เซมินารี
บทที่ 134: หลักคำสอนและพันธสัญญา 127; 128:1–11


บทที่ 134

หลักคำสอนและพันธสัญญา 127; 128:1–11

คำนำ

หลักคำสอนและพันธสัญญา 127 ประกอบด้วยจดหมายจากศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธลงวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1842 ซึ่งแนะนำให้วิสุทธิชนจดบันทึกบัพติศมาที่ประกอบพิธีแทนคนตาย ราวหนึ่งสัปดาห์ต่อมา โจเซฟเขียนจดหมายอีกฉบับเกี่ยวกับเรื่องบัพติศมาแทนคนตายหลักคำสอนและพันธสัญญา 128 ประกอบด้วยจดหมายนี้ซึ่งสอนสาเหตุที่เราจดบันทึกศาสนพิธีแห่งความรอด

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

หลักคำสอนและพันธสัญญา 127:1–4

โจเซฟ สมิธชื่นชมยินดีในการข่มเหงและความยากลำบาก

เริ่มชั้นเรียนโดยให้ดูภาชนะใสใบใหญ่ที่เขียนว่า ความเป็นมรรตัย และเหยือกน้ำที่เขียนว่า ความยากลำบาก ถามนักเรียนว่าพวกเขาเคยประสบหรือเห็นผู้อื่นประสบความยากลำบากอะไรบ้าง เทน้ำจากเหยือกลงในภาชนะใสเมื่อพวกเขากล่าวถึงความยากลำบากแต่ละอย่าง

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง หลักคำสอนและพันธสัญญา 127:1 ขอให้ชั้นเรียนดูตามโดยมองหาความยากลำบากที่โจเซฟ สมิธกำลังประสบในนอวูเมื่อปี 1842 ขอให้นักเรียนรายงานสิ่งที่พบ

อธิบายว่าในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1842 ลิลเบิร์น ดับเบิลยู. บ็อกส์อดีตผู้ว่าการรัฐมิสซูรีผู้ออกคำสั่งขุดรากถอนโคนวิสุทธิชนได้รับบาดเจ็บจากการถูกมือลึกลับลอบสังหาร เจ้าหน้าที่มิสซูรีกล่าวหาว่าโจเซฟ สมิธเตรียมการให้คนฆาตกรรมบ็อกส์และพยายามนำตัวท่านศาสดาพยาการณ์กลับไปไต่สวนที่มิสซูรี โจเซฟ สมิธออกจากมิสซูรีมาหลายปีแล้วและเวลานั้นอาศัยอยู่ในเขตนอวู อิลลินอยส์ โดยรู้ว่าถ้ากลับไปมิสซูรีท่านจะเสียชีวิต ท่านศาสดาพยากรณ์จึงหลบหนีทางการมิสซูรีไประยะหนึ่งเพื่อเลี่ยงการถูกจับกุมอย่างผิดกฎหมาย ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1843 ทางการตัดสินว่าการจับกุมโจเซฟ สมิธและส่งท่านข้ามแดนไปมิสซูรีเป็นการทำผิดกฎหมาย

อธิบายว่า หลักคำสอนและพันธสัญญา 127 เป็นจดหมายที่โจเซฟ สมิธเขียนถึงสมาชิกของศาสนจักรขณะท่านกำลังจะหลบหนีเพื่อไม่ให้ทางการมิสซูรีจับกุมท่านอย่างผิดกฎหมาย ผู้นำอ่านจดหมายฉบับนี้ให้วิสุทธิชนในนอวูฟังในอีกไม่กี่วันต่อมา

ให้นักเรียนดูลูกบอลสองลูกขนาดเท่าๆ กัน ลูกหนึ่งลอยน้ำได้ ส่วนอีกลูกหนึ่งลอยน้ำไม่ได้ (ตัวอย่างเช่น ท่านอาจจะใช้ลูกกอล์ฟพลาสติกกับลูกกอล์ฟปกติ) วางลูกบอลทั้งสองในภาชนะที่มีน้ำ และถามดังนี้

  • ลูกบอลสองลูกนี้จะแสดงให้เห็นวิธีที่ผู้คนตอบสนองความยากลำบากต่างกันได้อย่างไร

เชื้อเชิญให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง หลักคำสอนและพันธสัญญา 127:2 ขอให้ชั้นเรียนมองหาว่าโจเซฟตอบสนองความยากลำบากอย่างไร

  • บอลลูกใดแทนการตอบสนองความยากลำบากของโจเซฟได้ดีที่สุด เพราะเหตุใด

  • โจเซฟรู้ได้อย่างไรว่าท่านจะมีชัยเหนือความยากลำบากและภยันตรายของท่าน

  • ตามที่โจเซฟเขียนถึงวิสุทธิชน อะไรจะช่วยให้เราอดทนต่อความยากลำบากได้ (หลังจากนักเรียนตอบแล้ว ให้สรุปคำพูดของพวกเขาโดยเขียนหลักธรรมต่อไปนี้ไว้บนกระดาน: การวางใจพระบิดาบนสวรรค์จะช่วยให้เราอดทนต่อความยากลำบากได้)

เชื้อเชิญให้นักเรียนนึกถึงคนที่พวกเขารู้จัก (หรือเคยเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลนั้น) ผู้สามารถอดทนต่อความยากลำบากเพราะเขาวางใจพระบิดาบนสวรรค์ ขอให้นักเรียนสองสามคนอธิบายว่าพวกเขานึกถึงใครและการวางใจพระบิดาบนสวรรค์ช่วยให้บุคคลนั้นอดทนต่อความยากลำบากอย่างไร

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง หลักคำสอนและพันธสัญญา 127:3–4 ขอให้ชั้นเรียนดูตามโดยมองหาสิ่งที่ท่านศาสดาพยากรณ์บอกวิสุทธิชน เชื้อเชิญให้นักเรียนระบุและแบ่งปันวลีที่มีความหมายต่อพวกเขา

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 3 เหตุใดวิสุทธิชนจึงควรยินดีในยามยากลำบาก

  • ใน ข้อ 4 พระเจ้าทรงสัญญาอะไรกับคนที่อดทนต่อการข่มเหง

  • การวางใจพระบิดาบนสวรรค์ช่วยให้ท่านอดทนต่อเวลายากๆ ในชีวิตท่านอย่างไร

หลักคำสอนและพันธสัญญา 127:5–12

ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธแนะนำให้วิสุทธิชนจดบันทึกบัพติศมาที่พวกเขาประกอบพิธีแทนคนตาย

เตือนความจำนักเรียนว่าราวหนึ่งปีครึ่งก่อนโจเซฟ สมิธเขียนจดหมายฉบับนี้ พระเจ้ารับสั่งกับวิสุทธิชนว่าควรประกอบศาสนพิธีบัพติศมาแทนคนตายในพระวิหาร (ดู คพ. 124:30) อย่างไรก็ดี พระเจ้าทรงอนุญาตให้วิสุทธิชนประกอบพิธีบัพติศมาแทนคนตายในแม่น้ำและลำธารบริเวณนั้นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ พระเจ้ารับสั่งว่าทันทีที่พระวิหารพร้อม ศาสนพิธีบัพติศมาแทนคนตายจะเป็นที่ยอมรับต่อเมื่อประกอบพิธีในพระวิหารเท่านั้น วิสุทธิชนเริ่มประกอบพิธีบัพติศมาแทนคนตายในพระวิหารนอวูเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1841

ขอให้นักเรียนนึกถึงครั้งสุดท้ายที่พวกเขามีส่วนร่วมในพิธีบัพติศมาแทนคนตาย เชื้อเชิญให้พวกเขาบรรยายประสบการณ์นั้น และบอกว่ามีคนนั่งใกล้อ่างระหว่างบัพติศมาหรือไม่

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง หลักคำสอนและพันธสัญญา 127:5–9 ขอให้ชั้นเรียนดูตามโดยมองหาว่าใครต้องอยู่ที่นั่นเมื่อประกอบพิธีบัพติศมาแทนคนตาย เชื้อเชิญให้นักเรียนรายงานสิ่งที่พบ

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 7เหตุใดจึงสำคัญที่ผู้บันทึกต้องเป็นพยานรับรู้พิธีบัพติศมา

เขียนข้อความที่ไม่ครบถ้วนต่อไปนี้ไว้บนกระดาน: ศาสนพิธีพระวิหารที่เราประกอบบนแผ่นดินโลก …

เชื้อเชิญให้นักเรียนเติมข้อความให้ครบถ้วนโดยยึด ข้อ 5–9 เป็นหลัก (นักเรียนควรเติมข้อความให้ครบถ้วนคล้ายกับความจริงต่อไปนี้: ศาสนพิธีพระวิหารที่เราประกอบบนแผ่นดินโลกจะผูกไว้ในสวรรค์)

  • ท่านคิดว่าศาสนพิธีพระวิหารจะผูกไว้ในสวรรค์หมายความว่าอย่างไร

  • การรู้ความจริงนี้จะช่วยท่านทำความรับผิดชอบในการประกอบศาสนพิธีบัพติศมาแทน “คนตายของท่าน” ให้เกิดสัมฤทธิผลได้อย่างไร

สรุป หลักคำสอนและพันธสัญญา 127:10–12 โดยอธิบายว่าโจเซฟ สมิธต้องการสอนวิสุทธิชนมากขึ้นเกี่ยวกับบัพติศมาแทนคนตาย แต่เพราะท่านกำลังซ่อนตัวท่านจึงทำอย่างนั้นไม่ได้ ท่านสัญญาจะเขียนจดหมายถึงวิสุทธิชนเพิ่มขึ้นอีกเกี่ยวกับบัพติศมาแทนคนตายและเรื่องสำคัญอื่นๆ

หลักคำสอนและพันธสัญญา 128:1–11

โจเซฟ สมิธอธิบายว่าเหตุใดเราจึงจดบันทึกศาสนพิธีแห่งความรอด

ราวหนึ่งสัปดาห์หลังจากโจเซฟเขียนจดหมายใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 127 ท่านเขียนถึงวิสุทธิชนอีกฉบับเกี่ยวกับบัพติศมาแทนคนตาย จดหมายฉบับนี้มีอยู่ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 128

สรุป หลักคำสอนและพันธสัญญา 128:1–5 โดยอธิบายว่าโจเซฟสอนว่าควรแต่งตั้งผู้ทำบันทึกของท้องที่เพื่อเป็นพยานและบันทึกศาสนพิธีบัพติศมาแทนคนตาย ท่านสอนด้วยว่าควรแต่งตั้งผู้ทำบันทึกทั่วไปให้รวบรวมบันทึกของท้องที่ไว้ในบันทึกทั่วไปของศาสนจักร

ให้ดูหนังสือเดินทาง (หรือภาพหนังสือเดินทาง) ถามว่าผู้ถือหนังสือเดินทางมีสิทธิ์อะไรบ้าง

  • เหตุใดท่านจึงไม่สามารถใช้หนังสือเดินทางของอีกคนหนึ่งเข้าประเทศอื่นได้

  • จะเกิดอะไรขึ้นหากท่านพยายามเข้าประเทศหนึ่งแต่ข้อมูลในหนังสือเดินทางของท่านไม่สมบูรณ์

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง หลักคำสอนและพันธสัญญา 128:6–7 ขอให้ชั้นเรียนมองหาว่าจะใช้บันทึกอะไรตัดสินว่าเรามีคุณสมบัติคู่ควรเข้าในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าหรือไม่ เชื้อเชิญให้พวกเขารายงานสิ่งที่พบ ชี้ให้เห็นว่ายอห์นและโจเซฟ สมิธกล่าวถึงบันทึกมากมาย “หนังสือทั้งหลายเปิดออก” และ “หนังสืออีกเล่มหนึ่ง, … ซึ่งเป็นหนังสือแห่งชีวิต”

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 7อะไรคือหนังสือเล่มแรกที่ยอห์นพูดถึง (บันทึกที่เขียนไว้บนแผ่นดินโลก)

  • หนังสือแห่งชีวิตคืออะไร (บันทึกที่เขียนไว้ในสวรรค์)

  • อะไรบันทึกไว้ในหนังสือเหล่านี้ (งานของเรา)

  • ต้องบันทึกงานอะไรไว้ในหนังสือจึงจะได้รับอนุญาตให้เข้าในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า

หลังจากนักเรียนแบ่งปันความคิดเกี่ยวกับคำถามนี้แล้ว ให้เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้ของประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง

ภาพ
ประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์

“ศาสนพิธีและพันธสัญญาจะเป็นหนังสือรับรองการรับเข้าในที่ประทับ [ของพระผู้เป็นเจ้า]” (“Covenants,” Ensign, May 1987, 24)

  • ตามคำกล่าวของประธานแพคเกอร์ อะไรจะเกิดขึ้นในวันพิพากษาหากบันทึกของบุคคลคนหนึ่งแสดงให้เห็นว่าเขาไม่เคยได้รับศาสนพิธีบัพติศมา

เขียนวลีต่อไปนี้ไว้บนกระดาน: อะไรก็ตามที่ท่านผูกไว้บนแผ่นดินโลกจะถูกผูกไว้ในสวรรค์ เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง หลักคำสอนและพันธสัญญา 128:8 ขอให้ชั้นเรียนดูตามโดยมองหาว่าศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธอธิบายข้อความนี้กับวิสุทธิชนว่าอย่างไร ขณะนักเรียนรายงานสิ่งที่พบ ให้แทนคำว่า ผูก บนกระดานด้วยคำว่า บันทึก

  • เราเรียนรู้อะไรจาก ข้อ 8 เกี่ยวกับการบันทึกศาสนพิธีที่เราได้รับ (ท่านอาจต้องการอธิบายว่าวลี “ด้วยตนเอง” หมายถึงคนที่รับบัพติศมาเพื่อตนเองและวลี “ตัวแทนของพวกเขาเอง” หมายถึงคนที่รับบัพติศมาในฐานะตัวแทน)

เขียนบนกระดานดังนี้: เมื่อประกอบศาสนพิธีโดย และจดบันทึก ถูกต้อง ศาสนพิธีจะผูกไว้บนแผ่นดินโลกและในสวรรค์

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 8จำเป็นต้องเกิดอะไรขึ้นศาสนพิธีจึงจะผูกไว้บนแผ่นดินโลกและในสวรรค์ (ขณะที่นักเรียนตอบ ให้เชิญนักเรียนคนหนึ่งเติมความจริงบนกระดานดังนี้: เมื่อประกอบศาสนพิธีโดยผู้มีสิทธิอำนาจฐานะปุโรหิตและจดบันทึกถูกต้อง ศาสนพิธีจะผูกไว้บนแผ่นโลกและในสวรรค์)

  • หลักธรรมนี้จะให้ความหวังอะไรแก่คนที่ตายโดยไม่รู้พระกิตติคุณ

  • เรามีความรับผิดชอบอะไรต่อการทำให้หลักธรรมนี้เกิดสัมฤทธิผล

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง หลักคำสอนและพันธสัญญา 128:9 ขอให้ชั้นเรียนมองหาสิ่งที่โจเซฟ สมิธพูดเกี่ยวกับหลักธรรมนี้

  • พระเจ้าทรงทำอะไรในทุกสมัยการประทานของฐานะปุโรหิต (พระเจ้าทรงมอบอำนาจให้ผู้รับใช้อย่างน้อยคนหนึ่งของพระองค์ถือและใช้กุญแจการผนึกของฐานะปุโรหิต)

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 9เกิดอะไรขึ้นเมื่อประกอบศาสนพิธีโดยสิทธิอำนาจฐานะปุโรหิตและจดบันทึกถูกต้อง (สิ่งนี้จะกลายเป็นกฎบนแผ่นดินโลกและในสวรรค์ และจะไม่เป็นโมฆะเว้นแต่ผู้ที่ได้รับดำเนินชีวิตอย่างไม่มีค่าควร)

สรุป หลักคำสอนและพันธสัญญา 128:10–11 โดยอธิบายว่าเฉกเช่นพระผู้ช่วยให้รอดทรงมอบกุญแจการผนึกของฐานะปุโรหิตให้เปโตร พระองค์ทรงมอบกุญแจเหล่านั้นในสมัยของเราอีกครั้ง

สรุปบทเรียนโดยเขียน คำถามต่อไปนี้ ไว้บนกระดานและ เชื้อเชิญให้นักเรียนตอบ ลงในสมุดจดหรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขา

บัพติศมาแทนคนตายและกุญแจการผนึกเกี่ยวข้องกันอย่างไร

ท่านได้รับการดลใจให้ทำอะไรเพราะสิ่งที่ท่านเรียนรู้วันนี้

เชิญนักเรียนสองสามคนแบ่งปันสิ่งที่เขียนกับชั้นเรียน ท่านอาจต้องการแบ่งปันประจักษ์พยานของท่านเกี่ยวกับการประกอบศาสนพิธีแทนคนตาย

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

ผู้นำศาสนจักรยุคแรกร่วมมือกับเมซันส์

ถึงแม้ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธและสมาชิกจำนวนมากของศาสนจักรออกจากมิสซูรีในปี 1839 แต่การข่มเหงจากชาวมิสซูรียังคงติดตามท่านศาสดาพยากรณ์ขณะท่านทำงานเพื่อสร้างเมืองนอวู อิลลินอยส์ ต้นปี 1842 โจเซฟ สมิธและชาวนอวูคนอื่นๆ เข้าร่วมองค์กรภราดรภาพเรียกว่าเมซันส์ พวกเขาทำสิ่งนี้เพื่อสร้างและกระชับความสัมพันธ์กับผู้นำระดับรัฐและประเทศที่เป็นเมซันส์ซึ่งจะช่วยคุ้มครองวิสุทธิชนจากการถูกผู้ข่มเหงในมิสซูรีข่มขู่ไม่หยุดหย่อน (ดู ประวัติศาสนจักรในความสมบูรณ์แห่งเวลา คู่มือนักเรียน, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 [คู่มือระบบการศึกษาของศาสนจักร, 2003], 278)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 127:5 “บัพติศมาแทนคนตายของท่าน”

เอ็ลเดอร์ดับเบิลยู. แกรนท์ แบงเกอร์เตอร์แห่งสาวกเจ็ดสิบอธิบายว่าเราประกอบพิธีบัพติศมาให้คนที่สิ้นชีวิตทางร่างกายแต่ยังมีชีวิตในวิญญาณ

ภาพ
เอ็ลเดอร์ดับเบิลยู. แกรนท์ แบงเกอร์เตอร์

“ขอให้เราจำไว้เสมอว่าเราประกอบศาสนพิธีพระวิหารให้คนไม่ใช่ให้ชื่อ คนที่เราเรียกว่า ‘คนตาย’ ยังมีชีวิตในวิญญาณและอยู่ในพระวิหาร” (“What Temples Are For,” Ensign, May 1982, 72)