คลังค้นคว้า
การตั้งเป้าหมายจะช่วยให้ฉันพึ่งพาตนเองได้อย่างไร


การตั้งเป้าหมายจะช่วยให้ฉันพึ่งพาตนเองได้อย่างไร

เป้าหมายที่มีความหมายและการวางแผนอย่างรอบคอบจะช่วยให้เราบรรลุผลสำเร็จในงานที่พระเจ้าทรงให้เราทำ การตั้งเป้าหมายสำหรับชีวิตเราเองเป็นส่วนสำคัญของการพึ่งพาตนเอง สิ่งนี้ต้องใช้มากกว่าการเพียงแต่มุ่งหวังหรือใฝ่ฝัน ดังประธานโธมัส เอส. มอนสันสอนไว้: “ความมุ่งหวังจะไม่ ได้สมใจปอง พระเจ้าทรงคาดหวังให้เราคิด พระเจ้าทรงคาดหวังให้เราทำ พระองค์ทรงคาดหวังให้เราลงแรง พระองค์ทรงคาดหวังให้เรามีประจักษ์พยาน พระองค์ทรงคาดหวังให้เราอุทิศตน” (“ออกไปช่วยชีวิต,” เลียโฮนา, ก.ค. 2001, 68) เมื่อเราวางแผนร่วมกับการสวดอ้อนวอนและทำงานอย่างขยันหมั่นเพียรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย พระเจ้าจะทรงขยายความพยายามของเราและช่วยให้เราบรรลุศักยภาพของเรา

เตรียมตัวท่านทางวิญญาณ

ท่านไ้ตั้งเป้าหมายอะไรให้ตัวท่านเองตลอดชีวิตท่าน ท่านทำอะไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของท่าน การบรรลุเป้าหมายได้ช่วยให้ท่านพึ่งพาตนเองมากขึ้นอย่างไร

เยาวชนได้ตั้งเป้าหมายอะไรบ้างที่ท่านรู้ ท่านจะกระตุ้นพวกเขาให้ตั้งเป้าหมายที่มีคุณค่าได้อย่างไร

ศึกษาข้อพระคัมภีร์เหล่านี้และแหล่งข้อมูลอื่นร่วมกับการสวดอ้อนวอน อะไรจะช่วยให้เยาวชนเรียนรู้ความสำคัญของการตั้งเป้าหมายจะพึ่งพาตนเอง

1 พงศ์กษัตริย์ 18:21; มัทธิว 6:24 (เราไม่สามารถรับใช้นายสองคนได้)

ฟีลิปปี 3:13–14 (เราสามารถบรรลุเป้าหมายของเราและบากบั่นมุ่งไปสู่เป้าหมายเหล่านั้น)

2 นีไฟ 32:9 (เราควรแสวงหาการนำทางของพระเจ้าในทุกสิ่งที่เราทำ)

แอลมา 34:32–33 (ชีวิตนี้เป็นเวลาเตรียมพบพระผู้เป็นเจ้า)

คพ. 58:27–29 (เราควรทำงานอย่างทุ่มเทในอุดมการณ์ดี)

เอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด, “หวนคืนและได้รับ,” เลียโฮนา, พ.ค. 2017, 62–65

เควนทิน แอล. คุก, “เลือกอย่างฉลาด,” เลียโฮนา, พ.ย. 2014, 46–49

แอล. ทอม เพอร์รีย์, “เลื่อนไม้พาดให้สูงขึ้น,” เลียโฮนา, พ.ย. 2007, 57–60

วิธีตั้งเป้าหมาย,” สั่งสอนกิตติคุณของเรา (2004), 159

วีดิทัศน์: “งานกำลังรุดหน้า”

การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด

พระผู้ช่วยให้รอดทรงรักคนที่พระองค์ทรงสอน พระองค์ทรงรู้ความสนใจ ความหวัง และความปรารถนาของพวกเขา และสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในชีวิตพวกเขา ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเข้าใจความสนใจและความต้องการของเยาวชนที่ท่านสอน นี่จะส่งผลอย่างไรต่อวิธีที่ท่านสอนพวกเขา

ทำการเชื่อมโยง

ในช่วงสองสามนาทีแรกของชั้นเรียนทุกชั้น จงช่วยเยาวชนทำการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ (เช่นการศึกษาส่วนตัว เซมินารี ชั้นเรียนอื่นของศาสนจักร หรือประสบการณ์กับเพื่อนๆ) ท่านจะช่วยให้พวกเขาเห็นความเกี่ยวเนื่องของพระกิตติคุณในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างไร แนวคิดด้านล่างนี้อาจเป็นประโยชน์:

  • เชื้อเชิญให้เยาวชนแบ่งปันประสบการณ์ที่พวกเขามีเมื่อเร็วๆ นี้ซึ่งเสริมความจริงพระกิตติคุณที่พวกเขาเรียนรู้มา

  • แบ่งปันเป้าหมายบางอย่างที่ท่านตั้งไว้สำหรับตัวท่านเองตลอดชีวิตกับเยาวชน รวมทั้งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว อธิบายว่าท่านตัดสินใจตั้งเป้าหมายเหล่านี้อย่างไร ท่านทำอะไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และความพยายามของท่านเป็นพรแก่ชีวิตท่านอย่างไร กระตุ้นเยาวชนให้แบ่งปันประสบการณ์คล้ายกันของพวกเขาเอง

เรียนรู้ด้วยกัน

กิจกรรมแต่ละอย่างด้านล่างจะช่วยให้เยาวชนพึ่งพาตนเองมากขึ้นโดยเรียนรู้วิธีตั้งเป้าหมายส่วนตัว เลือกกิจกรรมหนึ่งอย่างหรือมากกว่านั้นซึ่งจะได้ผลกับชั้นเรียนของท่านตามการนำทางของพระวิญญาณ:

  • เชื้อเชิญให้เยาวชนแบ่งปันเป้าหมายบางอย่างที่พวกเขาตั้งไว้สำหรับตนเอง สิ่งใดช่วยให้พวกเขาบรรลุเป้าหมาย ขอให้เยาวชนทบทวนสิบย่อหน้าแรกของคำพูดของเอ็ลเดอร์เอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ดเรื่อง “หวนคืนและได้รับ” และเขียนคำแนะนำที่ท่านให้ไว้สำหรับการตั้งเป้าหมายบนกระดาน เพื่อช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนตั้งเป้าหมายระยะยาวทางวิญญาณ แบ่งพวกเขาเป็นสองกลุ่ม ให้กลุ่มหนึ่งทบทวน “ครอบครัว: ถ้อยแถลงต่อโลก” และอีกกลุ่มหนึ่งทบทวน “พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์: ประจักษ์พยานของอัครสาวก” แต่ละกลุ่มควรมองหาวิธีที่เอกสารของพวกเขาสามารถช่วยตั้งเป้าหมายที่มีศูนย์กลางอยู่ที่การเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์และการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณของพระองค์

  • มอบหมายให้นักเรียนครึ่งชั้นอ่านเรื่องราวของเอ็ลเดอร์เควนทิน แอล. คุกเกี่ยวกับการสนทนาของท่านกับเด็กหนุ่มวัยรุ่น (จากคำพูดของท่านเรื่อง ”เลือกอย่างฉลาด“) และมอบหมายให้อีกครั้งชั้นอ่านเรื่องราวของเอ็ลเดอร์แอล. ทอม เพอร์รีย์เกี่ยวกับลูกชายของท่านฝึกกระโดดสูง (จากคำพูดของท่านเรื่อง ”ลื่อนไม้พาดให้สูงขึ้น“) ขอให้เยาวชนสรุปเรื่องที่พวกเขาได้รับมอบหมายให้นักเรียนที่เหลือฟังและอธิบายสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากสองเรื่องนั้นเกี่ยวกับการตั้งเป้าหมาย เชื้อเชิญพวกเขาให้เล่าเรื่องคล้ายกันจากชีวิตของพวกเขาเอง พวกเขาจะประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนรู้จากสองเรื่องนี้อย่างไรเพื่อให้การตั้งเป้าหมายและการบรรลุเป้าหมายเกิดผลมากขึ้น

  • ขอให้เยาวชนบอกเป้าหมายบางอย่างที่พวกเขามีและถามว่าเหตุใดการมีเป้าหมายจึงสำคัญ เชื้อเชิญพวกเขาให้อ่าน ”วิธีตั้งเป้าหมาย“ ใน สั่งสอนกิตติคุณของเรา (หน้า 159) โดยมองหาเหตุผลที่เป้าหมายสำคัญ และขอให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่พบ ขออนุญาตอธิการเชิญผู้สอนศาสนาเต็มเวลาหรือผู้สอนศาสนาที่เพิ่งจบมาอธิบายความสำคัญของการตั้งเป้าหมายในงานเผยแผ่ศาสนา การเรียนรู้วิธีตั้งเป้าหมายตอนนี้จะช่วยให้เยาวชนเป็นผู้สอนศาสนาที่ดีขึ้นได้อย่างไร ท่านอาจเชิญสมาชิกวอร์ดคนอื่นๆ มาสนทนากับเยาวชนถึงความสำคัญของการตั้งเป้าหมายในชีวิตช่วงอื่น

  • เชื้อเชิญเยาวชนให้เขียนเป้าหมายสำหรับตนเอง ทบทวนแนวทางการตั้งเป้าหมายกับเยาวชนในหน้า 159 ของ สั่งสอนกิตติคุณของเรา แนวทางใดจะช่วยให้เยาวชนบรรลุเป้าหมายที่เขียนไว้ เชื้อเชิญพวกเขาให้เลือกเป้าหมายหนึ่งอย่างและจดวิธีที่พวกเขาจะใช้แนวทางเหล่านี้ช่วยให้พวกเขาบรรลุเป้าหมายนั้น เชิญนักเรียนสองสามคนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเขียน

  • ขอให้เยาวชนอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 58:27–29, และเชื้อเชิญพวกเขาให้เขียนเป้าหมายที่พวกเขาอยากตั้งไว้เพื่อช่วยให้พวกเขา “ทำงานอย่างทุ่มเทในอุดมการณ์ดี” และ “ทำให้เกิดความชอบธรรมยิ่ง” กระตุ้นพวกเขาให้แบ่งปันสิ่งที่เขียนไว้กับสมาชิกอีกคนหนึ่งในชั้นเรียนและอธิบายว่าพวกเขากำลังทำอะไรหรือจะทำอะไรได้บ้างตอนนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้น เชื้อเชิญพวกเขาให้อ่านข้อพระคัมภีร์เพิ่มเติมที่แนะนำไว้ในโครงร่างนี้และแบ่งปันข้อคิดที่ได้จากข้อเหล่านี้เกี่ยวกับการตั้งเป้าหมาย

  • ฉายวีดิทัศน์เรื่อง ”งานกำลังรุดหน้า“ และให้เวลาเยาวชนสองสามนาทีจดสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากวีดิทัศน์เกี่ยวกับการตั้งเป้าหมายและทำให้สำเร็จ เชื้อเชิญพวกเขาให้แบ่งปันความคิดกับชั้นเรียน เหตุใดไทเลอร์จึงเลือกทำตามเป้าหมายไปรับใช้งานเผยแผ่ แม้จะต้องหยุดเป้าหมายการเล่นบาสเกตบอลของเขา (เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนาเรื่องนี้ ท่านอาจต้องการอ่าน 1 พงศ์กษัตริย์ 18:21 และ มัทธิว 6:24) ขอให้เยาวชนนึกถึงสิ่งที่พวกเขาหลงใหล พวกเขาเคยต้องเลือกระหว่างสิ่งนั้นกับเป้าหมายมีค่าอีกอย่างหรือไม่ พวกเขาเรียนรู้อะไรจากแบบอย่างของไทเลอร์

ขอให้เยาวชนแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้วันนี้ พวกเขาเข้าใจวิธีตั้งเป้าหมายส่วนตัวหรือไม่ พวกเขามีคำถามเพิ่มเติมหรือไม่ การใช้เวลามากขึ้นกับหัวข้อนี้จะคุ้มค่าหรือไม่

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับการสอน

“การสนทนาเป็นกลุ่มเล็กจะทำให้ผู้ที่ดูเหมือนขาดความสนใจหรือไม่มีสมาธิเข้าร่วมในทันที” (ไม่มีการเรียกใดยิ่งใหญ่กว่าการสอน [1999], 72)

ภาพ

วีดิทัศน์: “การเชื้อเชิญให้กระทำ”

ดูเพิ่มเติม

เชื้อเชิญให้กระทำ

ถามเยาวชนว่าพวกเขารู้สึกได้รับการดลใจให้ทำอะไรเนื่องจากสิ่งที่เรียนรู้วันนี้ กระตุ้นพวกเขาให้กระทำตามความรู้สึกเหล่านี้ หาวิธีที่ท่านจะติดตามผล