คลังค้นคว้า
พระผู้ช่วยให้รอดทรงเปรียบเทียบความจริงพระกิตติคุณกับสิ่งของและประสบการณ์ที่คุ้นเคยอย่างไร


พระผู้ช่วยให้รอดทรงเปรียบเทียบความจริงพระกิตติคุณกับสิ่งของและประสบการณ์ที่คุ้นเคยอย่างไร

พระเยซูคริสต์ทรงเป็นองค์ปรมาจารย์พระองค์ทรงเล่าเรื่องง่ายๆอุปมา และยกตัวอย่างชีวิตจริงซึ่งช่วยให้คนที่พระองค์ทรงสอนเข้าใจหลักธรรมพระกิตติคุณเราสามารถใช้เรื่องเล่าสอนเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดขณะที่เราเล่าประสบการณ์ส่วนตัวและโยงหลักธรรมพระกิตติคุณกับโลกรอบตัว

เตรียมตัวท่านทางวิญญาณ

อุปมาเรื่องใดของพระเยซูที่ท่านจำได้แม่นที่สุด และเหตุใด การเปรียบเทียบใดอีกที่ช่วยให้ท่านเข้าใจหลักธรรมพระกิตติคุณ

อุปมาเรื่องใดของพระเยซูน่าจะมีความหมายต่อเยาวชน การเปรียบเทียบใดอาจจะช่วยให้พวกเขาเข้าใจหลักธรรมพระกิตติคุณ เยาวชนสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้างเกี่ยวกับการสอนจากวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงใช้การเปรียบเทียบและเรื่องเล่า

ศึกษาข้อพระคัมภีร์และแหล่งข้อมูลด้านล่างร่วมกับการสวดอ้อนวอน ท่านรู้สึกได้รับการดลใจให้แบ่งปันอะไรกับเยาวชน

มัทธิว 20:1–15; 25:1–13, 14–30; ลูกา 8:4–15; 15:1–7, 8–10, 11–32

มัทธิว 18:1–6 (พระผู้ช่วยให้รอดทรงใช้เด็กสอนเพื่อเกี่ยวกับอาณาจักรสวรรค์)

มัทธิว 5:13–16; ดูวีดิทัศน์เรื่อง “คำเทศนาบนภูเขา: ผู้เป็นสุข” (พระผู้ช่วยให้รอดทรงเปรียบเทียบสานุศิษย์ของพระองค์กับเกลือและแสงเทียน)

แอล. ทอม เพอร์รีย์, “หลักคำสอนและหลักธรรมที่มีอยู่ในหลักแห่งความเชื่อ,เลียโฮนา, พ.ย. 2013

เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์, “คนงานในสวนองุ่น,” เลียโฮนา, พ.ค. 2012, 31–33

เดวิด เอ. เบดนาร์, “ท่านทั้งหลายต้องบังเกิดใหม่,” เลียโฮนา, พ.ค. 2007, 24–27

การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด

พระผู้ช่วยให้รอดทรงช่วยคนที่พระองค์ทรงสอนให้ค้นพบบทเรียนพระกิตติคุณในประสบการณ์ของตนเองและในโลกรอบตัว ท่านจะช่วยให้เยาวชนเข้าใจวิธีใช้สิ่งของที่คุ้นเคยและประสบการณ์ของตนเองสอนความจริงพระกิตติคุณให้ผู้อื่นได้อย่างไร

ภาพ

วีดิทัศน์: “การสอนพระกิตติคุณในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด”

ดูเพิ่มเติม

ทำการเชื่อมโยง

ในช่วงไม่กี่นาทีแรกของชั้นเรียนทุกชั้น จงช่วยเยาวชนทำการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ (เช่นการศึกษาส่วนตัว เซมินารี ชั้นเรียนอื่นของศาสนจักร หรือประสบการณ์กับเพื่อนๆ)ท่านจะช่วยให้พวกเขาเห็นความเกี่ยวเนื่องของพระกิตติคุณในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างไรแนวคิดด้านล่างนี้อาจเป็นประโยชน์:

  • เชื้อเชิญให้เยาวชนพูดถึงบทเรียนสังสรรค์ในครอบครัวหรือบทเรียนอื่น คำพูดการประชุมศีลระลึก หรือคำพูดการประชุมใหญ่ที่พวกเขาจำได้และสนทนาว่าเหตุใดจึงน่าจดจำ

  • เชื้อเชิญให้เยาวชนเล่าเรื่องหนึ่งที่พวกเขาจำได้จากคำพูดการประชุมใหญ่สามัญครั้งล่าสุดพวกเขาเรียนรู้อะไรจากเรื่องนั้นพวกเขาคิดว่าเหตุใดผู้พูดจึงเลือกใช้เรื่องนั้นสอน

เรียนรู้ด้วยกัน

กิจกรรมแต่ละอย่างต่อไปนี้จะช่วยให้เยาวชนเข้าใจวิธีใช้อุปมาและการเปรียบเทียบอื่นๆ เมื่อพวกเขาสอน เลือกกิจกรรมหนึ่งอย่างหรือมากกว่านั้นซึ่งจะได้ผลดีที่สุดกับชั้นเรียนของท่านตามการดลใจของพระวิญญาณ:

  • เชื้อเชิญให้เยาวชนทำแผนภูมิที่มีหัวข้อต่อไปนี้: “การทำของดอง” และ “การเปลี่ยนใจเลื่อมใส” ขอให้เยาวชนอ่านคำพูดของเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์เรื่อง “ท่านทั้งหลายต้องบังเกิดใหม่” และระบุการเปรียบเทียบที่เอ็ลเดอร์เบดนาร์ใช้สอนเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนใจเลื่อมใส ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้เยาวชนวาดรูปเพื่อช่วยให้พวกเขาเห็นภาพการเปรียบเทียบ ให้เวลาเยาวชนแบ่งปันการเปรียบเทียบจากประสบการณ์ของตนที่พวกเขาจะใช้สอนความจริงพระกิตติคุณได้

  • ขอให้เยาวชนแต่ละคนนึกถึงอุปมาเรื่องโปรดเรื่องหนึ่งของเขาหรือเธอและหาในพระคัมภีร์ หากพวกเขาต้องการคำแนะนำ ท่านอาจจะเล่าอุปมาที่แนะนำไว้ในโครงร่างนี้หนึ่งเรื่อง เชื้อเชิญให้เยาวชนเล่าอุปมาที่เลือกไว้และแบ่งปันกับชั้นเรียนว่าเหตุใดอุปมาดังกล่าวจึงมีความหมายต่อพวกเขา อะไรทำให้อุปมาเป็นวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพ ท่านอาจให้เวลาเยาวชนแต่งอุปมาที่สอนความจริงพระกิตติคุณ ท่านอาจจะชี้แนะโดยแนะนำให้เริ่มโดยตัดสินใจว่าพวกเขาต้องการสอนหลักธรรมพระกิตติคุณเรื่องใด จากนั้นให้นึกถึงสภาวะแวดล้อมของอุปมาซึ่งคนที่พวกเขาสอนรู้จักคุ้นเคยดีและเขียนเรื่องที่จะสอนหลักธรรมพระกิตติคุณ

  • ให้เยาวชนดูโทรศัพท์มือถือหรือรูปโทรศัพท์มือถือ และขอให้พวกเขาทำการเปรียบเทียบระหว่างโทรศัพท์กับหลักธรรมพระกิตติคุณ เชื้อเชิญให้พวกเขาอ่านห้าย่อหน้าสุดท้ายก่อนหัวข้อ “การจัดตั้งและระเบียบของฐานะปุโรหิต” ในคำพูดของเอ็ลเดอร์แอล. ทอม เพอร์รีย์เรื่อง “หลักคำสอนและหลักธรรมที่มีอยู่ในหลักแห่งความเชื่อ” และสนทนาการเปรียบเทียบที่ท่านใช้ ในตอนท้ายคำพูดของเอ็ลเดอร์เพอร์รีย์ ท่านเชื้อเชิญเยาวชนให้ศึกษาหลักคำสอนในหลักแห่งความเชื่อ ให้ชั้นเรียนอ่านคำเชื้อเชิญนี้และขอให้เยาวชนแต่ละคนศึกษาหลักคำสอนที่สอนไว้ในหลักแห่งความเชื่อหนึ่งข้อและเตรียมมาสอนชั้นเรียนครั้งต่อไปพอสังเขปเกี่ยวกับหลักคำสอนนั้นโดยใช้การเปรียบเทียบ

  • ฉายวีดิทัศน์ที่แนะนำไว้ในโครงร่างนี้หนึ่งเรื่องหรือเชื้อเชิญให้เยาวชนอ่านตัวอย่างในพระคัมภีร์ที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงเปรียบเทียบพระกิตติคุณกับสิ่งของที่คุ้นเคย เหตุใดพระเยซูทรงสอนวิธีนี้ นำของใช้ประจำวันหลายๆ อย่างมาชั้นเรียน อาทิ สบู่ เหรียญ กุญแจ ก้อนหิน หรืออาหาร เชื้อเชิญให้เยาวชนเลือกของชิ้นหนึ่งและสอนหลักธรรมพระกิตติคุณโดยใช้ของชิ้นนั้น หากเยาวชนต้องการความช่วยเหลือ ท่านอาจต้องการใช้ หน้า 163–164 ของไม่มีการเรียกใดยิ่งใหญ่กว่าการสอน

  • เชื้อเชิญให้เยาวชนอ่านอุปมาเรื่องคนทำงานในสวนองุ่นใน มัทธิว 20:1–15 ขอให้พวกเขาสนทนาด้านต่างๆ ที่อุปมาเรื่องนี้ประยุกต์ใช้กับชีวิตพวกเขาได้ เชื้อเชิญให้พวกเขาอ่านคำพูดของเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์เรื่อง “คนงานในสวนองุ่น” และสนทนาความจริงพระกิตติคุณที่ท่านสอนโดยใช้อุปมาเรื่องนี้ (ท่านอาจตัดสินใจเน้นส่วนต่างๆ ของคำพูดที่ดูเหมือนจะเหมาะกับเยาวชนมากที่สุด) ขอให้เยาวชนเลือกอุปมาอีกเรื่องหนึ่งจากพระคัมภีร์และบอกชั้นเรียนว่าจะประยุกต์ใช้กับพวกเขาอย่างไร เหตุใดอุปมาจึงเป็นวิธีที่ได้ผลในการช่วยผู้อื่นเรียนหลักธรรมพระกิตติคุณ

ขอให้เยาวชนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้วันนี้ พวกเขาเข้าใจวิธีสอนโดยใช้อุปมาและการเปรียบเทียบอื่น หรือไม่ พวกเขามีความรู้สึกหรือความประทับใจอะไรบ้าง พวกเขามีคำถามเพิ่มเติมหรือไม่ การใช้เวลามากขึ้นกับหัวข้อนี้จะคุ้มค่าหรือไม่

ทักษะการศึกษาพระกิตติคุณ

การเข้าใจสัญลักษณ์ เพื่อเข้าใจอุปมาและสัญลักษณ์ในพระคัมภีร์ เยาวชนต้องสามารถจำแนกสัญลักษณ์ ระบุส่วนต่างๆ ของสัญลักษณ์ และแปลความหมายได้ วิธีจำแนกสัญลักษณ์คือมองหาคำเช่น เหมือน เปรียบ เป็นเหมือน ดังเช่น หรือ ประหนึ่ง จากนั้นเยาวชนต้องสามารถเขียนรายการส่วนต่างๆ ของสัญลักษณ์ได้ เพื่อแปลความหมายของสัญลักษณ์ พวกเขาสามารถอ้างกับแหล่งข้อมูลอื่นของศาสนจักร (เช่น นิตยสารศาสนจักร คำพูดการประชุมใหญ่ และพระคัมภีร์ข้ออื่น) และพิจารณาว่าสัญลักษณ์ช่วยให้พวกเขาเข้าใจหลักธรรมพระกิตติคุณอย่างไร กระตุ้นพวกเขาให้ทำลักษณะนี้ทุกครั้งที่พบอุปมาหรือสัญลักษณ์ในการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

เชื้อเชิญให้กระทำ

เชื้อเชิญให้เยาวชนใช้การเปรียบเทียบหรืออุปมาสอนความจริงพระกิตติคุณแก่คนบางคนขอให้พวกเขานึกถึงสภาวะแวดล้อมที่พวกเขาสามารถสอนความจริงนี้ได้ เช่น ที่การสังสรรค์ในครอบครัว ในคำพูดการประชุมศีลระลึก หรือกับเพื่อน