ พลังเยียวยาและความหวังเช่นนั้นมีเพื่อลูกๆ ของพวกเขาด้วย …

“… เราบังคับไม่ได้และเราไม่รับผิดชอบการเลือกของผู้อื่น แม้เมื่อมีผลกระทบต่อเราอย่างเจ็บปวด …

“ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรและประสบการณ์ของท่านจะยากเพียงใด ท่านมีคำสัญญาว่าท่านจะไม่ถูกปฏิเสธพรของความสัมพันธ์ฉันครอบครัวหากท่านรักพระเจ้า รักษาพระบัญญัติของพระองค์และทำสุดความสามารถ” (“การหย่าร้าง,” เลียโฮนา, พ.ค. 2007, 88–89, 91)

มัทธิว 19:10–12 “เพราะคนที่เป็นขันที”

เอ็ลเดอร์บรูซ อาร์. แมคคองกีแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายว่าคนในสมัยโบราณบางคนมีความเชื่อผิดๆ ว่าต้องแสวงหาชีวิตที่ครองโสดถาวร

“เห็นได้ชัดว่าคนที่ทำให้ตนเองเป็นขันทีเป็นผู้ชายที่อยู่ในการนับถือนอกศาสนาที่ตั้งใจตัดอวัยวะของตัวเองโดยหวังว่าการทำเช่นนั้นจะทำให้ได้รับความรอดยิ่งขึ้นไปอีก เป็นที่แน่ชัดว่านั่นไม่ใช่ข้อกำหนดของพระกิตติคุณไม่ว่าเรื่องใด ไม่มีเรื่องการตอนอย่างเต็มใจเช่นนั้นในพระกิตติคุณ เจตนาเช่นนั้นละเมิดหลักธรรมที่แท้จริงของการสร้างและการแต่งงานนิรันดร์” (Mormon Doctrine, 2nd ed. [1966], 241)

มัทธิว 20:1–16 อุปมาเรื่องคนงานในสวนองุ่น

เอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองแบ่งปันบทเรียนสำคัญที่เราเรียนรู้จากอุปมาเรื่องคนงานในสวนองุ่น ดังนี้

“เช่นเดียวกับอุปมาอื่นๆ อุปมานี้จะสอนหลักธรรมที่แตกต่างและมีค่าหลายข้อ สำหรับจุดประสงค์ในปัจจุบัน บทเรียนของอุปมานี้คือรางวัลของพระอาจารย์ในการพิพากษาครั้งสุดท้ายจะไม่ขึ้นอยู่กับว่าเราทำงานในสวนองุ่นนานเพียงใด เราไม่ได้รับรางวัลจากสวรรค์ของเราโดยการลงเวลาทำงาน สิ่งสำคัญคือการทำงานของเราในที่ทำงานของพระเจ้าทำให้เรา เป็น บางสิ่ง สำหรับเราบางคน ที่ต้องใช้เวลานานกว่าคนอื่น สิ่งสำคัญในที่สุดคือเราจะเป็นอะไรจากการทำงานของเรา” (“การท้าทายเพื่อที่จะเป็น,” เลียโฮนา, พ.ค. 2000, 34)