เซมินารี
บทที่ 91: หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:1–40


บทที่ 91

หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:1–40

คำนำ

ประธานโจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธกล่าวว่า หลักคำสอนและพันธสัญญา 88 เป็น “การเปิดเผยครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งที่ประทานแก่มนุษย์” (Doctrines of Salvation, comp. Bruce R. McConkie, 3 vols. [1954–56] 3:181). ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธได้รับการเปิดเผยนี้ติดต่อกันสามวัน—27–28 ธันวาคม ค.ศ. 1832 และ 3 มกราคม ค.ศ. 1833—หลังจากมหาปุโรหิตที่การประชุมใหญ่สวดอ้อนวอนขอให้รู้พระประสงค์ของพระเจ้าเกี่ยวกับการสถาปนาไซอัน นี่เป็นบทแรกในสี่บทเกี่ยวกับ หลักคำสอนและพันธสัญญา 88 ส่วนของการเปิดเผยที่สนทนาในบทนี้ได้แก่ (1) คำประกาศของพระเจ้าว่าพระองค์ทรงเป็นแสงสว่างที่ปกครองและอยู่ในสิ่งทั้งปวง และ (2) คำอธิบายของพระองค์เกี่ยวกับกฎที่ปกครองอาณาจักรของพระองค์และผู้อยู่ในอาณาจักรเหล่านั้น

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:1–13

พระเจ้าทรงประกาศว่าพระองค์ทรงเป็นแสงสว่างที่อยู่ในสิ่งทั้งปวง

ถามนักเรียนว่าพวกเขาเคยอยู่ในความมืดสนิทหรือไม่ เชิญนักเรียนสองสามคนแบ่งปันประสบการณ์ของพวกเขา ให้ดูไฟฉายหรือเทียนไข หรือวาดบนกระดาน

  • การอยู่ในความมืดสนิทจะช่วยให้ท่านชื่นชมพรของแสงสว่างอย่างไร

  • แสงสว่างเป็นตัวแทนของอะไรในพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์

อธิบายว่า หลักคำสอนและพันธสัญญา 88 มีคำสอนของพระเจ้าเกี่ยวกับความสำคัญของแสงสว่าง ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธได้รับการเปิดเผยนี้ติดต่อกันสามวันหลังจากมหาปุโรหิตที่การประชุมใหญ่สวดอ้อนวอนขอให้รู้พระประสงค์ของพระเจ้าเกี่ยวกับการสถาปนาไซอัน

เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:1–2 ในใจและมองหาสิ่งที่พระเจ้าตรัสว่าพระองค์และเทพทั้งหลายรู้สึกอย่างไรเมื่อผู้รับใช้ของพระองค์สวดอ้อนวอนขอให้รู้พระประสงค์ของพระองค์

  • ท่านคิดว่าเหตุใดพระเจ้าพอพระทัยและเทพทั้งหลายชื่นชมยินดีเมื่อเราสวดอ้อนวอนขอให้รู้พระประสงค์ของพระเจ้า

  • การรู้พระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าเปรียบเสมือนแสงสว่างให้คนที่แสวงหาอย่างไร

สรุป หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:3–5 โดยอธิบายว่าพระเจ้าทรงสอนพี่น้องชายเหล่านี้ว่าพวกเขาสามารถรับความเชื่อมั่นเรื่องชีวิตนิรันดร์ผ่านพระวิญญาณบริสุทธิ์ซึ่งเรียกว่าพระผู้ปลอบโยนและพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์แห่งคำสัญญาด้วย

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:6–13 ขอให้ชั้นเรียนดูตามและมองหาสิ่งที่พระเจ้าทรงสอนเกี่ยวกับที่มาของแสงสว่าง เชื้อเชิญให้นักเรียนรายงานสิ่งที่พบ

  • ใน ข้อ 7่ใช้คำอะไรกล่าวถึงแสงสว่างของความจริง

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 12–13แสงสว่างทั้งหมดมาจากที่ใด

  • พระผู้เป็นเจ้าทรงมีอิทธิพลต่องานสร้างของพระองค์ผ่านแสงสว่างของพระคริสต์อย่างไร (ช่วยนักเรียนระบุหลักคำสอนต่อไปนี้: พระผู้เป็นเจ้าประทานแสงสว่างและชีวิตแก่งานสร้างทั้งหมดของพระองค์ผ่านแสงสว่างของพระคริสต์ ท่านอาจต้องการเขียนหลักคำสอนนี้ไว้บนกระดาน นักเรียนอาจกล่าวด้วยว่าแสงสว่างของพระคริสต์คือกฎที่ปกครองจักรวาลและผู้อาศัยอยู่ในนั้น และ “ชุบชีวิต” ให้แก่ความเข้าใจของเราชุบชีวิต หมายถึงทำให้มีชีวิต เพราะใช้คำนี้ในการเปิดเผยช่วงหลัง ท่านจึงอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนนิยามนี้ไว้ตรงช่องว่างริมหน้าพระคัมภีร์ของพวกเขาข้างๆ ข้อ 11)

ท่านอาจจำเป็นต้องเพิ่มคำอธิบายของนักเรียนเกี่ยวกับแสงสว่างของพระคริสต์โดยอธิบายว่าแสงสว่างของพระคริสต์คือ “พลังงาน พลัง หรืออิทธิพลจากสวรรค์ซึ่งมาจากพระผู้เป็นเจ้าผ่านพระคริสต์และให้ชีวิตและความสว่างแก่สรรพสิ่งทั้งปวง” (คู่มือพระคัมภีร์, “แสงสว่างของพระคริสต์,” scriptures.lds.org)

เพื่อช่วยให้นักเรียนพิจารณาว่าพวกเขาได้รับพรผ่านแสงสว่างของพระคริสต์อย่างไร ให้เขียน ประเภทต่างๆ ต่อไปนี้ ไว้บนกระดาน

แสงสว่างทางกายภาพ ความเข้าใจ ชีวิต กฎ

เชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนตัวอย่างบนกระดานว่าปรากฏการณ์เหล่านี้ของแสงสว่างของพระคริสต์มีอิทธิพลต่อพวกเขาทุกวันอย่างไร (บางตัวอย่างอาจได้แก่ ความสามารถในการมองเห็น ความสามารถในการเรียนรู้และจดจำความจริง การเติบโตของพืชและสัตว์เพื่อให้เรามีอาหารและเครื่องนุ่งห่ม ตลอดจนความสามารถในการรู้ความแตกต่างระหว่างดีกับชั่ว)

  • ความจริงที่เราสนทนาไปแล้วเกี่ยวกับแสงสว่างของพระคริสต์จะช่วยให้ท่านชื่นชมอิทธิพลของพระเจ้าในชีวิตท่านได้อย่างไร

หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:14–40

พระเจ้าทรงอธิบายว่ามีกฎเกี่ยวข้องกับอาณาจักรแห่งรัศมีภาพ

ให้ดูถุงมือ และอธิบายว่าถุงมือเป็นสิ่งแทนร่างกาย เชิญนักเรียนคนหนึ่งสวมถุงมือและกระดิกนิ้ว ชี้ให้เห็นว่ามือให้ชีวิตหรือทำให้ถุงมือมีชีวิต

  • หากถุงมือเป็นสิ่งแทนร่างกาย มือแทนอะไร (ร่างวิญญาณ)

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:15 ขอให้ชั้นเรียนดูตามและมองหาว่าพระเจ้าทรงเรียกการรวมกันของวิญญาณกับร่างกายว่าอะไร

  • พระเจ้าทรงเรียกการรวมกันของวิญญาณกับร่างกายว่าอะไร (วิญญาณกับร่างกายรวมกันเป็นจิตวิญญาณของมนุษย์ ท่านอาจต้องการเสนอแนะให้นักเรียนทำเครื่องหมายหลักคำสอนนี้)

  • สิ่งที่มีผลต่อร่างกายเราสามารถมีผลต่อวิญญาณของเราได้เช่นกันอย่างไร (ขณะที่นักเรียนตอบ ขอให้พวกเขายกตัวอย่าง)

เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับวิญญาณของเรา ให้เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำพูดต่อไปนี้ของประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสัน ขอให้ชั้นเรียนฟังด้านต่างๆ ที่วิญญาณและร่างกายส่งผลต่อกัน

ภาพ
ประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสัน

“สุขภาพร่างกายส่งผลต่อวิญญาณอย่างไม่ต้องสงสัย หาไม่แล้วพระเจ้าคงไม่ทรงเปิดเผยพระคำแห่งปัญญา พระผู้เป็นเจ้าไม่เคยประทานพระบัญญัติฝ่ายโลก—แต่ประทานพระบัญญัติซึ่งส่งผลต่อร่างกายของเราและส่งผลต่อ [วิญญาณ] ของเราด้วย …

“… บาปทำให้อ่อนกำลัง บาปไม่เพียงส่งผลต่อ [วิญญาณ] เท่านั้น แต่ส่งผลต่อร่างกายด้วย พระคัมภีร์เต็มไปด้วยตัวอย่างของพลังทางร่างกายที่สามารถดูแลคนชอบธรรมได้ ในทางตรงกันข้าม บาปที่ไม่กลับใจสามารถทำให้พลังงานไหลออก ส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วยทั้งจิตใจและร่างกาย” (“In His Steps,” Ensign, Sep. 1988, 5)

  • การเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างร่างกายกับวิญญาณของท่านจะช่วยท่านทำการตัดสินใจที่ชอบธรรมได้อย่างไร

เพื่อเตรียมนักเรียนให้พร้อมสนทนาความจริงเกี่ยวกับการฟื้นคืนชีวิต เชื้อเชิญให้นักเรียนที่สวมถุงมือออกมาหน้าชั้นเพื่อถอดถุงมือวางไว้บนโต๊ะหรือบนเก้าอี้

  • การกระทำนี้หมายถึงอะไร (ความตายทางร่างกาย)

  • เกิดอะไรขึ้นกับวิญญาณเมื่อตาย (วิญญาณกับร่างกายแยกจากกัน)

ให้นักเรียนคนนั้นหยิบถุงมือมาสวมเหมือนเดิม

  • การกระทำนี้หมายถึงอะไร (การฟื้นคืนชีวิต)

  • เกิดอะไรขึ้นกับจิตวิญญาณขณะฟื้นคืนชีวิต (วิญญาณกับร่างกายรวมกันอีกครั้ง)

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:14, 16–17 ขอให้ชั้นเรียนดูตามโดยมองหาว่าพระเจ้าทรงอธิบายการฟื้นคืนชีวิตว่าอย่างไร เชื้อเชิญให้นักเรียนรายงานสิ่งที่พบ

  • ใครทำให้จิตวิญญาณเราได้รับการไถ่ (ขณะที่นักเรียนตอบ ให้เขียนหลักคำสอนต่อไปนี้ไว้บนกระดาน: พระเยซูคริสต์ทรงทำให้จิตวิญญาณของเราได้รับการไถ่)

  • หลังจากจิตวิญญาณเราได้รับการไถ่แล้ว จิตวิญญาณ “คนจนและคนอ่อนโยน” จะสืบทอดอะไรเป็นมรดก (แผ่นดินโลก)

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:18–20 ขอให้ชั้นเรียนดูตามและมองหาว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับแผ่นดินโลกก่อนจิตวิญญาณที่ได้รับการไถ่จะสืบทอดแผ่นดินโลกเป็นมรดก

  • จะเกิดอะไรขึ้นกับแผ่นดินโลกก่อนจิตวิญญาณที่ได้รับการไถ่จะสืบทอดแผ่นดินโลกเป็นมรดก

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 19จะพบพระสิริของใครบนแผ่นดินโลกที่ชำระให้บริสุทธิ์แล้ว

เขียนคำถามต่อไปนี้ไว้บนกระดาน: ใครจะมีคุณสมบัติคู่ควรอยู่ในอาณาจักรซีเลสเชียลและชื่นชมพระสิริของพระบิดาบนสวรรค์ เชื้อเชิญให้นักเรียนไตร่ตรองว่าพวกเขาจะตอบคำถามข้อนี้อย่างไร

อธิบายว่าเฉกเช่นแผ่นดินโลกจะได้รับรัศมีภาพหลังจากชำระให้บริสุทธิ์แล้ว ร่างกายเราจะถูกเปลี่ยนและได้รับรัศมีภาพในการฟื้นคืนชีวิตเช่นกัน แต่ใช่ว่าทุกคนจะได้รับรัศมีภาพระดับเดียวกัน

เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:21–24 ในใจและระบุสิ่งที่กำหนดระดับรัศมีภาพที่บุคคลจะได้รับในการฟื้นคืนชีวิต

  • อะไรกำหนดระดับรัศมีภาพที่บุคคลจะได้รับในการฟื้นคืนชีวิต (เขียนหลักคำสอนต่อไปนี้ไว้บนกระดาน ท่านอาจต้องการเสนอแนะให้นักเรียนเขียนไว้ตรงช่องว่างริมหน้าพระคัมภีร์ของพวกเขาด้วยในการฟื้นคืนชีวิตเราจะได้รับรัศมีภาพตามกฎที่เราเชื่อฟัง)

เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจความจริงนี้เพิ่มขึ้น ให้พวกเขาอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:25–33 กับคู่ ขอให้พวกเขาหาดูว่าการเชื่อฟังกฎของพระคริสต์จะส่งผลต่อแผ่นดินโลกและต่อเราแต่ละคนอย่างไร ท่านอาจต้องการเสนอแนะให้พวกเขาทำเครื่องหมายสิ่งที่พบ

  • ท่านพบอะไรที่สนับสนุนความจริงว่าในการฟื้นคืนชีวิตเราจะได้รับรัศมีภาพตามกฎที่เราเชื่อฟัง

  • สังเกตใน ข้อ 28 ว่าพระเจ้าตรัสถึงคนที่ “มีวิญญาณซีเลสเชียล” ท่านคิดว่าการ “มีวิญญาณซีเลสเชียล” หมายถึงอะไร

ช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าคนที่มีวิญญาณซีเลสเชียลคือคนที่ดำเนินชีวิตตามกฎของอาณาจักรซีเลสเชียล เตือนความจำนักเรียนว่าเรารู้จาก หลักคำสอนและพันธสัญญา 76 ว่ากฎของอาณาจักรซีเลสเชียลรวมถึงการมีประจักษ์พยานในพระเยซูคริสต์ การรักษาพระบัญญัติ การทำและรักษาพันธสัญญา การเอาชนะโดยศรัทธา และการรับพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์แห่งคำสัญญา (ดู คพ. 76:50–53, 69–70)

  • ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:28–29พระเจ้าตรัสถึงร่างกายที่ฟื้นคืนชีวิตของคนที่ได้รับรัศมีภาพซีเลสเชียลว่าอย่างไร

  • ตามที่กล่าวไว้ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:30–31หากบุคคลหนึ่งเชื่อฟังเฉพาะกฎเทอร์เรสเตรียลหรือทีเลสเชียลบนแผ่นดินโลก เขาจะได้รับร่างกายแบบใดในการฟื้นคืนชีวิต (ช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าร่างกายที่ฟื้นคืนชีวิตของเราจะมีรัศมีภาพตรงกับรูปแบบวิญญาณที่เราเป็น)

เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจหลักคำสอนเพิ่มเติมว่าเราได้รับรัศมีภาพตามกฎที่เราเชื่อฟัง ให้พวกเขาทำ งานมอบหมายต่อไปนี้เป็นกลุ่มๆ ละสามถึงสี่คน ท่านอาจจะแจกสำเนาคำแนะนำหรืออาจเขียนไว้บนกระดาน

  1. สนทนาคำถามต่อไปนี้ด้วยกัน: การเชื่อฟังกฎจราจรมีประโยชน์อะไรบ้าง ผลของการไม่เชื่อฟังกฎจราจรมีอะไรบ้าง

  2. อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:34–35และมองหาผลของการดำเนินชีวิตตามกฎของพระผู้เป็นเจ้าและการไม่ยอมดำเนินชีวิตตามกฎเหล่านั้น สนทนาสิ่งที่ท่านพบ

  3. หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:40 พูดถึงคุณสมบัติของคนที่จะถูกดึงเข้าอาณาจักรซีเลสเชียล ศึกษาข้อนี้ด้วยกันและระบุคุณสมบัติ จากนั้นให้สนทนาว่าเราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อพัฒนาหรือเสริมสร้างคุณสมบัติเหล่านี้ในชีวิตเรา

หลังจากนักเรียนสนทนาคุณสมบัติเหล่านี้ในกลุ่มของตนแล้ว ให้แบ่งปันประจักษ์พยานของท่านเกี่ยวกับแสงสว่างที่เติมเต็มชีวิตเราขณะที่เราพยายามดำเนินชีวิตตามกฎของพระเจ้า เชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันว่าพวกเขาเห็นความจริงนี้ประจักษ์ชัดในชีวิตพวกเขาเองอย่างไร ช่วยนักเรียนประยุกต์ใช้สิ่งที่พวกเขาเรียนรู้โดยขอให้พวกเขาเขียนเป้าหมายที่จะช่วยพวกเขาดำเนินชีวิตตามกฎของอาณาจักรซีเลสเชียลและได้รับพรด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ เชิญนักเรียนสองสามคนแบ่งปันเป้าหมายของพวกเขากับชั้นเรียนหากพวกเขารู้สึกสบายใจจะทำเช่นนั้น

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:3–4 “พระผู้ปลอบโยนอีกองค์หนึ่ง”

“บางคนคิดว่าวลี ‘พระผู้ปลอบโยนอีกองค์หนึ่ง’ ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:3 หมายถึงพระผู้ปลอบโยนองค์ที่สองหรือการเยือนเป็นส่วนตัวจากพระผู้ช่วยให้รอด แต่พระเจ้าทรงสัญญาไว้ในข้อนี้ว่าพระผู้ปลอบโยนองค์นี้จะ ‘สถิตในใจเจ้า’ … พระผู้ปลอบโยนที่สัญญาไว้ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 88 คือ ‘พระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์แห่งคำสัญญา’ (ข้อ 3) ‘คำสัญญาแห่งชีวิตนิรันดร์ซึ่งเราให้แก่เจ้า’ (ข้อ 4)” (คำสอนและพันธสัญญา คู่มือนักเรียน, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 [คู่มือระบบการศึกษาของศาสนจักร, 2001, 263)

ประธานโจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธอธิบายดังนี้

ภาพ
ประธานโจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธ

“พระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์แห่งคำสัญญาไม่ใช่พระผู้ปลอบโยนองค์ที่สอง พระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์แห่งคำสัญญาคือพระวิญญาณบริสุทธิ์ผู้ทรงประทับตราเห็นชอบทุกศาสนพิธีที่ทำอย่างชอบธรรม [คพ. 132:7] และพระองค์ทรงลบตราประทับออกเมื่อเราฝ่าฝืนพันธสัญญา” (Doctrines of Salvation, comp. Bruce R. McConkie, 3 vols. [1954–56], 1:55)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:6–13 แสงสว่างของพระคริสต์

“แสงสว่างของพระคริสต์ ‘ฉายส่องออกมาจากที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อเติมเต็มความกว้างใหญ่ไพศาลของที่ว่าง’ คือ ‘แสงสว่างซึ่งอยู่ในสิ่งทั้งปวง, ซึ่งให้ชีวิตแก่สิ่งทั้งปวง, ซึ่งเป็นกฎที่โดยกฎนั้นสิ่งทั้งปวงถูกปกครอง’ (คพ. 88:12–13; ดู ข้อ 6–11ด้วย) อำนาจดังกล่าวเป็นอิทธิพลเพื่อความดีในชีวิตของคนทั้งปวง (ดู ยอห์น 1:9; คพ. 93:2) ในพระคัมภีร์บางครั้งเรียกแสงสว่างของพระคริสต์ว่าพระวิญญาณของพระเจ้า พระวิญญาณของพระผู้เป็นเจ้า พระวิญญาณของพระคริสต์ หรือความสว่างของชีวิต

“ไม่ควรสับสนระหว่างแสงสว่างของพระคริสต์กับพระวิญญาณบริสุทธิ์ แสงสว่างของพระคริสต์ไม่ใช่บุคคล พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นบุคคล อิทธิพลของแสงสว่างนั้นนำผู้คนมาพบพระกิตติคุณที่แท้จริง รับบัพติศมา และรับของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ (ดู ยอห์น 12:46; แอลมา 26:14–15)

“จิตสำนึกคือการแสดงให้เห็นแสงสว่างของพระคริสต์ ทำให้เราตัดสินความดีจากความชั่วได้ ศาสดาพยากรณ์มอรมอนสอนว่า ‘พระวิญญาณของพระคริสต์ประทานให้มนุษย์ทุกคน, เพื่อเขาจะรู้ความดีจากความชั่ว; ดังนั้น, ข้าพเจ้าจึงแสดงวิธีตัดสินให้ท่าน; เพราะทุกสิ่งที่เชื้อเชิญให้ทำดี, และชักชวนให้เชื่อในพระคริสต์, ส่งมาโดยเดชานุภาพและของประทานของพระคริสต์; ดังนั้นท่านจะรู้ด้วยความรู้อันสมบูรณ์ว่านี่เป็นของพระผู้เป็นเจ้า. … และบัดนี้, พี่น้องข้าพเจ้า, โดยที่เห็นว่าท่านรู้จักแสงสว่างซึ่งโดยแสงสว่างนั้นท่านจะตัดสิน, ซึ่งแสงสว่างนั้นคือแสงสว่างของพระคริสต์, จงดูว่าท่านจะไม่ตัดสินผิด; เพราะด้วยการตัดสินอย่างเดียวกับที่ท่านตัดสินท่านจะถูกตัดสินด้วย’ (โมโรไน 7:16, 18)” (แน่วแน่ต่อศรัทธา: ศัพทานุกรมพระกิตติคุณ [2004], 122)

ประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนดังนี้

ภาพ
ประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์

“เพื่ออธิบายแสงสว่างของพระคริสต์ ข้าพเจ้าจะเปรียบเทียบกับความสว่างของดวงอาทิตย์ ทุกคนรู้จักแสงแดดดี แสงแดดอยู่ทุกที่ มองเห็นได้ และรู้สึกได้ ชีวิตอาศัยแสงแดด

“แสงสว่างของพระคริสต์ เป็น เหมือนแสงแดด มีอยู่ทุกที่ และส่องถึงทุกคนเท่าเทียมกัน

“ความมืดต้องเลือนหายเมื่อความสว่างของอาทิตย์เจิดจ้าขึ้นมาฉันใด ความชั่วร้ายจะพลันหายไปเพราะความสว่างของพระคริสต์ฉันนั้น

“ไม่มีความมืดในแสงแดด ความมืดอยู่ใต้อำนาจแสงแดด ดวงอาทิตย์อาจถูกเมฆหรือการโคจรของโลกบดบัง แต่เมฆจะหายไป และโลกจะหมุนจนครบรอบ …

“แสงสว่างของพระคริสต์มีอยู่ทุกที่เช่นเดียวกับแสงแดด ที่ใดมีชีวิตมนุษย์ ที่นั่นย่อมมีพระวิญญาณของพระคริสต์ จิตวิญญาณมีชีวิตทุกดวงล้วนครอบครอง แสงสว่างของพระคริสต์คือผู้ส่งเสริมทุกสิ่งที่ดีงาม คือผู้ดลบันดาลทุกสิ่งที่จะเป็นพรและเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ และบำรุงเลี้ยงความดีงามด้วยความสว่างนั้น” (“ความสว่างของพระคริสต์,” เลียโฮนา, เม.ย. 2005, 13)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:21–24, 34–35 เราสามารถเลือกเชื่อฟังกฎของอาณาจักรซีเลสเชียล

เอ็ลเดอร์เดลเบิร์ต แอล. สแต็พลีย์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองเสนอให้ประเมินการเชื่อฟังกฎซีเลสเชียลของตัวเราดังนี้

ภาพ
เอ็ลเดอร์เดลเบิร์ต แอล. สแตพลีย์

“บางทีอาจจะดีถ้าเราแต่ละคนจะประเมินตนเองอีกครั้งเพื่อดูว่าปัจจุบันเราอยู่จุดใดในเรื่องกฎพื้นฐานของอาณาจักรซีเลสเชียล—กฎแห่งการเชื่อฟัง ผลที่ได้จะเปิดเผยต่อเราว่าเราได้เลือกอาณาจักรใดเป็นเป้าหมายของเรา ตัวอย่างเช่น

  1. ฉันศึกษาและไตร่ตรองพระคัมภีร์เพื่อให้รู้พระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าและเข้าใจพระบัญญัติเกี่ยวกับบุตรธิดาของพระองค์หรือไม่

  2. ฉันทำตามคำแนะนำของศาสดาพยากรณ์ที่มีชีวิตของพระผู้เป็นเจ้าหรือไม่ หรือฉันเพียงแต่เลือกสิ่งที่ฉันเห็นด้วย โดยไม่สนใจคำแนะนำอื่น

  3. ฉันแสวงหาคำแนะนำและขอคำปรึกษาจากอธิการและประธานสเตคในเรื่องที่ฉันกังวลเกี่ยวกับตัวฉันและครอบครัวฉันหรือไม่

  4. ฉันกำลังพยายามอย่างจริงจังเพื่อฝึกวินัยให้ตนเอง โดยทำให้ความอยากทางกายอยู่ใต้ความประสงค์ของฉันหรือไม่

  5. ฉันกำลังพยายามเต็มที่เพื่อกลับใจจากการทำผิดในอดีตหรือปัจจุบันและแก้ไขโดยทำให้ถูกต้องหรือไม่

  6. ฉันมีเจตคติของศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าแม้ประสบการทดลอง ความยากลำบาก และความทุกข์หรือไม่ และฉันแบกภาระของฉันโดยไม่พร่ำบ่นหรือไม่

“การรักษาพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าไม่ใช่ภาระยุ่งยากเมื่อเราทำจากความรักที่มีต่อพระองค์ผู้ทรงพระกรุณาประทานพรเรา พระผู้ช่วยให้รอดทรงขอร้องให้เรา ‘เอาแอกของเราแบกไว้ แล้วเรียนจากเรา เพราะว่าเราสุภาพอ่อนโยนและใจอ่อนน้อม และจิตใจของพวกท่านจะได้หยุดพัก

ด้วยว่าแอกของเราก็พอเหมาะและภาระของเราก็เบา” (มัทธิว 11:29–30)

“การที่เราเต็มใจปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าเป็นพยานยืนยันศรัทธาของเราในพระองค์และความรักที่เรามีต่อพระองค์ นิสัยดื้อรั้นจะสืบทอดอาณาจักรซีเลสเชียลเป็นมรดกไม่ได้” (“The Blessings of Righteous Obedience,” Ensign, Nov. 1977, 20–21)