เซมินารี
บทที่ 24: หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:1–22


บทที่ 24

หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:1–22

คำนำ

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1829 โจเซฟ สมิธว่าจ้างผู้พิมพ์ชื่อเอ็กเบิร์ต บี. แกรนดินให้พิมพ์พระคัมภีร์มอรมอน 5,000 เล่มในราคา 3,000 ดอลลาร์ แต่แกรนดินจะไม่เริ่มพิมพ์หรือซื้อแบบตัวพิมพ์จนกว่าเขาจะได้เงินค้ำประกันสำหรับงานนี้ ในการเปิดเผยที่อยู่ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19ซึ่งน่าจะได้รับในฤดูร้อน ค.ศ. 1829 พระเจ้าทรงบัญชาให้มาร์ติน แฮร์ริส “แบ่งปันส่วนหนึ่งของทรัพย์สมบัติเจ้า … [และ] ชำระหนี้ที่เจ้าทำสัญญากับผู้พิมพ์” (คพ. 19:34–35) มาร์ติน แฮร์ริสแบ่งฟาร์มส่วนหนึ่งของเขาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันค่าพิมพ์ถ้าการขายพระคัมภีร์มอรมอนไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด

ประธานโจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธอธิบายว่าการเปิดเผยนี้ พร้อมด้วยคำสอนเรื่องการชดใช้ในนั้นเป็น “การเปิดเผยครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งที่ประทานให้ในสมัยการประทานนี้ มีไม่กี่ครั้งที่สำคัญกว่าครั้งนี้” (Church History and Modern Revelation, 2 vols. [1953], 1:85)

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:1–3

พระผู้ช่วยให้รอดทรงประกาศว่าพระองค์ทรงทำให้พระประสงค์ของพระบิดาสำเร็จ

เมื่อชั้นเรียนเริ่ม ขอให้นักเรียนนึกถึงบางสิ่งที่มีคนขอให้พวกเขาทำหรือจะขอให้ทำเพราะพวกเขาเป็นสมาชิกศาสนจักร เขียนคำตอบของพวกเขาไว้บนกระดาน จากนั้นขอให้นักเรียนทบทวนรายการบนกระดานและเลือกข้อที่บางคนอาจคิดว่าทำได้ยาก (ตัวอย่างอาจได้แก่ จ่ายส่วนสิบ รับใช้งานเผยแผ่ และกลับใจ)

  • เหตุใดสิ่งเหล่านี้จึงทำยากสำหรับบางคน

เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจบริบททางประวัติศาสตร์ของ หลักคำสอนและพันธสัญญา 19ให้อ่านออกเสียงคำนำของบทนี้

เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:1–3 ในใจโดยมองหาความจริงเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด ขอให้นักเรียนรายงานสิ่งที่พบ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนา นักเรียนพึงระบุหลักคำสอนต่อไปนี้: พระเยซูคริสต์ทรงทำให้พระประสงค์ของพระบิดาเกิดสัมฤทธิผล พระเยซูคริสต์จะทรงพิพากษาเราตามงานของเรา ลอกแผนภูมิต่อไปนี้ ไว้บนกระดาน โดยใช้ความจริงเหล่านี้เป็นชื่อคอลัมน์สองคอลัมน์ เชื้อเชิญให้นักเรียนทำแผนภูมิคล้ายกันลงในสมุดจดหรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขาและเติมแผนภูมิระหว่างบทเรียน เว้นที่บนกระดานให้มากเพื่อจะเติมแผนภูมิให้ครบถ้วนตามที่แสดงให้เห็นต่อไปในบทเรียน

พระเยซูคริสต์ทรงทำให้พระประสงค์ของพระบิดาเกิดสัมฤทธิผล

พระเยซูคริสต์จะทรงพิพากษาเราตามงานของเรา

  • การรู้ความจริงเหล่านี้เกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดช่วยให้มาร์ติน แฮร์ริสรู้สึกสงบเกี่ยวกับการตัดสินใจขายฟาร์มส่วนใหญ่ของเขาอย่างไร

หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:4–12

พระเยซูคริสต์ทรงอธิบายเรื่องโทษนิรันดร์และอนันตโทษ

ในแผนภูมิบนกระดาน ให้เขียน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:4–12 ใต้ชื่อหัวข้อ “พระเยซูคริสต์จะทรงพิพากษาเราตามงานของเรา” เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:4 ในใจโดยมองหาความจริงเกี่ยวกับการพิพากษาที่เราทุกคนควรพิจารณา ขอให้พวกเขารายงานสิ่งที่พบ นักเรียนอาจใช้คำพูดต่างกัน แต่พวกเขาพึงระบุหลักคำสอนต่อไปนี้: มนุษย์ทุกคนต้องกลับใจหรือไม่ก็ทนทุกข์ เชิญนักเรียนคนหนึ่งเขียนหลักคำสอนนี้ไว้บนกระดานใต้ “หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:4–12

อธิบายว่า หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:5 มีคำอธิบายของพระผู้ช่วยให้รอดว่าพระองค์จะไม่ทรงคืนคำพิพากษาของพระองค์ คำอธิบายนี้บอกเป็นนัยว่าคนที่ไม่กลับใจจะต้องรับโทษบาปของพวกเขา เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:5 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าพระผู้ช่วยให้รอดตรัสถึงสถานะของคนที่ไม่กลับใจและด้วยเหตุนี้จึงจะรับการพิพากษาของพระองค์ว่าอย่างไร

เขียนวลี: โทษนิรันดร์หรืออนันตโทษไว้บนกระดานใต้ “มนุษย์ทุกคนต้องกลับใจหรือไม่ก็ทนทุกข์”

  • ท่านนึกถึงอะไรเมื่อท่านได้ยินหรืออ่านวลี “โทษนิรันดร์หรืออนันตโทษ”

เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:6–12 ในใจโดยมองหาว่าพระเจ้าทรงนิยามโทษนิรันดร์หรืออนันตโทษว่าอย่างไร หลังจากนักเรียนตอบแล้ว ให้ลบคำ นิรันดร์หรืออนันต บนกระดาน และแทนที่ด้วยคำว่า ของพระผู้เป็นเจ้า

  • ท่านนึกถึงอะไรเมื่อท่านอ่านหรือได้ยินวลี “โทษของพระผู้เป็นเจ้า”

ท่านอาจต้องอธิบายว่าในพระคัมภีร์ คำว่า อนันตโทษ และ โทษนิรันดร์ ไม่ได้หมายถึงระยะเวลาที่ผู้คนจะทนทุกข์เพราะบาปของตน พระผู้ช่วยให้รอดตรัสว่า “เราคืออนันต, และโทษซึ่งให้จากมือเราเป็นอนันตโทษ, เพราะอนันตคือนามของเรา” (คพ.:19:10) ด้วยเหตุนี้ เมื่อพระองค์ตรัสถึงอนันตโทษหรือโทษนิรันดร์ พระองค์กำลังตรัสถึงโทษที่พระองค์จะทรงดำเนินการตามกฎสวรรค์และข้อเรียกร้องของความยุติธรรม

หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:13–22

พระผู้ช่วยให้รอดตรัสถึงการทนทุกข์ของพระองค์เพราะบาป

ในแผนภูมิบนกระดาน ให้เขียน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:13–17 ลงในคอลัมน์หัวข้อ “พระเยซูคริสต์จะทรงพิพากษาเราตามงานของเรา” อธิบายว่า ข้อ 13–17 มีพระดำรัสเตือนถึงสมาชิกของศาสนจักร เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:13–17 ในใจโดยมองหาผลลัพธ์สำหรับคนที่เลือกไม่กลับใจ

  • จะเกิดอะไรขึ้นกับคนที่เลือกไม่กลับใจจากบาปของพวกเขา (นักเรียนควรระบุหลักคำสอนต่อไปนี้: คนที่เลือกไม่กลับใจจะต้องรับโทษเพราะบาปของพวกเขา เขียนความจริงนี้ไว้บนกระดานใต้ “หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:13–17”)

เขียน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:16–19 ลงในคอลัมน์ชื่อ “พระเยซูคริสต์จะทรงพิพากษาเราตามงานของเรา” เชื้อเชิญให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:16–19 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาเหตุผลที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทนทุกข์เพราะบาปของเรา

  • พระผู้ช่วยให้รอดทรงให้เหตุผลที่พระองค์ทรงทนทุกข์เพราะบาปของเราว่าอย่างไร (นักเรียนอาจใช้คำพูดต่างกัน แต่พวกเขาควรระบุหลักคำสอนต่อไปนี้: พระผู้ช่วยให้รอดทรงทนทุกข์เพราะบาปของเราเพื่อเราจะกลับใจและไม่ต้องทนทุกข์เช่นพระองค์)

  • ตามที่กล่าวไว้ในข้อเหล่านี้ อะไรทำให้เราได้รับการอภัยบาป (ขณะที่นักเรียนตอบ ให้เขียนข้อความต่อไปนี้ไว้ในแผนภูมิบนกระดานใต้ “หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:16–19”: ความทุกขเวทนาของพระเยซูคริสต์และพระโลหิตเพื่อการชดใช้ของพระองค์สนองข้อเรียกร้องของความยุติธรรม ด้วยเหตุนี้ คนที่กลับใจจึงได้รับความเมตตา)

  • การรู้ความจริงที่เราระบุตั้งแต่ต้นมีผลต่อความปรารถนาจะกลับใจของท่านอย่างไร

เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจการเลือกที่เราทุกคนต้องกลับใจหรือไม่ก็ทนรับโทษบาปของเรา ขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง

ภาพ
เอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์

“เราจะลงเอยด้วยการเลือกรูปแบบการดำเนินชีวิตของพระคริสต์หรือไม่ก็เลือกรูปแบบการทนทุกข์ของพระองค์! เลือก ‘ทนทุกข์แม้ดังเรา’ (คพ. 19:16–17) หรือไม่ก็เลือกเอาชนะ ‘แม้ดัง [พระองค์ทรง] … ชนะ (วิวรณ์ 3:21)” (“Overcome … Even As I Also Overcame,” Ensign, May 1987, 72)

ในแผนภูมิบนกระดาน ให้เขียน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:15, 18–19 ใต้หัวข้อ “พระเยซูคริสต์ทรงทำให้พระประสงค์ของพระบิดาเกิดสัมฤทธิผล”

อธิบายว่านอกจากพระองค์แล้วมีคนอื่นอีกที่ให้เรื่องราวส่วนใหญ่เกี่ยวกับความทุกขเวทนาของพระเยซูคริสต์ (ดู มัทธิว 26:36–39; ลูกา 22:39–44) หลักคำสอนและพันธสัญญา 19 ประกอบด้วยเรื่องราวส่วนพระองค์ของพระผู้ช่วยให้รอดเกี่ยวกับความทุกขเวทนาของพระองค์ เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:15, 18–19 ในใจโดยมองหาว่าพระผู้ช่วยให้รอดตรัสถึงความทุกขเวทนาที่พระองค์ทรงประสบระหว่างการชดใช้ว่าอย่างไร ท่านอาจต้องการเสนอแนะให้พวกเขาทำเครื่องหมายสิ่งที่พบ เพิ่มคำตอบของนักเรียนบนกระดานใต้ “หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:15, 18–19” แผนภูมิสุดท้าย อาจออกมาในลักษณะนี้:

พระเยซูคริสต์ทรงทำให้พระประสงค์ของพระบิดาเกิดสัมฤทธิผล

พระเยซูคริสต์จะทรงพิพากษาเราตามงานของเรา

คพ. 19:15, 18–19

ความทุกขเวทนาของพระผู้ช่วยให้รอดอาดูร สาหัส และยากจะทนได้

ความทุกขเวทนาของพระผู้ช่วยให้รอดทำให้พระองค์สั่นเพราะความเจ็บปวดและเลือดออกจากทุกขุมขน

พระเยซูคริสต์ทรงทนทุกข์ทั้งกายและวิญญาณ

พระผู้ช่วยให้รอดทรงสวดอ้อนวอนขอให้ไม่ต้องดื่มถ้วยอันขมขื่น

พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำให้พระประสงค์ของพระบิดาเกิดสัมฤทธิผล และ “ทำให้การเตรียมของ [พระองค์] เสร็จสิ้นเพื่อลูกหลานมนุษย์.” (คพ. 19: 19)

คพ. 19:4–12

มนุษย์ทุกคนต้องกลับใจหรือไม่ก็ทนทุกข์

โทษของพระผู้เป็นเจ้า

คพ. 19:13–17

คนที่เลือกไม่กลับใจจะต้องรับโทษเพราะบาปของพวกเขา

คพ. 19:16–19

ความทุกขเวทนาของพระเยซูคริสต์และพระโลหิตเพื่อชดใช้ของพระองค์สนองข้อเรียกร้องของความยุติธรรม ด้วยเหตุนี้คนที่กลับใจจึงได้รับความเมตตา

  • ท่านรู้สึกอย่างไรที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงรับโทษเพราะบาปของเรา

  • การรู้เรื่องความทุกขเวทนาของพระผู้ช่วยให้รอดช่วยมาร์ติน แฮร์ริสอย่างไรขณะที่เขาพิจารณาเรื่องต่างๆ อย่างเช่นต้นฉบับ 116 หน้าที่หายไปหรือการสละทรัพย์สินส่วนหนึ่งเพื่อจ่ายค่าพิมพ์พระคัมภีร์มอรมอน

  • ความรู้ของท่านเรื่องการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดช่วยท่านเผชิญเรื่องยากๆ เมื่อใด (เตือนนักเรียนว่าประสบการณ์บางอย่างศักดิ์สิทธิ์หรือเป็นส่วนตัวเกินกว่าจะแบ่งปัน)

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:20 ขอให้นักเรียนดูตามโดยมองหาวลีที่กล่าวถึงเวลามาร์ติน แฮร์ริสประสบความทุกข์เพราะบาปของเขา

  • ท่านคิดว่าเหตุใดการถอนพระวิญญาณจึงทำให้เกิดทุกข์

เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:13, 15, 20 ในใจโดยมองหาพระบัญชาในแต่ละข้อและพระดำรัสเตือนใน ข้อ 15 และ 20

  • พระบัญญัติของพระเจ้าให้กลับใจเป็นหลักฐานยืนยันความรักที่ทรงมีต่อเราอย่างไร

เชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนประจักษ์พยานเกี่ยวกับหลักคำสอนและหลักธรรมประการหนึ่งที่พวกเขาเรียนรู้จาก หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:1–22ลงในสมุดจดหรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขา

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

หลักคำสอนและพันธสัญญา 19: บทนำภาค “พระบัญญัติจากพระผู้เป็นเจ้าและไม่ใช่จากมนุษย์ ให้แก่มาร์ติน แฮร์ริส”

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1830 หลายเดือนหลังจากโจเซฟ สมิธได้รับการเปิดเผยที่บันทึกไว้ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19โจเซฟ ไนท์ ซีเนียร์เป็นพยานการแลกเปลี่ยนระหว่างโจเซฟ สมิธกับมาร์ติน แฮร์ริสเกี่ยวกับการขายพระคัมภีร์มอรมอน ดังนี้

“‘หนังสือจะขายไม่ออกเพราะไม่มีใครอยากได้[’] แต่โจเซฟพูดว่า ‘ผมคิดว่าจะขายดี’ มาร์ตินพูดว่า ‘ผมต้องการพระบัญชา [หรือการเปิดเผยจากพระเจ้า]’ ‘ทำไมล่ะครับ’ โจเซฟถาม ‘ ทำตามที่คุณได้รับเถอะครับ’ ‘แต่’ เขาพูด ‘ผมต้องได้รับพระบัญชา’ … เขายืนกรานสามถึงสี่ครั้งว่าเขาต้องได้รับพระบัญชา” (Dean Jessee, “Joseph Knight’s Recollection of Early Mormon History,” BYU Studies, vol. 17, no. 1 [1976], 37)

คำแนะนำของโจเซฟ สมิธให้ “ทำตามที่คุณได้รับเถอะครับ” น่าจะหมายถึงการเปิดเผยใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19 ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าประทานพระบัญชาให้มาร์ติน แฮร์ริส “แบ่ง [ทรัพย์สินของเขา] ให้อย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในการพิมพ์พระคัมภีร์มอรมอน” (คพ. 19:26)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:2, 19 “ทำให้พระประสงค์ของพระองค์ซึ่งเราเป็น … สำเร็จ”

ภาพ
เอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์

เอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า “การยอมตามความประสงค์ของคนๆ หนึ่งนั้นจริงๆ แล้วเป็นเรื่องเฉพาะตัวที่เราต้องวางไว้บนแท่นบูชาของพระผู้เป็นเจ้า อีกหลายสิ่งที่เรา ‘ถวาย’ … แท้ที่จริงแล้วเป็นสิ่งที่พระองค์ประทานให้เราแล้วหรือให้เรายืม อย่างไรก็ดี สุดท้ายแล้วเมื่อใดที่ท่านและข้าพเจ้ายอมตน โดยให้ความประสงค์ของเราแต่ละคนกลืนเข้าไปในพระประสงค์ของพระบิดา เมื่อนั้นเรากำลังถวายบางสิ่งแด่พระองค์! ถวายสิ่งที่เราครอบครองซึ่งเป็นของเราจริงๆ!” (“Swallowed Up in the Will of the Father,” Ensign, Nov. 1995, 24)

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายว่าพระผู้ช่วยให้รอดเต็มพระทัยยอมตามพระประสงค์ของพระบิดาเสมอ

ภาพ
เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์

“สิ่งที่ดูเหมือนพระคริสต์ทรงมุ่งหวังจะเน้นมากที่สุดเกี่ยวกับพระพันธกิจของพระองค์—นอกเหนือจากคุณธรรมส่วนบุคคล นอกเหนือจากคำเทศนาที่ยิ่งใหญ่ และแม้เหนือการรักษา คือพระองค์ทรงยอมให้พระประสงค์ของพระองค์เป็นไปตามพระประสงค์ของพระบิดา” (“Therefore, What?” [ปราศรัยกับนักการศึกษาศาสนาของซีอีเอส, 8 ส.ค. 2000], 8, LDS.org)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:6, 11–12 “อนันตโทษ” และ “โทษนิรันดร์”

ประธานเจ. รูเบ็น คลาร์กแห่งฝ่ายประธานสูงสุดให้ข้อคิดต่อไปนี้เกี่ยวกับ “โทษของพระผู้เป็นเจ้า”

ภาพ
ประธาน เจ. รูเบน คลาร์ก จูเนียร์

“เมื่อพระเจ้าเสด็จมาประทานรางวัล … และโทษแก่เรา ข้าพเจ้ารู้สึกว่า [พระผู้ช่วยให้รอด] ทรงประสงค์จะประทานโทษขั้นต่ำสุดที่การล่วงละเมิดของเราพึงได้รับ ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระองค์จะทรงนำความรักอันไม่มีขอบเขต พร พระเมตตา พระกรุณา และความเข้าพระทัยที่พระองค์ทรงมีมาไว้ในความยุติธรรมของพระองค์ …

“และในทางกลับกัน ข้าพเจ้าเชื่อว่าเมื่อต้องประทานรางวัลสำหรับความประพฤติดีของเรา พระองค์จะประทานให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แม้จะทรงทราบความผิดที่เราทำ” (“As Ye Sow … ,” Brigham Young University Speeches of the Year [May 3, 1955], 7)

ประธานโจเซฟ ฟีลดิงก์ สมิธอธิบายความหมายของความทรมานอันไม่มีที่สิ้นสุดและโทษนิรันดร์ดังนี้

ภาพ
ประธานโจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธ

“เราเรียนรู้จาก หลักคำสอนและพันธสัญญา ว่าอนันตโทษ หรือโทรอันเป็นนิจ ไม่ได้หมายความว่ามนุษย์ต้องรับโทษนี้ตลอดกาล … เมื่อคนหนึ่งรับโทษตามการกระทำผิดของเขาและกลับใจอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน รับพระกิตติคุณ เขาจะออกจากเรือนจำและได้รับรัศมีภาพบางระดับตามคุณค่าและคุณความดีของเขา” (Doctrines of Salvation, comp. Bruce R. McConkie, 3 vols. [1954-1956], 3:158)

เอ็ลเดอร์เจมส์ อี. ทาลเมจแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองให้ข้อคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับความหมายของอนันตโทษดังนี้

ภาพ
เอ็ลเดอร์เจมส์ อี. ทาลเมจ

“‘อนันตโทษ’ … ไม่ได้หมายความว่าคนรับโทษหรือคนบาปแต่ละคนต้องทนรับโทษนั้นตลอดไปชั่วนิรันดร์ ไม่มีใครจะถูกกักไว้ในนรกนานเกินจำเป็นถ้าเขาพร้อมรับสิ่งที่ดีกว่า เมื่อเขาบรรลุขั้นนั้น ประตูเรือนจำจะเปิดและจะมีการชื่นชมยินดีในหมู่คนที่ต้อนรับเขาเข้าสู่สถานะที่ดีกว่า” Conference Report, Apr. 1930, 97; ดู Doctrine and Covenants Student Manual, 2nd ed. [Church Educational System manual, 2001], 37 ด้วย)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:20 “ในเวลาที่เราถอนพระวิญญาณของเราออกไป”

วลี “ในเวลาที่เราถอนพระวิญญาณของเราออกไป” อาจมีการอ้างถึงประสบการณ์ที่มาร์ติน แฮร์ริสได้รับหลังจากทำต้นฉบับพระคัมภีร์มอรมอน 116 หน้าหาย ลูซี แม็ค สมิธมารดาของโจเซฟจำได้ว่าเมื่อมาร์ติน แฮร์ริสบอกโจเซฟ สมิธเรื่องต้นฉบับที่หายไป ท่าน “ร้องไห้ออกมาด้วยความปวดร้าวสุดแสนว่า ‘โอ้ ผมสูญเสียจิตวิญญาณแล้ว! ผมสูญเสียจิตวิญญาณแล้ว!’” (History of Joseph Smith by His Mother, ed. Preston Nibley [1958], 128)

การทนทุกข์เพราะบาปเกิดขึ้นได้ในความเป็นมรรตัยและหลังจากเราสิ้นชีวิต เมื่อเราทำบาป พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงถอนตัว ปล่อยเราไว้โดยปราศจากการปลอบโยนและอำนาจการชำระให้บริสุทธิ์ของพระองค์ เมื่อพระองค์ไม่อยู่ เราย่อม “ลิ้มรส” ความทุกขเวทนาที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงประสบขณะทรงทนทุกข์เพราะบาปของเรา ขั้นตอนการกลับใจทำให้เราได้คืนดีกับพระบิดาในสวรรค์และได้รับความเป็นเพื่อนของพระวิญญาณบริสุทธิ์อีกครั้งพร้อมด้วยพรทั้งหมดที่มาจากความเป็นเพื่อนดังกล่าว

ประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์แห่งฝ่ายประธานสูงสุดพูดถึงความเชื่อมโยงระหว่างการสูญเสียความเป็นเพื่อนของพระวิญญาณบริสุทธิ์กับการต้องกลับใจดังนี้

ภาพ
ประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์

“หากท่านรู้สึกถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ยาก ท่านอาจต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองว่ามีสิ่งใดที่ท่านต้องกลับใจและรับการให้อภัยหรือไม่” (“Gifts of the Spirit for Hard Times,” Ensign or Liahona, June 2007, 23)